ปตท.กอดหุ้น”ไออาร์พีซี”แน่น ยันไม่ขายให้อดีตผู้บริหารเดิม”ประชัย เลี่ยวไพรัตน์” อ้างลงทุนระยะยาว และเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ผูกพันให้ปตท.ต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า25% “ประเสริฐ”ลั่นผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งออมสิน-กบข.จะขายไออาร์พีซี ก็พร้อมที่จะเข้าไปเสียบแทน อ้อนอย่าโยง”ประชัย”เข้ากับการลาออกของ” บิ๊กหมง”ประธานบอร์ดฯ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกระแสข่าวที่อดีตผู้บริหารบมจ.ทีพีไอ(ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นบมจ.ไออาร์พีซี)จะหวนกลับมาซื้อหุ้นคืนเพื่อเข้ามามีบทบาทในไออาร์พีซีอีกครั้งว่า ปตท.เข้าไปซื้อหุ้นบมจ.ไออาร์พีซีจำนวน 36.77% ถือเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่มีนโนบายที่จะขายหุ้นดังกล่าวออกไปให้กับกลุ่มนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เนื่องจากปตท.อยู่ในธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นอยู่แล้ว อีกทั้งสัญญาเงินกู้ในการปรับโครงสร้างหนี้ของไออาร์พีซีก็ผูกพันว่าปตท.จะต้องถือหุ้นในไออาร์พีซีไม่น้อยกว่า 25% มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาเงินกู้ทำให้ต้องมีการรีไฟแนนซ์หนี้ใหม่
“ปตท.ไม่มีนโยบายที่จะขายหุ้นไออาร์พีซีออกไป เพราะเราลงทุนทั้งเงินและส่งคนเข้าไปแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการเต็มที่ อีกทั้งสัญญาเงินกู้กำหนดไว้ให้ปตท.ต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25% เพราะเจ้าหนี้ไม่ต้องการให้ปตท.หนีไป ขณะเดียวกันปตท.ไม่อยากให้ไออาร์พีซีเป็นรัฐวิสากิจ ดังนั้นจึงจะถือหุ้นไว้ไม่เกิน 40%”
อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือหุ้นรายอื่นอย่างธนาคารออมสิน จะเข้าขายหุ้นไออาร์พีซีที่ถืออยู่ 10% ก็พร้อมที่จะเข้าไปซื้อ ซึ่งเมื่อรวมกับปตท.เท่ากับคลังถืออยู่ 50%ก็ไม่มีปัญหา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าออมสินจะขายหุ้นออกมา หรือหากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)จะขายหุ้นไออาร์พีซีก็ต้องมาเสนอให้ปตท.ก่อน
นายประเสริฐ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการบริษัทไออาร์พีซีจากพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ไม่อยากให้มีการพาดพิงไปถึงนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารเดิม เนื่องจากนายประชัยไม่ได้ถือหุ้นในบริษัท ไออาร์พีซีอีกแล้ว และท่านก็มุ่งมั่นในการดูแลกิจการบมจ.ทีพีไอโพลีนอยู่
สำหรับตำแหน่งกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี ที่ว่างลงหลังจากการลาออกของพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา คงต้องดูรายละเอียดข้อบังคับบริษัทฯว่าจำเป็นต้องแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากไออาร์พีซีมีจำนวนกรรมการค่อนข้างมากถึง 17 ท่าน เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆในเครือปตท.ที่มีกรรมการเพียง 15 ท่านเท่านั้นแต่หากจะมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น 1 ตำแหน่งก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ส่อยุบบอร์ดชุดเล็ก
ก่อนหน้านี้ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท (บอร์ดใหญ่) และประธานกรรมการบริหาร (บอร์ดเล็ก) ซึ่งนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงานได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริษัทไออาร์พีซีเมื่อวานนี้ จะพิจารณาว่ายังจำเป็นต้องมีบอร์ดชุดเล็กต่อไปหรือไม่ ซึ่งปกติบริษัทที่มีความเข้มแข็งไม่จำเป็นต้องมีบอร์ดเล็กอีก โดยสาเหตุที่ต้องมีการตั้งบอร์ดเล็กขึ้นมานั้นเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงจากบมจ.ทีพีไอเป็นบมจ.ไออาร์พีซี มีกิจกรรมและคดีฟ้องร้องที่ต้องเข้ามาดูแลจัดการมาก ทำให้ต้องประชุมหารือบ่อย ซึ่งการทำงานในบอร์ดเล็กจะมีความคล่องตัวสูงกว่าบอร์ดใหญ่ที่มีการประชุมเพียงเดือนละครั้ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไออาร์พีซีมีความมั่นคงขึ้นก็คงไม่มีความจำเป็นต้องมีบอร์ดเล็กอีกต่อไป ที่ผ่านมา บริษัทย่อยในเครือปตท.ก็ไม่มีบอร์ดเล็กอยู่แล้ว
