xs
xsm
sm
md
lg

AFETในปี52 เพิ่มสินค้า-เพิ่มสัญญา ขยายตัวรับพฤติกรรมลงทุนที่ไม่มีหยุด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 "แผนงานในปี 2552 นั้น เราวางแผนในเรื่องของการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ ในตลาดAFET เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงมากกว่าการลงทุน รวมถึงมองหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เรามีการปรับในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับสินค้าให้เข้ากับผู้ประการการมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มสภาพคล่องในตลาด โดยให้บริษัทต่างๆสามารถเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงนักลงทุนรายย่อย"



การลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนในเมืองไทย ยังมีหลายคนมองว่ามีเครื่องมือหรือช่องทางการลงทุนไม่มาก หรือมีเพียงไม่กี่ทางเลือก แต่โดยภาพรวมแล้วความจริงการลงทุนในไทยมีมากมายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคลมากกว่า เริ่มตั้งแต่ การฝากเงินผ่านบัญชีเงินฝากประเภทต่างๆ ซึ่งยังได้รับความสนใจมากที่สุด รองลงมาคือการลงทุนในหลักทรัพย์ การลงทุนในกองทุนรวม การลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ และที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในเวลานี้ คือการลงทุนทองคำ และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์

พอพูดถึงตราสารอนุพันธ์ หรือ สินค้าล่วงหน้า หลายคนจะนึกถึงตลาดอนุพันธ์อย่าง TFEX แต่เรายังมี AFET หรือ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เป็นอีกเครื่องมือในการลงทุนและมีความน่าสนใจเช่นกัน

ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาที่ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย กำเนิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการช่วยเหลือเกษตรกรด้านราคาพืชผล และยังเป็นอีกช่องทางการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั้งรายใหญ่-เล็กที่มองเห็นโอกาสในการลงทุน และจากการที่การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) ยังคงเดินหน้าให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าให้แก่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง โดยการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าและการใช้ประโยชน์จากกลไก AFET แก่หน่วยงานภาครัฐ ผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคเกษตรและบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น สารคดีสั้น สปอตวิทยุ บทความทางวิชาการ เป็นต้น และได้จัดพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่ เช่น หนังสือ "เปิดประตูสู่ตลาดซื้อขายล่วงหน้า” หนังสือ "ความสำคัญและกลไกการทำงานของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า” ฯลฯ

นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ส.ล. ได้จัดทำ “ศูนย์พัฒนาความรู้การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า” ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ส.ล.(www.aftc.or.th/itc) เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้แก่ประชาชนทั่วไป เช่น หลักการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานราคาสินค้าเกษตร อาทิ อุปสงค์และอุปทาน ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าเกษตรในตลาดล่วงหน้าและตลาดจริง รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่เปิดซื้อขายใน AFET เพื่อให้ผู้ซื้อผู้ขายใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อขาย เป็นต้น

ทั้งนี้ เพราะต้องการให้ระบบตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งที่จะสนับสนุนนโยบายการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของภาครัฐ รวมทั้งได้สนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในภาคเกษตรเข้ามาใช้ประโยชน์จากการซื้อขายล่วงหน้าใน AFET อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ AFET เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่ช่วยให้ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร และให้เกษตรกรและผู้ประกอบการภาคเกษตรสามารถใช้ประโยชน์จากราคาล่วงหน้าในการวางแผน การเพาะปลูก การผลิต และการตลาดได้ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการซื้อขายในระดับภูมิภาค ที่เป็นที่ยอมรับและเป็นที่เชื่อถือแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ อันจะช่วยแบ่งเบาภาระการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของรัฐบาลได้ในระยะยาว นั่นเอง

นิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมานั้น การใช้AFET ของผู้ประกอบการนั้นเริ่มมีแพร่หลายมากขึ้น โดยส่วนตัวได้เกิดการเรียนรู้จากบรรดาผู้ประกอบการว่า การใช้ AFET จะได้รับผลดีมากกว่าผู้ที่ไม่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยป้องกันความเสี่ยง โดยในส่วนของAFET เองกำลังเดินหน้าให้ความรู้แก่นักลงทุนมากขึ้น แม้ว่าจะเปิดให้บริการซื้อขายมาได้หลายปีแล้ว แต่ยังมีคนที่ไม่รู้จัก และเข้าใจในAFETอีกมาก เพราะเคยเจอมาแล้วในหลายกรณีที่นักลงทุนและผู้ประกอบการยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้เริ่มเห็นได้ว่า ในช่วงที่ผ่านมานี้นักลงทุนได้มองหาการลงทุนมากขึ้น ทำให้ AFET กลายเป็นอีกช่องทางลงทุนที่น่าสนใจของหลายคน จากปริมาณสัญญาซื้อขายที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งในส่วนของAFET เองก็มองหาสินค้าใหม่ๆที่จะเข้ามาซื้อขายในตลาดเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวโพด ปาล์มนํ้ามัน ถั่วเหลือง เป็นต้น โดยขณะนี้เรื่องดังวกล่าวกังลังอยู่ในช่วงการศึกษาข้อมูล แต่ข้อสำคัญในการเลือกสินค้าเข้ามาซื้อขายนั้น จะเน้นว่าสินค้าหรือพิชผลดังกล่าวจะต้องเป็นสินค้าที่ประเทศไทย ต้องเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ อย่างเช่นยางพาราหรือข้าวเป็นต้น เพราะนักลงทุนสามารถนำข้อมูลต่างๆไปเปรียบเทียบกับราคาในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในต่างประเทศได้ด้วย
"แผนงานในปี 2552 นั้น เราวางแผนในเรื่องของการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ ในตลาดAFET เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงมากกว่าการลงทุน รวมถึงมองหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เรามีการปรับในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับสินค้าให้เข้ากับผู้ประการการมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มสภาพคล่องในตลาด โดยให้บริษัทต่างๆสามารถเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงนักลงทุนรายย่อยสามารถเข้ามาลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้มากขึ้น ตามเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มสมาชิกในตลาด ทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้นนั่นเอง "
 
