ผู้ถือหุ้นใหญ่ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน สั่งลุยควบรวมกิจการ เหตุ บริษัทแม่โตจากการควบรวมกิจการกับบล.ถึง 7 แห่ง ส่งผลเป็นโบรกเกอร์อันดับ 1 ในสิงคโปร์ บวกกับภาวะปัจจุบัน-ทางการสนับสนุน ด้านผู้บริหาร แจง มีเงินสด 1.4 พันล้านบาท เพียงพอซื้อโบรกเกอร์ แต่ไม่ฟันธงเจรจาบล.บีฟิทต่อหรือไม่
นายวิคเตอร์ ยูน ตั๊ค ชอย กรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBKH เปิดเผยถึง แผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ยูโอบี เคย์เฮียน โฮลดิ้ง จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ UOBKH ว่า กลุ่มยูโอบี เคย์เฮียน โฮลดิ้ง จะดำเนินนโยบายเน้นการขยายกิจการด้วยการควบรวมกิจการกับบริษัทอื่น หลังจากประสบความสำเร็จการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศสิงคโปร์ ที่มีการควบรวมกิจการกับโบรกเกอร์แล้วจำนวน 7 แห่ง ทำให้มีเจ้าหน้าทที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) ถึง 900 คน และกลายเป็นโบรกเกอร์อันดับ 1 ในประเทศสิงคโปร์
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทที่ไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย และฮ่องกง ได้ยึดโนบายการดำเนินธุรกิจด้วยการควบรวมกับบริษัทอื่น ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพื่อทำให้บริษัทมีการเติบโตมากขึ้น โดยจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อุตสาหกรรมหลักทรัพย์ซบเซา และทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้การสนับสนุนในเรื่องการควบรวมกิจการ จึงถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่บริษัทจะต้องมีการควบรวมกิจการเกิดขึ้น
“ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมไม่ค่อยดี ถือเป็นจังหวะเหมาะสมที่จะมีการควบรวมกิจการ บวกกับทางการเองพร้อมให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทุกบล.นั้นมีแนวคิดที่จะควบรวมกิจการเช่นกัน โดย บล.ยูโอบี ได้มีความพร้อมที่จะมีการควบรวมกิจการแล้ว แต่จะสามารถควบรวมสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการเจรจา แม้บริษัทแม่ที่สิงคโปร์จะมีการเติบโตจากการควบรวม แต่ไม่ได้บอกว่าบริษัทต้องมีการควบรวมและมีขนาดเติบโตเท่าไร”
สำหรับนโยบายของบริษัทนั้นจะเน้นการขยายฐานลูกค้ารายย่อยนั้น ทำให้บริษัทจะมีการควบรวมกับโบรกเกอร์ที่จะทำให้บริษัทมีฐานนักลงทุนรายย่อยมากขึ้น แต่บริษัทไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่าจะควบรวมสำเร็จเมื่อไร เพราะ ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงทุนกันเรื่องแนวทางการดำเนินธุรกิจการบริหารงานว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่
ส่วนความคืบหน้าการควบรวมกิจการกับบล.บีฟิท นั้น ขณะนี้ได้ยุติการเจรจาไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถตกลงกันได้ ขณะที่บล.บีฟิท เอง ได้ประสบปัญหาภายในเช่นกัน รวมทั้งยังไม่จะมีการเจรจารอบใหม่หรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบล.บีฟิท และบล.ยูโอบี ซึ่งตนไม่สามารถตอบได้ เพราะเป็นฝ่ายบริหารเท่านั้น
ทั้งนี้ หากบริษัทไม่สามารถที่จะควบรวมสำเร็จในปีนี้ บริษัทยังคงมีการเติบโตได้ จากการที่บริษัทจะมีการทำธุรกิจใหม่ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การทำธุรกิจอนุพันธ์ การออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ฯลฯ ถึงแม้จะทำให้บริษัทมีการเติบโตไม่มากก็ตาม และบริษัทจะมีการพยายามลดต้นทุนการดำเนินงาน แต่ขณะนี้บริษัทยังไม่มีการที่จะลดพนักงานหรือปิดสาขาลง
อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทยังคงจะลงทุนในประเทศไทยต่อไป ยังไม่มีแนวคิดที่จะยกเลิกการลงทุน เพราะ เมื่อเข้ามาลงทุนนั้นจะเป็นการลงทุนระยะยาวโดยมีการลงทุนไทยแล้วเกือบ 10 ปี และที่ผ่านมากยังคงมีกำไรจากการทำธุรกิจตลอด ส่วนงบไตรมาส 1/52 อยู่ระหว่างการตรวจสอบงบไม่สามารถตอบได้ ส่วนเงินที่ใช้ในการควบรวมกิจการนั้นก็จะมาจากบล.ยูโอบี ประเทศไทย จากขณะนี้มีเงินสดอยู่ 1.4 พันล้านบาท