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า สำหรับตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ปตท.เคมิคอล (PTTCH)ที่ว่างลง หลังจากนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงานได้ลาออกไปนั้น คงต้องมีการแต่งตั้งกรรมการคนใหม่แทน หลังจากนั้นทางคณะกรรมการบริษัทฯจะประชุมเพื่อสรรหาประธานกรรมการคนใหม่ต่อไป ไม่เกี่ยวกับปตท.เพราะบอร์ดปตท.เคมิคอลยังมีตัวแทนจากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)อยู่ด้วย
ส่วนบริษัทอื่นๆในเครือปตท.ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการตามนโยบายของคณะกรรมการปตท.ที่ต้องการส่งตัวแทนจากปตท.เข้าไปดูแล ไม่ว่าจะบมจ.ไทยออยล์ หรือบมจ.บางจากปิโตรเลียม นายประเสริฐ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการบริษัทอื่นๆในเครือปตท. จะเน้นบริษัทหลักที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และปตท.ถือหุ้นใหญ่ แต่จะดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยยืนยันว่านโยบายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแผนการควบรวมกิจการของบริษัทย่อยในเครือปตท.
พรชัยพ้นประธานบอร์ดPTTCH
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ยื่นลาออกจากประธานคณะกรรมการ บมจ.ปตท.เคมิคอล(PTTCH) มีผล 15 พ.ค. นี้ กล่าวยืนยันว่า ไม่มีแรงบีบและลาออกด้วยความเต็มใจ เพื่อเปิดทางให้ บมจ.ปตท.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เข้ามาดำเนินการใน ปตท.เคมิคอลได้สะดวกมากขึ้น หลังจากที่ คณะกรรมการ ปตท.มีมติว่า จะเข้ามาดูแลกิจการของบริษัทในกลุ่ม ปตท.มากขึ้น ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะ ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ หากดูแลกิจการในเครือได้ดีขึ้น ก็จะทำให้แข็งแกร่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ภาครัฐได้เงินรายได้ที่เกิดจากเงินปันผลและภาษีต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบัน ตนทำหน้าที่เป็นประธานบอร์ดอยู่ 2 แห่งคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (เอ็กโก) ซึ่งในส่วนตัวไม่ต้องการทำงานเป็นบอร์ดในหลายองค์กร เพราะ อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก
ยอมรับใบสั่งการเมือง
แหล่งข่าวจากบอร์ดปตท.กล่าวยอมรับว่า การปรับเปลี่ยนบิ๊กหมงออกจากประธานบ.ไออาร์พีซีนั้นยอมรับว่าเป็นเรื่องของการเมืองส่งมาจริง แต่บอร์ดปตท.เห็นว่าการให้คนปตท.ไปคุมไออาร์พีซีเป็นเรื่องที่เหมาะสมจึงไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใดเนื่องจากระหว่างบิ๊กหมงกับนายณอคุณ สิทธิพงศ์ที่เป็นประธานบอร์ดปตท.อยู่แล้วนายณอคุณจึงมีความเหมาะสมกว่า
“ ยอมรับว่าก่อนหน้านี้นักการเมืองคนเดียวกันต้องการปรับเปลี่ยนบอร์ดไทยออยล์โดยเฉพาะจะเอาคนของปตท.ออกแต่ทางบอร์ดปตท.เห็นว่าการจะนำคนของปตท.ออกทั้งหมดแล้วเอาคนของการเมืองมาแทนควรจะต้องมีความเหมาะสมด้วยจึงทำให้คนของปตท.ยังอยู่ในปัจจุบันเพราะหลักที่เหมาะสมปตท.จะต้องส่งคนของปตท.เข้าไปเป็นบอร์ดทุกแห่งของบริษัทในเครืออยู่แล้ว”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามยอมรับว่า รัฐวิสาหกิจของไทยกลายเป็นเรื่องปกติที่การเมืองจะเข้ามาแทรกแซงแต่บอร์ดปตท.ขอเพียงการเข้ามาแทรกแซงนั้นควรจะนำคนที่มีความรู้ สามารถและเหมาะสมกับบริษัทด้วย โดยตามหลักธุรกิจประธานบริษัทในเครือของปตท.ที่ปตท.ถือหุ้นใหญ่ก็ควรจะเป็นคนจากปตท.
