ASTVผู้จัดการรายวัน - กระทรวงเกษตรฯ ประเมินโครงการกล้ายางล้านไร่ผลงานสุดฉาวสมัยรัฐบาลทักษิณ ทำรัฐเสียหาย เหตุบริษัทคู่สัญญาขาดประสบการณ์ทำให้ไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย เผยพื้นที่ปลูกต่ำเป้ากว่า 2 แสนไร่ สูญรายได้จากประมาณการปีละหลายสิบล้าน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางชี้อัตราเติบโตต้นยางผ่านเกณฑ์เพียง 68% อีกกว่า 30% ตายในปีแรก ต้องปลูกซ่อมใหม่ ซ้ำอมโรค เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเห็นควรแก้ไขปรับปรุงการจัดหากล้ายางให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งระยะเวลา จำนวน และคุณภาพของกล้ายางที่ส่งมอบ สศก.เห็นควรให้ซีพีชดเชยค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรที่ได้รับต้นยางชำถุงล่าช้า รอวัดผล"เผาจริง" อีกทีตอนเปิดกรีดจะรุ่งริ่ง หรือร่ำรวย
แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประเมินโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2547 - 2549) โดยศูนย์ประเมินผลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสรุปว่าโครงการดังกล่าวตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 1 ล้านไร่ แต่การส่งมอบกล้ายางให้เกษตรกรเพาะปลูกได้จริงเพียง 776,405 ไร่ ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 223,595 ไร่ หรือหากวัดจากพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการและเกษตรกรยืนยันความพร้อมในการปลูกยาง รวมทั้งสิ้น 987,962 ไร่ จะต่ำกว่าประมาณ 211,577 ไร่ โดยบริษัทคู่สัญญาจัดส่งกล้ายางให้ไม่ทันประมาณ 19 ล้านต้นจากทั้งหมด 90 ล้านต้น
สูญรายได้หลายสิบล้านในแต่ละปี
แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรฯ ประเมินผลเสียหายที่จะเกิดจากส่งมอบกล้ายางไม่ทันตามกำหนด และประสิทธิผลของโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยแจกแจงรายละเอียดว่า การส่งมอบในปี 2547 เป้าส่งมอบ 18 ล้านต้น ส่งได้จริง 14 ล้านต้น ต้นยางที่ควรกรีดได้ในปี 2555 จำนวน 2 แสนไร่ จะกรีดได้จริง 156,000 ไร่ หายไป 44,444 ไร่ (90 ต้น/ไร่)
ปี 2548 เป้าส่งตามสัญญา 27 ล้านต้น และยอดค้างการส่งมอบที่ยกมาจากปีก่อน จำนวน 3,935,340 ต้น รวมต้นยางที่ต้องส่ง 30,395,340 ต้น แต่ส่งได้จริง 29,893,140 ต้น ค้างส่ง 1,042,200 ต้น (11,580 ไร่) ซึ่งเป็นความเสียหายจากการส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามสัญญา ส่วนปี 2549 เป้าหมายการส่งตามแผน 45 ล้านต้น แต่ส่งได้จริงเพียง 28,834,290 ค้างส่ง 16,124,490 ต้น
"หากนับรวมความเสียหายจากบริษัทที่ส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามเป้าแล้วหลายสิบล้านในแต่ละปี นับจากปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่เปิดกรีดเป็นต้นไป เพราะรัฐควรจะมีรายได้จากสวนยาง 1 ล้านไร่ แต่เอาเข้าจริงทำได้ต่ำเป้าถึง 2 แสนไร่"
จากการประเมินผล ยังพบว่า พื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 776,405 ไร่ นั้น ปัจจุบันมีการระงับการดำเนินการไป จำนวน 8,689 ไร่ คงเหลือพื้นที่ปลูกยางจริงขณะนี้จำนวน 767,716 ไร่ เหตุผลที่ระงับการปลูกส่วนใหญ่ร้อยละ 26 มาจากปัญหาต้นยางที่ปลูกตายเป็นจำนวนมากเพราะอากาศแล้งจัด เกษตรกรจึงไม่ประสงค์จะปลูกใหม่เพราะเห็นว่าไม่คุ้มทุน รองลงมาคือประสบภัยธรรมชาติ ร้อยละ 15
ผลสะท้อนบริษัทขาดประสบการณ์
