เอเอฟพี - สหประชาชาติประณามการสังหารพลเรือนในศรีลังกาในช่วงสุดสัปดาห์ว่า เป็นการกระทำที่ "นองเลือด" และมีเด็กๆ เสียชีวิตไปกว่า 100 คน ขณะที่รัฐบาลและฝ่ายกบฏต่างก็โยนบาปใส่กันว่าอีกฝ่ายเป็นผู้ลงมือทั้งนี้รัฐบาลศรีลังกาและกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬต่างก็รายงานว่า มีการยิงปืนใหญ่เข้าไปยังพื้นที่แคบๆ บริเวณแนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นที่มั่นสุดท้ายของกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬ ทำให้มีพลเรือนหลายหมื่นคนที่ติดค้างอยู่ในบริเวณดังกล่าวต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
กอร์ดอน ไวส์ โฆษกของสหประชาชาติในกรุงโคลอมโบระบุว่า "ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการสังหารชีวิตพลเรือนเป็นจำนวนมาก และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กมากกว่า 100 คน เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าการสังหารผู้คนแบบนองเลือดนั้นเป็นความจริง"
ฝ่ายกบฏอ้างว่าพลเรือนเสียชีวิตเนื่องจากกองทัพรุกคืบกดดันอย่างหนัก ขณะที่กระทรวงกลาโหมกล่าวหาว่ากลุ่มพยัคฆ์ทมิฬได้ยิงปืนครกเข้าใส่ประชาชนเพื่อสร้างสถานการณ์วิกฤตด้านมนุษยธรรมและดึงต่างชาติเข้ามาแทรกแซงปัญหาภายในศรีลังกา
"พวกกบฏยิงถล่มใส่พลเรือนของตนเองด้วยอาวุธหนักเพื่อจะโยนความผิดให้ฝ่ายทหารของศรีลังกา" กระทรวงกลาโหมแถลง
"พวกเขาหวังว่าการกระทำดังกล่าวจะดึงต่างประเทศเข้ามาช่วยพวกเขา"
ทั้งนี้ รัฐบาลระบุในวันจันทร์ (11) ว่ามีพลเรือน 250 คนถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของฝ่ายกบฏ ในขณะที่เว็บไซต์สนับสนุนกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตสูงถึง 3,200 คน แต่เนื่องจากไม่มีนักข่าวหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างประเทศได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตสงคราม จึงไม่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงได้
รัฐบาลศรีลังกาคาดว่ากลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม กำลังใกล้จะพ่ายแพ้อย่างราบคาบแล้ว หลังจากที่สองฝ่ายสู้รบกันอย่างยืดเยื้อมานานถึง 37 ปี โดยกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬนั้นต้องการแยกดินแดนของชาวทมิฬจากชาวสิงหล และในปี 2006 ก็สามารถเข้ายึดพื้นที่ไว้ได้ถึงหนึ่งในสามของประเทศ แต่ภายหลังถูกรัฐบาลโจมตีอย่างหนักจนต้องถอยร่นไปอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงเหนือ และสหประชาชาติระบุว่ามีพลเรือนชาวทมิฬกว่า 50,000 คนถูกกักไว้เป็นตัวประกัน
ด้านพวกผู้นำศรีลังกาต่างก็ปฏิเสธข้อเรียกร้องจากนานาชาติให้หยุดยิง ทั้งๆ ที่มีรายงานจากสหประชาชาติเมื่อเดือนที่แล้วระบุว่าอาจมีพลเรือนเสียชีวิตมากถึง 6,500 คน และบาดเจ็บอีก 14,000 คนในช่วงการสู้รบตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
ล่าสุด กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและคัดค้านการสู้รบก็ได้เรียกร้องในวันจันทร์ (11) ว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ศรีลังการายใหญ่ที่สุด จะต้อง "ร่วมรับผิดชอบ" และแก้ไขวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ
โดยผู้นำของกลุ่มฮิวแมน ไรต์ส์ วอตช์ องค์การนิรโทษกรรมสากล และศูนย์เพื่อความรับผิดชอบในการให้ความคุ้มครองทั่วโลก ได้ร่วมกันจัดทำข้อเรียกร้องดังกล่าว และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีทาโร อาโซะ แห่งญี่ปุ่น
ในจดหมายมีใจความตอนหนึ่งว่า "หากโลกยังคงเมินหน้าหนีจากความทุกข์ยากของพลเรือนในศรีลังกา ดังที่เกิดขึ้นมาตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้แล้ว ก็นับว่าเป็นความล้มเหลวของการจัดวางความสำคัญในทางประวัติศาสตร์"
