เอเอฟพี - เศรษฐกิจของญี่ปุ่นประสบการหดตัวครั้งเลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากความต้องการรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าหลักอื่น ๆของแดนอาทิตย์อุทัยทรุดดิ่งลง ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรง
สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานวานนี้ (20) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยหดตัวถึง 4.0% ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับสามเดือนก่อนหน้า และหากคิดเป็นอัตรารายปีก็จะเท่ากับหดตัว 15.2%
ตัวเลขเช่นนี้ยังเท่ากับเป็นผลงานทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ที่สุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา โดยเลวร้ายเสียยิ่งกว่าการดิ่งลง 13.1% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 1974 อันเป็นระยะที่ราคาน้ำมันทะยานลิ่วซึ่งเรียกกันว่า "ออยล์ช็อก" ระลอกแรกเสียอีก
นอกจากนั้น นี่ยังเป็นครั้งแรกด้วยที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวติดกันถึงสี่ไตรมาส
"การตกต่ำในภาคบริษัทกำลังค่อย ๆลามมากระทบกระเทือนการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนทีละน้อยๆ" นายกรัฐมนตรีทาโร อาโซะกล่าวต่อรัฐสภา
ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบนี้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองของปี 2008 อันเป็นผลมาจากผู้บริโภคทั่วโลกพากันรัดเข็มขัดและไม่ซื้อสินค้าราคาแพง ๆเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว
ผู้เชี่ยวชาญหลายรายมองว่า แม้ตัวเลขจะเลวร้าย แต่ก็มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะผ่านพ้นช่วงตกต่ำอย่างที่สุดไปแล้ว โดยอย่างยิ่งด้านการส่งออกที่ตกต่ำที่สุดและเริ่มดีดตัวขึ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
"ไตรมาสแรกน่าจะเป็นจุดต่ำสุดของญี่ปุ่น การหดตัวของเศรษฐกิจในช่วงตั้งแต่ไตรมาสสองเป็นต้นไปน่าจะเริ่มลดความรุนแรงลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า" เกลน แมคไกวร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอเชียของโซซิเอเต้ เจเนราลกล่าว
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์เตือนว่าการฟื้นตัวเต็มรูปแบบนั้นยังคงดูห่างไกล เนื่องจากความต้องการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งตลาดต่างประเทศยังคงในภาวะที่เปราะบาง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ก็กล่าวเตือนวานนี้ว่า ญี่ปุ่นน่าที่จะประสบอัตราเติบโตแบบติดๆ ขัดๆ ไปอีกระยะหนึ่ง
"คาดหมายกันว่าการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจะปรากฏชัดเจนในปี 2010 แต่ก็ยังต้องขึ้นต่ออย่างมากกับช่วงเวลาและความเข้มแข็งของการฟื้นตัวของทั่วโลก" ไอเอ็มเอฟบอกไว้ในคำแถลง ภายหลังเสร็จสิ้นการส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจหาข้อเท็จจริงของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ในทศวรรษ 1990 ซึ่งที่ญี่ปุ่นเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า" เพราะเศรษฐกิจมีแต่ชะงักงันและเกิดภาวะเงินฝืดนั้น ได้ปรากฏสัญญาณที่ดูเหมือนกำลังจะมีการฟื้นตัว แต่แล้วก็กลับเป็นสัญญาณหลอกๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า และขณะนี้รัฐบาลก็ออกมาเตือนว่า ไม่ควรมองแง่ดีจนเกินเลยไป
"คาดหมายว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอันยากลำบากยังจะดำเนินต่อไป" รัฐมนตรีคลัง คาอุรุ โยซาโนะ กล่าวเตือน "เราจำเป็นต้องระลึกเอาไว้ว่ายังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะไปทางขาลง เป็นต้นว่าความน่าวิตกในเรื่องการปรับตัวอย่างมากมายในตลาดงาน"
การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ยังคงตกลง 1.1% ในสามเดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับสามเดือนสิ้นปีที่แล้ว ส่วนการส่งออกนั้นดำดิ่งลงไปถึง 26% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนก็ร่วงไป 10.4%
"ญี่ปุ่นกำลังถูกลงโทษจากการยืนอยู่ในตำแหน่งที่สูงมากๆ ในพีระมิดแห่งสินค้าผู้บริโภค" แมคไกวร์กล่าว
สินค้าหลักของญี่ปุ่น เช่น รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ต่างต้องพึ่งพาสินเชื่อในการซื้อขาย เมื่อประเทศตะวันตกที่เป็นตลาดหลักเผชิญภาวะสินเชื่อตึงตัว จึงทำให้ยอดขายตกต่ำ นอกจากนี้ภาคครัวเรือนก็กำลังปรับตัวรับกับความจริงอันโหดร้ายทางเศรษฐกิจอยู่ ดังนั้นนักวิเคราะห์จึงยังมองไม่เห็นทางที่ความต้องการจะเพิ่มขึ้นในเวลาอันสั้น
