รอยเตอร์ - มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของโลก ประกาศวานนี้(18)ลดความน่าเชื่อถือของหนี้สกุลเงินต่างประเทศของภาครัฐญี่ปุ่นลงจากทริปเปิ้ลเอ (Aaa) ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดลงมาเป็น Aa2 ทำให้เกิดเสียงคาดเก็งกันขึ้นมาใหม่ว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจรายใหญ่ๆ อื่นๆ ก็น่าจะต้องถูกลดเรตติ้งเช่นเดียวกัน
ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ จำนวนมากที่ถูกจัดอยู่ในระดับ Aaa ด้วยกัน ญี่ปุ่นซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกนั้นพึ่งพาเงินทุนจากภายในประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความเคลื่อนไหวคราวนี้จึงมีผลในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น นอกจากนั้น มูดีส์ยังกลับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับหนี้สกุลเงินตราในประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่นขึ้นมา 1 อันดับ
การปรับเพิ่มและลดเรตติ้งคราวนี้ ซึ่งมูดีส์บอกว่าจะทำให้หนี้สินของรัฐบาลญี่ปุ่นทั้งหมดอยู่ในระดับ Aa2 เสมอหน้ากันนั้น ปรากฏว่าส่งผลกระทบเพียงจำกัดต่อตลาดพันธบัตรแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งกำลังทำท่าจะทำลายสถิติสูงสุดในเรื่องการปล่อยเงินให้แก่รัฐบาล
นอกจากนั้น ความเคลื่อนไหวของมูดีส์คราวนี้ยังบังเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่มีการเผยผลสำรวจอารมณ์ความรู้สึกในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นในเดือนนี้ ซึ่งปรากฏว่ามีการมองโลกสดใสขึ้นกว่าช่วงที่ลงไปต่ำสุด และจึงยังทำให้เกิดความหวังกันว่า ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ซึ่งเศรษฐกิจติดลบอย่างน่ากลัว น่าจะเป็นการลงสู่จุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งในญี่ปุ่นและในเศรษฐกิจโลก
แต่เนื่องจากในเวลานี้รัฐบาลประเทศต่างๆ ตั้งแต่สหรัฐฯไปจนถึงจีน ต่างประกาศแผนการกระตุ้นเสรษฐกิจของพวกตนรวมเป็นมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ปริมาณหนี้สินและการขาดดุลเพิ่มพูนขึ้นมหาศาล จนบังเกิดคำถามเกี่ยวกับความสามารถของประเทศเฉกเช่น สหรัฐฯ และอังกฤษ ว่าควรที่จะให้มีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับสูงสุดต่อไปหรือไม่
“ความเคลื่อนไหวเพื่อลดเรตติ้งตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศของญี่ปุ่นให้ต่ำลงมาจากอันดับ Aaa กลายเป็นการเปิดทางให้แก่ข่าวลือในเรื่องที่ว่า มูดีส์จะใช้ปฏิบัติการทำนองเดียวกันนี้กับพวกที่ได้เรตติ้งทริปเปิลเอรายอื่นๆ หรือไม่” เคนโร คาวาโนะ นักยุทธศาสตร์อาวุโสด้านการจัดอันดับแห่ง เครดีต์ สวิส ในกรุงโตเกียว ให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนมากไม่คาดหมายว่า ตลาดจะเปลี่ยนแปลงทัศนะของพวกตนเกี่ยวกับตลาดหนี้สินในประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นกำลังก่อหนี้สาธารณะจนอยู่ในสัดส่วนสูงที่สุดในบรรดาชาติอุตสาหกรรมด้วยกัน ทว่าก็ยังคงสามารถหากู้ยืมจากเงินออมในประเทศที่มีอยู่มากมายได้ต่อไป
ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ จำนวนมากที่ถูกจัดอยู่ในระดับ Aaa ด้วยกัน ญี่ปุ่นซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกนั้นพึ่งพาเงินทุนจากภายในประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความเคลื่อนไหวคราวนี้จึงมีผลในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น นอกจากนั้น มูดีส์ยังกลับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับหนี้สกุลเงินตราในประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่นขึ้นมา 1 อันดับ
การปรับเพิ่มและลดเรตติ้งคราวนี้ ซึ่งมูดีส์บอกว่าจะทำให้หนี้สินของรัฐบาลญี่ปุ่นทั้งหมดอยู่ในระดับ Aa2 เสมอหน้ากันนั้น ปรากฏว่าส่งผลกระทบเพียงจำกัดต่อตลาดพันธบัตรแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งกำลังทำท่าจะทำลายสถิติสูงสุดในเรื่องการปล่อยเงินให้แก่รัฐบาล
นอกจากนั้น ความเคลื่อนไหวของมูดีส์คราวนี้ยังบังเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่มีการเผยผลสำรวจอารมณ์ความรู้สึกในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นในเดือนนี้ ซึ่งปรากฏว่ามีการมองโลกสดใสขึ้นกว่าช่วงที่ลงไปต่ำสุด และจึงยังทำให้เกิดความหวังกันว่า ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ซึ่งเศรษฐกิจติดลบอย่างน่ากลัว น่าจะเป็นการลงสู่จุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งในญี่ปุ่นและในเศรษฐกิจโลก
แต่เนื่องจากในเวลานี้รัฐบาลประเทศต่างๆ ตั้งแต่สหรัฐฯไปจนถึงจีน ต่างประกาศแผนการกระตุ้นเสรษฐกิจของพวกตนรวมเป็นมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ปริมาณหนี้สินและการขาดดุลเพิ่มพูนขึ้นมหาศาล จนบังเกิดคำถามเกี่ยวกับความสามารถของประเทศเฉกเช่น สหรัฐฯ และอังกฤษ ว่าควรที่จะให้มีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับสูงสุดต่อไปหรือไม่
“ความเคลื่อนไหวเพื่อลดเรตติ้งตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศของญี่ปุ่นให้ต่ำลงมาจากอันดับ Aaa กลายเป็นการเปิดทางให้แก่ข่าวลือในเรื่องที่ว่า มูดีส์จะใช้ปฏิบัติการทำนองเดียวกันนี้กับพวกที่ได้เรตติ้งทริปเปิลเอรายอื่นๆ หรือไม่” เคนโร คาวาโนะ นักยุทธศาสตร์อาวุโสด้านการจัดอันดับแห่ง เครดีต์ สวิส ในกรุงโตเกียว ให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนมากไม่คาดหมายว่า ตลาดจะเปลี่ยนแปลงทัศนะของพวกตนเกี่ยวกับตลาดหนี้สินในประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นกำลังก่อหนี้สาธารณะจนอยู่ในสัดส่วนสูงที่สุดในบรรดาชาติอุตสาหกรรมด้วยกัน ทว่าก็ยังคงสามารถหากู้ยืมจากเงินออมในประเทศที่มีอยู่มากมายได้ต่อไป