ครม.อนุมัติกู้เงิน 8 แสนล้าน ออกกฎหมาย 2 ฉบับทั้ง พ.ร.ก.และ พ.ร.บ.ฉบับละ 4 แสนล้าน ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการ "ไทยเข้มแข็ง 2555" กระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนระยะที่ 2 ระยะเวลา 3 ปี รองรับวงเงินลงทุน 1.43 ล้านล้าน ขุนคลังลั่นพร้อมแจงทุกเวที มั่นใจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แม้หนี้สาธารณะพุ่งแตะ 60% อ้างสร้างงาน 2 ล้านคน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเอกชนจากต้นทุนการขนส่งที่ลดลง ระบบชลประทานช่วยเพิ่มผลผลิตเกษตรกร ฝันปี54 จีดีพี 10% รายได้คนไทย 1.4 แสนบาทต่อหัว
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (6 พ.ค.) ว่า ครม.มีมติให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนของรัฐบาลตาม “แผนปฏิบัติการ : ไทยเข้มแข็ง 2555” เพื่อเสริมความพร้อมของการดำเนินงานและการลงทุนรัฐบาลภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ทันที โดยนำเสนอพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. .... เป็นการเร่งด่วน วงเงิน 4 แสนล้านบาท และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. …. เพื่อใช้จ่ายในระยะถัดไปอีก 4 แสนล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี
ตามแผนดังกล่าว ครม.อนุมัติวงเงินลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2552-2555 จำนวน 1.43 ล้านล้านบาท แต่ยังคงตั้งวงเงินไว้ในระดับเดิม 1.56 ล้านล้านบาท หากมีโครงการใดปรับปรุงแล้ว มีความเหมาะสมก็ยังสามารถเพิ่มเติมได้ตามวงเงินเดิมที่ตั้งไว้
ส่วนของ พ.ร.ก. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการทันที เป็นการกู้เงินภายใต้อำนาจของกระทรวงการคลัง สามารถดำเนินการได้ทันทีที่ พ.ร.ก.มีผลบังคับใช้ และให้ดำเนินการจัดหาเงินทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สามารถกู้เงินได้ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศใช้รองรับการลงทุนในปี 2553 ในขณะที่ พ.ร.บ. จะเสนอเข้าสภาเพื่อให้มีการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งมีวงเงิน 4 แสนล้านบาทเช่นกันและให้ดำเนินการกู้เงินภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศ ใช้รองรับการลงทุนในปี 2554 – 2555 โดยโครงการที่ได้คัดเลือกมาก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที
สาเหตุที่เงินกู้เพื่อการดำเนินโครงการ จะระดมทุนจากตลาดในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดเพียงพอซึ่งมีอยู่ 2 ล้านล้านบาท ประกอบกับปัจจุบัน รัฐบาลยังมีสถานะทางการคลังที่เข้มแข็ง ระดับหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก จึงยังสามารถกู้เงินมาใช้จ่ายในโครงการลงทุนได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลัง และสามารถบริหารจัดการหนี้สาธารณะอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
“กรอบหนี้สาธารณะที่อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กำหนดไว้ในอดีตนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีเป็นการรักษาเสถียรภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับรัฐบาลในภาวะที่เศรษฐกิจเป็นปกติในระดับหนึ่ง แต่หากผู้ที่คัดค้านกรอบการกู้เงินเพื่อลงทุนในครั้งนี้ผมขอท้าไปยังนักการเมืองทุกคนว่าสถานการณ์เช่นนี้ท่านจะลงทุนไหม หากมีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ เกิดขึ้นก็ตามถือว่ากระทรวงการคลังได้วางรากฐานในการสร้างโอกาสของประเทศชาติและวางยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ของชาติในระยะยาวไว้” นายกรณ์กล่าว
