ASTVผู้จัดการรายวัน–คลังผวาวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลจัดเก็บภาษีต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ กลางปี53หดตัวรุนแรง เหตุแหล่งภาษีเงินได้นิติบุคคลทรุด ขณะที่แวตที่เคยได้จากภาคส่งออกและนำเข้าชะลอตัวรุนแรง แนะใช้โอกาสนี้ปรับแผนแม่บทภาษีให้เป็นจริง เพิ่มสัดส่วนจาก15 เป็น20% ของจีดีพี ไม่ปฏิเสธรัฐบาลออกพ.ร.ก.กู้เงิน หลังมีภาระรายจ่ายงบประมาณเร่งด่วน วอนทุกภาคส่วนร่วมมือแก้เศรษฐกิจ
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางภาษีของประเทศ โดยยอมรับว่าปัจจุบันความสามารถในการหารายได้จากภาษีที่ยังจัดเก็บต่ำกว่าเป้า ไม่สัมพันธ์กับรายจ่ายของประเทศที่มีภาระเพิ่มขึ้น และต้องการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่กำลังวิกฤตอย่างเร่งด่วน ขณะที่หนี้สาธารณะยังได้รับแรงกดดันจากเพดานการกู้เงิน จึงจำเป็นต้องวางแผนรายได้ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เกิดขึ้น
"มันเร่งด่วน ต้องจ่าย ต้องกู้ และต้องแก้ แต่สถานการณ์เป็นอย่างนี้ก็ต้องปรับ ด้วยการทำอย่างไรก็ได้ ในการเพิ่มสัดส่วนรายได้ภาษีจากร้อยละ15 เป็นร้อยละ20 แต่เมื่อทำออกมาแล้วต้องตอบโจทย์อื่นได้ด้วย" ปลัดกระทรวงการคลังกล่าว
นอกจากความพอเพียง ต้องเป็นโจทย์ความเหมาะสม คือ 1. ทำให้เห็นศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจยังใช้ได้ไหม เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 2. ในทางสังคม ยอมรับไหมว่า การกระจายภาระถือว่ามีความเป็นธรรม แม้ว่าทุกคนจะเหนื่อยขึ้น 3. มันทำให้ระบบมีประสิทธิภาพไหม โจทย์สำคัญคือ เราเป็นห่วงระดับรายได้ใช่ไหม ก็ควรยกขึ้นมาให้ได้ ซึ่งในบางประเทศตัวเลขรายได้ 30 % ของจีดีพี
นายศุภรัตน์อธิบายว่า การที่รัฐจะเก็บมากเก็บน้อยขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะใช้มากใช้น้อย วันนี้เป็นเพียงขยายการใช้ ที่พูดว่างบประมาณเยอะ ทั้งงบเรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี ถ้าเน้นสวัสดิการฟรีมาก ก็เก็บภาษีมาก เช่น การมีสวัสดิการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ฟรี เหมือนกับสวีเดน ก็ต้องเก็บภาษีร้อยละ 50 ของจีดีพี แต่ถ้าแต่ละคนรับผิดชอบตัวเอง เก็บภาษีน้อยๆ ก็ได้ หรือเก็บน้อยแต่บังคับให้เอกชนเก็บกันเอง ดูแลกันเอง ประกันเงินกันเอง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ซึ่งเป็นเงินที่ไม่เข้ารัฐ เอกชนสามารถจัดการกันเองได้ สร้างระบบขึ้นมาแล้วเสียภาษีน้อยหน่อย การปรับโครงสร้างที่ทำมาตลอด ก็ยังใช้ได้อยู่ และควรต้องทำเชิงรุกกว่านี้ด้วย
คาดปีงบ 53 ภาษีถึงจุดต่ำสุด
การปรับโครงสร้างภาษี จากเดิมซึ่งได้วางแผนไว้ จากภาวะการณ์ปกติบนพื้นฐานรายได้เท่าเดิม เพื่อลดแรงกดดันส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็เก็บภาษีเพิ่ม แต่วันนี้ไม่ใช่ แต่ทิศทางถูก แต่ก็จำกัดคือ ภาษีเท่าเดิมที่จริงมันต้องขึ้นภาษีของปีนี้ ตัวภาษีครึ่งปี ตัวที่ตกหนักสุดคือภาษีสรรพสามิต ลดลงกว่าร้อยละ20 ภาษีสรรพากรลดลงประมาณร้อยละ9-10 ประเด็นก็คือ ทิศทางวันข้างหน้าสรรพากรต้องลงหนัก เพราะภาษีเงินได้นิติบุคคล เลื่อนไปหนึ่งปี ที่จ่ายกันในปีนี้ เป็นผลของปีก่อนทั้งสิ้น ทำให้ในปีปัจจุบันซึ่งจะเป็นปีอนาคตส่วนหนึ่งด้วยมันจะต่ำกว่าปีก่อน และจะลดไปอีกหนึ่งปี จะลดลงมากกว่าปีนี้อีก