ที่ผ่านมารัฐบาลศรีลังกาได้วิจารณ์ข้อเรียกร้องให้หยุดยิงของโลกตะวันตกว่า จะทำให้แผนการปราบปรามกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬต้องยุติลงทั้งๆ ที่รัฐบาลใกล้จะได้ชัยชนะอยู่แล้ว และเมื่อเดือนที่แล้วกองทัพก็ได้ประกาศว่าจะหยุดใช้อาวุธหนักเพื่อปกป้องชีวิตพลเรือน ในขณะที่การสู้รบได้กดดันให้ฝ่ายกบฏเหลือที่มั่นอยู่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตรเท่านั้น
กอร์ดอน ไวส์ โฆษกของสหประชาชาติในกรุงโคลอมโบระบุว่า "ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการสังหารชีวิตพลเรือนเป็นจำนวนมาก และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กมากกว่า 100 คน เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าการสังหารผู้คนแบบนองเลือดนั้นเป็นความจริง"
ฝ่ายกบฏอ้างว่าพลเรือนเสียชีวิตเนื่องจากกองทัพรุกคืบกดดันอย่างหนัก ขณะที่กระทรวงกลาโหมกล่าวหาว่ากลุ่มพยัคฆ์ทมิฬได้ยิงปืนครกเข้าใส่ประชาชนเพื่อสร้างสถานการณ์วิกฤตด้านมนุษยธรรมและดึงต่างชาติเข้ามาแทรกแซงปัญหาภายในศรีลังกา
"พวกกบฏยิงถล่มใส่พลเรือนของตนเองด้วยอาวุธหนักเพื่อจะโยนความผิดให้ฝ่ายทหารของศรีลังกา" กระทรวงกลาโหมแถลง
"พวกเขาหวังว่าการกระทำดังกล่าวจะดึงต่างประเทศเข้ามาช่วยพวกเขา"
ทั้งนี้ รัฐบาลระบุในวันจันทร์ (11) ว่ามีพลเรือน 250 คนถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของฝ่ายกบฏ ในขณะที่เว็บไซต์สนับสนุนกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตสูงถึง 3,200 คน แต่เนื่องจากไม่มีนักข่าวหรือเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระหว่างประเทศได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตสงคราม จึงไม่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงได้
รัฐบาลศรีลังกาคาดว่ากลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม กำลังใกล้จะพ่ายแพ้อย่างราบคาบแล้ว หลังจากที่สองฝ่ายสู้รบกันอย่างยืดเยื้อมานานถึง 37 ปี โดยกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬนั้นต้องการแยกดินแดนของชาวทมิฬจากชาวสิงหล และในปี 2006 ก็สามารถเข้ายึดพื้นที่ไว้ได้ถึงหนึ่งในสามของประเทศ แต่ภายหลังถูกรัฐบาลโจมตีอย่างหนักจนต้องถอยร่นไปอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงเหนือ และสหประชาชาติระบุว่ามีพลเรือนชาวทมิฬกว่า 50,000 คนถูกกักไว้เป็นตัวประกัน
ด้านพวกผู้นำศรีลังกาต่างก็ปฏิเสธข้อเรียกร้องจากนานาชาติให้หยุดยิง ทั้งๆ ที่มีรายงานจากสหประชาชาติเมื่อเดือนที่แล้วระบุว่าอาจมีพลเรือนเสียชีวิตมากถึง 6,500 คน และบาดเจ็บอีก 14,000 คนในช่วงการสู้รบตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
ล่าสุด กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและคัดค้านการสู้รบก็ได้เรียกร้องในวันจันทร์ (11) ว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ศรีลังการายใหญ่ที่สุด จะต้อง "ร่วมรับผิดชอบ" และแก้ไขวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ
โดยผู้นำของกลุ่มฮิวแมน ไรต์ส์ วอตช์ องค์การนิรโทษกรรมสากล และศูนย์เพื่อความรับผิดชอบในการให้ความคุ้มครองทั่วโลก ได้ร่วมกันจัดทำข้อเรียกร้องดังกล่าว และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีทาโร อาโซะ แห่งญี่ปุ่น
ในจดหมายมีใจความตอนหนึ่งว่า "หากโลกยังคงเมินหน้าหนีจากความทุกข์ยากของพลเรือนในศรีลังกา ดังที่เกิดขึ้นมาตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้แล้ว ก็นับว่าเป็นความล้มเหลวของการจัดวางความสำคัญในทางประวัติศาสตร์"
ที่ผ่านมารัฐบาลศรีลังกาได้วิจารณ์ข้อเรียกร้องให้หยุดยิงของโลกตะวันตกว่า จะทำให้แผนการปราบปรามกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬต้องยุติลงทั้งๆ ที่รัฐบาลใกล้จะได้ชัยชนะอยู่แล้ว และเมื่อเดือนที่แล้วกองทัพก็ได้ประกาศว่าจะหยุดใช้อาวุธหนักเพื่อปกป้องชีวิตพลเรือน ในขณะที่การสู้รบได้กดดันให้ฝ่ายกบฏเหลือที่มั่นอยู่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตรเท่านั้น