รมว.คลังอธิบายว่าเงิน 8 แสนล้านที่นำมาใช้ในโครงการลงทุน จะลงมือได้จริงตามอายุ พ.ร.ก. 4 แสนล้านบาท ภายในปี 53 จะเห็นผลอย่างน้อยมีการเซ็นสัญญาโครงการ ส่วนอีก 4 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.บ.จะมีการเซ็นสัญญาภายในปี 54 การกู้เงินครั้งนี้ส่วนหนึ่งประมาณ 2 แสนล้าน จะนำไปชดเชยการขาดดุลจากการจัดเก็บรายได้ที่หดตัว ที่เหลือ 6 แสนล้านบาท เชื่อว่าช่วยให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลได้ตระหนักว่า ได้เดินมาถูกทางแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ตรงเป้า โปร่งใส และรวดเร็ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที โดยเม็ดเงินที่นำมาใช้จะเป็นไปอย่างรอบคอบ ตรวจสอบได้ ไม่สร้างภาระทางการคลังในระยะยาว
"เดิมทีจะมีการกู้เงินโดยการออก พ.ร.ก.ฉบับเดียวแต่นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) แนะนำให้ออกเป็น พ.ร.บ.ด้วย นอกจากนี้คณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูของกระทรวงการคลังจะแปลงเป็นคณะกรรมการติดตามการใช้เงิน เพื่อให้เงินที่กู้มาถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รั่วไหลน้อยที่สุด ผมหารือกับท่านนายกฯ แล้ว เป็นไปได้ที่ท่านต้องลงมือด้วยตัวเอง เนื่องจากการจัดสรรเงินกระจายให้แก่พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค" นายกรณ์กล่าว
"ฝันปี54 จีดีพี 10% รายได้ต่อหัวแสนสี่
รมว.คลังกล่าวว่า โครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติมีมูลค่าทั้งหมด 1.43 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนระหว่างปี 2552-2555 คาดว่าจะช่วยสร้างงานได้ประมาณ 1.6-2 ล้านคน โดยเชื่อว่าเมื่อดำเนินโครงการไปแล้วเศรษฐกิจปี 53 จะขยายตัวมากกว่าปี 52 ก่อนที่จีดีพีของไทยจะทะลุถึง 10%ได้เป็นครั้งแรกในปลายปี 54 เพราะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ ในระยะยาว ขณะที่รายได้ประชาชนต่อหัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 เหรียญสหรัฐ (140,000 บาท) ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในภาคครัวเรือน
นายกรณ์กล่าวด้วยว่า พร้อมตอบคำถามทุกเวทีสามารถอธิบายความจำเป็นในการกู้เงินให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ หลังจากแถลงข่าวตนจะพบนักลงทุน นายธนาคารและผู้ประกอบการเพื่อชี้แจงความจำเป็นในการกูเงิน 8 แสนล้านบาท เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้รัฐบาลเพิกเฉยต่อวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่รัฐบาลจะไม่เลือกวิธีที่ทำให้ประชาชนมีหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ไม่เลือกวิธีการขายทรัพย์สินของประเทศ หรือขึ้นอัตราภาษี ยกเว้นภาษีบาป
แผนครั้งนี้ นอกจากผลระยะสั้นเรื่องการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นแล้ว รายได้ต่อหัวของคนไทยในอนาคตจะสูงขึ้น เกษตรกรยังจะมีแหล่งน้ำในการทำอาชีพ ภาคเอกชนต้นทุนการดำเนินงานลดลง และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งในเวทีโลก เพราะต่างชาติไม่กังวลหนี้สาธารณะที่ยังต่ำ แต่จะสนใจเรื่องขีดความสามารถของคนและภาคธุรกิจ ส่วนปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองเชื่อว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังการจัดสรรงบลงทุนในโครงการที่ทั่วถึงทุกกระทรวงและประชาชนทุกชนชั้น
"ผมอายุ 45 ตั้งเป้าจะเล่นการเมือง 10 ปี มั่นใจว่าการกู้เงินครั้งนี้ เป็นทั้งคนกู้และใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ผมมีเวลาในการใช้เงิน ส่วนคุณธารินทร์ (นิมมานเหมินท์ รมว.คลัง) แตกต่าง เพราะคุณธารินทร์เข้ามาแก้ปัญหาหนี้ที่รัฐบาลอื่นสร้างไว้ " นายกรณ์ตอบคำถามว่ามีความกังวลจะจะซ้ำรอยนายธารินทร์ที่ถูกสังคมกล่าวหาว่าสร้างหนี้และขายชาติ