"ผลประกอบการในปี 53 จะดีขึ้นก็ต้องดูในปี52 อีก และนิติบุคคลลดแต่ยังไม่แรงนักในเดือนพฤษภาคม แต่จะเริ่มแรงมากขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ เฉพาะในปีงบประมาณ 52 นี้ และในพฤษภาคมในปีหน้าก็จะเริ่มแรงขึ้นอีก"
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) นายศุภรัตน์ ระบุว่า เป็นรายได้หลัก แนวโน้มต้นปีงบประมาณปี 53 ช่วง ต.ค.-พ.ย.52 ยังไม่โดนแรงนัก แต่พอช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.เริ่มมีผลแรงมากขึ้น ขณะนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มหายไปประมาณร้อยละ 30 พอกับรายได้ภาษีนำเข้าซึ่งฝากศุลกากรจัดเก็บ ช่วงที่ภาษียังไม่ตก เพราะยอดคำสั่งซื้อสินค้าหรือออเดอร์เก่ายังค้างอยู่ คำสั่งของไทยซื้อวัตถุดิบก็ยังอยู่ จึงพอรับได้เล็กน้อย แต่พอปัญหามาแรงมาก
นอกจากคำสั่งซื้อไม่มาแล้ว ทุกคนใช้วิชาตัวเบาด้วยการลดสต๊อกสินค้า เพื่อลดต้นทุน มันจึงหายไปโดยธรรมชาติ คือ สต็อก3 เดือน เหลือเพียง1 เดือน ไม่เช่นนั้นเอกชนต้องใช้ต้นทุนสูงมาก ภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงหายไปอีก สถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ คนก็เริ่มชะลอไม่กล้าเที่ยว ไม่กล้าใช้จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศจึงเริ่มลด ปัญหาคือ เมื่อไรภาษีมูลค่าเพิ่มจะดีขึ้น ก็คือต้องรออเดอร์ต่างประเทศ เมื่อไรนักท่องเที่ยวจะมา ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยในต่างประเทศ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม หวังว่าจะฟื้นตัวทางการค้าระหว่างประเทศ
เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมแก้ปัญหาศก.
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ปลัดกระทรวงการคลังมองว่า นโยบายทางการคลังยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหา เพราะการส่งออกยังไม่ดี การลงทุนจากต่างประเทศยังไม่ค่อยดี การใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่ดี ทำให้แรงขับเคลื่อนทางการคลังของรัฐบาลด้านการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ การปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องใช้จ่ายสูงในขณะนี้ เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดไป แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้จ่ายแล้วเกิดประโยชน์ เป็นไปโดยรอบคอบ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เมื่อจำเป็นต้องใช้จ่ายมาก รายได้ซึ่งหดไปมาก จึงต้องหาแหล่งเงินทุนมาชดเชยด้วยการกู้ยืม
การกู้ยืมสามารถทำได้ เพราะระดับการกู้ยืมของไทยยังไม่สูงมากนัก แต่ท้ายที่สุดก็ชนเพดานแล้ว คงต้องมีการแก้กฎหมายในเร็วๆนี้ แม้ว่าระดับหนี้สาธารณะของประเทศไม่สูงมากนัก ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าภาระหนี้โตขึ้นเร็วมาก แต่เชื่อว่าภายในปี 2554 ภาวะทางการคลังจะเริ่มดีขึ้น ทำให้ในปี 2555 น่าจะเริ่มจัดทำงบประมาณขาดดุลน้อยลง จนไปสู่ใกล้เป็นงบประมาณแบบสมดุลได้ แม้ไม่ได้สมดุล
