ASTVผู้จัดการรายวัน – ครม.สั่งพาณิชย์เคลียร์ปมปัญหาประมูลข้าว ร้อนรนดันทุรังเซ็นสัญญากับเอกชนไม่ทำตามมติครม.ที่ให้ไปวางหลักเกณฑ์การระบายข้าวแล้วเสนอเข้ามาให้ครม.อนุมัติก่อน ด้านพาณิชย์ทำไขสืออ้างไม่เห็นมติที่ชัดเจนว่าต้องทำอย่างไร “ยรรยง” แก้เกี้ยวเตรียมชงหลักเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตรให้ครม.พิจารณาสัปดาห์หน้า ป้องกันข้อครหาขายขาดทุน ทีดีอาร์ไอสับเละโครงการจำนำแหล่งขุมทรัพย์นักการเมืองโกงกันสะบั้นหั่นแหลก ขณะที่ชาวนาจี้เลิกโครงการจำนำหันมาช่วยปรับโครงสร้างดีกว่าเพราะทำไปมีแต่เจ๊ง
แหล่งข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (19 พ.ค.) เปิดเผยถึงกรณีการประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลของกระทรวงพาณิชย์ 2 ล้านกว่าตัน ที่ทำให้รัฐฯขาดทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาทว่า เรื่องนี้ในที่ประชุมครม.และนายกรัฐมนตรีได้สอบถามทั้งแสดงความหนักใจกับพฤติกรรมของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการประมูลขายข้าวให้เอกชนโดยไม่ปฏิบัติตามมติครม.ที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 52 ที่ให้พาณิชย์ไปทำหลักเกณฑ์การระบายข้าวแล้วให้นำมาเข้าที่ประชุมครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนไปดำเนินการประมูล
“ทั้งที่มติครม.วันนั้นออกมาชัด แต่พาณิชย์กลับไม่สน รีบไปเปิดประมูลในวันเดียวกันนั้นเลย ทางครม.จึงมีมติวันที่ 13 พ.ค. สำทับออกมาอีกว่าให้เอาเรื่องระบายสินค้าเกษตรจากสต็อกของรัฐบาลเข้ามาให้ครม.พิจารณาอนุมัติก่อนทุกครั้ง บอกได้ว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาน่าหนักใจชนิดที่ต้องเอาเท้าก่ายหน้าผาก” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เมื่อพาณิชย์ประมูลขายข้าวและเซ็นสัญญากับเอกชนไปแล้ว ตอนนี้ครม.ก็ได้ให้พาณิชย์แต่ให้กลับไปทำเรื่องให้ถูกต้องตามมติครม. ส่วนพาณิชย์จะทำอย่างไรก็ยังไม่ทราบเหมือนกัน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องการระบายข้าวนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์บอกว่า กำลังบริหารจัดการให้เป็นไปตามแนวทาง ซึ่ง ครม.มีมติไปตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. ให้จัดทำเกณฑ์เรื่องการระบายสินค้าต่างๆ และทางกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ได้ทำเรื่องเสนอเข้ามาแล้ว เพียงแต่ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของครม. เข้าใจว่าจะเข้าสัปดาห์หน้า
***สั่งแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตนได้ขอให้ดูแลสินค้าเกษตร โดยเฉพาะปัญหาสินค้าบางตัว เช่น ลิ้นจี่ ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)ได้อนุมัติเงินไปแล้ว 37 ล้าน ช่วยเรื่องค่าขนส่งและสัปดาห์ที่แล้ว ตนได้ขอให้ทางกระทรวงมหาดไทยไปดูกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะสามารถเข้าไปช่วยรับซื้อหรือกระจายได้อย่างไร แต่ข้อเท็จจริงคือ ราคายังไม่ดี ยังมีปัญหาอยู่มาก ฉะนั้นจึงขอให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และนายก อร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ ไปดูว่าจะมีมาตรการที่รวดเร็ว