ASTVผ้จัดการรายวัน - สสปน. รุกทำการตลาดล่วงหน้า มุ่งรักษาความเชื่อมั่นลูกค้าในระยะยาว เจาะตลาดยุโรป นำทีมผู้ประกอบการร่วมงาน IMEX 2009 ควบจัดงานแถลงเปิดตัว ประกาศไทยเป็นประธาน AACVB พร้อมผนึกกำลังนำเอเชียสู่จุดหมายไมซ์โลก
นางมาลินี กิตะพาณิชย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สสปน. เปิดเผยว่า “เพื่อรุกสานต่อทั้งนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูภาพลักษณ์ และ ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย สสปน. จึงเป็นแกนนำในการนำทีมประเทศไทย และผู้ประกอบการไมซ์ไทยเข้าร่วมงาน IMEX 2009 ที่ประเทศเยอรมนี
ที่คาดว่าจะมีผู้แสดงสินค้ามากกว่า 3,500 ราย จากกว่า 150 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงาน และมีพื้นที่การจัดแสดงสินค้ามากถึง 17,000 ตารางเมตร จึงนับเป็นงานที่มีขนาดใหญ่และรองรับผู้ซื้อจากนานาประเทศทั่วโลก โดยงาน IMEX ในปีนี้มีผู้ประกอบการไมซ์ของไทยเข้าร่วมงานกว่า 15 บริษัท โดยในปีนี้ สสปน. เพิ่มการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E Marketing) ช่วยเหลือผู้ประกอบการไมซ์ เพื่อกระตุ้นให้มีผู้เข้าร่วมบูธไทยแลนด์ พาวิลเลียน (Thailand Pavillion) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่แต่ละบริษัทจะได้แสดงศักยภาพ และความพร้อมของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคเอเชียให้แก่นานาชาติ โดยเฉพาะตลาดไมซ์แถบยุโรป หรือ ตลาดเดินทางระยะไกล
สสปน. ได้วางกลยุทธ์กระตุ้นตลาดไมซ์กลุ่มเดินทางระยะไกล โดยเน้น 3 กลยุทธ์หลัก คือ โปรโมทประเทศไทย และอุตสาหกรรมไมซ์ ผ่าน Testimonials เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ภายใต้แคมเปญ “Thailand Moving Forward” ตอกย้ำการกลับมาของประเทศไทยในการดำเนินธุรกิจไมซ์ และการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ในเอเซีย โดยรวบรวมการนำเสนอตัวแทนองค์กร หรือสมาคมที่จะเข้ามาจัดประชุม หรือเคยจัดประชุมในประเทศไทย ทั้งองค์กร ที่เชื่อมั่นในการเดินทางมายังประเทศไทย
และสอง คือ โปรโมทประเทศไทยในเชิงกลยุทธ์การขายประเทศเป็นจุดหมายปลายทาง คือ ด้านการ “จัดสรรกลุ่มพื้นที่ธุรกิจตามความต้องการของผู้เดินทางกลุ่ม หรือ Clustered Marketing” โดยการดึงเอาจุดแข็งในความแตกต่างของทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศไทยมาปรับใช้เป็นจุดแข็งของประเทศ ที่เน้นชูความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละกลุ่มประเทศลูกค้าที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มพื้นที่ธุรกิจ ดังนี้ กลุ่มกรุงเทพฯ ปริมณฑลและพัทยา กลุ่มเชียงใหม่และเชียงราย กลุ่มนครราชสีมาและขอนแก่น กลุ่มหัวหินและชะอำ และ กลุ่มภูเก็ต กระบี่และพังงา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลัสเตอร์ กลุ่มเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งเป็นกลุ่มพื้นที่ที่เป็นที่นิยมชมชอบของชาวยุโรป ผู้ซึ่งชื่นชอบความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม ความมีมรดกทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันงดงาม
นอกจากนี้ สสปน. ยังได้จัด แคมเปญส่งเสริมการขายที่เน้นสนับสนุนพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ตลาดระยะไกล ทั้งสำหรับธุรกิจการประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Meetings & Incentives) โดยกลุ่ม MI นั้น ประกอบด้วยโปรโมชั่นไฮไลท์ประจำปี 2552 “Meeting More Memorable และ Meeting Plus” แล้วยังมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้เดินทางกลุ่มธุรกิจตั้งแต่ 25 คนขึ้นไป หรือ 50 คนขึ้นไป โดยจะได้รับแพ็คเกจสนับสนุนเกี่ยวกับกิจกรรมเชิงท่องเที่ยว อาทิ สปา กอลฟ์ การเลี้ยงรับรอง และการแสดงด้านวัฒนธรรม
สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ของไทยในปี 2552 นี้ คาดว่าจะสามารถรักษารายได้เข้าประเทศได้ประมาณ 41,000 ล้านบาท และมีจำนวนผู้เดินทางกลุ่มธุรกิจ เข้าประเทศประมาณ 500,000 คน อย่างไรก็ตาม สสปน. จึงยังต้องรุกทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ และเข้าร่วมงานเทรดโชว์ รวมถึงเป็นแกนนำการจัดทำโรดโชว์ต่อไป เพื่อเป็นการเร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่น ตลอดจนศักยภาพของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของธุรกิจไมซ์ในภูมิภาคเอเชีย” นางมาลินี กล่าวสรุป
และอีกหนึ่งกิจกรรมหลักที่สำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ของเอเชียที่จะเกิดขึ้นที่ งาน IMEX 2009 ที่ประเทศเยอรมนีในปีนี้ ก็คือ งานแถลงข่าวเปิดตัวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของ สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติเอเชีย หรือ AACVB (The Asian Association of Convention and Visitors Bureaus) ในฐานะตัวแทนของภูมิภาคเอเชีย ในการจะนำพา ภูมิภาคเอเชียให้ไปสู่การเป็นจุดหมายหลักของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก ภายใต้นโยบาย “Asia Welcomes the World” โดยประเทศไทยในฐานะประธานสมาคม AACVB จะเป็นผู้นำในการแถลงข่าวร่วมกับอีก 7 องค์กรส่งเสริมการจัดประชุมทั่วเอเชีย อันได้แก่ ฮ่องกง เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน สิงค์โปร์ และ มาเก๊า ผนึกกำลังเพื่อประกาศพันธกิจความร่วมมือและผนึกกำลังกันของทุกองค์กรส่งเสริมการจัดประชุมของภูมิภาคเอเชีย เพื่อผลักดันให้เอเชียเป็นสุดยอดจุดหมายอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก
นางสุประภา โมฬีรตานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการประชุมนานาชาติ สสปน. กล่าวว่า “ในตอนนี้ กลุ่ม AACVB ประกอบไปด้วย 8 องค์กรส่งเสริมการจัดประชุมทั่วเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ได้จับมือผนึกกำลังกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อร่วมกันยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์ของเอเชียและนำพาเอเชียไปสู่ความเป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก โดยการรวมกลุ่มในครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็น “การดำเนินกลยุทธ์การตลาดระยะยาวอย่างยั่งยืน” ในการยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ของเอเซียในภาพรวม โดยมีพันธกิจหลักร่วมกัน 4 ด้าน คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติ การจัดทำแผนการตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การพัฒนาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและการฝึกอบรม และการดำเนินการจัดหาและดูแลสมาชิก
นอกจากนี้ การที่กลุ่ม AACVB จะพาภูมิภาคเอเชียไปสู่ความสำเร็จในการเป็นจุดหมายของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลกนั้น จะเกิดขี้นไม่ได้ถ้าปราศจากความพยายามของกลุ่มผู้ประกอบการไมซ์ในการนำเสนอข้อได้เปรียบของภูมิภาคเอเซียในการเป็นจุดหมายปลายทางด้านความคุ้มค่าคุ้มราคา คุณภาพของการบริการ เอกลักษณ์ของความเป็นมิตรไมตรี ความหลากหลายของศิลปะวัฒนธรรม ความน่าสนใจของกิจกรรมเสริมที่โดดเด่น สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสถานที่ในการจัดประชุม ประกอบกับในครั้งนี้ จะมีการเปิดตัวแนวทางการสื่อสาร โลโก้ใหม่ของ AACVB ภายใต้แนวคิด “Asia, the Ideal Destination for Any Business Events” ที่มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสดใหม่ ทันสมัย และความร่วมมือในกรอบการดำเนินงานใหม่ที่เน้นเชิงรุก บุกตลาดไมซ์โลก เพื่อที่จะสามารถดึงดูดงานประชุมให้เข้ามาภายในภูมิภาคเอเชียให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะงานที่มีการจัดหมุนเวียนกันในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจะนำพาภูมิภาคเอเชียให้ไปสู่การเป็นจุดหมายหลักของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก ภายใต้นโยบาย “Asia Welcomes the World” นั่นเอง