ศูนย์ประเมินผลฯ ของกระทรวงเกษตรฯ ยังระบุว่า การดำเนินการจัดหากล้ายาง ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักที่กรมวิชาการเกษตร ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้ผลิตต้นยางชำถุงตามมาตรฐานที่โครงการกำหนดนั้น บริษัทคู่สัญญาได้ใช้วิธีจ้างผู้รับเหมาช่วงผลิตต้นยางชำถุงในพื้นที่กระจายตามพื้นที่เพาะปลูกตามจังหวัดต่างๆ ให้เป็นผู้เพาะชำและส่งมอบให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการในรัศมี 50 กม.ต่อจุดส่งมอบ ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพต้นยางชำถุงของกรมวิชาการเกษตรฯ พบว่า เมื่อปี 2547 กล้ายางผ่านเกณฑ์ตรวจรับเป็นต้นยางชำถุงเพียง 15.11 ล้านต้น ปี 2548 จำนวน 29.90 ล้านต้น และปี 2549 จำนวน 28.84 ล้านต้น รวมทั้งสิ้น 73.85 ล้านต้น จากจำนวนต้นตอตาที่บริษัทส่งให้กรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบคุณภาพก่อนลงชำถุง จำนวน 29.57 ล้านตอตา 53.57 ล้านตอตา 58.34 ล้านตอตา ตามลำดับจากปี 2547-2549 รวมทั้งสิ้น 141.48 ล้านตอตา
แหล่งข่าว ชี้ว่า จากการตรวจสอบคุณภาพของกล้ายางที่ผ่านเกณฑ์ต่ำมากโดยเฉพาะในปีแรกๆ สะท้อนความไม่มีประสบการณ์ของบริษัทคู่สัญญา อีกทั้งยังมีข้อกังขาว่า การใช้ผู้รับเหมาช่วงเป็นการผิดสัญญาด้วยหรือไม่
ยางรอดตาย แต่โตไม่ถึงเกณฑ์
จากการประเมินผลอัตราการรอดตายของต้นยางที่อายุไม่เกิน 1 ปีของศูนย์ประเมินผลฯ พบว่า อัตรารอดตายของต้นยางอยู่ในเกณฑ์ดี แม้บริษัทบริษัทผู้รับสัญญาจะส่งมอบต้นยางบางส่วนให้เกษตรกรล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลา กล่าวคือ ส่งมอบในช่วงปลายฤดูฝนหรือสิ้นสุดฤดูฝนและเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยตรง ทำให้ได้รับความยากลำบากในปลูกแลดูแลรักษา เกษตรกรต้องใช้ความพยายามในการต่อสู้เพื่อเอาชนะกับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง เพื่อให้ต้นยางรอดตายและเติบโตต่อไป โดยเฉพาะในช่วงอายุที่สวนยางมีอายุ 1 ปี เกษตรกรได้ใช้วิธีการต่างๆ นาๆ
เช่น หาน้ำใส่ขวดคว่ำลงบริเวณต้นยางเพื่อให้น้ำในขวดค่อยๆ ซึมออกมาเลี้ยงต้นยาง หรือจัดหาน้ำมารด ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันใช้สูบน้ำกรณีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ หรือกรณีแหล่งน้ำอยู่ไกลเกษตรกรต้องจัดหาน้ำใส่รถบรรทุกซึ่งต้องเสียค่าน้ำมันและค่าแรงงานในการขนน้ำ ส่วนเกษตรกรที่มีทุนน้อยก็ใช้วิธีหาบน้ำมารดด้วยตนเอง ซึ่งเพิ่มภาระให้เกษตรกรทั้งเวลา และต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ความมุ่งมั่นและอดทนของเกษตรกรเพื่อจะให้สวนยางของตนเองอยู่รอดส่งผลให้ต้นยางที่ปลูกในภาพรวมโครงการที่ต้นยางมีอายุ 1 - 3 ปี มีอัตราการรอดอยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยร้อยละ 85% ขณะที่ต้นยางที่ตายมีสาเหตุจากสภาพอากาศแห้งแล้ง 62% และต้นยางเป็นโรค 22%
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะใช้ความอดทนและพยายามเพื่อให้สวนยางรอด รวมทั้งการให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (ส.ก.ย.) แต่อัตราการเติบโตของสวนยางที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะที่ปลูกในปีแรกต่ำกว่าเกณฑ์เกือบครึ่งต่อครึ่ง ส่วนปีที่สองเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย
ตามรายงานการประเมินผลฯ ระบุว่า สวนยางที่ปลูกในปี 2547 (อายุระหว่าง 27 - 30 เดือน) มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีขนาดรอบต้นไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร (ไม่ได้ระบุความสูง) ร้อยละ 45 ส่วนที่โตน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานลงมาร้อยละ 55
สวนยางที่ปลูกในปี 2548 (อายุ 18 - 21 เดือน) มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีขนาดรอบต้นไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร หรือสูงตั้งแต่ 350เซนติเมตรขึ้นไป ร้อยละ 58 ส่วนที่โตน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานลงมาร้อยละ 41
