เอเอฟพี - สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯจากทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน เผยเมื่อวันพุธ (13) ถึงแผนการตอบโต้ประเทศที่พวกเขากล่าวหาว่าเข้าแทรกแซงค่าเงินเพื่อเอาเปรียบในการค้าระหว่างประเทศ โดยพวกเขาจะเสนอให้รัฐสภาออก "รัฐบัญญัติปฏิรูปค่าเงินเพื่อการค้าที่เป็นธรรม" ที่จะเรียกเก็บภาษีเป็นการลงโทษจากประเทศที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ทั้งนี้พวกเขายังกล่าวโจมตีจีนอย่างเผ็ดร้อน ในขณะที่ฝ่ายจีนตอบโต้โดยเตือนว่าแผนดังกล่าวรังแต่จะขยายลัทธิกีดกันทางการค้า
"ตอนนี้เป็นเวลาที่คองเกรสจะต้องปกป้องคนงานอเมริกัน และต้องไม่ยอมให้จีนมาทำลายเศรษฐกิจอเมริกัน กฎหมายใหม่นี้จะกดดันให้จีนหยุดการโกงเสียที และจะปรับระดับของสนามแข่งขันให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นสำหรับผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอเมริกา" ทิม เมอร์ฟีย์ ส.ส. จากพรรครีพับลิกันกล่าว
รัฐบัญญัติปฏิรูปค่าเงินเพื่อการค้าที่เป็นธรรมนี้ ได้รับการสนับสนุนทั้งจาก พรรครีพับลิกันและเดโมแครต รวมทั้งกลุ่มธุรกิจและสหภาพแรงงานขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะใช้มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน เพื่อรับมือกับการแทรกแซงค่าเงินที่เป็นปัญหามานาน
สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯจำนวนมาก ต่างกล่าวหาจีนเรื่อยมาว่าแทรกแซงค่าเงินหยวนโดยการทำให้ค่าเงินต่ำกว่าจริง ซึ่งส่งผลให้สินค้าจีนมีราคาถูกกว่าสินค้าจากสหรัฐฯ ในตลาดโลก และทำให้จีนส่งออกสินค้าได้มากขึ้น
"ถึงเวลาที่จะจัดการกับการแทรกแซงค่าเงินโดยผิดกฎหมายแล้ว โดยต้องถือว่ามันเป็นเหมือนการใช้วิธีอุดหนุนทางการค้านั่นเอง" จิม บันนิง วุฒิสมาชิกของพรรครีพับลิกันกล่าว ในขณะที่มีการเสนอกฎหมายฉบับดังกล่าวเข้าสู่วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
ตามร่างกฎหมายที่กำลังผลักดันเข้าสู่สภาฉบับนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะต้องเสนอรายงานต่อสาธารณชนว่าประเทศใดที่มีการแทรกแซงค่าเงินของตน และจะเป็นผู้ประกาศว่าพฤติการณ์ดังกล่าวจะต้องถูกลงโทษ ด้วยการจัดเก็บภาษีในลักษณะเป็นการลงโทษ จากสินค้าจากประเทศดังกล่าว หรืออาจใช้มาตรการทางการค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) การใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ สรุปแล้วว่าการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมดังกล่าวนั้น ก่อให้เกิด หรือเป็นภัยคุกคามอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญต่อบริษัทหรือคนงานของสหรัฐฯ
กระนั้นในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็มิได้ระบุชื่อประเทศใดเป็นการเฉพาะเจาะจง
ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ ระบุว่าจีนไม่ได้แทรกแซงค่าเงินเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน แต่ทว่าเงินหยวนก็มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง
ส่วนกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ก็ระบุในรายงานนโยบายค่าเงินโลกที่จัดทำปีละ 2 ฉบับ ว่าไม่มีประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ รายใดที่แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเพื่อให้เกิดความได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
ทางด้านรัฐบาลจีนได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้สวนกลับการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ของพวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯแบบทันควัน โดย หม่าเจาสู โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงเมื่อวานนี้(14) เตือนว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจนำไปสู่ลัทธิกีดกันทางการค้า
"การกล่าวหาจีนโดยไร้หลักฐานในประเด็นดังกล่าวรังแต่จะกระตุ้นให้เกิดลัทธิกีดกันทางการค้ามากขึ้น" หม่าระบุ และว่า "ประชาคมโลก รวมทั้งสหรัฐฯ ก็รู้ชัดแล้วว่ารัฐบาลจีนไม่ได้แสวงหากำไรทางการค้าระหว่างประเทศด้วยการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา"
อนึ่ง รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ของสหรัฐฯก็มีกำหนดการเยือนจีนในระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายนนี้