ชู"ระบบน้ำ-ขนส่ง" โครงการหลัก
นายกรณ์กล่าวว่า โครงการด้านทรัพยากรน้ำและการเกษตร จำนวน 2.38 แสนล้านบาท จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการเกษตรให้แก่เกษตรกร โครงการด้านการศึกษา จำนวน 1.37 แสนล้านบาท จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย โครงการสาธารณสุข จำนวน 9.9 หมื่นล้านบาท จะช่วยปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานสูงสำหรับคนไทย โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว จำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท จะช่วยเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวผลต่อระบบเศรษฐกิจ
“แนวทางที่รัฐบาลคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตามแผนนี้อยู่ในภาวะที่จะเลือกไม่ลงทุนไม่ได้รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลงทุน อีกทั้งไม่มีช่วงเวลาไหนที่ดีที่สุดเท่าเวลานี้โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ดีขึ้นรวมทั้งราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลทำให้ต้นทุนในการลงทุนของรัฐบาลลดลงมากถือเป็นจังหวะที่ดีมากในการลงทุนของรัฐบาล” รมว.คลังกล่าว
สำหรับโครงการที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานได้ในทันที ได้แก่ โครงการลงทุนขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีการลงทุนกระจายไปทั่วประเทศ และมีการเบิกจ่ายอย่างรวดเร็ว เช่น โครงการลงทุนด้านแหล่งน้ำและระบบชลประทานขนาดเล็ก โครงการก่อสร้างถนนในชนบท โครงการก่อสร้างโรงเรียน โครงการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดเล็กในชนบท
โครงการที่มีผลกระทบในระยะปานกลาง ได้แก่ โครงการลงทุนขนาดกลางและใหญ่ ในด้านระบบพลังงาน การสื่อสาร โครงการสาขาขนส่งมวลชนและระบบราง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง การใช้พลังงานของประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะปานกลางให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
"เรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องคือการช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชนในระยะยาว เช่น โครงการขนส่ง/Logistic จำนวน 5.71 แสนล้านบาท จะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง (Logistic Cost) จากปัจจุบันที่สูงถึง 19% ของ GDP" (ดูตาราง...โครงการงบลงทุนไทยเข้มแข็ง 2555...ประกอบข่าว)
โครงการที่มีผลกระทบในระยะยาว ได้แก่ โครงการลงทุนในด้านการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว โดยจะช่วยเพิ่มผลิตภาพของระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในระยะยาว
ผลที่รัฐบาลคาดว่าจะได้รับแม้ว่าการหาเงินทุนสนับสนุนโครงการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น คาดว่าจะส่งผลให้หนี้สาธารณะของไทยปรับสูงขึ้นจากระดับต่ำที่ประมาณ 40% ของ GDP ในปัจจุบัน ไปอยู่ที่สูงสุดประมาณ 58-60% ของ GDP ในปี 2556 แต่ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากโครงการลงทุนที่สร้างโอกาสการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพการผลิตของประเทศจะส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ปี 2557 จนคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 47% ของ GDP ในปี 2561 ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรักษาความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ (Debt Sustainability)
“หนี้สาธารณะจะ 58 หรือ 60% ขึ้นอยู่กับผลของการลงทุน ผมหวังการใช้เงินที่ได้ผลทำให้หนี้สูงสุดแค่ 58% ในปี 2555 หลังจากนั้นจะลงมา” รมว.คลังกล่าว
7 เดือน 3 กรมฯ พลาดเป้า 1.3 แสนล.