"เราจะยังคงไม่เห็นความต้องการสินค้าญี่ปุ่นมีการฟื้นตัว จนกระทั่งกลาง ๆปี 2010 หรือบางทีอาจจะเลยไปถึง 2011 เสียด้วยซ้ำ" เขากล่าว
สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานวานนี้ (20) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยหดตัวถึง 4.0% ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับสามเดือนก่อนหน้า และหากคิดเป็นอัตรารายปีก็จะเท่ากับหดตัว 15.2%
ตัวเลขเช่นนี้ยังเท่ากับเป็นผลงานทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ที่สุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา โดยเลวร้ายเสียยิ่งกว่าการดิ่งลง 13.1% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 1974 อันเป็นระยะที่ราคาน้ำมันทะยานลิ่วซึ่งเรียกกันว่า "ออยล์ช็อก" ระลอกแรกเสียอีก
นอกจากนั้น นี่ยังเป็นครั้งแรกด้วยที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวติดกันถึงสี่ไตรมาส
"การตกต่ำในภาคบริษัทกำลังค่อย ๆลามมากระทบกระเทือนการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนทีละน้อยๆ" นายกรัฐมนตรีทาโร อาโซะกล่าวต่อรัฐสภา
ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบนี้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองของปี 2008 อันเป็นผลมาจากผู้บริโภคทั่วโลกพากันรัดเข็มขัดและไม่ซื้อสินค้าราคาแพง ๆเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว
ผู้เชี่ยวชาญหลายรายมองว่า แม้ตัวเลขจะเลวร้าย แต่ก็มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะผ่านพ้นช่วงตกต่ำอย่างที่สุดไปแล้ว โดยอย่างยิ่งด้านการส่งออกที่ตกต่ำที่สุดและเริ่มดีดตัวขึ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
"ไตรมาสแรกน่าจะเป็นจุดต่ำสุดของญี่ปุ่น การหดตัวของเศรษฐกิจในช่วงตั้งแต่ไตรมาสสองเป็นต้นไปน่าจะเริ่มลดความรุนแรงลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า" เกลน แมคไกวร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอเชียของโซซิเอเต้ เจเนราลกล่าว
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์เตือนว่าการฟื้นตัวเต็มรูปแบบนั้นยังคงดูห่างไกล เนื่องจากความต้องการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งตลาดต่างประเทศยังคงในภาวะที่เปราะบาง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ก็กล่าวเตือนวานนี้ว่า ญี่ปุ่นน่าที่จะประสบอัตราเติบโตแบบติดๆ ขัดๆ ไปอีกระยะหนึ่ง
"คาดหมายกันว่าการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจะปรากฏชัดเจนในปี 2010 แต่ก็ยังต้องขึ้นต่ออย่างมากกับช่วงเวลาและความเข้มแข็งของการฟื้นตัวของทั่วโลก" ไอเอ็มเอฟบอกไว้ในคำแถลง ภายหลังเสร็จสิ้นการส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจหาข้อเท็จจริงของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ในทศวรรษ 1990 ซึ่งที่ญี่ปุ่นเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า" เพราะเศรษฐกิจมีแต่ชะงักงันและเกิดภาวะเงินฝืดนั้น ได้ปรากฏสัญญาณที่ดูเหมือนกำลังจะมีการฟื้นตัว แต่แล้วก็กลับเป็นสัญญาณหลอกๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า และขณะนี้รัฐบาลก็ออกมาเตือนว่า ไม่ควรมองแง่ดีจนเกินเลยไป
"คาดหมายว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอันยากลำบากยังจะดำเนินต่อไป" รัฐมนตรีคลัง คาอุรุ โยซาโนะ กล่าวเตือน "เราจำเป็นต้องระลึกเอาไว้ว่ายังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะไปทางขาลง เป็นต้นว่าความน่าวิตกในเรื่องการปรับตัวอย่างมากมายในตลาดงาน"
การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ยังคงตกลง 1.1% ในสามเดือนแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับสามเดือนสิ้นปีที่แล้ว ส่วนการส่งออกนั้นดำดิ่งลงไปถึง 26% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนก็ร่วงไป 10.4%
"ญี่ปุ่นกำลังถูกลงโทษจากการยืนอยู่ในตำแหน่งที่สูงมากๆ ในพีระมิดแห่งสินค้าผู้บริโภค" แมคไกวร์กล่าว
สินค้าหลักของญี่ปุ่น เช่น รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ต่างต้องพึ่งพาสินเชื่อในการซื้อขาย เมื่อประเทศตะวันตกที่เป็นตลาดหลักเผชิญภาวะสินเชื่อตึงตัว จึงทำให้ยอดขายตกต่ำ นอกจากนี้ภาคครัวเรือนก็กำลังปรับตัวรับกับความจริงอันโหดร้ายทางเศรษฐกิจอยู่ ดังนั้นนักวิเคราะห์จึงยังมองไม่เห็นทางที่ความต้องการจะเพิ่มขึ้นในเวลาอันสั้น
"เราจะยังคงไม่เห็นความต้องการสินค้าญี่ปุ่นมีการฟื้นตัว จนกระทั่งกลาง ๆปี 2010 หรือบางทีอาจจะเลยไปถึง 2011 เสียด้วยซ้ำ" เขากล่าว