ชี้ปีนี้ไออาร์พีซีไม่ขาดทุนอยู่แล้ว
แหล่งข่าวจากวงการน้ำมันระบุว่า ปีนี้ไออาร์พีซีหากพิจารณาราคาน้ำมันปัจจุบันที่อยู่ระดับต่ำและไม่ได้แกว่งตัวมากเหมือนปีที่แล้วจึงทำให้แนวโน้มผลประกอบการโรงกลั่นน้ำมันทั้งหมดไม่ควรจะขาดทุนแต่อย่างใด ส่วนจะกำไรมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการน้ำมันคงคลัง
ไออาร์พีซีนำร่องขึ้นน้ำมัน60สต./ลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(13พ.ค.) บริษัทไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน)ได้แจ้งนำปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิด 60 สตางค์ต่อลิตรส่งผลให้รายอื่นๆ แจ้งปรับตามซึ่งจะมีผลวันนี้(14พ.ค.) ทำให้ราคาน้ำมันหน้าปั๊มในเขตกทม.และปริมณฑลเป็นดังนี้ แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 26.94 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 (อี10) 26.14 บาทต่อลิตร อี 20 เป็น 24.64 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เป็น 30.74 บาทต่อลิตร ดีเซล(บี2) 23.99 บาทต่อลิตร บี 5เป็น 20.99 บาทต่อลิตร
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกระแสข่าวที่อดีตผู้บริหารบมจ.ทีพีไอ(ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นบมจ.ไออาร์พีซี)จะหวนกลับมาซื้อหุ้นคืนเพื่อเข้ามามีบทบาทในไออาร์พีซีอีกครั้งว่า ปตท.เข้าไปซื้อหุ้นบมจ.ไออาร์พีซีจำนวน 36.77% ถือเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่มีนโนบายที่จะขายหุ้นดังกล่าวออกไปให้กับกลุ่มนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เนื่องจากปตท.อยู่ในธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นอยู่แล้ว อีกทั้งสัญญาเงินกู้ในการปรับโครงสร้างหนี้ของไออาร์พีซีก็ผูกพันว่าปตท.จะต้องถือหุ้นในไออาร์พีซีไม่น้อยกว่า 25% มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาเงินกู้ทำให้ต้องมีการรีไฟแนนซ์หนี้ใหม่
“ปตท.ไม่มีนโยบายที่จะขายหุ้นไออาร์พีซีออกไป เพราะเราลงทุนทั้งเงินและส่งคนเข้าไปแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการเต็มที่ อีกทั้งสัญญาเงินกู้กำหนดไว้ให้ปตท.ต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25% เพราะเจ้าหนี้ไม่ต้องการให้ปตท.หนีไป ขณะเดียวกันปตท.ไม่อยากให้ไออาร์พีซีเป็นรัฐวิสากิจ ดังนั้นจึงจะถือหุ้นไว้ไม่เกิน 40%”
อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือหุ้นรายอื่นอย่างธนาคารออมสิน จะเข้าขายหุ้นไออาร์พีซีที่ถืออยู่ 10% ก็พร้อมที่จะเข้าไปซื้อ ซึ่งเมื่อรวมกับปตท.เท่ากับคลังถืออยู่ 50%ก็ไม่มีปัญหา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าออมสินจะขายหุ้นออกมา หรือหากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)จะขายหุ้นไออาร์พีซีก็ต้องมาเสนอให้ปตท.ก่อน