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมจัดเก็บรายได้ที่สำคัญ 3 แห่ง ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ สามารถเก็บรายได้ทั้งสิ้น 714,412 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 817,405 ล้านบาท พลาดเป้าหมายไป 102,993 ล้านบาท หรือ 12.59% โดยกรมศุลกากรพลาเป้าหมายมากที่สุด 18.13%
นายประดิษฐ์กล่าวต่อว่า กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนทั้งสิ้น 518,693 ล้านบาท จากเป้าหมาย 580,626 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 61,933 ล้านบาท หรือ 10.67% ขณะที่กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 47,426 ล้านบาท จากเป้าหมาย 57,930 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 10,504 ล้านบาทหรือ 18.13% และกรมสรรพสามิต จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 148,293 ล้านบาท จากเป้าหมาย 178,849 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 30,556 ล้านบาท หรือ 17.08%.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (6 พ.ค.) ว่า ครม.มีมติให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนของรัฐบาลตาม “แผนปฏิบัติการ : ไทยเข้มแข็ง 2555” เพื่อเสริมความพร้อมของการดำเนินงานและการลงทุนรัฐบาลภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ทันที โดยนำเสนอพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. .... เป็นการเร่งด่วน วงเงิน 4 แสนล้านบาท และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ. …. เพื่อใช้จ่ายในระยะถัดไปอีก 4 แสนล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี
ตามแผนดังกล่าว ครม.อนุมัติวงเงินลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2552-2555 จำนวน 1.43 ล้านล้านบาท แต่ยังคงตั้งวงเงินไว้ในระดับเดิม 1.56 ล้านล้านบาท หากมีโครงการใดปรับปรุงแล้ว มีความเหมาะสมก็ยังสามารถเพิ่มเติมได้ตามวงเงินเดิมที่ตั้งไว้
ส่วนของ พ.ร.ก. ให้กระทรวงการคลังดำเนินการทันที เป็นการกู้เงินภายใต้อำนาจของกระทรวงการคลัง สามารถดำเนินการได้ทันทีที่ พ.ร.ก.มีผลบังคับใช้ และให้ดำเนินการจัดหาเงินทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สามารถกู้เงินได้ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศใช้รองรับการลงทุนในปี 2553 ในขณะที่ พ.ร.บ. จะเสนอเข้าสภาเพื่อให้มีการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งมีวงเงิน 4 แสนล้านบาทเช่นกันและให้ดำเนินการกู้เงินภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศ ใช้รองรับการลงทุนในปี 2554 – 2555 โดยโครงการที่ได้คัดเลือกมาก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที
สาเหตุที่เงินกู้เพื่อการดำเนินโครงการ จะระดมทุนจากตลาดในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดเพียงพอซึ่งมีอยู่ 2 ล้านล้านบาท ประกอบกับปัจจุบัน รัฐบาลยังมีสถานะทางการคลังที่เข้มแข็ง ระดับหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก จึงยังสามารถกู้เงินมาใช้จ่ายในโครงการลงทุนได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการคลัง และสามารถบริหารจัดการหนี้สาธารณะอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
“กรอบหนี้สาธารณะที่อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กำหนดไว้ในอดีตนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีเป็นการรักษาเสถียรภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับรัฐบาลในภาวะที่เศรษฐกิจเป็นปกติในระดับหนึ่ง แต่หากผู้ที่คัดค้านกรอบการกู้เงินเพื่อลงทุนในครั้งนี้ผมขอท้าไปยังนักการเมืองทุกคนว่าสถานการณ์เช่นนี้ท่านจะลงทุนไหม หากมีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ เกิดขึ้นก็ตามถือว่ากระทรวงการคลังได้วางรากฐานในการสร้างโอกาสของประเทศชาติและวางยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ของชาติในระยะยาวไว้” นายกรณ์กล่าว