ที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไร หากจำเป็นต้องขออนุมัติเป็นเงินงบกลาง ให้เสนอมาที่ตนโดยตรง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องกุ้ง ที่ยังเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ สำหรับการระบายสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง กระทรวงพาณิชย์ กำลังเตรียมเสนอหลักเกณฑ์ในการระบายสินค้ามาที่ ครม. ในสัปดาห์หน้า
ส่วนกรณีสื่อมวลชนที่ไปวิพากษ์วิจารณ์ กรณีที่ตนพูดถึงเรื่องปัญหาการระบายสินค้าเกษตรเสมือนกับไม่ยอมรับข้อเท็จจริงว่าการขายสินค้าเกษตรที่รับจำนำไว้จะต้องขาดทุนเพราะราคาจะต่ำกว่าราคาจำนำ จริงๆ ประเด็นนี้ไม่ใช่ ประเด็นที่บอกว่า จะขายขาดทุนได้หรือไม่ แต่มีการอ้างอิงคำพูดตนในการประชุมครม. สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ตนเพียงแต่บอกว่า ถ้าการระบายสินค้าเกษตรไม่ได้เป็นภาระกับทางรัฐบาลก็คงไม่มีความจำเป็นอะไร ที่ครม. หรือระดับฝ่ายนโยบายจะต้องเข้ามาติดตามดูแลและกำหนดหลักเกณฑ์ แต่เป็นเพราะเรารู้ว่า จะต้องมีการขาดทุนนั่นหมายถึง การจะต้องมีเงินงบประมาณเข้าไปเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหา เราจึงจำเป็นต้องดูแล ให้มีการรัดกุม ที่สำคัญการเทียบเคียงราคาจะไม่เทียบกับราคาจำนำเท่านั้น เราต้องพยายามอ้างอิงราคาตลาดด้วย เพราะ ถ้ามีการไประบายสินค้า ต่ำกว่าราคาตลาด อาจจะมีส่วนในการซ้ำเติมราคาพืชผลตัวนั้น
***พาณิชย์ ไขสือ มติครม.ไม่ชัด
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า วานนี้ (19 พ.ค.) กระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้เสนอผลการเปิดประมูลข้าวจำนวน 2 ล้านกว่าตัน ที่มีผู้ชนะการประมูลประมาณ 10 ราย ปริมาณข้าว 2 ล้านตัน ให้ ครม. พิจารณา เนื่องจากยังไม่เห็นมติครม. เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ว่ามีมติออกมาอย่างไรกันแน่ เพราะเห็นแต่เพียงข่าวว่าต่อไปหากจะมีการเปิดประมูลสินค้าเกษตรและทำให้รัฐบาลขาดทุนจะต้องเสนอให้ครม. พิจารณา เพื่อร่วมกันรับผิดชอบเท่านั้น
“คงต้องรอดูว่ามติครม.ออกมาอย่างไร แล้วถึงจะปฏิบัติตาม แต่ในส่วนของการระบายข้าวครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนที่ครม.จะมีมติ ก็คงต้องดำเนินการต่อไป” แหล่งข่าวกล่าว
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กำลังจะจัดทำมาตรฐานราคาสินค้าเกษตรในสต็อกรัฐบาล ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาระบายว่าราคาที่กำหนด คิดคำนวณมาจากอะไร สินค้าแต่ละชนิดมีมาตรฐานอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาว่าทำไมถึงต้องขายในราคาเท่านั้น เท่านี้ โดยคาดว่าจะเสนอให้ครม.พิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า
“การขายสินค้าเกษตร มันมีเงื่อนไขต่างๆ กำหนดไว้อยู่แล้ว เช่น ข้าว บางพื้นที่ราคาดีกว่าอีกที่หนึ่ง แต่ในเวลาจำนำ รัฐบาลต้องซื้อในราคาเดียวทั้งประเทศ แต่พอเวลาขาย คนซื้อก็จะพิจารณาจากคุณภาพข้าวที่จะซื้อแล้วถึงยื่นเสนอราคาเข้ามา ซึ่งแน่นอนว่า ข้าวในพื้นที่ดี ก็ได้ราคาดีกว่า แต่ในพื้นที่ไม่ดี ก็ราคาถูก และการขายในราคาตลาด แน่นอนว่าคงจะขายราคาตามนั้นเลยไม่ได้ เพราะราคาตลาดถือเป็นเกณฑ์ที่กำหนดเป็นราคาเทียบเคียงเอาไว้ แต่การขายก็พยายามทำให้ได้ใกล้เคียงกับราคาตลาด” นายยรรยง กล่าว