นายวิคเตอร์ ยูน ตั๊ค ชอย กรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBKH เปิดเผยถึง แผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ยูโอบี เคย์เฮียน โฮลดิ้ง จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ UOBKH ว่า กลุ่มยูโอบี เคย์เฮียน โฮลดิ้ง จะดำเนินนโยบายเน้นการขยายกิจการด้วยการควบรวมกิจการกับบริษัทอื่น หลังจากประสบความสำเร็จการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศสิงคโปร์ ที่มีการควบรวมกิจการกับโบรกเกอร์แล้วจำนวน 7 แห่ง ทำให้มีเจ้าหน้าทที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) ถึง 900 คน และกลายเป็นโบรกเกอร์อันดับ 1 ในประเทศสิงคโปร์
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทที่ไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย และฮ่องกง ได้ยึดโนบายการดำเนินธุรกิจด้วยการควบรวมกับบริษัทอื่น ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพื่อทำให้บริษัทมีการเติบโตมากขึ้น โดยจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อุตสาหกรรมหลักทรัพย์ซบเซา และทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้การสนับสนุนในเรื่องการควบรวมกิจการ จึงถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่บริษัทจะต้องมีการควบรวมกิจการเกิดขึ้น
“ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมไม่ค่อยดี ถือเป็นจังหวะเหมาะสมที่จะมีการควบรวมกิจการ บวกกับทางการเองพร้อมให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทุกบล.นั้นมีแนวคิดที่จะควบรวมกิจการเช่นกัน โดย บล.ยูโอบี ได้มีความพร้อมที่จะมีการควบรวมกิจการแล้ว แต่จะสามารถควบรวมสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการเจรจา แม้บริษัทแม่ที่สิงคโปร์จะมีการเติบโตจากการควบรวม แต่ไม่ได้บอกว่าบริษัทต้องมีการควบรวมและมีขนาดเติบโตเท่าไร”
สำหรับนโยบายของบริษัทนั้นจะเน้นการขยายฐานลูกค้ารายย่อยนั้น ทำให้บริษัทจะมีการควบรวมกับโบรกเกอร์ที่จะทำให้บริษัทมีฐานนักลงทุนรายย่อยมากขึ้น แต่บริษัทไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่าจะควบรวมสำเร็จเมื่อไร เพราะ ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงทุนกันเรื่องแนวทางการดำเนินธุรกิจการบริหารงานว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่
ส่วนความคืบหน้าการควบรวมกิจการกับบล.บีฟิท นั้น ขณะนี้ได้ยุติการเจรจาไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถตกลงกันได้ ขณะที่บล.บีฟิท เอง ได้ประสบปัญหาภายในเช่นกัน รวมทั้งยังไม่จะมีการเจรจารอบใหม่หรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบล.บีฟิท และบล.ยูโอบี ซึ่งตนไม่สามารถตอบได้ เพราะเป็นฝ่ายบริหารเท่านั้น
ทั้งนี้ หากบริษัทไม่สามารถที่จะควบรวมสำเร็จในปีนี้ บริษัทยังคงมีการเติบโตได้ จากการที่บริษัทจะมีการทำธุรกิจใหม่ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การทำธุรกิจอนุพันธ์ การออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ฯลฯ ถึงแม้จะทำให้บริษัทมีการเติบโตไม่มากก็ตาม และบริษัทจะมีการพยายามลดต้นทุนการดำเนินงาน แต่ขณะนี้บริษัทยังไม่มีการที่จะลดพนักงานหรือปิดสาขาลง
อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทยังคงจะลงทุนในประเทศไทยต่อไป ยังไม่มีแนวคิดที่จะยกเลิกการลงทุน เพราะ เมื่อเข้ามาลงทุนนั้นจะเป็นการลงทุนระยะยาวโดยมีการลงทุนไทยแล้วเกือบ 10 ปี และที่ผ่านมากยังคงมีกำไรจากการทำธุรกิจตลอด ส่วนงบไตรมาส 1/52 อยู่ระหว่างการตรวจสอบงบไม่สามารถตอบได้ ส่วนเงินที่ใช้ในการควบรวมกิจการนั้นก็จะมาจากบล.ยูโอบี ประเทศไทย จากขณะนี้มีเงินสดอยู่ 1.4 พันล้านบาท