รมว.คลังอธิบายว่าเงิน 8 แสนล้านที่นำมาใช้ในโครงการลงทุน จะลงมือได้จริงตามอายุ พ.ร.ก. 4 แสนล้านบาท ภายในปี 53 จะเห็นผลอย่างน้อยมีการเซ็นสัญญาโครงการ ส่วนอีก 4 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.บ.จะมีการเซ็นสัญญาภายในปี 54 การกู้เงินครั้งนี้ส่วนหนึ่งประมาณ 2 แสนล้าน จะนำไปชดเชยการขาดดุลจากการจัดเก็บรายได้ที่หดตัว ที่เหลือ 6 แสนล้านบาท เชื่อว่าช่วยให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลได้ตระหนักว่า ได้เดินมาถูกทางแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ตรงเป้า โปร่งใส และรวดเร็ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที โดยเม็ดเงินที่นำมาใช้จะเป็นไปอย่างรอบคอบ ตรวจสอบได้ ไม่สร้างภาระทางการคลังในระยะยาว
"เดิมทีจะมีการกู้เงินโดยการออก พ.ร.ก.ฉบับเดียวแต่นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) แนะนำให้ออกเป็น พ.ร.บ.ด้วย นอกจากนี้คณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูของกระทรวงการคลังจะแปลงเป็นคณะกรรมการติดตามการใช้เงิน เพื่อให้เงินที่กู้มาถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รั่วไหลน้อยที่สุด ผมหารือกับท่านนายกฯ แล้ว เป็นไปได้ที่ท่านต้องลงมือด้วยตัวเอง เนื่องจากการจัดสรรเงินกระจายให้แก่พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค" นายกรณ์กล่าว
"ฝันปี54 จีดีพี 10% รายได้ต่อหัวแสนสี่
รมว.คลังกล่าวว่า โครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติมีมูลค่าทั้งหมด 1.43 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนระหว่างปี 2552-2555 คาดว่าจะช่วยสร้างงานได้ประมาณ 1.6-2 ล้านคน โดยเชื่อว่าเมื่อดำเนินโครงการไปแล้วเศรษฐกิจปี 53 จะขยายตัวมากกว่าปี 52 ก่อนที่จีดีพีของไทยจะทะลุถึง 10%ได้เป็นครั้งแรกในปลายปี 54 เพราะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ ในระยะยาว ขณะที่รายได้ประชาชนต่อหัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 เหรียญสหรัฐ (140,000 บาท) ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในภาคครัวเรือน
นายกรณ์กล่าวด้วยว่า พร้อมตอบคำถามทุกเวทีสามารถอธิบายความจำเป็นในการกู้เงินให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ หลังจากแถลงข่าวตนจะพบนักลงทุน นายธนาคารและผู้ประกอบการเพื่อชี้แจงความจำเป็นในการกูเงิน 8 แสนล้านบาท เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้รัฐบาลเพิกเฉยต่อวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่รัฐบาลจะไม่เลือกวิธีที่ทำให้ประชาชนมีหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ไม่เลือกวิธีการขายทรัพย์สินของประเทศ หรือขึ้นอัตราภาษี ยกเว้นภาษีบาป
แผนครั้งนี้ นอกจากผลระยะสั้นเรื่องการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นแล้ว รายได้ต่อหัวของคนไทยในอนาคตจะสูงขึ้น เกษตรกรยังจะมีแหล่งน้ำในการทำอาชีพ ภาคเอกชนต้นทุนการดำเนินงานลดลง และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งในเวทีโลก เพราะต่างชาติไม่กังวลหนี้สาธารณะที่ยังต่ำ แต่จะสนใจเรื่องขีดความสามารถของคนและภาคธุรกิจ ส่วนปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองเชื่อว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังการจัดสรรงบลงทุนในโครงการที่ทั่วถึงทุกกระทรวงและประชาชนทุกชนชั้น
"ผมอายุ 45 ตั้งเป้าจะเล่นการเมือง 10 ปี มั่นใจว่าการกู้เงินครั้งนี้ เป็นทั้งคนกู้และใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ผมมีเวลาในการใช้เงิน ส่วนคุณธารินทร์ (นิมมานเหมินท์ รมว.คลัง) แตกต่าง เพราะคุณธารินทร์เข้ามาแก้ปัญหาหนี้ที่รัฐบาลอื่นสร้างไว้ " นายกรณ์ตอบคำถามว่ามีความกังวลจะจะซ้ำรอยนายธารินทร์ที่ถูกสังคมกล่าวหาว่าสร้างหนี้และขายชาติ
ชู"ระบบน้ำ-ขนส่ง" โครงการหลัก
นายกรณ์กล่าวว่า โครงการด้านทรัพยากรน้ำและการเกษตร จำนวน 2.38 แสนล้านบาท จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการเกษตรให้แก่เกษตรกร โครงการด้านการศึกษา จำนวน 1.37 แสนล้านบาท จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย โครงการสาธารณสุข จำนวน 9.9 หมื่นล้านบาท จะช่วยปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานสูงสำหรับคนไทย โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว จำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท จะช่วยเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวผลต่อระบบเศรษฐกิจ