***ทีดีอาร์ไอสับเละโกงจำนำข้าว
นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการสัมมนา จับทิศทางราคาข้าว ลดความเสี่ยง เลี่ยงวิกฤตโลก ว่า การเปิดโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลกลายเป็นช่องทางให้นักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องขี้โกงกันมากขึ้น โดยนักการเมืองมักแอบอ้างผลประโยชน์ของชาวนาเพื่อหางบประมาณครั้งละมหาศาลมาเปิดโครงการใช้หาเสียงและผลประโยชน์เข้าตัวเอง ซ้ำร้ายยังบิดเบือนวงจรการผลิตข้าวในประเทศให้ชาวนา โรงสีข้าว ตลาดกลางขาดการพัฒนาตัวเอง รวมทั้งภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนจำนำที่สูง ทำให้ส่งออกได้น้อย ซึ่งในไม่ช้าไทยจะสูญเสียแชมป์การส่งออกข้าว
“โครงการรัฐจำนำสอนให้เก่งอย่างเดียว คือ วิ่งเต้นเก่ง รัฐบาลควรยกเลิกโครงการรับจำนำหรือลดปริมาณราคาจำนำเหลือ 90-95% ของราคาตลาด ที่สำคัญน่าจะหันใช้วิธีประกันความเสี่ยงราคา ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างระยะยาวแทนเพื่อให้กลไกตลาดเดินหน้าได้ เพราะหากมัวแต่ให้พึ่งการรับจำนำ ตลาดข้าวจะแย่ลงเรื่อยๆ นอกจากนี้พบว่าชาวนาไทยที่ได้ประโยชน์จากการรับจำนำยังกระจุกตัวในกลุ่มเกษตรกรที่ร่ำรวย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างที่ใกล้เขตชลประทาน ขณะที่ชาวนายากจนแถบภาคอีสานได้ประโยชน์น้อยและยังตกเป็นเหยื่อของกลุ่มนายทุนอยู่” นายนิพนธ์ กล่าว
นางขวัญใจ โกเมศ เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ใน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยมีโอกาสเกิดวิกฤตขาดแคลนชาวนา จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลและเตรียมความพร้อม เพราะที่ผ่านมารัฐจะให้ความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตมากกว่าพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชาวนา ซึ่งไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ไทยต้องเพิ่มผลผลิตมาก เพราะไทยไม่ได้ผลิตข้าวมากสุด เป็นแค่อันดับ 8-9 ของโลกเท่านั้น รัฐบาลควรหันมาดูแลเรื่องคุณภาพและจัดสรรระบบชลประทานเพื่อรักษาผลผลิตให้อยู่ภาวะปกติดีกว่า โดยเป็นห่วงว่าไทยอาจสูญเสียความเป็นผู้นำด้านคุณภาพข้าวให้กับกัมพูชาในอนาคต เพราะกัมพูชาปลูกข้าวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับไทย ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐจะต้องมาดูแล
***สมาคมชาวนาหนุนเลิกรับจำนำ
นายประสิทธิ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า สนับสนุนให้รัฐบาลเลิกโครงการรับจำนำ เพราะแต่ละปีรัฐต้องขาดทุนจากโครงการถึง 28,000 ล้านบาท แต่ไม่ช่วยให้ชาวนาพัฒนาตัวเองได้เลย กลายเป็นว่าขณะนี้พอถึงฤดูนาก็ทำนา พอฤดูเก็บเกี่ยวก็เดินประท้วงของให้รัฐเปิดรับจำนำ ทั้งที่จริงรัฐน่าจะนำเงินจำนวนนี้มาปรับโครงสร้างการเพาะปลูกทั้งระบบ ด้านแหล่งน้ำพัฒนาพันธุ์ข้าว การทำตลาด ถึงแม้จะใช้งบสูงถึง 50,000 ล้านบาท แต่ประหยัดกว่าที่โครงการรับจำนำ 2 ปี ที่รัฐเสียไปฟรีๆ เกิน 50,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานว่า