ส่วนสวนยางที่ปลูกในปี 2549 (อายุ 7-11 เดือน) มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีความสูงตั้งแต่ 200 เซนติเมตรขึ้นไป มีร้อยละ 87 (ไม่ได้ระบุขนาดรอบต้น) ส่วนที่น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานลงมา ร้อยละ 13
สำหรับสวนยางที่มีการเจริญเติบโตไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีร้อยละ 31 สาเหตุหลักมาจากต้นยางที่ปลูกในช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ตายจำนวนมาก เกษตรกรต้องปลูกซ่อมในปีต่อมาทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางที่ปลูกไม่ทันกัน นอกจากนั้น ในการดูแลสวนยางเกษตรกรประสบปัญหาต้นยางเป็นโรคมากที่สุดถึงร้อยละ 30
ผลการประเมินโครงการฯ ในส่วนความพึงพอใจของเกษตรกร มีข้อเสนอแนะควรปรับปรุงด้านการจัดหาต้นยางชำถุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในด้านระยะเวลา จำนวน และคุณภาพของกล้ายางที่ได้รับมอบ
นอกจากนั้น สศก. เห็นควรให้บริษัทผู้รับสัญญาเพาะชำต้นยางชำถุงให้การชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกรในรายที่ได้รับต้นยางชำถุงล่าช้าในช่วงสวนยางมีอายุไม่เกิน 1 ปี ตามความเหมาะสมซึ่งอาจจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิจารณา เนื่องจากเกษตรกรต้องใช้ทุนและแรงงานเพิ่มขึ้นกว่าปกติในความพยายามรักษาต้นยางที่ปลูกไว้ไม่ให้ตายไปโดยการชดเชยดังกล่าวสามารถจ่ายย้อนหลังได้ ขณะเดียวกันระหว่างที่รอเปิดกรีดรัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทั้งด้านพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกภายใต้ร่มเงาต้นยางที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปเพื่อเป็นรายได้ให้เกษตรกรระหว่างรอเปิดกรีดยาง, สนับสนุนค่าปุ๋ย, แหล่งเงินทุน และต้องประเมินผลหลังสวนยางเริ่มเปิดกรีดได้ เพื่อให้ทราบผลที่เกิดขึ้นว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ เนื่องจากการประเมินผลครั้งนี้ยังไม่สามาราถตอบคำถามการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ เนื่องจากสวนยางมีอายุเพียง 1 - 3 ปี เท่านั้น
อนึ่ง โครงการปลูกยางล้านไร่เพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรฯ ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นความริเริ่มของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.กระทรวงเกษตรฯ ขณะที่นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว.กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้เสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในช่วงปลายสมัยรัฐบาลทักษิณ1 เพื่อใช้เป็นโครงการหาเสียงในสมัยการเลือกตั้งกระทั่งนำมาสู่ชัยชนะและจัดตั้งรัฐบาลทักษิณ 2 โครงการดังกล่าวกำหนดวงเงินงบประมาณ 6,800 ล้านบาท แยกเป็นค่าจัดหาพันธุ์ยาง ค่าดูแลรักษา
สำหรับค่าจัดหาพันธุ์กล้ายาง 1,440 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตรฯ ใช้เงินจากกองทุนโครงการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ปลอดดอกเบี้ย และให้ สกย. ซึ่งรับผิดชอบโครงการนี้ในส่วนการฝึกอบรมให้ความรู้เกษตรกร ติดตามกำกับตรวจสอบ เป็นผู้ชำระเงินทั้งหมดคืน คชก. โดยใช้รายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง ในระยะเวลา 10 ปี นับจากยางให้ผลผลิต
โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในคดีทุจริตที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) เข้ามาตรวจสอบ และขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคดีนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) โจทก์ (แทนคตส.) เตรียมพยานไต่สวนรวมทั้งสิ้น 25 ปาก ซึ่งศาลอนุญาตให้ใช้เวลาไต่สวนพยานรวม 6 นัด โดยกำหนดวันนัดไต่สวนพยานโจทก์ต่อเนื่องกันตลอดเดือน มี.ค. 52 ซึ่งนัดสุดท้าย คือวันที่ 25 มี.ค.ท่ผ่านมา ขณะที่ฝ่ายจำเลย เตรียมพยานไต่สวนรวม 92 ปาก รวม 18 นัด เริ่มไต่สวนพยานจำเลยครั้งแรกในวันที่ 12 พ.ค.นี้ สำหรับการไต่สวนพยานนั้นองค์คณะ ฯ อนุญาต ให้ไต่สวนพยานลับหลังจำเลยทั้ง 44 คนได้
คดีดังกล่าว คตส. ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คชก. , นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะ คชก. , นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ , นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะ คชก. กับพวกรวม 44 คน ประกอบด้วย กลุ่มคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอโครงการต่อ ครม. คณะที่ 2 , กลุ่ม คชก. , กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการ ( กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคาซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มบริษัทเอกชน ที่มี 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพี , บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด และ บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด
ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 , เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 , ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ประกอบ มาตรา 83 ,84 และ 86 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ( ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4,10 -14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 กรณีร่วมกันทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร
ทั้งนี้ จากสำนวนคำฟ้อง คตส. มีความเห็นว่า สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนและพยานเอกสาร พอสรุปได้ว่าความเสียหายได้แก่ เงิน คชก. ที่กรมวิชาการเกษตรเบิกไปจากกรมบัญชีกลางจำนวน 7 งวด และได้จ่ายให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ค่าเสียหายในส่วนที่คำนวณได้เป็นตัวเงินจำนวน 1,100.69 ล้านบาท
ความผิดดังกล่าวนั้น บุคคลที่จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ความเสียหายแก่รัฐ คตส. พิจารณาแล้วเห็นว่า คณะกรรมการ คชก. ในฐานะที่อนุมัติให้มีการใช้เงินคชก. และให้นำเงิน CESS มาใช้คืน คชก. นายเนวิน ชิดชอบ ในฐานะรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโครงการ นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรในขณะนั้น คณะกรรมการบริหารโครงการ คณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัทรีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัทเอกเจริญการเกษตร จำกัด และกรรมการบริษัทเอกชนที่มีอำนาจทำการแทนบริษัททั้งสามบริษัท นายสกล บุญชูดวง, นายสำราญ ชัยชนะ, นายญาณกร สิงห์ชุม ต้องร่วมรับผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้งหมดโดยจะต้องรับผิดร่วมกันเต็มจำนวนความเสียหาย
นอกจากความเสียหายดังกล่าวข้างต้นแล้ว คตส.ขอให้ข้อสังเกตในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเกษตรกรในโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะในปีที่ 1 เป็นผลมาจากการส่งมอบกิ่งยางชำถุงไม่ครบและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากมีการส่งมอบนอกระยะเวลาตามสัญญาและกรณีที่ส่งมอบในระยะเวลาตามสัญญามีอัตราการตายสูงเนื่องจากภัยแล้ง