“สรุปคือทุกภาคส่วน การเมือง ภาคประชาชน ราชการ เอกชน ภาคการเงิน การคลัง ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ โดยต้องมีมุมมองต่างจากที่เคยเป็น เพื่อให้วิกฤตของประเทศลุล่วงไปได้ในยามนี้”
ชง ครม.จัดสรร 1.56 ล้านล้าน
สำหรับการกู้เงินเพิ่มเติมขึ้นอยู่การตัดสินใจของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่าจะออกเป็น พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ.ขึ้นอยู่กับรัฐบาลคิดว่าเร็ว เพราะในช่วงปี 45 รัฐบาลได้เคยออกกฎหมายมาแล้วในการให้รัฐบาลก็เพิ่มเติม
ส่วนเงินลงทุนวงเงิน1.56 ล้านล้านบาท อยู่ระหว่างการเร่งจัดจัดสรร คาดว่าได้ข้อสรุปเพื่อนำเสนอต่อ ครม.ในวันนี้ (6 พ.ค.) ตนอยากชี้แจงว่า กรอบเงินกู้มีกรอบกฎหมายอยู่ 3 กรอบ คือ การกู้เพื่อชดเชยขาดดุล รัฐบาลกู้ต่างประเทศเพื่อใช้เงินสกุลต่างประเทศ และการกู้เงินโดยรัฐบาลค้ำประกันให้แก่รัฐวิสาหกิจ ขณะนี้กรอบที่เราตันแล้วคือ กรอบการกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณ ถ้าจะแก้เพื่อให้ได้ผล แม้การกู้เพื่อชดเชยขาดดุล แต่ใส่เงินไปแล้วก็ยังไม่พอนั้น ไม่งั้นเงินคงคลังจะหายไปเยอะ จึงต้องออกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อเปิดช่องให้การกู้ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเงินมาใช้สำหรับโครงการในประเทศ เพราะปกติใช้ช่องทางจากงบประมาณแต่งบประมาณมันปิดแล้ว จึงต้องเปิดช่องนี้ และเปิดช่องนี้ โครงการอยู่ตรงไหน ซึ่งคงเป็นโครงการที่เคยของบประมาณ แต่งบประมาณมันถูกบีบลงแล้ว อีกช่องทางหนึ่งคือ มาจากวงเงินลงทุน 1.56 ล้านล้านบาท เน้นให้เป็นโครงการก่อสร้างรวดเร็ว จึงกลายเป็นว่า มันยังมีอีกเรื่องที่ยังไม่เคยมีในครม. คือ ต้องไปรองรับในส่วนงบประมาณ 2 แสนล้านที่หายไป เพราะในช่วงที่วางแผนงบลงทุน ยังไม่ได้คำนวณงบประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่หายไปจากรายได้รัฐบาล ซึ่งแยกกันกับการใช้ และที่มาของเงิน การใช้เงิน 1.56 ล้านล้าน มีตั้งแต่รัฐบาลทำเอง เช่น ระบบชลประทาน รัฐวิสาหกิจทำ หรืออาจเป็นเงินที่ไปช่วยใครต่อใครก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นการนำเงินจากไหนไปใช้ในโครงการเหล่านี้ คือ 1. เงินงบประมาณ ซึ่งน้อยมาก 2. นำรายได้สะสมของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งน้อยอยู่เหมือนกัน 3.รัฐบาลกู้ และ4. รัฐวิสาหกิจกู้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่รัฐบาลกู้เงิน เช่น รถไฟฟ้า
"ขอพูดให้ชัดว่าวงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินรายจ่ายตามแผนก่อหนี้ ถ้ามองในแง่มิติรายจ่ายยังมีวงเงินรายจ่ายจากงบประมาณ แต่ปัญหาคือ ปกติไม่มีวงเงินรายจ่ายตามแผนนี้ มีแต่วงเงินรายจ่ายตามแผนงบประมาณ โดยการที่มีวงเงินรายจ่ายตามแผนนี้ เพราะส่งออกตก การลงทุนไม่ดี รายได้รัฐบาลหดหายไป 2 แสนล้านบาท ก็ต้องหาเงินมาชดเชยส่วนนี้อีก สรุปว่าถ้ามองจากรายจ่าย และเริ่มมามองจากไฟแนนซิ่งนั้น ต้องดูว่า เอามาจากไหน และจะเอาไปใส่ที่ไหน ก็คงเอาไปใส่ในเงินคงคลังส่วนหนึ่ง เพราะเพดานกู้ปิดไปแล้ว"