กลุ่มโรงสีข้าวบางราย ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ออกล่าซื้อใบประทวนจากชาวนา เพื่อหาผลประโยชน์และนำข้าวเข้ามาสวมสิทธิรับจำนำแทน และโยนความผิดให้ชาวนาแทน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แนวโน้มราคาข้าวอาจลดลงได้อีก เพราะปีนี้ผลผลิตข้าวทั่วโลก ได้ผลดีกว่าคาดการณ์มาก ทำให้แต่ละประเทศสามารถส่งออกข้าวได้มากขึ้น ทั้งปากีสถานที่จะส่งออกข้าวได้เพิ่มจาก 2 ล้านตัน เป็น 4 ล้านตัน รวมถึงพม่าด้วย ขณะที่อินเดียที่หยุดการส่งออกไปนานก็จับกลับมาส่งออกข้าวนึ่งได้ในไม่ช้า ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในที่สุด เพราะการตั้งราคาจำนำข้าวที่สูงนำตลาดมาก ทำให้ต้นทุนการส่งออกแพงกว่าคู่แข่งมาก แม้คุณภาพข้าวไทยจะสูงกว่าคู่แข่งก็ตาม
***กอร์ปศักดิ์-พรทิวา เคลียร์ปัญหาข้าวโพด
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งเรื่องการแทรกแซงราคาข้าวโพด กับนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ว่า ก็ไม่มีอะไร เราทำตามหน้าที่ และเป็นที่เข้าใจแล้วว่า วีธีการเดิมมันทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของครม.ชุดเก่า จึงเป็นหน้าที่ของครม.ชุดใหม่ ที่มีคณะกรรมการดูแลข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต้องไปรับผิดชอบ ขณะนี้ รอมติครม.ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนน่าจะออกภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ ซึ่งนางพรทิวา ก็ยังเป็นประธานอนุกรรมการการระบายข้าวโพดอยู่ดี เพียงแต่เป็นกรอบใหม่ที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อถามว่า นางพรทิวา ระบุว่าถ้ายิ่งยาวไปคุณภาพข้าวโพดจะมีปัญหา และราคาตก นายกอร์ปศักด์ ตอบว่า แต่ถ้าขายในวันนั้น มันผิดกฎหมาย ไม่ถูกต้อง เป็นไปตามติครม.ชุดเก่า ตนก็เป็นห่วงแทน ยืนยันตนไม่มีปัญหาอะไรถึงขนาดจะทำงานกันไม่ได้
แหล่งข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (19 พ.ค.) เปิดเผยถึงกรณีการประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลของกระทรวงพาณิชย์ 2 ล้านกว่าตัน ที่ทำให้รัฐฯขาดทุนกว่า 2 หมื่นล้านบาทว่า เรื่องนี้ในที่ประชุมครม.และนายกรัฐมนตรีได้สอบถามทั้งแสดงความหนักใจกับพฤติกรรมของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการประมูลขายข้าวให้เอกชนโดยไม่ปฏิบัติตามมติครม.ที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 52 ที่ให้พาณิชย์ไปทำหลักเกณฑ์การระบายข้าวแล้วให้นำมาเข้าที่ประชุมครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนไปดำเนินการประมูล
“ทั้งที่มติครม.วันนั้นออกมาชัด แต่พาณิชย์กลับไม่สน รีบไปเปิดประมูลในวันเดียวกันนั้นเลย ทางครม.จึงมีมติวันที่ 13 พ.ค. สำทับออกมาอีกว่าให้เอาเรื่องระบายสินค้าเกษตรจากสต็อกของรัฐบาลเข้ามาให้ครม.พิจารณาอนุมัติก่อนทุกครั้ง บอกได้ว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาน่าหนักใจชนิดที่ต้องเอาเท้าก่ายหน้าผาก” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เมื่อพาณิชย์ประมูลขายข้าวและเซ็นสัญญากับเอกชนไปแล้ว ตอนนี้ครม.