สำนักงานสถิติ ชี้ผลสำรวจธุรกิจที่มีคนงานตั้งแต่ 1 คนขี้นไป จากตัวอย่าง 4,441 แห่ง พบภาพรวมธุรกิจทั่วประเทศชะลอตัว โดยธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง เพราะมีต้นทุนและราคาสูง เสนอรัฐเร่งรัดหามาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่เอสเอ็มอี
นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า สสช.ได้สำรวจยอดขายในปี 2551 ของสถานประกอบการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค โรงแรมและภัตตาคาร ธุรกิจให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน กิจกรรมนันทนาการ สำนักข่าวและการกีฬา และการให้บริการ ที่มีคนทำงาน 1 คนขึ้นไปทั่วประเทศ รวมขนาดตัวอย่าง 4,441 แห่ง พบว่าภาพรวมของธุรกิจทั่วประเทศชะลอตัวลงทุกประเภท
ทั้งนี้ แม้ว่าในไตรมาสแรก ธุรกิจมีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ของปี 2550 ถึงร้อยละ 6.2 แต่ชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.5 ไตรมาส 3 ร้อยละ 3.8 และไตรมาส 4 ร้อยละ 2.8 โดยธุรกิจแต่ละประเภทมีรายรับเพิ่มขึ้นระหว่างไตรมาสไม่เกินร้อยละ 13 ซึ่งภัตตาคารและร้านอาหาร มีรายรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสแรกร้อยละ 13 ขณะที่โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และหอพัก มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 0.7 เท่านั้น ส่วนการให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีรายรับที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกร้อยละ 6.1 ไตรมาส 2 ร้อยละ 8.1 และ ไตรมาส 3 ร้อยละ 10.2 แต่ชะลอตัวในไตรมาสสุดท้ายร้อยละ 4.7 เท่านั้น ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกมียอดขายชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2552 เพราะมีต้นทุนและราคาสูง และมีปัญหาการเมืองรวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
สำหรับข้อเสนอของผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการลดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ย การกำหนดมาตรฐานควบคุมราคาสินค้าให้เข้มงวด ที่สำคัญต้องเร่งฟื้นฟูและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงหามาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุนและส่งเสริมด้านการตลาดแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มศักยภาพ
นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า สสช.ได้สำรวจยอดขายในปี 2551 ของสถานประกอบการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค โรงแรมและภัตตาคาร ธุรกิจให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน กิจกรรมนันทนาการ สำนักข่าวและการกีฬา และการให้บริการ ที่มีคนทำงาน 1 คนขึ้นไปทั่วประเทศ รวมขนาดตัวอย่าง 4,441 แห่ง พบว่าภาพรวมของธุรกิจทั่วประเทศชะลอตัวลงทุกประเภท
ทั้งนี้ แม้ว่าในไตรมาสแรก ธุรกิจมีรายรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ของปี 2550 ถึงร้อยละ 6.2 แต่ชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.5 ไตรมาส 3 ร้อยละ 3.8 และไตรมาส 4 ร้อยละ 2.8 โดยธุรกิจแต่ละประเภทมีรายรับเพิ่มขึ้นระหว่างไตรมาสไม่เกินร้อยละ 13 ซึ่งภัตตาคารและร้านอาหาร มีรายรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสแรกร้อยละ 13 ขณะที่โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และหอพัก มีรายรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 0.7 เท่านั้น ส่วนการให้เช่าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีรายรับที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกร้อยละ 6.1 ไตรมาส 2 ร้อยละ 8.1 และ ไตรมาส 3 ร้อยละ 10.2 แต่ชะลอตัวในไตรมาสสุดท้ายร้อยละ 4.7 เท่านั้น ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกมียอดขายชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2552 เพราะมีต้นทุนและราคาสูง และมีปัญหาการเมืองรวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
สำหรับข้อเสนอของผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการลดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ย การกำหนดมาตรฐานควบคุมราคาสินค้าให้เข้มงวด ที่สำคัญต้องเร่งฟื้นฟูและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงหามาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุนและส่งเสริมด้านการตลาดแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มศักยภาพ