วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชาวมาบตาพุดและบ้านฉาง คงต้องเฮกันเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ท้องที่ตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ทั้งตำบล ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ทั้งตำบล และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขต เป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ลงนามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2552) เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา
หลังจากที่มีการเฮครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2552 เมื่อศาลปกครองระยองได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่192/2550 ให้ชาวมาบตาพุดนำโดยนายเจริญ เดชคุ้ม ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 27 คนชนะคดี ที่ร่วมกันฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้ประกาศเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อที่จะได้ดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
แม้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมควบคุมมลพิษ จะตั้งแง่ว่าคดียังไม่ถึงที่สุด และไม่ยอมรับว่าหน่วยงานรัฐมีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำพิพากษาก็ตาม จึงต้องดิ้นอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวกันต่อไป แต่ทว่าเมื่อมีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาให้พื้นที่มาบตาพุดและใกล้เคียงเป็นพื้นที่ควบคุมมลพิษแล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายข้างต้น มาตรา 59 คือ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” ในท้องที่ที่ได้ประกาศกำหนดให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ (เทศบาลเมืองมาบตาพุด, เทศบาลตำบลเนินพระ, เทศบาลตำบลทับมา, เทศบาลเมืองบ้านฉาง, เทศบาลตำบลบ้านฉาง, เทศบาลตำบลมาบข่า และเทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา) ต้องร่วมมือกันเร่งจัดทำ “แผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ” เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติภายใน 120 วัน
ขั้นตอนแรกที่สำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลด และขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ คือ การที่ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลและเจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหลาย เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย ภายใต้การแนะนำและช่วยเหลือตามความจำเป็นเท่านั้น (ไม่ใช่เป็นเจ้าภาพหลัก) ของ “เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ”
(ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, นายอำเภอเมืองมาบตาพุด, นายอำเภอนิคมพัฒนา, นายอำเภอบ้านฉาง, ผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ, ประมงจังหวัดระยองและข้าราชการในสังกัด, ปศุสัตว์จังหวัดระยองและข้าราชการในสังกัดยันถึงอธิบดี, ฝ่ายสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 ชลบุรี, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง และข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกภาคส่วนในจังหวัดระยอง ฯลฯ) และเมื่อได้แผนแล้วให้เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อรวมไว้ใน “แผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อมของจังหวัดระยอง” ต่อไป
สิ่งที่นายกเทศมนตรีของเทศบาลทั้งหลายข้างต้นในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องเร่งดำเนินการก็คือ (1) ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีอยู่ในเขตควบคุมมลพิษนั้น (2) จัดทำบัญชีรายละเอียดแสดงจำนวน ประเภท และขนาดของแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่ได้สำรวจและเก็บข้อมูลแล้วข้างต้น และ (3) ทำการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสถานภาพมลพิษ รวมทั้งขอบเขตความรุนแรงของสภาพปัญหา และผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับการลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษดังกล่าว ภายใต้บริบท “การมีส่วนของของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย” ทุกภาคส่วน
การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษข้างต้น จะต้องเสนอประมาณการและคำขอจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกองทุน สำหรับก่อสร้างหรือดำเนินการเพื่อให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวมของทางราชการที่จำเป็น สำหรับการลดและขจัดมลพิษ ในเขตควบคุมมลพิษนั้นด้วย
ในกรณีที่จำเป็นจะต้องจัดหาที่ดินสำหรับใช้เป็นที่ตั้ง ระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมแต่ไม่สามารถจัดหาที่ดินของรัฐภายในพื้นที่ได้ ก็สามารถดำเนินการจัดหาที่ดินของเอกชน เพื่อพิจารณาคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณของท้องถิ่น ก็สามารถเสนอประมาณการ และคำขอจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกองทุนในแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดได้ ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการจัดหาได้ ก็ให้กำหนดที่ดินที่เหมาะสม เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีให้ดำเนินการเวนคืนต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นจะเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการจัดทำแผนฯ แต่ทว่าในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ดำเนินการภายในเวลาอันสมควร ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจดำเนินการแทนได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทราบแล้วก่อน