ก็ได้ให้พาณิชย์แต่ให้กลับไปทำเรื่องให้ถูกต้องตามมติครม. ส่วนพาณิชย์จะทำอย่างไรก็ยังไม่ทราบเหมือนกัน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องการระบายข้าวนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์บอกว่า กำลังบริหารจัดการให้เป็นไปตามแนวทาง ซึ่ง ครม.มีมติไปตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. ให้จัดทำเกณฑ์เรื่องการระบายสินค้าต่างๆ และทางกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า ได้ทำเรื่องเสนอเข้ามาแล้ว เพียงแต่ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของครม. เข้าใจว่าจะเข้าสัปดาห์หน้า
***สั่งแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ตนได้ขอให้ดูแลสินค้าเกษตร โดยเฉพาะปัญหาสินค้าบางตัว เช่น ลิ้นจี่ ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)ได้อนุมัติเงินไปแล้ว 37 ล้าน ช่วยเรื่องค่าขนส่งและสัปดาห์ที่แล้ว ตนได้ขอให้ทางกระทรวงมหาดไทยไปดูกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะสามารถเข้าไปช่วยรับซื้อหรือกระจายได้อย่างไร แต่ข้อเท็จจริงคือ ราคายังไม่ดี ยังมีปัญหาอยู่มาก ฉะนั้นจึงขอให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และนายก อร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ ไปดูว่าจะมีมาตรการที่รวดเร็ว ที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไร หากจำเป็นต้องขออนุมัติเป็นเงินงบกลาง ให้เสนอมาที่ตนโดยตรง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องกุ้ง ที่ยังเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ สำหรับการระบายสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง กระทรวงพาณิชย์ กำลังเตรียมเสนอหลักเกณฑ์ในการระบายสินค้ามาที่ ครม. ในสัปดาห์หน้า
ส่วนกรณีสื่อมวลชนที่ไปวิพากษ์วิจารณ์ กรณีที่ตนพูดถึงเรื่องปัญหาการระบายสินค้าเกษตรเสมือนกับไม่ยอมรับข้อเท็จจริงว่าการขายสินค้าเกษตรที่รับจำนำไว้จะต้องขาดทุนเพราะราคาจะต่ำกว่าราคาจำนำ จริงๆ ประเด็นนี้ไม่ใช่ ประเด็นที่บอกว่า จะขายขาดทุนได้หรือไม่ แต่มีการอ้างอิงคำพูดตนในการประชุมครม. สัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ตนเพียงแต่บอกว่า ถ้าการระบายสินค้าเกษตรไม่ได้เป็นภาระกับทางรัฐบาลก็คงไม่มีความจำเป็นอะไร ที่ครม. หรือระดับฝ่ายนโยบายจะต้องเข้ามาติดตามดูแลและกำหนดหลักเกณฑ์ แต่เป็นเพราะเรารู้ว่า จะต้องมีการขาดทุนนั่นหมายถึง การจะต้องมีเงินงบประมาณเข้าไปเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหา เราจึงจำเป็นต้องดูแล ให้มีการรัดกุม ที่สำคัญการเทียบเคียงราคาจะไม่เทียบกับราคาจำนำเท่านั้น เราต้องพยายามอ้างอิงราคาตลาดด้วย เพราะ ถ้ามีการไประบายสินค้า ต่ำกว่าราคาตลาด อาจจะมีส่วนในการซ้ำเติมราคาพืชผลตัวนั้น
***พาณิชย์ ไขสือ มติครม.ไม่ชัด
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า วานนี้ (19 พ.ค.) กระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้เสนอผลการเปิดประมูลข้าวจำนวน 2 ล้านกว่าตัน ที่มีผู้ชนะการประมูลประมาณ 10 ราย ปริมาณข้าว 2 ล้านตัน ให้ ครม. พิจารณา เนื่องจากยังไม่เห็นมติครม. เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ว่ามีมติออกมาอย่างไรกันแน่ เพราะเห็นแต่เพียงข่าวว่าต่อไปหากจะมีการเปิดประมูลสินค้าเกษตรและทำให้รัฐบาลขาดทุนจะต้องเสนอให้ครม. พิจารณา เพื่อร่วมกันรับผิดชอบเท่านั้น
