ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.แถลงตามน้ำ คาดการณ์แนวโน้มทำกำไรระบบแบงก์ไตรมาส2 วูบ เหตุสินเชื่อชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อที่ค้างชำระ 1-3 เดือน เพิ่มขึ้น 4% หรือเพิ่มขึ้น 1.49 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม-ภาคผลิต เป็นแนวทางเดียวกับยอดเอ็นพีแอลในระบบ สั่งแบงก์จับตาความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพสินทรัพย์
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการทำกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินธนาคารพาณิชย์ว่าจะขยายธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าสินเชื่อที่ลดลงเป็นแรงกดดันรายได้ของระบบธนาคารในอนาคตหดหายไปบ้าง หลังจากไตรมาสแรกกำไรจากการดำเนินงานลดลง 1.6 พันล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายที่ลดลงในช่วงเดียวกันช่วยพยุงให้ระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2.3 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อน
“แม้ภาคธุรกิจยังมีอุปสงค์ด้านการลงทุนอ่อนพอควร ทำให้ขณะนี้ความต้องการกู้ไม่มากนัก รวมถึงเงินกู้การค้าระหว่างประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย แต่ขณะนี้ในระบบมีปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเอื้ออำนวยในการปล่อยกู้มากกว่าการประเมินในช่วงไตรมาสก่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพคล่องที่สูงขึ้น เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับสูง และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ดีขึ้นตามลำดับ รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศและสัญญาณจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น จึงเหลือเพียงความเชื่อมั่นของภาคเอกชนเท่านั้น”
แม้กระบวนการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่อนคลายมีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมน้อย แต่ช่วยส่งเสริมระบบธนาคารพาณิชย์ในแง่ของการปล่อยสินเชื่อได้ เนื่องจากให้ระบบมีสภาพคล่องเพียงพอกับความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชนได้ และเมื่อความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องโดยรวมลดลงเร็ว ขณะเดียวกัน ธปท.เองกำกับดูแลให้ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงที่ดี ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่งและมั่นคงเห็นได้จากเงินกองทุนต่อสินเชื่อเสี่ยงสูงถึง 14.9% โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ระดับ 11.8% ในไตรมาสนี้
นอกจากนี้ สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ซึ่งเกิดจากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เกิน 1 เดือน แต่ยังไม่เกิน3 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 4%ของสินเชื่อรวม หรือเพิ่มขึ้น 1.49 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการผลิตต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปล่อยสินเชื่อโดยรวมในระบบ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในและต่างประเทศหดตัว ทำให้ความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลงตาม จึงต้องจับตามการความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพสินทรัพย์ต่อไป
ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยออกไปแล้วกลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ระดับ 5.5% แต่เมื่อหักเงินสำรองแล้วเอ็นพีแอลสุทธิอยู่ที่ระดับ 3.1% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนวงเงิน 1.89 หมื่นล้านบาท โดยภาคธุรกิจในด้านก่อสร้างอยู่ที่ 13.0% จากไตรมาสก่อน 12.1% อสังหาริมทรัพย์ 11.6% จาก 11.0% ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 9% จาก 8.4% บริการ 7.8% จาก 7.1% ในไตรมาสก่อน พาณิชย์ 6.4% จากไตรมาสก่อน 5.7% สาธารณูปโภค 3.3% จาก 3.1% และธุรกิจการเงินทรงตัวอยู่ที่ 0.6% ทั้งไตรมาสนี้และไตรมาสก่อน
ขณะที่ภาคอุปโภคบริโภคด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน 3.6% บัตรเครดิต 3.1% จากไตรมาสก่อน 2.9% รถยนต์ 2.3% จากไตรมาสก่อน 2.1% และสินเชื่ออื่นๆ 4.9% ทรงตัวจากไตรมาสก่อน ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลลดลง 3.5% จากไตรมาสก่อน 3.6%
น.ส.นวพรเปิดเผยว่า ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ชะลอลงมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งการเข้าถึงสินเชื่อและมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มสูงกว่าด้วย ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อไม่ได้พิจารณาเฉพาะเรื่องเอ็นพีแอลอย่างเดียว แต่พยายามจะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ให้มากที่สุด
ไตรมาสแรกของปีนี้ สินเชื่อโดยรวมชะลอตัวกว่าไตรมาสก่อน โดยสินเชื่อขยายตัว 5.8% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับสิ้นปี 51 ขยายตัวถึง 11.4% โดยสินเชื่อภาคธุรกิจชะลอตัวลงมากเหลือ 3.2% จากความต้องการสอนเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินลงทุนจากภาคเอกชนชะลอ่ตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.1% อย่างไรก็ตาม สินเชื่อโดยรวมยังขยายตัวดีกว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทย
ขณะที่เงินฝากขยายตัวชะลอตัวเช่นกันเหลือ 4.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ลูกค้าหันไปลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) และหลักทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เมื่อรวมการระดมเงินฝากและB/E แล้ว อัตราการขยายตัวชะลอลงเหลือ 6.7% ดังนั้น การที่สินเชื่อชะลอตัวมากกว่าเงินฝากส่งผลให้สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและB/E ลดลงอยู่ที่ระดับ 84.1%