นายศุภรัตน์ กล่าวว่า การขาดดุลในปีนี้ตามกฎหมายปี 52 ฉบับแรก 2.5 แสนล้าน ฉบับสอง 9 แสนกว่า เท่ากับ3.5 แสนล้านบาท ภาษีจัดเก็บขาดไป2.8 แสนล้านบาท รวมเป็น6.3 แสนล้านบาท แต่กฎหมายการกู้เงินนั้นมาจากร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย และบวกกับร้อยละ 80 ของยอดชำระหนี้เงินต้นต่อปี ในงบแต่ละปี รวมเป็นประมาณ 4.5 แสนล้านบาท ถ้าจะให้เงินคงคลังเท่าเดิมก็ต้องเงินกู้เพิ่ม และในส่วน 1.56 ล้านล้านบาทก็ต้องใช้เงินกู้ด้วย เที่ยวนี้เป็นของจำเป็น ดังนั้นกลไกภาครัฐต้องทำงานเต็มที่
ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวถึงปัญหาทางด้านการเมืองว่า ขณะนี้อาจจะยังไม่เรียบร้อยหรือเป็นปกติเท่าที่ควร จนกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และมีผลต่อเนื่องกับการใช้จ่ายของประชาชนและนักลงทุน ผลกระทบของไทยจึงมาจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ การแก้ปัญหาต้องทำไปด้วยความระมัดระวัง
ส่วนตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลทุจริตในการแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากรนั้น นายศุภรัตน์ ยืนยันว่า ยังไม่คิดไปไกล ไม่มีเวลาคิดถึงตำแหน่ง งานยุ่งทุกวัน ไม่เคยมีเวลาคิดจริงๆ ในขณะที่ยังไม่เป่านกหวีด ก็ยังทำงาน เพราะบ้านเมืองขณะนี้ต้องเร่งทำ
"ผมไม่ได้คิดเอาคะแนนอะไร ตอนนี้มีเรื่องจัดสรรงบ 1.56 ล้านล้าน ถ้าไม่ทำ ไม่รู้จะเสร็จเมื่อไร หากมัวคิดว่าจะถูกไล่ออก ทำไปก็มีแต่เปลืองตัว งานก็ไม่เดิน ก็ทำให้งานแก้ปัญหาช้าไปอีก" นายศุภรัตน์กล่าวทิ้งท้าย
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางภาษีของประเทศ โดยยอมรับว่าปัจจุบันความสามารถในการหารายได้จากภาษีที่ยังจัดเก็บต่ำกว่าเป้า ไม่สัมพันธ์กับรายจ่ายของประเทศที่มีภาระเพิ่มขึ้น และต้องการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่กำลังวิกฤตอย่างเร่งด่วน ขณะที่หนี้สาธารณะยังได้รับแรงกดดันจากเพดานการกู้เงิน จึงจำเป็นต้องวางแผนรายได้ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เกิดขึ้น
"มันเร่งด่วน ต้องจ่าย ต้องกู้ และต้องแก้ แต่สถานการณ์เป็นอย่างนี้ก็ต้องปรับ ด้วยการทำอย่างไรก็ได้ ในการเพิ่มสัดส่วนรายได้ภาษีจากร้อยละ15 เป็นร้อยละ20 แต่เมื่อทำออกมาแล้วต้องตอบโจทย์อื่นได้ด้วย" ปลัดกระทรวงการคลังกล่าว
นอกจากความพอเพียง ต้องเป็นโจทย์ความเหมาะสม คือ 1. ทำให้เห็นศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจยังใช้ได้ไหม เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 2. ในทางสังคม ยอมรับไหมว่า การกระจายภาระถือว่ามีความเป็นธรรม แม้ว่าทุกคนจะเหนื่อยขึ้น 3. มันทำให้ระบบมีประสิทธิภาพไหม โจทย์สำคัญคือ เราเป็นห่วงระดับรายได้ใช่ไหม ก็ควรยกขึ้นมาให้ได้ ซึ่งในบางประเทศตัวเลขรายได้ 30 % ของจีดีพี
