กองทหารรัฐบาลศรีลังกา รุกคืบโจมตีที่มั่นสุดท้ายในป่าของกลุ่มปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (แอลทีทีอี) เมื่อวันอังคาร(21) หลังจากที่ฝ่ายกบฏเพิกเฉยต่อเส้นตายให้ยอมจำนนของรัฐบาล ขณะเดียวกัน ได้มีพลเรือนทั้งชายหญิงและเด็กร่วมๆ 50,000 คน หลั่งไหลอพยพหลบหนีออกจากเขตสู้รบ ท่ามกลางความวิตกห่วงใยของนานาชาติ
กระทรวงกลาโหมศรีลังกาแถลงว่า การสู้รบล่าสุดในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะศรีลังกานี้ ฝ่ายรัฐบาลสามารถตัดแบ่งพื้นที่ยึดครองของกลุ่มกบฏที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยออกเป็นสองส่วน
"แอลทีทีอีไม่ได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องให้ยอมจำนนจากรัฐบาล ดังนั้นเราจึงรุกคืบเข้าไปอีกเพื่อช่วยเหลือพลเรือนออกมา" อุทัย นานายัคครา โฆษกกระทรวงกลาโหมแถลง หลังจากที่พ้นกำหนดเส้นตายตอนเที่ยงวันวานนี้ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 13.30 น.เวลาเมืองไทย)
รัฐบาลศรีลังกาบอกอีกว่า ขณะนี้กองทัพกำลังจะได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มแอลทีทีอีแล้ว หลังจากที่ต้องต่อสู้กับกองกำลังที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนของชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬให้เป็นอิสระจากชาวสิงหลซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970
ทางด้านกบฎแอลทีทีอียอมรับว่าพวกเขากำลังสูญเสียพื้นที่เพิ่มขึ้น และระบุว่าการสู้รบ "อย่างนองเลือด" ล่าสุดนี้ ทำให้มีพลเรือนเสียชีวิตไป 1,000 คน บาดเจ็บอีก 2,300 คน สืบเนื่องจากทหารกำลังใช้พลเรือนชาวทมิฬเป็น "โล่มนุษย์" พร้อมกันนั้นก็เรียกร้องให้คณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี) เข้ามาช่วยเหลือ
กระทรวงกลาโหมศรีลังกาแถลงว่า การสู้รบล่าสุดในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะศรีลังกานี้ ฝ่ายรัฐบาลสามารถตัดแบ่งพื้นที่ยึดครองของกลุ่มกบฏที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยออกเป็นสองส่วน
"แอลทีทีอีไม่ได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องให้ยอมจำนนจากรัฐบาล ดังนั้นเราจึงรุกคืบเข้าไปอีกเพื่อช่วยเหลือพลเรือนออกมา" อุทัย นานายัคครา โฆษกกระทรวงกลาโหมแถลง หลังจากที่พ้นกำหนดเส้นตายตอนเที่ยงวันวานนี้ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 13.30 น.เวลาเมืองไทย)
รัฐบาลศรีลังกาบอกอีกว่า ขณะนี้กองทัพกำลังจะได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มแอลทีทีอีแล้ว หลังจากที่ต้องต่อสู้กับกองกำลังที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนของชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬให้เป็นอิสระจากชาวสิงหลซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970
ทางด้านกบฎแอลทีทีอียอมรับว่าพวกเขากำลังสูญเสียพื้นที่เพิ่มขึ้น และระบุว่าการสู้รบ "อย่างนองเลือด" ล่าสุดนี้ ทำให้มีพลเรือนเสียชีวิตไป 1,000 คน บาดเจ็บอีก 2,300 คน สืบเนื่องจากทหารกำลังใช้พลเรือนชาวทมิฬเป็น "โล่มนุษย์" พร้อมกันนั้นก็เรียกร้องให้คณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี) เข้ามาช่วยเหลือ