นายประเสริฐ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการบริษัทไออาร์พีซีจากพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ไม่อยากให้มีการพาดพิงไปถึงนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารเดิม เนื่องจากนายประชัยไม่ได้ถือหุ้นในบริษัท ไออาร์พีซีอีกแล้ว และท่านก็มุ่งมั่นในการดูแลกิจการบมจ.ทีพีไอโพลีนอยู่
สำหรับตำแหน่งกรรมการบริษัท ไออาร์พีซี ที่ว่างลงหลังจากการลาออกของพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา คงต้องดูรายละเอียดข้อบังคับบริษัทฯว่าจำเป็นต้องแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากไออาร์พีซีมีจำนวนกรรมการค่อนข้างมากถึง 17 ท่าน เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆในเครือปตท.ที่มีกรรมการเพียง 15 ท่านเท่านั้นแต่หากจะมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น 1 ตำแหน่งก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ส่อยุบบอร์ดชุดเล็ก
ก่อนหน้านี้ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท (บอร์ดใหญ่) และประธานกรรมการบริหาร (บอร์ดเล็ก) ซึ่งนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงานได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริษัทไออาร์พีซีเมื่อวานนี้ จะพิจารณาว่ายังจำเป็นต้องมีบอร์ดชุดเล็กต่อไปหรือไม่ ซึ่งปกติบริษัทที่มีความเข้มแข็งไม่จำเป็นต้องมีบอร์ดเล็กอีก โดยสาเหตุที่ต้องมีการตั้งบอร์ดเล็กขึ้นมานั้นเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงจากบมจ.ทีพีไอเป็นบมจ.ไออาร์พีซี มีกิจกรรมและคดีฟ้องร้องที่ต้องเข้ามาดูแลจัดการมาก ทำให้ต้องประชุมหารือบ่อย ซึ่งการทำงานในบอร์ดเล็กจะมีความคล่องตัวสูงกว่าบอร์ดใหญ่ที่มีการประชุมเพียงเดือนละครั้ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไออาร์พีซีมีความมั่นคงขึ้นก็คงไม่มีความจำเป็นต้องมีบอร์ดเล็กอีกต่อไป ที่ผ่านมา บริษัทย่อยในเครือปตท.ก็ไม่มีบอร์ดเล็กอยู่แล้ว
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า สำหรับตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ปตท.เคมิคอล (PTTCH)ที่ว่างลง หลังจากนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงานได้ลาออกไปนั้น คงต้องมีการแต่งตั้งกรรมการคนใหม่แทน หลังจากนั้นทางคณะกรรมการบริษัทฯจะประชุมเพื่อสรรหาประธานกรรมการคนใหม่ต่อไป ไม่เกี่ยวกับปตท.เพราะบอร์ดปตท.เคมิคอลยังมีตัวแทนจากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)อยู่ด้วย
ส่วนบริษัทอื่นๆในเครือปตท.ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการตามนโยบายของคณะกรรมการปตท.ที่ต้องการส่งตัวแทนจากปตท.เข้าไปดูแล ไม่ว่าจะบมจ.ไทยออยล์ หรือบมจ.บางจากปิโตรเลียม นายประเสริฐ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการบริษัทอื่นๆในเครือปตท. จะเน้นบริษัทหลักที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และปตท.ถือหุ้นใหญ่ แต่จะดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยยืนยันว่านโยบายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแผนการควบรวมกิจการของบริษัทย่อยในเครือปตท.