สหรัฐฯ มียอดขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเป็น 15,600 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม จากระดับ 14,200 ล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ และมียอดขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 266,300 ล้านดอลลาร์ในปี 2008 จากระดับ 256,200 ล้านดอลลาร์ในปี 2007
"ตอนนี้เป็นเวลาที่คองเกรสจะต้องปกป้องคนงานอเมริกัน และต้องไม่ยอมให้จีนมาทำลายเศรษฐกิจอเมริกัน กฎหมายใหม่นี้จะกดดันให้จีนหยุดการโกงเสียที และจะปรับระดับของสนามแข่งขันให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นสำหรับผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอเมริกา" ทิม เมอร์ฟีย์ ส.ส. จากพรรครีพับลิกันกล่าว
รัฐบัญญัติปฏิรูปค่าเงินเพื่อการค้าที่เป็นธรรมนี้ ได้รับการสนับสนุนทั้งจาก พรรครีพับลิกันและเดโมแครต รวมทั้งกลุ่มธุรกิจและสหภาพแรงงานขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะใช้มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน เพื่อรับมือกับการแทรกแซงค่าเงินที่เป็นปัญหามานาน
สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯจำนวนมาก ต่างกล่าวหาจีนเรื่อยมาว่าแทรกแซงค่าเงินหยวนโดยการทำให้ค่าเงินต่ำกว่าจริง ซึ่งส่งผลให้สินค้าจีนมีราคาถูกกว่าสินค้าจากสหรัฐฯ ในตลาดโลก และทำให้จีนส่งออกสินค้าได้มากขึ้น
"ถึงเวลาที่จะจัดการกับการแทรกแซงค่าเงินโดยผิดกฎหมายแล้ว โดยต้องถือว่ามันเป็นเหมือนการใช้วิธีอุดหนุนทางการค้านั่นเอง" จิม บันนิง วุฒิสมาชิกของพรรครีพับลิกันกล่าว ในขณะที่มีการเสนอกฎหมายฉบับดังกล่าวเข้าสู่วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
ตามร่างกฎหมายที่กำลังผลักดันเข้าสู่สภาฉบับนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะต้องเสนอรายงานต่อสาธารณชนว่าประเทศใดที่มีการแทรกแซงค่าเงินของตน และจะเป็นผู้ประกาศว่าพฤติการณ์ดังกล่าวจะต้องถูกลงโทษ ด้วยการจัดเก็บภาษีในลักษณะเป็นการลงโทษ จากสินค้าจากประเทศดังกล่าว หรืออาจใช้มาตรการทางการค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) การใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้า จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ สรุปแล้วว่าการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมดังกล่าวนั้น ก่อให้เกิด หรือเป็นภัยคุกคามอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญต่อบริษัทหรือคนงานของสหรัฐฯ
กระนั้นในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็มิได้ระบุชื่อประเทศใดเป็นการเฉพาะเจาะจง
ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ ระบุว่าจีนไม่ได้แทรกแซงค่าเงินเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน แต่ทว่าเงินหยวนก็มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง
ส่วนกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ก็ระบุในรายงานนโยบายค่าเงินโลกที่จัดทำปีละ 2 ฉบับ ว่าไม่มีประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ รายใดที่แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเพื่อให้เกิดความได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
ทางด้านรัฐบาลจีนได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้สวนกลับการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ของพวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯแบบทันควัน โดย หม่าเจาสู โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงเมื่อวานนี้(14) เตือนว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจนำไปสู่ลัทธิกีดกันทางการค้า
"การกล่าวหาจีนโดยไร้หลักฐานในประเด็นดังกล่าวรังแต่จะกระตุ้นให้เกิดลัทธิกีดกันทางการค้ามากขึ้น" หม่าระบุ และว่า "ประชาคมโลก รวมทั้งสหรัฐฯ ก็รู้ชัดแล้วว่ารัฐบาลจีนไม่ได้แสวงหากำไรทางการค้าระหว่างประเทศด้วยการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา"
อนึ่ง รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ของสหรัฐฯก็มีกำหนดการเยือนจีนในระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายนนี้
สหรัฐฯ มียอดขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเป็น 15,600 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม จากระดับ 14,200 ล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ และมียอดขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 266,300 ล้านดอลลาร์ในปี 2008 จากระดับ 256,200 ล้านดอลลาร์ในปี 2007