“แนวทางที่รัฐบาลคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตามแผนนี้อยู่ในภาวะที่จะเลือกไม่ลงทุนไม่ได้รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลงทุน อีกทั้งไม่มีช่วงเวลาไหนที่ดีที่สุดเท่าเวลานี้โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ดีขึ้นรวมทั้งราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลทำให้ต้นทุนในการลงทุนของรัฐบาลลดลงมากถือเป็นจังหวะที่ดีมากในการลงทุนของรัฐบาล” รมว.คลังกล่าว
สำหรับโครงการที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานได้ในทันที ได้แก่ โครงการลงทุนขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีการลงทุนกระจายไปทั่วประเทศ และมีการเบิกจ่ายอย่างรวดเร็ว เช่น โครงการลงทุนด้านแหล่งน้ำและระบบชลประทานขนาดเล็ก โครงการก่อสร้างถนนในชนบท โครงการก่อสร้างโรงเรียน โครงการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดเล็กในชนบท
โครงการที่มีผลกระทบในระยะปานกลาง ได้แก่ โครงการลงทุนขนาดกลางและใหญ่ ในด้านระบบพลังงาน การสื่อสาร โครงการสาขาขนส่งมวลชนและระบบราง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง การใช้พลังงานของประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะปานกลางให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
"เรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องคือการช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชนในระยะยาว เช่น โครงการขนส่ง/Logistic จำนวน 5.71 แสนล้านบาท จะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง (Logistic Cost) จากปัจจุบันที่สูงถึง 19% ของ GDP" (ดูตาราง...โครงการงบลงทุนไทยเข้มแข็ง 2555...ประกอบข่าว)
โครงการที่มีผลกระทบในระยะยาว ได้แก่ โครงการลงทุนในด้านการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว โดยจะช่วยเพิ่มผลิตภาพของระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในระยะยาว
ผลที่รัฐบาลคาดว่าจะได้รับแม้ว่าการหาเงินทุนสนับสนุนโครงการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น คาดว่าจะส่งผลให้หนี้สาธารณะของไทยปรับสูงขึ้นจากระดับต่ำที่ประมาณ 40% ของ GDP ในปัจจุบัน ไปอยู่ที่สูงสุดประมาณ 58-60% ของ GDP ในปี 2556 แต่ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากโครงการลงทุนที่สร้างโอกาสการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพการผลิตของประเทศจะส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ปี 2557 จนคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 47% ของ GDP ในปี 2561 ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรักษาความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ (Debt Sustainability)
“หนี้สาธารณะจะ 58 หรือ 60% ขึ้นอยู่กับผลของการลงทุน ผมหวังการใช้เงินที่ได้ผลทำให้หนี้สูงสุดแค่ 58% ในปี 2555 หลังจากนั้นจะลงมา” รมว.คลังกล่าว
7 เดือน 3 กรมฯ พลาดเป้า 1.3 แสนล.
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมจัดเก็บรายได้ที่สำคัญ 3 แห่ง ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ สามารถเก็บรายได้ทั้งสิ้น 714,412 ล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้ 817,405 ล้านบาท พลาดเป้าหมายไป 102,993 ล้านบาท หรือ 12.59% โดยกรมศุลกากรพลาเป้าหมายมากที่สุด 18.13%
นายประดิษฐ์กล่าวต่อว่า กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนทั้งสิ้น 518,693 ล้านบาท จากเป้าหมาย 580,626 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 61,933 ล้านบาท หรือ 10.67% ขณะที่กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 47,426 ล้านบาท จากเป้าหมาย 57,930 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 10,504 ล้านบาทหรือ 18.13% และกรมสรรพสามิต จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 148,293 ล้านบาท จากเป้าหมาย 178,849 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 30,556 ล้านบาท หรือ 17.08%.