พรชัยพ้นประธานบอร์ดPTTCH
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ยื่นลาออกจากประธานคณะกรรมการ บมจ.ปตท.เคมิคอล(PTTCH) มีผล 15 พ.ค. นี้ กล่าวยืนยันว่า ไม่มีแรงบีบและลาออกด้วยความเต็มใจ เพื่อเปิดทางให้ บมจ.ปตท.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เข้ามาดำเนินการใน ปตท.เคมิคอลได้สะดวกมากขึ้น หลังจากที่ คณะกรรมการ ปตท.มีมติว่า จะเข้ามาดูแลกิจการของบริษัทในกลุ่ม ปตท.มากขึ้น ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะ ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ หากดูแลกิจการในเครือได้ดีขึ้น ก็จะทำให้แข็งแกร่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ภาครัฐได้เงินรายได้ที่เกิดจากเงินปันผลและภาษีต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบัน ตนทำหน้าที่เป็นประธานบอร์ดอยู่ 2 แห่งคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (เอ็กโก) ซึ่งในส่วนตัวไม่ต้องการทำงานเป็นบอร์ดในหลายองค์กร เพราะ อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก
ยอมรับใบสั่งการเมือง
แหล่งข่าวจากบอร์ดปตท.กล่าวยอมรับว่า การปรับเปลี่ยนบิ๊กหมงออกจากประธานบ.ไออาร์พีซีนั้นยอมรับว่าเป็นเรื่องของการเมืองส่งมาจริง แต่บอร์ดปตท.เห็นว่าการให้คนปตท.ไปคุมไออาร์พีซีเป็นเรื่องที่เหมาะสมจึงไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใดเนื่องจากระหว่างบิ๊กหมงกับนายณอคุณ สิทธิพงศ์ที่เป็นประธานบอร์ดปตท.อยู่แล้วนายณอคุณจึงมีความเหมาะสมกว่า
“ ยอมรับว่าก่อนหน้านี้นักการเมืองคนเดียวกันต้องการปรับเปลี่ยนบอร์ดไทยออยล์โดยเฉพาะจะเอาคนของปตท.ออกแต่ทางบอร์ดปตท.เห็นว่าการจะนำคนของปตท.ออกทั้งหมดแล้วเอาคนของการเมืองมาแทนควรจะต้องมีความเหมาะสมด้วยจึงทำให้คนของปตท.ยังอยู่ในปัจจุบันเพราะหลักที่เหมาะสมปตท.จะต้องส่งคนของปตท.เข้าไปเป็นบอร์ดทุกแห่งของบริษัทในเครืออยู่แล้ว”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามยอมรับว่า รัฐวิสาหกิจของไทยกลายเป็นเรื่องปกติที่การเมืองจะเข้ามาแทรกแซงแต่บอร์ดปตท.ขอเพียงการเข้ามาแทรกแซงนั้นควรจะนำคนที่มีความรู้ สามารถและเหมาะสมกับบริษัทด้วย โดยตามหลักธุรกิจประธานบริษัทในเครือของปตท.ที่ปตท.ถือหุ้นใหญ่ก็ควรจะเป็นคนจากปตท.
ชี้ปีนี้ไออาร์พีซีไม่ขาดทุนอยู่แล้ว
แหล่งข่าวจากวงการน้ำมันระบุว่า ปีนี้ไออาร์พีซีหากพิจารณาราคาน้ำมันปัจจุบันที่อยู่ระดับต่ำและไม่ได้แกว่งตัวมากเหมือนปีที่แล้วจึงทำให้แนวโน้มผลประกอบการโรงกลั่นน้ำมันทั้งหมดไม่ควรจะขาดทุนแต่อย่างใด ส่วนจะกำไรมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการน้ำมันคงคลัง
ไออาร์พีซีนำร่องขึ้นน้ำมัน60สต./ลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(13พ.ค.) บริษัทไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน)ได้แจ้งนำปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิด 60 สตางค์ต่อลิตรส่งผลให้รายอื่นๆ แจ้งปรับตามซึ่งจะมีผลวันนี้(14พ.ค.) ทำให้ราคาน้ำมันหน้าปั๊มในเขตกทม.และปริมณฑลเป็นดังนี้ แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 26.94 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 (อี10) 26.14 บาทต่อลิตร อี 20 เป็น 24.64 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เป็น 30.74 บาทต่อลิตร ดีเซล(บี2) 23.99 บาทต่อลิตร บี 5เป็น 20.99 บาทต่อลิตร