ในปีที่ 2 การดำเนินการส่งมอบกิ่งยางชำถุงครบถ้วน อัตราการตายถือว่าต่ำ แต่ปีที่ 3 การส่งมอบขาดไปประมาณ 16ล้านต้น ส่วนการตายยังไม่ทราบ(เอกสารหน้าที่ 176 แฟ้มที่ 7)
โครงการกล้ายาง 90 ล้านต้นมีการกำหนด TOR ให้ส่งมอบยาง 4 งวด ซึ่งการปลูกยางควรปลูกในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิ.ย.ไม่ควรเกินเดือนส.ค. การส่งมอบเดือนส.ค. เป็นการส่งในปลายฤดูฝน จะเกิดปัญหายางตาย ซึ่งโครงการดังกล่าวมีต้นกล้ายางตายไปถึง 20 เปอร์เซ็นต์ หาก TOR กำหนดให้ส่งมอบต้นฤดูฝน เปอร์เซ็นต์การตายของยางจะลดลง
แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประเมินโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2547 - 2549) โดยศูนย์ประเมินผลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสรุปว่าโครงการดังกล่าวตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 1 ล้านไร่ แต่การส่งมอบกล้ายางให้เกษตรกรเพาะปลูกได้จริงเพียง 776,405 ไร่ ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 223,595 ไร่ หรือหากวัดจากพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการและเกษตรกรยืนยันความพร้อมในการปลูกยาง รวมทั้งสิ้น 987,962 ไร่ จะต่ำกว่าประมาณ 211,577 ไร่ โดยบริษัทคู่สัญญาจัดส่งกล้ายางให้ไม่ทันประมาณ 19 ล้านต้นจากทั้งหมด 90 ล้านต้น
สูญรายได้หลายสิบล้านในแต่ละปี
แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรฯ ประเมินผลเสียหายที่จะเกิดจากส่งมอบกล้ายางไม่ทันตามกำหนด และประสิทธิผลของโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยแจกแจงรายละเอียดว่า การส่งมอบในปี 2547 เป้าส่งมอบ 18 ล้านต้น ส่งได้จริง 14 ล้านต้น ต้นยางที่ควรกรีดได้ในปี 2555 จำนวน 2 แสนไร่ จะกรีดได้จริง 156,000 ไร่ หายไป 44,444 ไร่ (90 ต้น/ไร่)
ปี 2548 เป้าส่งตามสัญญา 27 ล้านต้น และยอดค้างการส่งมอบที่ยกมาจากปีก่อน จำนวน 3,935,340 ต้น รวมต้นยางที่ต้องส่ง 30,395,340 ต้น แต่ส่งได้จริง 29,893,140 ต้น ค้างส่ง 1,042,200 ต้น (11,580 ไร่) ซึ่งเป็นความเสียหายจากการส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามสัญญา ส่วนปี 2549 เป้าหมายการส่งตามแผน 45 ล้านต้น แต่ส่งได้จริงเพียง 28,834,290 ค้างส่ง 16,124,490 ต้น
"หากนับรวมความเสียหายจากบริษัทที่ส่งมอบกล้ายางไม่ได้ตามเป้าแล้วหลายสิบล้านในแต่ละปี นับจากปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่เปิดกรีดเป็นต้นไป เพราะรัฐควรจะมีรายได้จากสวนยาง 1 ล้านไร่ แต่เอาเข้าจริงทำได้ต่ำเป้าถึง 2 แสนไร่"
จากการประเมินผล ยังพบว่า พื้นที่เพาะปลูกยาง จำนวน 776,405 ไร่ นั้น ปัจจุบันมีการระงับการดำเนินการไป จำนวน 8,689 ไร่ คงเหลือพื้นที่ปลูกยางจริงขณะนี้จำนวน 767,716 ไร่ เหตุผลที่ระงับการปลูกส่วนใหญ่ร้อยละ 26 มาจากปัญหาต้นยางที่ปลูกตายเป็นจำนวนมากเพราะอากาศแล้งจัด เกษตรกรจึงไม่ประสงค์จะปลูกใหม่เพราะเห็นว่าไม่คุ้มทุน รองลงมาคือประสบภัยธรรมชาติ ร้อยละ 15
ผลสะท้อนบริษัทขาดประสบการณ์
ศูนย์ประเมินผลฯ ของกระทรวงเกษตรฯ ยังระบุว่า การดำเนินการจัดหากล้ายาง ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักที่กรมวิชาการเกษตร ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้ผลิตต้นยางชำถุงตามมาตรฐานที่โครงการกำหนดนั้น บริษัทคู่สัญญาได้ใช้วิธีจ้างผู้รับเหมาช่วงผลิตต้นยางชำถุงในพื้นที่กระจายตามพื้นที่เพาะปลูกตามจังหวัดต่างๆ ให้เป็นผู้เพาะชำและส่งมอบให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการในรัศมี 50 กม.ต่อจุดส่งมอบ ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพต้นยางชำถุงของกรมวิชาการเกษตรฯ พบว่า เมื่อปี 2547 กล้ายางผ่านเกณฑ์ตรวจรับเป็นต้นยางชำถุงเพียง 15.11 ล้านต้น ปี 2548 จำนวน 29.90 ล้านต้น และปี 2549 จำนวน 28.84 ล้านต้น รวมทั้งสิ้น 73.85 ล้านต้น จากจำนวนต้นตอตาที่บริษัทส่งให้กรมวิชาการเกษตร ตรวจสอบคุณภาพก่อนลงชำถุง จำนวน 29.57 ล้านตอตา 53.57 ล้านตอตา 58.34 ล้านตอตา ตามลำดับจากปี 2547-2549 รวมทั้งสิ้น 141.48 ล้านตอตา
