วานนี้(10 พ.ค.)นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า สสช.ได้สำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรล่าสุด ในเดือน ก.พ. 52 พบว่า มีผู้ว่างงาน 7.1 แสนคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.5 แสนคน แยกเป็นชาย 4.4 แสนคน และหญิง 2.7 แสนคน คิดเป็นอัตราว่างงาน 1.9% เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ม.ค. พบว่ามีผู้ว่างงาน ลดลง 1.7 แสนคน
ทั้งนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่มีผู้ว่างงานมากที่สุดถึง 2.8 แสนคน รองลงมาเป็นภาคกลาง 1.7 แสนคน ภาคเหนือ 1.3 แสนคน ภาคใต้ 70,000 คน และกทม. 60,000 คน
เมื่อเทียบกับปี 51 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นในทุกภาคโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 70,000 คน รองลงมาเป็นภาคกลาง เพิ่มขึ้น 40,0000 คน ส่วนภาคใต้ และภาคเหนือ มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเท่ากัน คือ 10,000 คน ขณะที่กทม.มีผู้ว่างงานเท่าเดิมคือ 60,000 คน
สำหรับผู้ว่างงานทั้ง 7.1 แสนคน พบว่าเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน หรือผู้ว่างงานที่เข้ามาใหม่ 1.6 แสนคน ที่เหลืออีก 5.5 แสนคน เป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนโดยเป็นผู้ว่างงานจากภาคการผลิตมากที่สุด 2.8 แสนคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1 แสนคน ภาคบริการ และการค้า 1.7 แสนคน เพิ่มขึ้น 60,000 คน และภาคเกษตรกรรม 90,000 คน ลดลง 40,000 คน
ส่วนผู้มีงานทำใน เดือนก.พ.นี้ พบว่า มีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานรวม 37.58 ล้านคน แยกเป็นผู้มีงานทำ 36.67 ล้านคน ผู้ว่างงาน 7.1 แสนคน และผู้รอฤดูกาล 2 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานมี 14.99 ล้านคน จากจำนวนของผู้มีงานทำ 36.67 ล้านคน เมื่อเทียบกับปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 9 แสนคน (จาก 35.77 ล้านคน เป็น 36.67 ล้านคน) หรือเพิ่มขึ้น 2.5% โดยผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 10,000 คน (จาก12.35 ล้านคน เป็น 12.36 ล้านคน) และผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 8.9 แสนคน (จาก 23.42 ล้านคน เป็น24.31 ล้านคน)
นางธนนุช กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทำ เพิ่มขึ้นในสาขาการขายส่งและขายปลีกฯ มากที่สุด 4.4 แสนคน รองลงมาสาขาการโรงแรม และภัตตาคาร 2.3 แสนคน สาขาการก่อสร้าง และสาขาการขนส่งฯ เพิ่มขึ้นเท่ากัน 1.6 แสนคน ส่วนสาขาที่ลดลงเป็นสาขาการผลิตลดลง 1.3 แสนคน และสาขาบริหารราชการแผ่นดินลดลง 10,000 คน ที่เหลือเพิ่มขึ้นและลดลงเล็กน้อย กระจายอยู่ในสาขาอื่น
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีผู้ทำงานลดลงต่อเนื่อง คือการผลิตสิ่งทอลดลง 1.2 แสนคน, ผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 1.1 แสนคน , ผลิตยานยนต์ 90,000 คน, ผลิตโลหะขั้นมูลฐาน 50,000 คน, ผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงเท่ากัน 40,000 คน
ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม 1.1 แสนคน, ผลิตเครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 70,000 คน และผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ 40,000 คน
ทั้งนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่มีผู้ว่างงานมากที่สุดถึง 2.8 แสนคน รองลงมาเป็นภาคกลาง 1.7 แสนคน ภาคเหนือ 1.3 แสนคน ภาคใต้ 70,000 คน และกทม. 60,000 คน
เมื่อเทียบกับปี 51 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นในทุกภาคโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 70,000 คน รองลงมาเป็นภาคกลาง เพิ่มขึ้น 40,0000 คน ส่วนภาคใต้ และภาคเหนือ มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเท่ากัน คือ 10,000 คน ขณะที่กทม.มีผู้ว่างงานเท่าเดิมคือ 60,000 คน
สำหรับผู้ว่างงานทั้ง 7.1 แสนคน พบว่าเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน หรือผู้ว่างงานที่เข้ามาใหม่ 1.6 แสนคน ที่เหลืออีก 5.5 แสนคน เป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนโดยเป็นผู้ว่างงานจากภาคการผลิตมากที่สุด 2.8 แสนคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1 แสนคน ภาคบริการ และการค้า 1.7 แสนคน เพิ่มขึ้น 60,000 คน และภาคเกษตรกรรม 90,000 คน ลดลง 40,000 คน
ส่วนผู้มีงานทำใน เดือนก.พ.นี้ พบว่า มีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานรวม 37.58 ล้านคน แยกเป็นผู้มีงานทำ 36.67 ล้านคน ผู้ว่างงาน 7.1 แสนคน และผู้รอฤดูกาล 2 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานมี 14.99 ล้านคน จากจำนวนของผู้มีงานทำ 36.67 ล้านคน เมื่อเทียบกับปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 9 แสนคน (จาก 35.77 ล้านคน เป็น 36.67 ล้านคน) หรือเพิ่มขึ้น 2.5% โดยผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 10,000 คน (จาก12.35 ล้านคน เป็น 12.36 ล้านคน) และผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 8.9 แสนคน (จาก 23.42 ล้านคน เป็น24.31 ล้านคน)
นางธนนุช กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทำ เพิ่มขึ้นในสาขาการขายส่งและขายปลีกฯ มากที่สุด 4.4 แสนคน รองลงมาสาขาการโรงแรม และภัตตาคาร 2.3 แสนคน สาขาการก่อสร้าง และสาขาการขนส่งฯ เพิ่มขึ้นเท่ากัน 1.6 แสนคน ส่วนสาขาที่ลดลงเป็นสาขาการผลิตลดลง 1.3 แสนคน และสาขาบริหารราชการแผ่นดินลดลง 10,000 คน ที่เหลือเพิ่มขึ้นและลดลงเล็กน้อย กระจายอยู่ในสาขาอื่น
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีผู้ทำงานลดลงต่อเนื่อง คือการผลิตสิ่งทอลดลง 1.2 แสนคน, ผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 1.1 แสนคน , ผลิตยานยนต์ 90,000 คน, ผลิตโลหะขั้นมูลฐาน 50,000 คน, ผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงเท่ากัน 40,000 คน
ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม 1.1 แสนคน, ผลิตเครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 70,000 คน และผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ 40,000 คน