เอเอฟพี – ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ เปิดแนวรบใหม่ในสงครามต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยในวันอังคาร (19) เขามีกำหนดการที่จะเปิดเผยระเบียบข้อบังคับชุดใหม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพและการปล่อยไอเสียของรถยนต์ ซึ่งจะส่งผลเทียบเท่ากับการทำให้รถยนต์ 177 ล้านคันออกไปจากท้องถนน
แผนการใหม่นี้นับเป็นการวางมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกของสหรัฐฯ อีกทั้งเป็นการบังคับให้อุตสาหกรรมรถยนต์ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์และรถกระบะครั้งใหญ่ภายในปี 2016
ระเบียบข้อบังคับชุดใหม่เหล่านี้ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องระยะทางที่รถจะต้องวิ่งได้จากน้ำมัน 1 แกลลอน ตลอดจนเรื่องปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดที่รถยนต์และรถกระบะจะปล่อยออกมาได้นั้น จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2012
แผนการดังกล่าวนี้ ตั้งเป้าหมายที่จะประหยัดน้ำมันถึง 1,800 ล้านบาร์เรล และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 900 ล้านเมตริกตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปิดโรงงานถ่านหินถึง 194 แห่ง
การประกาศแผนการคราวนี้ ได้เสียงขานรับทั้งจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพวกเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมรถยนต์ แม้ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป ขณะเดียวกันก็จะสอดคล้องกับความพยายามของทำเนียบขาวและพันธมิตรของโอบามาในรัฐสภา ที่กำลังผลักดันเพื่อให้ผ่านร่างรัฐบัญญัติฉบับสำคัญ ซึ่งมีเป้าหมายในการต่อสู้ภาวะโลกร้อน
“รัฐบาลกำลังเสนอมาตรฐานการประหยัดน้ำมันชุดใหม่ที่เข้มงวดขึ้นและเป็นมาตรฐานในการลดมลพิษจากก๊าซเรือนกระจกครั้งแรกสำหรับรถยนต์และรถบรรทุกในสหรัฐฯ” เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งระบุโดยขอไม่ให้ระบุชื่อ เนื่องจากโอบามาจะเป็นผู้แถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการในวันอังคาร (ช่วงคืนวันอังคารของเมืองไทย)
เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้ยกย่องแผนการคราวนี้ ซึ่งจะต้องให้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (อีพีเอ) กับกระทรวงการขนส่ง ร่วมกันร่างออกมาเป็นกฎหมายหลายๆ ฉบับ ว่าเป็นผลงาน “ครั้งประวัติศาสตร์”
ระเบียบข้อบังคับใหม่นี้ จะกำหนดให้ยวดยานในสหรัฐฯ ต้องสามารถวิ่งได้เป็นระยะทางโดยเฉลี่ย 35.5 ไมล์จากการใช้น้ำมัน 1 แกลลอน (หรือเท่ากับ 15.44 กิโลเมตรต่อลิตร) ภายในปี 2016 หรือเร็วกว่าข้อกำหนดตามกฎหมายสหรัฐฯ ปัจจุบันถึง 4 ปี
ในส่วนของรถยนต์นั่งส่วนใหญ่ ต้องทำให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันอยู่ที่ 39 ไมล์ต่อแกลลอนภายในปี 2016 ขณะที่รถกระบะจะต้องมีมาตรฐานอยู่ที่ 30 ไมล์ต่อแกลลอน
แม้ว่าระเบียบข้อบังคับใหม่นี้ จะทำให้ราคารถยนต์สูงขึ้นกว่าเดิมคันละราว 600 ดอลลาร์ แต่ทางการระบุว่าผู้ขับขี่จะได้เงินกลับคืนมาจากการที่ต้องซื้อน้ำมันน้อยลง
นอกจากนั้น ระเบียบข้อบังคับใหม่ที่กำลังจะแถลงกันคราวนี้ ยังเป็นการให้รายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อที่ผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์ด เจเนอรัล มอเตอร์ ไครส์เลอร์ ตลอดจนโตโยต้า และ ฮอนดา จะได้ดำเนินการปรับสายการผลิตรถยนต์ของตนให้สอดคล้องตามข้อกำหนด และใช้มาตรฐานประสิทธิภาพแบบเดียวกันทั่วประเทศตามที่เคยเรียกร้องกับรัฐบาลด้วย
“ความมั่นคงด้านพลังงานและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นหลักของชาติที่ต้องให้ความสำคัญก่อนอื่น โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำของประเทศและประธานาธิบดีในการกำหนดทิศทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศชาติและอุตสาหกรรมด้วย” ฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของจีเอ็ม เน้นย้ำว่าการประสานมาตรฐานข้อกำหนดให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ แทนที่จะปล่อยให้แต่ละมลรัฐเป็นผู้กำหนดอย่างในปัจจุบันนั้น “จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคทั่วอเมริกา”
ด้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างก็แสดงความยินดีกับมาตรฐานใหม่ที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม ดังที่คาร์ล โป๊ป ผู้อำนวยการบริหารของเซียรา คลับระบุว่า “เป็นความพยายามครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เท่าที่เคยมีมา ในการลดการพึ่งพาน้ำมันและเอาจริงเอาจังกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของปัญหาโลกร้อน”