นายศุภรัตน์อธิบายว่า การที่รัฐจะเก็บมากเก็บน้อยขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะใช้มากใช้น้อย วันนี้เป็นเพียงขยายการใช้ ที่พูดว่างบประมาณเยอะ ทั้งงบเรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี ถ้าเน้นสวัสดิการฟรีมาก ก็เก็บภาษีมาก เช่น การมีสวัสดิการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ฟรี เหมือนกับสวีเดน ก็ต้องเก็บภาษีร้อยละ 50 ของจีดีพี แต่ถ้าแต่ละคนรับผิดชอบตัวเอง เก็บภาษีน้อยๆ ก็ได้ หรือเก็บน้อยแต่บังคับให้เอกชนเก็บกันเอง ดูแลกันเอง ประกันเงินกันเอง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ซึ่งเป็นเงินที่ไม่เข้ารัฐ เอกชนสามารถจัดการกันเองได้ สร้างระบบขึ้นมาแล้วเสียภาษีน้อยหน่อย การปรับโครงสร้างที่ทำมาตลอด ก็ยังใช้ได้อยู่ และควรต้องทำเชิงรุกกว่านี้ด้วย
คาดปีงบ 53 ภาษีถึงจุดต่ำสุด
การปรับโครงสร้างภาษี จากเดิมซึ่งได้วางแผนไว้ จากภาวะการณ์ปกติบนพื้นฐานรายได้เท่าเดิม เพื่อลดแรงกดดันส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็เก็บภาษีเพิ่ม แต่วันนี้ไม่ใช่ แต่ทิศทางถูก แต่ก็จำกัดคือ ภาษีเท่าเดิมที่จริงมันต้องขึ้นภาษีของปีนี้ ตัวภาษีครึ่งปี ตัวที่ตกหนักสุดคือภาษีสรรพสามิต ลดลงกว่าร้อยละ20 ภาษีสรรพากรลดลงประมาณร้อยละ9-10 ประเด็นก็คือ ทิศทางวันข้างหน้าสรรพากรต้องลงหนัก เพราะภาษีเงินได้นิติบุคคล เลื่อนไปหนึ่งปี ที่จ่ายกันในปีนี้ เป็นผลของปีก่อนทั้งสิ้น ทำให้ในปีปัจจุบันซึ่งจะเป็นปีอนาคตส่วนหนึ่งด้วยมันจะต่ำกว่าปีก่อน และจะลดไปอีกหนึ่งปี จะลดลงมากกว่าปีนี้อีก
"ผลประกอบการในปี 53 จะดีขึ้นก็ต้องดูในปี52 อีก และนิติบุคคลลดแต่ยังไม่แรงนักในเดือนพฤษภาคม แต่จะเริ่มแรงมากขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ เฉพาะในปีงบประมาณ 52 นี้ และในพฤษภาคมในปีหน้าก็จะเริ่มแรงขึ้นอีก"
สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) นายศุภรัตน์ ระบุว่า เป็นรายได้หลัก แนวโน้มต้นปีงบประมาณปี 53 ช่วง ต.ค.-พ.ย.52 ยังไม่โดนแรงนัก แต่พอช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.เริ่มมีผลแรงมากขึ้น ขณะนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มหายไปประมาณร้อยละ 30 พอกับรายได้ภาษีนำเข้าซึ่งฝากศุลกากรจัดเก็บ ช่วงที่ภาษียังไม่ตก เพราะยอดคำสั่งซื้อสินค้าหรือออเดอร์เก่ายังค้างอยู่ คำสั่งของไทยซื้อวัตถุดิบก็ยังอยู่ จึงพอรับได้เล็กน้อย แต่พอปัญหามาแรงมาก
นอกจากคำสั่งซื้อไม่มาแล้ว ทุกคนใช้วิชาตัวเบาด้วยการลดสต๊อกสินค้า เพื่อลดต้นทุน มันจึงหายไปโดยธรรมชาติ คือ สต็อก3 เดือน เหลือเพียง1 เดือน ไม่เช่นนั้นเอกชนต้องใช้ต้นทุนสูงมาก ภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงหายไปอีก สถานการณ์เศรษฐกิจเช่นนี้ คนก็เริ่มชะลอไม่กล้าเที่ยว ไม่กล้าใช้จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศจึงเริ่มลด ปัญหาคือ เมื่อไรภาษีมูลค่าเพิ่มจะดีขึ้น ก็คือต้องรออเดอร์ต่างประเทศ เมื่อไรนักท่องเที่ยวจะมา ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยในต่างประเทศ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ของภาษีมูลค่าเพิ่ม หวังว่าจะฟื้นตัวทางการค้าระหว่างประเทศ
เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมแก้ปัญหาศก.