นางมาลินี กิตะพาณิชย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สสปน. เปิดเผยว่า “เพื่อรุกสานต่อทั้งนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูภาพลักษณ์ และ ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย สสปน. จึงเป็นแกนนำในการนำทีมประเทศไทย และผู้ประกอบการไมซ์ไทยเข้าร่วมงาน IMEX 2009 ที่ประเทศเยอรมนี
ที่คาดว่าจะมีผู้แสดงสินค้ามากกว่า 3,500 ราย จากกว่า 150 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงาน และมีพื้นที่การจัดแสดงสินค้ามากถึง 17,000 ตารางเมตร จึงนับเป็นงานที่มีขนาดใหญ่และรองรับผู้ซื้อจากนานาประเทศทั่วโลก โดยงาน IMEX ในปีนี้มีผู้ประกอบการไมซ์ของไทยเข้าร่วมงานกว่า 15 บริษัท โดยในปีนี้ สสปน. เพิ่มการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E Marketing) ช่วยเหลือผู้ประกอบการไมซ์ เพื่อกระตุ้นให้มีผู้เข้าร่วมบูธไทยแลนด์ พาวิลเลียน (Thailand Pavillion) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีที่แต่ละบริษัทจะได้แสดงศักยภาพ และความพร้อมของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคเอเชียให้แก่นานาชาติ โดยเฉพาะตลาดไมซ์แถบยุโรป หรือ ตลาดเดินทางระยะไกล
สสปน. ได้วางกลยุทธ์กระตุ้นตลาดไมซ์กลุ่มเดินทางระยะไกล โดยเน้น 3 กลยุทธ์หลัก คือ โปรโมทประเทศไทย และอุตสาหกรรมไมซ์ ผ่าน Testimonials เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ภายใต้แคมเปญ “Thailand Moving Forward” ตอกย้ำการกลับมาของประเทศไทยในการดำเนินธุรกิจไมซ์ และการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ในเอเซีย โดยรวบรวมการนำเสนอตัวแทนองค์กร หรือสมาคมที่จะเข้ามาจัดประชุม หรือเคยจัดประชุมในประเทศไทย ทั้งองค์กร ที่เชื่อมั่นในการเดินทางมายังประเทศไทย
และสอง คือ โปรโมทประเทศไทยในเชิงกลยุทธ์การขายประเทศเป็นจุดหมายปลายทาง คือ ด้านการ “จัดสรรกลุ่มพื้นที่ธุรกิจตามความต้องการของผู้เดินทางกลุ่ม หรือ Clustered Marketing” โดยการดึงเอาจุดแข็งในความแตกต่างของทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศไทยมาปรับใช้เป็นจุดแข็งของประเทศ ที่เน้นชูความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละกลุ่มประเทศลูกค้าที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มพื้นที่ธุรกิจ ดังนี้ กลุ่มกรุงเทพฯ ปริมณฑลและพัทยา กลุ่มเชียงใหม่และเชียงราย กลุ่มนครราชสีมาและขอนแก่น กลุ่มหัวหินและชะอำ และ กลุ่มภูเก็ต กระบี่และพังงา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คลัสเตอร์ กลุ่มเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งเป็นกลุ่มพื้นที่ที่เป็นที่นิยมชมชอบของชาวยุโรป ผู้ซึ่งชื่นชอบความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม ความมีมรดกทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันงดงาม
นอกจากนี้ สสปน. ยังได้จัด แคมเปญส่งเสริมการขายที่เน้นสนับสนุนพิเศษสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ตลาดระยะไกล ทั้งสำหรับธุรกิจการประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Meetings & Incentives) โดยกลุ่ม MI นั้น ประกอบด้วยโปรโมชั่นไฮไลท์ประจำปี 2552 “Meeting More Memorable และ Meeting Plus” แล้วยังมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้เดินทางกลุ่มธุรกิจตั้งแต่ 25 คนขึ้นไป หรือ 50 คนขึ้นไป โดยจะได้รับแพ็คเกจสนับสนุนเกี่ยวกับกิจกรรมเชิงท่องเที่ยว อาทิ สปา กอลฟ์ การเลี้ยงรับรอง และการแสดงด้านวัฒนธรรม
สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ของไทยในปี 2552 นี้ คาดว่าจะสามารถรักษารายได้เข้าประเทศได้ประมาณ 41,000 ล้านบาท และมีจำนวนผู้เดินทางกลุ่มธุรกิจ เข้าประเทศประมาณ 500,000 คน อย่างไรก็ตาม สสปน. จึงยังต้องรุกทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ และเข้าร่วมงานเทรดโชว์ รวมถึงเป็นแกนนำการจัดทำโรดโชว์ต่อไป เพื่อเป็นการเร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่น ตลอดจนศักยภาพของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของธุรกิจไมซ์ในภูมิภาคเอเชีย” นางมาลินี กล่าวสรุป
และอีกหนึ่งกิจกรรมหลักที่สำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ของเอเชียที่จะเกิดขึ้นที่ งาน IMEX 2009 ที่ประเทศเยอรมนีในปีนี้ ก็คือ งานแถลงข่าวเปิดตัวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของ สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติเอเชีย หรือ AACVB (The Asian Association of Convention and Visitors Bureaus) ในฐานะตัวแทนของภูมิภาคเอเชีย ในการจะนำพา ภูมิภาคเอเชียให้ไปสู่การเป็นจุดหมายหลักของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก ภายใต้นโยบาย “Asia Welcomes the World” โดยประเทศไทยในฐานะประธานสมาคม AACVB จะเป็นผู้นำในการแถลงข่าวร่วมกับอีก 7 องค์กรส่งเสริมการจัดประชุมทั่วเอเชีย อันได้แก่ ฮ่องกง เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน สิงค์โปร์ และ มาเก๊า ผนึกกำลังเพื่อประกาศพันธกิจความร่วมมือและผนึกกำลังกันของทุกองค์กรส่งเสริมการจัดประชุมของภูมิภาคเอเชีย เพื่อผลักดันให้เอเชียเป็นสุดยอดจุดหมายอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก
นางสุประภา โมฬีรตานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการประชุมนานาชาติ สสปน. กล่าวว่า “ในตอนนี้ กลุ่ม AACVB ประกอบไปด้วย 8 องค์กรส่งเสริมการจัดประชุมทั่วเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ได้จับมือผนึกกำลังกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อร่วมกันยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์ของเอเชียและนำพาเอเชียไปสู่ความเป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก โดยการรวมกลุ่มในครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็น “การดำเนินกลยุทธ์การตลาดระยะยาวอย่างยั่งยืน” ในการยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ของเอเซียในภาพรวม โดยมีพันธกิจหลักร่วมกัน 4 ด้าน คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติ การจัดทำแผนการตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การพัฒนาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและการฝึกอบรม และการดำเนินการจัดหาและดูแลสมาชิก
นอกจากนี้ การที่กลุ่ม AACVB จะพาภูมิภาคเอเชียไปสู่ความสำเร็จในการเป็นจุดหมายของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลกนั้น จะเกิดขี้นไม่ได้ถ้าปราศจากความพยายามของกลุ่มผู้ประกอบการไมซ์ในการนำเสนอข้อได้เปรียบของภูมิภาคเอเซียในการเป็นจุดหมายปลายทางด้านความคุ้มค่าคุ้มราคา คุณภาพของการบริการ เอกลักษณ์ของความเป็นมิตรไมตรี ความหลากหลายของศิลปะวัฒนธรรม ความน่าสนใจของกิจกรรมเสริมที่โดดเด่น สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสถานที่ในการจัดประชุม ประกอบกับในครั้งนี้ จะมีการเปิดตัวแนวทางการสื่อสาร โลโก้ใหม่ของ AACVB ภายใต้แนวคิด “Asia, the Ideal Destination for Any Business Events” ที่มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสดใหม่ ทันสมัย และความร่วมมือในกรอบการดำเนินงานใหม่ที่เน้นเชิงรุก บุกตลาดไมซ์โลก เพื่อที่จะสามารถดึงดูดงานประชุมให้เข้ามาภายในภูมิภาคเอเชียให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะงานที่มีการจัดหมุนเวียนกันในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจะนำพาภูมิภาคเอเชียให้ไปสู่การเป็นจุดหมายหลักของอุตสาหกรรมไมซ์ของโลก ภายใต้นโยบาย “Asia Welcomes the World” นั่นเอง