แหล่งข่าว ชี้ว่า จากการตรวจสอบคุณภาพของกล้ายางที่ผ่านเกณฑ์ต่ำมากโดยเฉพาะในปีแรกๆ สะท้อนความไม่มีประสบการณ์ของบริษัทคู่สัญญา อีกทั้งยังมีข้อกังขาว่า การใช้ผู้รับเหมาช่วงเป็นการผิดสัญญาด้วยหรือไม่
ยางรอดตาย แต่โตไม่ถึงเกณฑ์
จากการประเมินผลอัตราการรอดตายของต้นยางที่อายุไม่เกิน 1 ปีของศูนย์ประเมินผลฯ พบว่า อัตรารอดตายของต้นยางอยู่ในเกณฑ์ดี แม้บริษัทบริษัทผู้รับสัญญาจะส่งมอบต้นยางบางส่วนให้เกษตรกรล่าช้าไม่ทันตามกำหนดเวลา กล่าวคือ ส่งมอบในช่วงปลายฤดูฝนหรือสิ้นสุดฤดูฝนและเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยตรง ทำให้ได้รับความยากลำบากในปลูกแลดูแลรักษา เกษตรกรต้องใช้ความพยายามในการต่อสู้เพื่อเอาชนะกับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง เพื่อให้ต้นยางรอดตายและเติบโตต่อไป โดยเฉพาะในช่วงอายุที่สวนยางมีอายุ 1 ปี เกษตรกรได้ใช้วิธีการต่างๆ นาๆ
เช่น หาน้ำใส่ขวดคว่ำลงบริเวณต้นยางเพื่อให้น้ำในขวดค่อยๆ ซึมออกมาเลี้ยงต้นยาง หรือจัดหาน้ำมารด ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันใช้สูบน้ำกรณีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ หรือกรณีแหล่งน้ำอยู่ไกลเกษตรกรต้องจัดหาน้ำใส่รถบรรทุกซึ่งต้องเสียค่าน้ำมันและค่าแรงงานในการขนน้ำ ส่วนเกษตรกรที่มีทุนน้อยก็ใช้วิธีหาบน้ำมารดด้วยตนเอง ซึ่งเพิ่มภาระให้เกษตรกรทั้งเวลา และต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ความมุ่งมั่นและอดทนของเกษตรกรเพื่อจะให้สวนยางของตนเองอยู่รอดส่งผลให้ต้นยางที่ปลูกในภาพรวมโครงการที่ต้นยางมีอายุ 1 - 3 ปี มีอัตราการรอดอยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยร้อยละ 85% ขณะที่ต้นยางที่ตายมีสาเหตุจากสภาพอากาศแห้งแล้ง 62% และต้นยางเป็นโรค 22%
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะใช้ความอดทนและพยายามเพื่อให้สวนยางรอด รวมทั้งการให้คำแนะนำของเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (ส.ก.ย.) แต่อัตราการเติบโตของสวนยางที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะที่ปลูกในปีแรกต่ำกว่าเกณฑ์เกือบครึ่งต่อครึ่ง ส่วนปีที่สองเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย
ตามรายงานการประเมินผลฯ ระบุว่า สวนยางที่ปลูกในปี 2547 (อายุระหว่าง 27 - 30 เดือน) มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีขนาดรอบต้นไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร (ไม่ได้ระบุความสูง) ร้อยละ 45 ส่วนที่โตน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานลงมาร้อยละ 55
สวนยางที่ปลูกในปี 2548 (อายุ 18 - 21 เดือน) มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีขนาดรอบต้นไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร หรือสูงตั้งแต่ 350เซนติเมตรขึ้นไป ร้อยละ 58 ส่วนที่โตน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานลงมาร้อยละ 41
ส่วนสวนยางที่ปลูกในปี 2549 (อายุ 7-11 เดือน) มีการเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีความสูงตั้งแต่ 200 เซนติเมตรขึ้นไป มีร้อยละ 87 (ไม่ได้ระบุขนาดรอบต้น) ส่วนที่น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานลงมา ร้อยละ 13