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ปลัดกระทรวงการคลังมองว่า นโยบายทางการคลังยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหา เพราะการส่งออกยังไม่ดี การลงทุนจากต่างประเทศยังไม่ค่อยดี การใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่ดี ทำให้แรงขับเคลื่อนทางการคลังของรัฐบาลด้านการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ การปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องใช้จ่ายสูงในขณะนี้ เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดไป แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้จ่ายแล้วเกิดประโยชน์ เป็นไปโดยรอบคอบ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เมื่อจำเป็นต้องใช้จ่ายมาก รายได้ซึ่งหดไปมาก จึงต้องหาแหล่งเงินทุนมาชดเชยด้วยการกู้ยืม
การกู้ยืมสามารถทำได้ เพราะระดับการกู้ยืมของไทยยังไม่สูงมากนัก แต่ท้ายที่สุดก็ชนเพดานแล้ว คงต้องมีการแก้กฎหมายในเร็วๆนี้ แม้ว่าระดับหนี้สาธารณะของประเทศไม่สูงมากนัก ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าภาระหนี้โตขึ้นเร็วมาก แต่เชื่อว่าภายในปี 2554 ภาวะทางการคลังจะเริ่มดีขึ้น ทำให้ในปี 2555 น่าจะเริ่มจัดทำงบประมาณขาดดุลน้อยลง จนไปสู่ใกล้เป็นงบประมาณแบบสมดุลได้ แม้ไม่ได้สมดุล
“สรุปคือทุกภาคส่วน การเมือง ภาคประชาชน ราชการ เอกชน ภาคการเงิน การคลัง ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ โดยต้องมีมุมมองต่างจากที่เคยเป็น เพื่อให้วิกฤตของประเทศลุล่วงไปได้ในยามนี้”
ชง ครม.จัดสรร 1.56 ล้านล้าน
สำหรับการกู้เงินเพิ่มเติมขึ้นอยู่การตัดสินใจของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่าจะออกเป็น พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ.ขึ้นอยู่กับรัฐบาลคิดว่าเร็ว เพราะในช่วงปี 45 รัฐบาลได้เคยออกกฎหมายมาแล้วในการให้รัฐบาลก็เพิ่มเติม
ส่วนเงินลงทุนวงเงิน1.56 ล้านล้านบาท อยู่ระหว่างการเร่งจัดจัดสรร คาดว่าได้ข้อสรุปเพื่อนำเสนอต่อ ครม.ในวันนี้ (6 พ.ค.) ตนอยากชี้แจงว่า กรอบเงินกู้มีกรอบกฎหมายอยู่ 3 กรอบ คือ การกู้เพื่อชดเชยขาดดุล รัฐบาลกู้ต่างประเทศเพื่อใช้เงินสกุลต่างประเทศ และการกู้เงินโดยรัฐบาลค้ำประกันให้แก่รัฐวิสาหกิจ ขณะนี้กรอบที่เราตันแล้วคือ กรอบการกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณ ถ้าจะแก้เพื่อให้ได้ผล แม้การกู้เพื่อชดเชยขาดดุล แต่ใส่เงินไปแล้วก็ยังไม่พอนั้น ไม่งั้นเงินคงคลังจะหายไปเยอะ จึงต้องออกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อเปิดช่องให้การกู้ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเงินมาใช้สำหรับโครงการในประเทศ เพราะปกติใช้ช่องทางจากงบประมาณแต่งบประมาณมันปิดแล้ว จึงต้องเปิดช่องนี้ และเปิดช่องนี้ โครงการอยู่ตรงไหน ซึ่งคงเป็นโครงการที่เคยของบประมาณ แต่งบประมาณมันถูกบีบลงแล้ว อีกช่องทางหนึ่งคือ มาจากวงเงินลงทุน 1.56 ล้านล้านบาท เน้นให้เป็นโครงการก่อสร้างรวดเร็ว