“คงต้องรอดูว่ามติครม.ออกมาอย่างไร แล้วถึงจะปฏิบัติตาม แต่ในส่วนของการระบายข้าวครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนที่ครม.จะมีมติ ก็คงต้องดำเนินการต่อไป” แหล่งข่าวกล่าว
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กำลังจะจัดทำมาตรฐานราคาสินค้าเกษตรในสต็อกรัฐบาล ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาระบายว่าราคาที่กำหนด คิดคำนวณมาจากอะไร สินค้าแต่ละชนิดมีมาตรฐานอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาว่าทำไมถึงต้องขายในราคาเท่านั้น เท่านี้ โดยคาดว่าจะเสนอให้ครม.พิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า
“การขายสินค้าเกษตร มันมีเงื่อนไขต่างๆ กำหนดไว้อยู่แล้ว เช่น ข้าว บางพื้นที่ราคาดีกว่าอีกที่หนึ่ง แต่ในเวลาจำนำ รัฐบาลต้องซื้อในราคาเดียวทั้งประเทศ แต่พอเวลาขาย คนซื้อก็จะพิจารณาจากคุณภาพข้าวที่จะซื้อแล้วถึงยื่นเสนอราคาเข้ามา ซึ่งแน่นอนว่า ข้าวในพื้นที่ดี ก็ได้ราคาดีกว่า แต่ในพื้นที่ไม่ดี ก็ราคาถูก และการขายในราคาตลาด แน่นอนว่าคงจะขายราคาตามนั้นเลยไม่ได้ เพราะราคาตลาดถือเป็นเกณฑ์ที่กำหนดเป็นราคาเทียบเคียงเอาไว้ แต่การขายก็พยายามทำให้ได้ใกล้เคียงกับราคาตลาด” นายยรรยง กล่าว
***ทีดีอาร์ไอสับเละโกงจำนำข้าว
นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการสัมมนา จับทิศทางราคาข้าว ลดความเสี่ยง เลี่ยงวิกฤตโลก ว่า การเปิดโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลกลายเป็นช่องทางให้นักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องขี้โกงกันมากขึ้น โดยนักการเมืองมักแอบอ้างผลประโยชน์ของชาวนาเพื่อหางบประมาณครั้งละมหาศาลมาเปิดโครงการใช้หาเสียงและผลประโยชน์เข้าตัวเอง ซ้ำร้ายยังบิดเบือนวงจรการผลิตข้าวในประเทศให้ชาวนา โรงสีข้าว ตลาดกลางขาดการพัฒนาตัวเอง รวมทั้งภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนจำนำที่สูง ทำให้ส่งออกได้น้อย ซึ่งในไม่ช้าไทยจะสูญเสียแชมป์การส่งออกข้าว
“โครงการรัฐจำนำสอนให้เก่งอย่างเดียว คือ วิ่งเต้นเก่ง รัฐบาลควรยกเลิกโครงการรับจำนำหรือลดปริมาณราคาจำนำเหลือ 90-95% ของราคาตลาด ที่สำคัญน่าจะหันใช้วิธีประกันความเสี่ยงราคา ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างระยะยาวแทนเพื่อให้กลไกตลาดเดินหน้าได้ เพราะหากมัวแต่ให้พึ่งการรับจำนำ ตลาดข้าวจะแย่ลงเรื่อยๆ นอกจากนี้พบว่าชาวนาไทยที่ได้ประโยชน์จากการรับจำนำยังกระจุกตัวในกลุ่มเกษตรกรที่ร่ำรวย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างที่ใกล้เขตชลประทาน ขณะที่ชาวนายากจนแถบภาคอีสานได้ประโยชน์น้อยและยังตกเป็นเหยื่อของกลุ่มนายทุนอยู่” นายนิพนธ์ กล่าว