สิ่งที่ผู้ประกอบการในเขตควบคุมมลพิษกลัวและวิตกกังวลกันมากที่สุดขณะนี้ก็คือ อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (มาตรา 58) ที่สามารถกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดในกรณีพิเศษได้ โดยสามารถกำหนดให้สูงกว่ามาตรฐานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้ก็ได้ หรือมาตรฐานซึ่งกำหนดโดยส่วนราชการอื่น ตามกฎหมายเฉพาะก็ย่อมได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงไม่สามารถกระทำโดยพลการได้เพราะต้องคำนึงถึงสภาพความรุนแรงของปัญหาและเงื่อนไขต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้นด้วย โดยมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ชี้ขาดหากมีความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น
การประกาศพื้นที่ใดๆ เป็นเขตควบคุมมลพิษไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร ประเทศไทยเคยมีการประกาศเขตควบคุมมลพิษมาแล้ว 9 ฉบับ รวม 17 พื้นที่ อาทิ 1) เมืองพัทยา 2) จังหวัดภูเก็ต 3) อำเภอหาดใหญ่ 4) อำเภอเมืองสงขลา 5) หมู่เกาะพีพี กระบี่ 6) จังหวัดสมุทรปราการ 7) จังหวัดปุทมธานี 8) จังหวัดนนทบุรี 9) จังหวัดสมุทรสาคร 10) จังหวัดนครปฐม 11) อำเภอบ้านแหลม 12) อำเภอเมืองเพชรบุรี 13) อำเภอท่ายาง 14) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 15) อำเภอหัวหิน 16) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ17) ตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรีมาแล้ว แต่ละพื้นที่ก็มีการพัฒนาเศรษฐกิจกันเจริญก้าวหน้าดี ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ผู้ประกอบการ นักลงทุน และอุตสาหกรรมนิยมไม่ควรจะวิตกกันเกินไป หากว่าโรงงานของตนดูแลสิ่งแวดล้อมดี ปฏิบัติตามเกณฑ์และเงื่อนไขตามใบอนุญาตและรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ก็น่าที่จะอยู่ร่วมกับชุมชนได้ด้วยชัยชนะทั้งสองฝ่าย
แต่สิ่งที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต้องรีบหยิบยกเรื่องใหม่ที่เป็นปัญหาสะสมมานานนำมาพิจารณาประกาศเขตควบคุมมลพิษใหม่ได้แล้ว นั่นก็คือ พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร พื้นที่เมืองเชียงใหม่-ลำพูน พื้นที่อำเภอแม่เมาะ ลำปาง เพราะที่นั่นมีปัญหามลพิษ และมีปัญหาหมอกควันเกินมาตรฐานมาทุกปีอย่างต่อเนื่องแล้ว ก่อนที่กลุ่มชาวบ้านจะทนไม่ไหว ลุกมาร้องศาลปกครองเป็นคดีต่อเนื่องแล้วจะหาว่าไม่เตือน...
หลังจากที่มีการเฮครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2552 เมื่อศาลปกครองระยองได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่192/2550 ให้ชาวมาบตาพุดนำโดยนายเจริญ เดชคุ้ม ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 27 คนชนะคดี ที่ร่วมกันฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้ประกาศเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อที่จะได้ดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
แม้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมควบคุมมลพิษ จะตั้งแง่ว่าคดียังไม่ถึงที่สุด และไม่ยอมรับว่าหน่วยงานรัฐมีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำพิพากษาก็ตาม จึงต้องดิ้นอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวกันต่อไป แต่ทว่าเมื่อมีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาให้พื้นที่มาบตาพุดและใกล้เคียงเป็นพื้นที่ควบคุมมลพิษแล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายข้างต้น มาตรา 59 คือ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” ในท้องที่ที่ได้ประกาศกำหนดให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ (เทศบาลเมืองมาบตาพุด, เทศบาลตำบลเนินพระ, เทศบาลตำบลทับมา, เทศบาลเมืองบ้านฉาง, เทศบาลตำบลบ้านฉาง, เทศบาลตำบลมาบข่า และเทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา) ต้องร่วมมือกันเร่งจัดทำ “แผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ” เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติภายใน 120 วัน
ขั้นตอนแรกที่สำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลด และขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ คือ การที่ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลและเจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหลาย เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย ภายใต้การแนะนำและช่วยเหลือตามความจำเป็นเท่านั้น (ไม่ใช่เป็นเจ้าภาพหลัก) ของ “เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ”
(ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, นายอำเภอเมืองมาบตาพุด, นายอำเภอนิคมพัฒนา, นายอำเภอบ้านฉาง, ผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ, ประมงจังหวัดระยองและข้าราชการในสังกัด, ปศุสัตว์จังหวัดระยองและข้าราชการในสังกัดยันถึงอธิบดี, ฝ่ายสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 ชลบุรี, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง และข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกภาคส่วนในจังหวัดระยอง ฯลฯ) และเมื่อได้แผนแล้วให้เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อรวมไว้ใน “แผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อมของจังหวัดระยอง” ต่อไป
สิ่งที่นายกเทศมนตรีของเทศบาลทั้งหลายข้างต้นในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องเร่งดำเนินการก็คือ (1) ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีอยู่ในเขตควบคุมมลพิษนั้น (2) จัดทำบัญชีรายละเอียดแสดงจำนวน ประเภท และขนาดของแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่ได้สำรวจและเก็บข้อมูลแล้วข้างต้น และ (3) ทำการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสถานภาพมลพิษ รวมทั้งขอบเขตความรุนแรงของสภาพปัญหา และผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับการลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษดังกล่าว ภายใต้บริบท “การมีส่วนของของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย” ทุกภาคส่วน
การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษข้างต้น จะต้องเสนอประมาณการและคำขอจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกองทุน สำหรับก่อสร้างหรือดำเนินการเพื่อให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวมของทางราชการที่จำเป็น สำหรับการลดและขจัดมลพิษ ในเขตควบคุมมลพิษนั้นด้วย
ในกรณีที่จำเป็นจะต้องจัดหาที่ดินสำหรับใช้เป็นที่ตั้ง ระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมแต่ไม่สามารถจัดหาที่ดินของรัฐภายในพื้นที่ได้ ก็สามารถดำเนินการจัดหาที่ดินของเอกชน เพื่อพิจารณาคัดเลือกให้เป็นที่ตั้งได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณของท้องถิ่น ก็สามารถเสนอประมาณการ และคำขอจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกองทุนในแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดได้ ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการจัดหาได้ ก็ให้กำหนดที่ดินที่เหมาะสม เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีให้ดำเนินการเวนคืนต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นจะเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการจัดทำแผนฯ แต่ทว่าในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ดำเนินการภายในเวลาอันสมควร ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจดำเนินการแทนได้ แต่ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทราบแล้วก่อน
สิ่งที่ผู้ประกอบการในเขตควบคุมมลพิษกลัวและวิตกกังวลกันมากที่สุดขณะนี้ก็คือ อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด (มาตรา 58) ที่สามารถกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดในกรณีพิเศษได้ โดยสามารถกำหนดให้สูงกว่ามาตรฐานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้ก็ได้ หรือมาตรฐานซึ่งกำหนดโดยส่วนราชการอื่น ตามกฎหมายเฉพาะก็ย่อมได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงไม่สามารถกระทำโดยพลการได้เพราะต้องคำนึงถึงสภาพความรุนแรงของปัญหาและเงื่อนไขต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้นด้วย โดยมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ชี้ขาดหากมีความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น
การประกาศพื้นที่ใดๆ เป็นเขตควบคุมมลพิษไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร ประเทศไทยเคยมีการประกาศเขตควบคุมมลพิษมาแล้ว 9 ฉบับ รวม 17 พื้นที่ อาทิ 1) เมืองพัทยา 2) จังหวัดภูเก็ต 3) อำเภอหาดใหญ่ 4) อำเภอเมืองสงขลา 5) หมู่เกาะพีพี กระบี่ 6) จังหวัดสมุทรปราการ 7) จังหวัดปุทมธานี 8) จังหวัดนนทบุรี 9) จังหวัดสมุทรสาคร 10) จังหวัดนครปฐม 11) อำเภอบ้านแหลม 12) อำเภอเมืองเพชรบุรี 13) อำเภอท่ายาง 14) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 15) อำเภอหัวหิน 16) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ17) ตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรีมาแล้ว แต่ละพื้นที่ก็มีการพัฒนาเศรษฐกิจกันเจริญก้าวหน้าดี ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ผู้ประกอบการ นักลงทุน และอุตสาหกรรมนิยมไม่ควรจะวิตกกันเกินไป หากว่าโรงงานของตนดูแลสิ่งแวดล้อมดี ปฏิบัติตามเกณฑ์และเงื่อนไขตามใบอนุญาตและรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ก็น่าที่จะอยู่ร่วมกับชุมชนได้ด้วยชัยชนะทั้งสองฝ่าย
แต่สิ่งที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต้องรีบหยิบยกเรื่องใหม่ที่เป็นปัญหาสะสมมานานนำมาพิจารณาประกาศเขตควบคุมมลพิษใหม่ได้แล้ว นั่นก็คือ พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร พื้นที่เมืองเชียงใหม่-ลำพูน พื้นที่อำเภอแม่เมาะ ลำปาง เพราะที่นั่นมีปัญหามลพิษ และมีปัญหาหมอกควันเกินมาตรฐานมาทุกปีอย่างต่อเนื่องแล้ว ก่อนที่กลุ่มชาวบ้านจะทนไม่ไหว ลุกมาร้องศาลปกครองเป็นคดีต่อเนื่องแล้วจะหาว่าไม่เตือน...