จึงกลายเป็นว่า มันยังมีอีกเรื่องที่ยังไม่เคยมีในครม. คือ ต้องไปรองรับในส่วนงบประมาณ 2 แสนล้านที่หายไป เพราะในช่วงที่วางแผนงบลงทุน ยังไม่ได้คำนวณงบประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่หายไปจากรายได้รัฐบาล ซึ่งแยกกันกับการใช้ และที่มาของเงิน การใช้เงิน 1.56 ล้านล้าน มีตั้งแต่รัฐบาลทำเอง เช่น ระบบชลประทาน รัฐวิสาหกิจทำ หรืออาจเป็นเงินที่ไปช่วยใครต่อใครก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นการนำเงินจากไหนไปใช้ในโครงการเหล่านี้ คือ 1. เงินงบประมาณ ซึ่งน้อยมาก 2. นำรายได้สะสมของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งน้อยอยู่เหมือนกัน 3.รัฐบาลกู้ และ4. รัฐวิสาหกิจกู้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่รัฐบาลกู้เงิน เช่น รถไฟฟ้า
"ขอพูดให้ชัดว่าวงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินรายจ่ายตามแผนก่อหนี้ ถ้ามองในแง่มิติรายจ่ายยังมีวงเงินรายจ่ายจากงบประมาณ แต่ปัญหาคือ ปกติไม่มีวงเงินรายจ่ายตามแผนนี้ มีแต่วงเงินรายจ่ายตามแผนงบประมาณ โดยการที่มีวงเงินรายจ่ายตามแผนนี้ เพราะส่งออกตก การลงทุนไม่ดี รายได้รัฐบาลหดหายไป 2 แสนล้านบาท ก็ต้องหาเงินมาชดเชยส่วนนี้อีก สรุปว่าถ้ามองจากรายจ่าย และเริ่มมามองจากไฟแนนซิ่งนั้น ต้องดูว่า เอามาจากไหน และจะเอาไปใส่ที่ไหน ก็คงเอาไปใส่ในเงินคงคลังส่วนหนึ่ง เพราะเพดานกู้ปิดไปแล้ว"
นายศุภรัตน์ กล่าวว่า การขาดดุลในปีนี้ตามกฎหมายปี 52 ฉบับแรก 2.5 แสนล้าน ฉบับสอง 9 แสนกว่า เท่ากับ3.5 แสนล้านบาท ภาษีจัดเก็บขาดไป2.8 แสนล้านบาท รวมเป็น6.3 แสนล้านบาท แต่กฎหมายการกู้เงินนั้นมาจากร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย และบวกกับร้อยละ 80 ของยอดชำระหนี้เงินต้นต่อปี ในงบแต่ละปี รวมเป็นประมาณ 4.5 แสนล้านบาท ถ้าจะให้เงินคงคลังเท่าเดิมก็ต้องเงินกู้เพิ่ม และในส่วน 1.56 ล้านล้านบาทก็ต้องใช้เงินกู้ด้วย เที่ยวนี้เป็นของจำเป็น ดังนั้นกลไกภาครัฐต้องทำงานเต็มที่
ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวถึงปัญหาทางด้านการเมืองว่า ขณะนี้อาจจะยังไม่เรียบร้อยหรือเป็นปกติเท่าที่ควร จนกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และมีผลต่อเนื่องกับการใช้จ่ายของประชาชนและนักลงทุน ผลกระทบของไทยจึงมาจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ การแก้ปัญหาต้องทำไปด้วยความระมัดระวัง
ส่วนตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลทุจริตในการแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากรนั้น นายศุภรัตน์ ยืนยันว่า ยังไม่คิดไปไกล ไม่มีเวลาคิดถึงตำแหน่ง งานยุ่งทุกวัน ไม่เคยมีเวลาคิดจริงๆ ในขณะที่ยังไม่เป่านกหวีด ก็ยังทำงาน เพราะบ้านเมืองขณะนี้ต้องเร่งทำ
"ผมไม่ได้คิดเอาคะแนนอะไร ตอนนี้มีเรื่องจัดสรรงบ 1.56 ล้านล้าน ถ้าไม่ทำ ไม่รู้จะเสร็จเมื่อไร หากมัวคิดว่าจะถูกไล่ออก ทำไปก็มีแต่เปลืองตัว งานก็ไม่เดิน ก็ทำให้งานแก้ปัญหาช้าไปอีก" นายศุภรัตน์กล่าวทิ้งท้าย