นางขวัญใจ โกเมศ เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ใน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยมีโอกาสเกิดวิกฤตขาดแคลนชาวนา จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลและเตรียมความพร้อม เพราะที่ผ่านมารัฐจะให้ความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตมากกว่าพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชาวนา ซึ่งไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ไทยต้องเพิ่มผลผลิตมาก เพราะไทยไม่ได้ผลิตข้าวมากสุด เป็นแค่อันดับ 8-9 ของโลกเท่านั้น รัฐบาลควรหันมาดูแลเรื่องคุณภาพและจัดสรรระบบชลประทานเพื่อรักษาผลผลิตให้อยู่ภาวะปกติดีกว่า โดยเป็นห่วงว่าไทยอาจสูญเสียความเป็นผู้นำด้านคุณภาพข้าวให้กับกัมพูชาในอนาคต เพราะกัมพูชาปลูกข้าวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับไทย ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐจะต้องมาดูแล
***สมาคมชาวนาหนุนเลิกรับจำนำ
นายประสิทธิ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า สนับสนุนให้รัฐบาลเลิกโครงการรับจำนำ เพราะแต่ละปีรัฐต้องขาดทุนจากโครงการถึง 28,000 ล้านบาท แต่ไม่ช่วยให้ชาวนาพัฒนาตัวเองได้เลย กลายเป็นว่าขณะนี้พอถึงฤดูนาก็ทำนา พอฤดูเก็บเกี่ยวก็เดินประท้วงของให้รัฐเปิดรับจำนำ ทั้งที่จริงรัฐน่าจะนำเงินจำนวนนี้มาปรับโครงสร้างการเพาะปลูกทั้งระบบ ด้านแหล่งน้ำพัฒนาพันธุ์ข้าว การทำตลาด ถึงแม้จะใช้งบสูงถึง 50,000 ล้านบาท แต่ประหยัดกว่าที่โครงการรับจำนำ 2 ปี ที่รัฐเสียไปฟรีๆ เกิน 50,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้รับรายงานว่า กลุ่มโรงสีข้าวบางราย ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ออกล่าซื้อใบประทวนจากชาวนา เพื่อหาผลประโยชน์และนำข้าวเข้ามาสวมสิทธิรับจำนำแทน และโยนความผิดให้ชาวนาแทน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แนวโน้มราคาข้าวอาจลดลงได้อีก เพราะปีนี้ผลผลิตข้าวทั่วโลก ได้ผลดีกว่าคาดการณ์มาก ทำให้แต่ละประเทศสามารถส่งออกข้าวได้มากขึ้น ทั้งปากีสถานที่จะส่งออกข้าวได้เพิ่มจาก 2 ล้านตัน เป็น 4 ล้านตัน รวมถึงพม่าด้วย ขณะที่อินเดียที่หยุดการส่งออกไปนานก็จับกลับมาส่งออกข้าวนึ่งได้ในไม่ช้า ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในที่สุด เพราะการตั้งราคาจำนำข้าวที่สูงนำตลาดมาก ทำให้ต้นทุนการส่งออกแพงกว่าคู่แข่งมาก แม้คุณภาพข้าวไทยจะสูงกว่าคู่แข่งก็ตาม
***กอร์ปศักดิ์-พรทิวา เคลียร์ปัญหาข้าวโพด
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งเรื่องการแทรกแซงราคาข้าวโพด กับนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ว่า ก็ไม่มีอะไร เราทำตามหน้าที่ และเป็นที่เข้าใจแล้วว่า วีธีการเดิมมันทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของครม.ชุดเก่า จึงเป็นหน้าที่ของครม.ชุดใหม่ ที่มีคณะกรรมการดูแลข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต้องไปรับผิดชอบ ขณะนี้ รอมติครม.ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนน่าจะออกภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ ซึ่งนางพรทิวา ก็ยังเป็นประธานอนุกรรมการการระบายข้าวโพดอยู่ดี เพียงแต่เป็นกรอบใหม่ที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อถามว่า นางพรทิวา ระบุว่าถ้ายิ่งยาวไปคุณภาพข้าวโพดจะมีปัญหา และราคาตก นายกอร์ปศักด์ ตอบว่า แต่ถ้าขายในวันนั้น มันผิดกฎหมาย ไม่ถูกต้อง เป็นไปตามติครม.ชุดเก่า ตนก็เป็นห่วงแทน ยืนยันตนไม่มีปัญหาอะไรถึงขนาดจะทำงานกันไม่ได้