เอเอฟพี - ทางการสหรัฐฯประกาศแผนปรับปรุงการบังคับใช้กฏหมายป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ (แอนตี้ทรัสต์) โดยมีนโยบายใหม่ซึ่งกำหนดให้เดินหน้าจัดการกับกรณีการครอบงำตลาดให้เข้มงวดมากกว่าเดิม
การประกาศของคณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามาครั้งนี้ ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากในเรื่องการป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ จากแนวทางเปิดเสรีอย่างสุดโต่งของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช มาสู่การควบคุมการดำเนินธุรกิจให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น
กระทรวงยุติธรรมสหรับฯแถลงว่า ได้ยกเลิกการใช้คู่มือแนวทางบังคับใช้กฏหมายป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ที่ออกมาเมื่อเดือนกันยายนปี 2008 โดยประธานาธิบดีบุชแล้ว และการประกาศยกเลิกนี้มีผลในทันที
“ผู้บริโภค, ธุรกิจ, ศาล และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฏหมายป้องกันฯ ไม่ควรจะใช้คู่มือแนวทางเก่าในเป็นหลัก ในบังคับใช้ระเบียบดำเนินการในเรื่องนี้ของกระทรวงยุติธรรมอีกต่อไป” คำแถลงของกระทรวงยุติธรรมกล่าว
การเลิกใช้คู่มือปฏิบัตินี้ “เป็นการเปลี่ยนปรัชญาและแนวทางเพื่อให้หน่วยงานป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ สามารถเดินหน้าทำคดีที่เกี่ยวกับการครอบงำตลาด ซึ่งมีผลต่อการแข่งขันและทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองให้เข้มงวดต่อไป” คริสทีน วาร์นีย์ หัวหน้าฝ่ายต่อต้านการผูกขาด สังกัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว
กระทรวงยุติธรรมไปประกาศเรื่องนี้ในเวทีการสัมมนาที่ได้รับการสนับสนุนโดยเซนเตอร์ ฟอร์ อเมริกัน โพรเกรส ซึ่งเป็นคลังความคิดที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ที่ได้เคยออกรายงานวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเรื่องนี้ของรัฐบาลบุชอย่างหนัก
รายงานของเซนเตอร์ ฟอร์ อเมริกัน โพรเกรสระบุว่า ในสมัยของบุช ไม่เคยมีการตั้งข้อหาต่อบริษัทขนาดใหญ่ที่ครอบงำตลาด และก็มีการตรวจสอบการควบรวมกิจการที่อาจจะส่งผลต่อการแข่งขันเสรีในตลาดเพียงน้อยนิดเท่านั้น
“การควบรวมกิจการที่ไร้การตรวจสอบ นำไปสู่โครงสร้างตลาดที่มีแต่การครอบงำ ซึ่งเร่งให้เกิดการฮั้วระหว่างบริษัท, ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งคุณภาพบริการที่ลดลง” รายงานชี้
“นอกจากนี้ การควบรวมกิจการที่ไร้การตรวจสอบ ก็ก่อให้เกิดบริษัทที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะล้มได้ อันเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องเข้าไปประคองเอาไว้”
รายงานยังได้ชี้อีกว่า นโยบายของรัฐบาลบุชยังทำให้ผู้ที่ครอบงำตลาด สามารถที่จะขจัดปัญหาที่เกิดจากข้อกฎหมายได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังสามารถที่จะกระทำการหลายอย่างที่มีผลในการหน่วงเหนี่ยวการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆและการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย
วาร์นีย์กล่าวว่าคู่มือที่ออกมาในสมัยรัฐบาลบุช “ทำให้เกิดความลังเลที่จะเข้าไปจัดการกับบริษัทที่ผูกขาด” เพราะคู่มือสมัยบุชมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ตลาดที่มีการผูกขาดนั้น จะสามารถแก้ไขตัวมันเองได้
เธอยังกล่าวอีกด้วยว่านโยบายในสมัยรัฐบาลบุช “ก่อให้เกิดเครื่องกีดขวางมากมายในการที่รัฐบาลจะบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการครอบงำทางเศรษฐกิจ รวมทั้งให้มีข้อควรระวังมากมายในการดำเนินการของรัฐเพื่อป้องกันมิให้เกิดการครอบงำตลาด
“ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในตลาดที่ผ่านมา ทำให้เห็นได้ชัดว่าเราไม่สามารถพึ่งพากลไกตลาดมาประกันว่า จะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมได้อีกต่อไปแล้ว และผู้บริโภคก็จะต้องได้รับการคุ้มครองมากขึ้น” เธอกล่าว
“ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าเมืองเรามีนายอำเภอคนใหม่” เอ๊ด แบล็กประธานของสมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสารกล่าว ซึ่งสมาคมนี้ได้กดดันรัฐบาลตลอดมาให้บังคับใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจให้เข้มงวดมากขึ้น
“ในรัฐบาลก่อน มีหลายอย่างที่ถูกละเลยไป ดังนั้นตอนนี้เราก็ต้องเร่งมือเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ในตลาด”
นักวิเคราะห์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่างเช่น กูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจินในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีพฤติการณ์หมิ่นเหม่หลายๆ อย่าง ที่อาจถูกจัดว่าเป็นพฤติการณ์ผูกขาดครอบงำตลาด
การประกาศของคณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามาครั้งนี้ ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากในเรื่องการป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ จากแนวทางเปิดเสรีอย่างสุดโต่งของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช มาสู่การควบคุมการดำเนินธุรกิจให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น
กระทรวงยุติธรรมสหรับฯแถลงว่า ได้ยกเลิกการใช้คู่มือแนวทางบังคับใช้กฏหมายป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ที่ออกมาเมื่อเดือนกันยายนปี 2008 โดยประธานาธิบดีบุชแล้ว และการประกาศยกเลิกนี้มีผลในทันที
“ผู้บริโภค, ธุรกิจ, ศาล และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฏหมายป้องกันฯ ไม่ควรจะใช้คู่มือแนวทางเก่าในเป็นหลัก ในบังคับใช้ระเบียบดำเนินการในเรื่องนี้ของกระทรวงยุติธรรมอีกต่อไป” คำแถลงของกระทรวงยุติธรรมกล่าว
การเลิกใช้คู่มือปฏิบัตินี้ “เป็นการเปลี่ยนปรัชญาและแนวทางเพื่อให้หน่วยงานป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ สามารถเดินหน้าทำคดีที่เกี่ยวกับการครอบงำตลาด ซึ่งมีผลต่อการแข่งขันและทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองให้เข้มงวดต่อไป” คริสทีน วาร์นีย์ หัวหน้าฝ่ายต่อต้านการผูกขาด สังกัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว
กระทรวงยุติธรรมไปประกาศเรื่องนี้ในเวทีการสัมมนาที่ได้รับการสนับสนุนโดยเซนเตอร์ ฟอร์ อเมริกัน โพรเกรส ซึ่งเป็นคลังความคิดที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ที่ได้เคยออกรายงานวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเรื่องนี้ของรัฐบาลบุชอย่างหนัก
รายงานของเซนเตอร์ ฟอร์ อเมริกัน โพรเกรสระบุว่า ในสมัยของบุช ไม่เคยมีการตั้งข้อหาต่อบริษัทขนาดใหญ่ที่ครอบงำตลาด และก็มีการตรวจสอบการควบรวมกิจการที่อาจจะส่งผลต่อการแข่งขันเสรีในตลาดเพียงน้อยนิดเท่านั้น
“การควบรวมกิจการที่ไร้การตรวจสอบ นำไปสู่โครงสร้างตลาดที่มีแต่การครอบงำ ซึ่งเร่งให้เกิดการฮั้วระหว่างบริษัท, ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งคุณภาพบริการที่ลดลง” รายงานชี้
“นอกจากนี้ การควบรวมกิจการที่ไร้การตรวจสอบ ก็ก่อให้เกิดบริษัทที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะล้มได้ อันเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องเข้าไปประคองเอาไว้”
รายงานยังได้ชี้อีกว่า นโยบายของรัฐบาลบุชยังทำให้ผู้ที่ครอบงำตลาด สามารถที่จะขจัดปัญหาที่เกิดจากข้อกฎหมายได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังสามารถที่จะกระทำการหลายอย่างที่มีผลในการหน่วงเหนี่ยวการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆและการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย
วาร์นีย์กล่าวว่าคู่มือที่ออกมาในสมัยรัฐบาลบุช “ทำให้เกิดความลังเลที่จะเข้าไปจัดการกับบริษัทที่ผูกขาด” เพราะคู่มือสมัยบุชมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ตลาดที่มีการผูกขาดนั้น จะสามารถแก้ไขตัวมันเองได้
เธอยังกล่าวอีกด้วยว่านโยบายในสมัยรัฐบาลบุช “ก่อให้เกิดเครื่องกีดขวางมากมายในการที่รัฐบาลจะบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการครอบงำทางเศรษฐกิจ รวมทั้งให้มีข้อควรระวังมากมายในการดำเนินการของรัฐเพื่อป้องกันมิให้เกิดการครอบงำตลาด
“ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในตลาดที่ผ่านมา ทำให้เห็นได้ชัดว่าเราไม่สามารถพึ่งพากลไกตลาดมาประกันว่า จะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมได้อีกต่อไปแล้ว และผู้บริโภคก็จะต้องได้รับการคุ้มครองมากขึ้น” เธอกล่าว
“ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าเมืองเรามีนายอำเภอคนใหม่” เอ๊ด แบล็กประธานของสมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสารกล่าว ซึ่งสมาคมนี้ได้กดดันรัฐบาลตลอดมาให้บังคับใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจให้เข้มงวดมากขึ้น
“ในรัฐบาลก่อน มีหลายอย่างที่ถูกละเลยไป ดังนั้นตอนนี้เราก็ต้องเร่งมือเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ในตลาด”
นักวิเคราะห์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่างเช่น กูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจินในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีพฤติการณ์หมิ่นเหม่หลายๆ อย่าง ที่อาจถูกจัดว่าเป็นพฤติการณ์ผูกขาดครอบงำตลาด