สำหรับสวนยางที่มีการเจริญเติบโตไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีร้อยละ 31 สาเหตุหลักมาจากต้นยางที่ปลูกในช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ตายจำนวนมาก เกษตรกรต้องปลูกซ่อมในปีต่อมาทำให้การเจริญเติบโตของต้นยางที่ปลูกไม่ทันกัน นอกจากนั้น ในการดูแลสวนยางเกษตรกรประสบปัญหาต้นยางเป็นโรคมากที่สุดถึงร้อยละ 30
ผลการประเมินโครงการฯ ในส่วนความพึงพอใจของเกษตรกร มีข้อเสนอแนะควรปรับปรุงด้านการจัดหาต้นยางชำถุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในด้านระยะเวลา จำนวน และคุณภาพของกล้ายางที่ได้รับมอบ
นอกจากนั้น สศก. เห็นควรให้บริษัทผู้รับสัญญาเพาะชำต้นยางชำถุงให้การชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกรในรายที่ได้รับต้นยางชำถุงล่าช้าในช่วงสวนยางมีอายุไม่เกิน 1 ปี ตามความเหมาะสมซึ่งอาจจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิจารณา เนื่องจากเกษตรกรต้องใช้ทุนและแรงงานเพิ่มขึ้นกว่าปกติในความพยายามรักษาต้นยางที่ปลูกไว้ไม่ให้ตายไปโดยการชดเชยดังกล่าวสามารถจ่ายย้อนหลังได้ ขณะเดียวกันระหว่างที่รอเปิดกรีดรัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทั้งด้านพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกภายใต้ร่มเงาต้นยางที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปเพื่อเป็นรายได้ให้เกษตรกรระหว่างรอเปิดกรีดยาง, สนับสนุนค่าปุ๋ย, แหล่งเงินทุน และต้องประเมินผลหลังสวนยางเริ่มเปิดกรีดได้ เพื่อให้ทราบผลที่เกิดขึ้นว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ เนื่องจากการประเมินผลครั้งนี้ยังไม่สามาราถตอบคำถามการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ เนื่องจากสวนยางมีอายุเพียง 1 - 3 ปี เท่านั้น
อนึ่ง โครงการปลูกยางล้านไร่เพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรฯ ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นความริเริ่มของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.กระทรวงเกษตรฯ ขณะที่นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว.กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้เสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในช่วงปลายสมัยรัฐบาลทักษิณ1 เพื่อใช้เป็นโครงการหาเสียงในสมัยการเลือกตั้งกระทั่งนำมาสู่ชัยชนะและจัดตั้งรัฐบาลทักษิณ 2 โครงการดังกล่าวกำหนดวงเงินงบประมาณ 6,800 ล้านบาท แยกเป็นค่าจัดหาพันธุ์ยาง ค่าดูแลรักษา
สำหรับค่าจัดหาพันธุ์กล้ายาง 1,440 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตรฯ ใช้เงินจากกองทุนโครงการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ปลอดดอกเบี้ย และให้ สกย. ซึ่งรับผิดชอบโครงการนี้ในส่วนการฝึกอบรมให้ความรู้เกษตรกร ติดตามกำกับตรวจสอบ เป็นผู้ชำระเงินทั้งหมดคืน คชก. โดยใช้รายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง ในระยะเวลา 10 ปี นับจากยางให้ผลผลิต
โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในคดีทุจริตที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) เข้ามาตรวจสอบ และขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคดีนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) โจทก์ (แทนคตส.) เตรียมพยานไต่สวนรวมทั้งสิ้น 25 ปาก ซึ่งศาลอนุญาตให้ใช้เวลาไต่สวนพยานรวม 6 นัด โดยกำหนดวันนัดไต่สวนพยานโจทก์ต่อเนื่องกันตลอดเดือน มี.ค. 52 ซึ่งนัดสุดท้าย คือวันที่ 25 มี.ค.ท่ผ่านมา ขณะที่ฝ่ายจำเลย เตรียมพยานไต่สวนรวม 92 ปาก รวม 18 นัด เริ่มไต่สวนพยานจำเลยครั้งแรกในวันที่ 12 พ.ค.นี้ สำหรับการไต่สวนพยานนั้นองค์คณะ ฯ อนุญาต ให้ไต่สวนพยานลับหลังจำเลยทั้ง 44 คนได้