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มการทำกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินธนาคารพาณิชย์ว่าจะขยายธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าสินเชื่อที่ลดลงเป็นแรงกดดันรายได้ของระบบธนาคารในอนาคตหดหายไปบ้าง หลังจากไตรมาสแรกกำไรจากการดำเนินงานลดลง 1.6 พันล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายที่ลดลงในช่วงเดียวกันช่วยพยุงให้ระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2.3 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อน
“แม้ภาคธุรกิจยังมีอุปสงค์ด้านการลงทุนอ่อนพอควร ทำให้ขณะนี้ความต้องการกู้ไม่มากนัก รวมถึงเงินกู้การค้าระหว่างประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย แต่ขณะนี้ในระบบมีปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเอื้ออำนวยในการปล่อยกู้มากกว่าการประเมินในช่วงไตรมาสก่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพคล่องที่สูงขึ้น เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับสูง และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ดีขึ้นตามลำดับ รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศและสัญญาณจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น จึงเหลือเพียงความเชื่อมั่นของภาคเอกชนเท่านั้น”
แม้กระบวนการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่อนคลายมีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมน้อย แต่ช่วยส่งเสริมระบบธนาคารพาณิชย์ในแง่ของการปล่อยสินเชื่อได้ เนื่องจากให้ระบบมีสภาพคล่องเพียงพอกับความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชนได้ และเมื่อความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องโดยรวมลดลงเร็ว ขณะเดียวกัน ธปท.เองกำกับดูแลให้ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงที่ดี ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่งและมั่นคงเห็นได้จากเงินกองทุนต่อสินเชื่อเสี่ยงสูงถึง 14.9% โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ระดับ 11.8% ในไตรมาสนี้
นอกจากนี้ สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ซึ่งเกิดจากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เกิน 1 เดือน แต่ยังไม่เกิน3 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 4%ของสินเชื่อรวม หรือเพิ่มขึ้น 1.49 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการผลิตต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปล่อยสินเชื่อโดยรวมในระบบ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในและต่างประเทศหดตัว ทำให้ความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลงตาม จึงต้องจับตามการความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพสินทรัพย์ต่อไป
ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยออกไปแล้วกลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ระดับ 5.5% แต่เมื่อหักเงินสำรองแล้วเอ็นพีแอลสุทธิอยู่ที่ระดับ 3.1% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนวงเงิน 1.89 หมื่นล้านบาท โดยภาคธุรกิจในด้านก่อสร้างอยู่ที่ 13.0% จากไตรมาสก่อน 12.1% อสังหาริมทรัพย์ 11.6% จาก 11.0% ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 9% จาก 8.4% บริการ 7.8% จาก 7.1% ในไตรมาสก่อน พาณิชย์ 6.4% จากไตรมาสก่อน 5.7% สาธารณูปโภค 3.3% จาก 3.1% และธุรกิจการเงินทรงตัวอยู่ที่ 0.6% ทั้งไตรมาสนี้และไตรมาสก่อน
ขณะที่ภาคอุปโภคบริโภคด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน 3.6% บัตรเครดิต 3.1% จากไตรมาสก่อน 2.9% รถยนต์ 2.3% จากไตรมาสก่อน 2.1% และสินเชื่ออื่นๆ 4.9% ทรงตัวจากไตรมาสก่อน ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลลดลง 3.5% จากไตรมาสก่อน 3.6%
น.ส.นวพรเปิดเผยว่า ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ชะลอลงมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งการเข้าถึงสินเชื่อและมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มสูงกว่าด้วย ซึ่งขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อไม่ได้พิจารณาเฉพาะเรื่องเอ็นพีแอลอย่างเดียว แต่พยายามจะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ให้มากที่สุด
ไตรมาสแรกของปีนี้ สินเชื่อโดยรวมชะลอตัวกว่าไตรมาสก่อน โดยสินเชื่อขยายตัว 5.8% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับสิ้นปี 51 ขยายตัวถึง 11.4% โดยสินเชื่อภาคธุรกิจชะลอตัวลงมากเหลือ 3.2% จากความต้องการสอนเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินลงทุนจากภาคเอกชนชะลอ่ตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.1% อย่างไรก็ตาม สินเชื่อโดยรวมยังขยายตัวดีกว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทย
ขณะที่เงินฝากขยายตัวชะลอตัวเช่นกันเหลือ 4.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ลูกค้าหันไปลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) และหลักทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เมื่อรวมการระดมเงินฝากและB/E แล้ว อัตราการขยายตัวชะลอลงเหลือ 6.7% ดังนั้น การที่สินเชื่อชะลอตัวมากกว่าเงินฝากส่งผลให้สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและB/E ลดลงอยู่ที่ระดับ 84.1%