แผนการใหม่นี้นับเป็นการวางมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกของสหรัฐฯ อีกทั้งเป็นการบังคับให้อุตสาหกรรมรถยนต์ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์และรถกระบะครั้งใหญ่ภายในปี 2016
ระเบียบข้อบังคับชุดใหม่เหล่านี้ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องระยะทางที่รถจะต้องวิ่งได้จากน้ำมัน 1 แกลลอน ตลอดจนเรื่องปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดที่รถยนต์และรถกระบะจะปล่อยออกมาได้นั้น จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2012
แผนการดังกล่าวนี้ ตั้งเป้าหมายที่จะประหยัดน้ำมันถึง 1,800 ล้านบาร์เรล และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 900 ล้านเมตริกตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปิดโรงงานถ่านหินถึง 194 แห่ง
การประกาศแผนการคราวนี้ ได้เสียงขานรับทั้งจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพวกเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมรถยนต์ แม้ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป ขณะเดียวกันก็จะสอดคล้องกับความพยายามของทำเนียบขาวและพันธมิตรของโอบามาในรัฐสภา ที่กำลังผลักดันเพื่อให้ผ่านร่างรัฐบัญญัติฉบับสำคัญ ซึ่งมีเป้าหมายในการต่อสู้ภาวะโลกร้อน
“รัฐบาลกำลังเสนอมาตรฐานการประหยัดน้ำมันชุดใหม่ที่เข้มงวดขึ้นและเป็นมาตรฐานในการลดมลพิษจากก๊าซเรือนกระจกครั้งแรกสำหรับรถยนต์และรถบรรทุกในสหรัฐฯ” เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งระบุโดยขอไม่ให้ระบุชื่อ เนื่องจากโอบามาจะเป็นผู้แถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการในวันอังคาร (ช่วงคืนวันอังคารของเมืองไทย)
เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้ยกย่องแผนการคราวนี้ ซึ่งจะต้องให้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (อีพีเอ) กับกระทรวงการขนส่ง ร่วมกันร่างออกมาเป็นกฎหมายหลายๆ ฉบับ ว่าเป็นผลงาน “ครั้งประวัติศาสตร์”
ระเบียบข้อบังคับใหม่นี้ จะกำหนดให้ยวดยานในสหรัฐฯ ต้องสามารถวิ่งได้เป็นระยะทางโดยเฉลี่ย 35.5 ไมล์จากการใช้น้ำมัน 1 แกลลอน (หรือเท่ากับ 15.44 กิโลเมตรต่อลิตร) ภายในปี 2016 หรือเร็วกว่าข้อกำหนดตามกฎหมายสหรัฐฯ ปัจจุบันถึง 4 ปี
ในส่วนของรถยนต์นั่งส่วนใหญ่ ต้องทำให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันอยู่ที่ 39 ไมล์ต่อแกลลอนภายในปี 2016 ขณะที่รถกระบะจะต้องมีมาตรฐานอยู่ที่ 30 ไมล์ต่อแกลลอน
แม้ว่าระเบียบข้อบังคับใหม่นี้ จะทำให้ราคารถยนต์สูงขึ้นกว่าเดิมคันละราว 600 ดอลลาร์ แต่ทางการระบุว่าผู้ขับขี่จะได้เงินกลับคืนมาจากการที่ต้องซื้อน้ำมันน้อยลง
นอกจากนั้น ระเบียบข้อบังคับใหม่ที่กำลังจะแถลงกันคราวนี้ ยังเป็นการให้รายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อที่ผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์ด เจเนอรัล มอเตอร์ ไครส์เลอร์ ตลอดจนโตโยต้า และ ฮอนดา จะได้ดำเนินการปรับสายการผลิตรถยนต์ของตนให้สอดคล้องตามข้อกำหนด และใช้มาตรฐานประสิทธิภาพแบบเดียวกันทั่วประเทศตามที่เคยเรียกร้องกับรัฐบาลด้วย
“ความมั่นคงด้านพลังงานและการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นหลักของชาติที่ต้องให้ความสำคัญก่อนอื่น โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำของประเทศและประธานาธิบดีในการกำหนดทิศทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศชาติและอุตสาหกรรมด้วย” ฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของจีเอ็ม เน้นย้ำว่าการประสานมาตรฐานข้อกำหนดให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ แทนที่จะปล่อยให้แต่ละมลรัฐเป็นผู้กำหนดอย่างในปัจจุบันนั้น “จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคทั่วอเมริกา”
ด้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างก็แสดงความยินดีกับมาตรฐานใหม่ที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม ดังที่คาร์ล โป๊ป ผู้อำนวยการบริหารของเซียรา คลับระบุว่า “เป็นความพยายามครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เท่าที่เคยมีมา ในการลดการพึ่งพาน้ำมันและเอาจริงเอาจังกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของปัญหาโลกร้อน”