คดีดังกล่าว คตส. ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คชก. , นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะ คชก. , นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ , นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะ คชก. กับพวกรวม 44 คน ประกอบด้วย กลุ่มคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอโครงการต่อ ครม. คณะที่ 2 , กลุ่ม คชก. , กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการ ( กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคาซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มบริษัทเอกชน ที่มี 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพี , บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด และ บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด
ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 , เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 , ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ประกอบ มาตรา 83 ,84 และ 86 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ( ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4,10 -14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 กรณีร่วมกันทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร
ทั้งนี้ จากสำนวนคำฟ้อง คตส. มีความเห็นว่า สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนและพยานเอกสาร พอสรุปได้ว่าความเสียหายได้แก่ เงิน คชก. ที่กรมวิชาการเกษตรเบิกไปจากกรมบัญชีกลางจำนวน 7 งวด และได้จ่ายให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ค่าเสียหายในส่วนที่คำนวณได้เป็นตัวเงินจำนวน 1,100.69 ล้านบาท
ความผิดดังกล่าวนั้น บุคคลที่จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ความเสียหายแก่รัฐ คตส. พิจารณาแล้วเห็นว่า คณะกรรมการ คชก. ในฐานะที่อนุมัติให้มีการใช้เงินคชก. และให้นำเงิน CESS มาใช้คืน คชก. นายเนวิน ชิดชอบ ในฐานะรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบโครงการ นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรในขณะนั้น คณะกรรมการบริหารโครงการ คณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัทรีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัทเอกเจริญการเกษตร จำกัด และกรรมการบริษัทเอกชนที่มีอำนาจทำการแทนบริษัททั้งสามบริษัท นายสกล บุญชูดวง, นายสำราญ ชัยชนะ, นายญาณกร สิงห์ชุม ต้องร่วมรับผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้งหมดโดยจะต้องรับผิดร่วมกันเต็มจำนวนความเสียหาย
นอกจากความเสียหายดังกล่าวข้างต้นแล้ว คตส.ขอให้ข้อสังเกตในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเกษตรกรในโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะในปีที่ 1 เป็นผลมาจากการส่งมอบกิ่งยางชำถุงไม่ครบและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากมีการส่งมอบนอกระยะเวลาตามสัญญาและกรณีที่ส่งมอบในระยะเวลาตามสัญญามีอัตราการตายสูงเนื่องจากภัยแล้ง
ในปีที่ 2 การดำเนินการส่งมอบกิ่งยางชำถุงครบถ้วน อัตราการตายถือว่าต่ำ แต่ปีที่ 3 การส่งมอบขาดไปประมาณ 16ล้านต้น ส่วนการตายยังไม่ทราบ(เอกสารหน้าที่ 176 แฟ้มที่ 7)
โครงการกล้ายาง 90 ล้านต้นมีการกำหนด TOR ให้ส่งมอบยาง 4 งวด ซึ่งการปลูกยางควรปลูกในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิ.ย.ไม่ควรเกินเดือนส.ค. การส่งมอบเดือนส.ค. เป็นการส่งในปลายฤดูฝน จะเกิดปัญหายางตาย ซึ่งโครงการดังกล่าวมีต้นกล้ายางตายไปถึง 20 เปอร์เซ็นต์ หาก TOR กำหนดให้ส่งมอบต้นฤดูฝน เปอร์เซ็นต์การตายของยางจะลดลง