ส่วนภาวะของราคายางพาราในปีที่ผ่านมาว่า กรรมการและผู้จัดการ AFET ยอมรับว่าตลาดได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยมีผลต่อในภาคส่วนของบริษัทผลิตยางรถยนต์ ส่งผลให้ราคายางตกตํ่าลงมา จึงทำให้ผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และไทย ต้องทำการกำหนดโควต้าการส่งออกยางพารา เพื่อเป็นการกระตุ้นราคายางพาราอีกช่องทางหนึ่ง

เพราะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทย เกิดปัญหาในเรื่องของการส่งออก เกษตรกรได้รับผลกระทบจากตลาดยางพาราจริง แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐบาลก็ได้เข้ามาช่วยเหลือ โดยการอุ้มราคา แต่หลังจากนั้นมาผลจากการที่ประเทศจีนได้ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ถึง เดือนเมษายน 2552 ทำให้การนำเข้ายางพาราจากจีนเพิ่มขึ้น และช่วยให้ราคายางพารากลับเข้าสู่ภาวะปกติ

"โดยภาพรวมในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ การลงทุนในยางพาราเริ่มกลับมาคึกคัก และเริ่มมีการเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนนั้น เป็นช่วงที่ปิดหน้ากรีดดยาง ซึ่งปกติราคายางพาราจะสูงขึ้น แต่เมื่อเจอปัญหาในเรื่องของการจำกัดโควต้าของส่งออกดังกล่าว จึงทำให้ราคายางพาราไม่สูงขึ้นมากนัก ซึ่งปกติแล้วราคายางพาราจะมีความผันผวนอยู่ที่ประมาณ 60 % แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าวความผันผวนของราคายางมีเพียง 20% เท่านั้น แต่มาถึงในช่วงเดือนเมษายนความผันผวนของราคายางเพิ่มขึ้นเป็น 40% และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนั้น มีสัญญาการซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 200 สัญญาต่อวัน"
 
กรรมการและผู้จัดการ กล่าวว่า ในเรื่องของยางพารานั้นมีประเด็นที่น่าสนใจอีกปัจจัยคือ จากการเกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดเม็กซิโก หรือไข้หวัด 2009 นี้ ส่งผลให้โรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลกมีความต้องการใช้ถุงมือทางการแพทย์เพิ่มาากขึ้น ซึ่งถือมือเหล่านี้ทำมาจากยางพาราจึงผลทำให้มีการซื้อขายยางพาราในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น จนมีการเก็บสต็อกมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันหุ้นของบริษัทผู้ผลิตถุงมือยางในประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ของโลก ราคาหุ้นได้ดีดตัวเพิ่มขึ้นตามปัจจัยดังกล่าวไปด้วยแล้ว จึงเป็นประเด็นที่น่าติดตามอีกปัจจัยหนึ่งในเรื่องของราคายางพาราในขณะนี้

ส่วนราคาราคาข้าวนั้น ในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีทองของราคาข้าวเลยทีเดียว ซึ่งราคาข้าวมีการปรับตัวพุ่งสูงขึ้นมาก และะส่งผลต่อการลงทุนในAFET ที่มากขึ้นไปด้วยเช่นกัน แต่ต่อมามีการเข้ามาแทรกแซงราคาจากรัฐบาล ทำให้การลงทุนในAFET ลดน้อยลงมาอย่างต่อเนื่องจนบางวันแทบไม่มีสัญญาการซื้อขายเลย
ทั้งนี้ เมื่อเริ่มเห็นภาพรวมของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะมอง AFET เป็นอีกช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ที่แนวโน้มของสินค้าเหล่านี้ยังมีความต้องการอยู่สูง ตามความจำเป็นที่ต้องใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจัยสี่ของมุนษย์ นั่นคือการบริโภค แต่AFET จะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด เราต้องมองย้อนกลับไปดูตัวของมันเองด้วยเช่นกัน เพราะหากต้องการเป็นเพียงเครื่องมือช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านราคาพืชผลให้เกษตรกรเพียงอย่างเดียวแล้ว กลไกและวัตถุประสงค์อาจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนได้ครบถ้วน แม้ต่อไปในอนาคตหากจะย้ายไปรวมกับตลาดอนุพันธ์ ก็อาจไม่ได้ช่วยเพิ่มความสนใจมากขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น