เปิดหลักฐานชี้ชัดสายสัมพันธ์ “แม้ว-วิระยา” แนบแน่น นอกจากสนิทสนมเป็นส่วนตัว และเคยบริจาคเงินก้อนโตช่วยงานแล้ว ปี 47 ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอดีต ปธ.วุฒิฯ สุชน ชาลีเครือ อีกต่างหาก
จากการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ของท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล ประธานคณะกรรมการเลขาธิการมูลนิธิบำรุงขวัญทหาร ตำรวจ อาสาสมัครชายแดนในพระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อ วันที่ 4 เม.ย.2552 เพื่อแก้ต่างให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้ต้องโทษจำคุก 2 ปี และอยู่ระหว่างการหลบหนีคดี ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่ม นปช.ได้กล่าวโจมตี-พาดพิงสถาบัน และประกาศล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย จน พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรีต้องออกมาตอกย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์นั้น การกระทำดังกล่าวของท่านผู้หญิงวิระยาได้สร้างความประหลาดใจให้ประชาชนทั่วไปอย่างมาก
ขณะนั้น ท่านผู้หญิงวิระยาให้สัมภาษณ์กับ นสพ.ไทยรัฐ ว่า “ในฐานะที่เป็นคนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เกิน 100% ไม่เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่จงรักภักดี เราไม่ใช่คนโง่ เรามีซิกซ์เซนส์ในเรื่องนี้ และในสมัยที่ท่านเป็นนายกฯ ได้ขอให้ทำบุญกุศลต่างๆ ที่ต้องถวายพระราชินีในนามมูลนิธิก็ไม่เคยปฏิเสธ ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่เข้าข้าง แต่เป็นการมองด้วยความเป็นธรรม”
ต่อมา เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2552 ทีมทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งนำโดย นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ทนายความผู้รับมอบอำนาจ ได้ไปแจ้งความหมิ่นประมาท พล.อ.พิจิตร ที่ สน.พระราชวัง โดยนายวิชิตได้นำคำให้สัมภาษณ์ของท่านผู้หญิงวิระยาไปใช้อ้างอิงเพื่อยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้จงรักภักดีด้วย
นอกจากความเคลื่อนไหวปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กำลังทำลายชาติและความสงบสุขของบ้านเมืองดังกล่าวแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 13 เม.ย.2552 ขณะที่รัฐบาลกำลังดำเนินการสลายการจลาจลและการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงด้วยความละมุนละม่อม ก็มีข่าวเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนออกมาด้วยว่า ท่านผู้หญิงวิระยาได้ร่วมลงนามกับคณะของนายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา และนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ในหนังสือที่ยื่นต่อราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท โดย นายอินทร์จันทร์ บุราพันธ์ รองเลขาสำนักราชเลขาธิการ ออกมารับหนังสือ
รายละเอียดของหนังสือฉบับดังกล่าวระบุว่า “เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันประชาชนเกิดความแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน เพราะประชาชนรู้สึกว่าเกิดความไม่ยุติธรรมในการใช้อำนาจตุลาการ และอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน จนทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเกิดความไม่พอใจอย่างยิ่ง จนต้องออกมาชุมนุมเรียกร้องขอความยุติธรรมและความเป็นธรรมกลับคืนสู่ สังคมไทย ตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อขจัดความเป็น 2 มาตราในกระบวนการยุติธรรม และในการบริหารราชการแผ่นดิน” อย่างไรก็ตาม หนังสือฉบับดังกล่าวที่ยื่นกราบบังคมทูลฯ ได้ลงข้อความอันเป็นเท็จอย่างชัดเจน คือ ระบุว่าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นเป็นการเข้าร่วมชุมนุมอย่างสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
เมื่อผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบข้อมูล เกี่ยวกับสายสัมพันธ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับ ท่านผู้หญิง วิระยา แล้วพบว่า นอกจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเคยบริจาคเงินให้กับงานการกุศลที่ท่านผู้หญิง วิระยา เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดหลายครั้งและเป็นจำนวนมาก เช่น การเปิดรับบริจาคทางโทรทัศน์เพื่อช่วยเหลือทหาร-ตำรวจใต้ เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2550 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน บริจาคเงินให้มากถึง 10 ล้านบาท และความสนิทสนมในฐานะส่วนตัวแล้ว
ผู้สื่อข่าวยังพบด้วยว่า ในปี 2547 ท่านผู้หญิงวิระยาเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ในตำแหน่งที่ปรึกษา นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ในขณะนั้น ซึ่งมีสายสัมพันธ์เป็นเครือญาติของคุณหญิงพจมานอีกด้วย
เอกสารดังกล่าวถูกบันทึกอยู่ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๑ ตอนที่ ๕ ง หน้าที่ ๒๔ ประกาศเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๗ เรื่อง ประกาศวุฒิสภา เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง [ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล] โดยเนื้อความตอนหนึ่งในเอกสารระบุว่า
“... จึงแต่งตั้งให้ ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗” ลงนามโดย นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
สำหรับนายสุชน ชาลีเครือ เป็นเครือญาติของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ดามาพงศ์) โดยในช่วงปลายของการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาในปี 2548-2549 นายสุชน ได้มีส่วนเอื้อและช่วยเหลือ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอย่างมาก จนเป็นที่ครหาของสังคมและถูกประชาชนร่วมล่าชื่อถอดถอนจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา ด้วยข้อกล่าวหา ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย กรณีการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน จนในเวลานั้นนายสุชนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า “สุชิน”.
จากการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ของท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล ประธานคณะกรรมการเลขาธิการมูลนิธิบำรุงขวัญทหาร ตำรวจ อาสาสมัครชายแดนในพระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อ วันที่ 4 เม.ย.2552 เพื่อแก้ต่างให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้ต้องโทษจำคุก 2 ปี และอยู่ระหว่างการหลบหนีคดี ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่ม นปช.ได้กล่าวโจมตี-พาดพิงสถาบัน และประกาศล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย จน พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรีต้องออกมาตอกย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์นั้น การกระทำดังกล่าวของท่านผู้หญิงวิระยาได้สร้างความประหลาดใจให้ประชาชนทั่วไปอย่างมาก
ขณะนั้น ท่านผู้หญิงวิระยาให้สัมภาษณ์กับ นสพ.ไทยรัฐ ว่า “ในฐานะที่เป็นคนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เกิน 100% ไม่เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่จงรักภักดี เราไม่ใช่คนโง่ เรามีซิกซ์เซนส์ในเรื่องนี้ และในสมัยที่ท่านเป็นนายกฯ ได้ขอให้ทำบุญกุศลต่างๆ ที่ต้องถวายพระราชินีในนามมูลนิธิก็ไม่เคยปฏิเสธ ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่เข้าข้าง แต่เป็นการมองด้วยความเป็นธรรม”
ต่อมา เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2552 ทีมทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งนำโดย นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ทนายความผู้รับมอบอำนาจ ได้ไปแจ้งความหมิ่นประมาท พล.อ.พิจิตร ที่ สน.พระราชวัง โดยนายวิชิตได้นำคำให้สัมภาษณ์ของท่านผู้หญิงวิระยาไปใช้อ้างอิงเพื่อยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้จงรักภักดีด้วย
นอกจากความเคลื่อนไหวปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กำลังทำลายชาติและความสงบสุขของบ้านเมืองดังกล่าวแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 13 เม.ย.2552 ขณะที่รัฐบาลกำลังดำเนินการสลายการจลาจลและการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงด้วยความละมุนละม่อม ก็มีข่าวเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนออกมาด้วยว่า ท่านผู้หญิงวิระยาได้ร่วมลงนามกับคณะของนายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา และนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ในหนังสือที่ยื่นต่อราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท โดย นายอินทร์จันทร์ บุราพันธ์ รองเลขาสำนักราชเลขาธิการ ออกมารับหนังสือ
รายละเอียดของหนังสือฉบับดังกล่าวระบุว่า “เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันประชาชนเกิดความแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน เพราะประชาชนรู้สึกว่าเกิดความไม่ยุติธรรมในการใช้อำนาจตุลาการ และอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน จนทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเกิดความไม่พอใจอย่างยิ่ง จนต้องออกมาชุมนุมเรียกร้องขอความยุติธรรมและความเป็นธรรมกลับคืนสู่ สังคมไทย ตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อขจัดความเป็น 2 มาตราในกระบวนการยุติธรรม และในการบริหารราชการแผ่นดิน” อย่างไรก็ตาม หนังสือฉบับดังกล่าวที่ยื่นกราบบังคมทูลฯ ได้ลงข้อความอันเป็นเท็จอย่างชัดเจน คือ ระบุว่าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นเป็นการเข้าร่วมชุมนุมอย่างสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
เมื่อผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบข้อมูล เกี่ยวกับสายสัมพันธ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับ ท่านผู้หญิง วิระยา แล้วพบว่า นอกจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเคยบริจาคเงินให้กับงานการกุศลที่ท่านผู้หญิง วิระยา เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดหลายครั้งและเป็นจำนวนมาก เช่น การเปิดรับบริจาคทางโทรทัศน์เพื่อช่วยเหลือทหาร-ตำรวจใต้ เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2550 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน บริจาคเงินให้มากถึง 10 ล้านบาท และความสนิทสนมในฐานะส่วนตัวแล้ว
ผู้สื่อข่าวยังพบด้วยว่า ในปี 2547 ท่านผู้หญิงวิระยาเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ในตำแหน่งที่ปรึกษา นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ในขณะนั้น ซึ่งมีสายสัมพันธ์เป็นเครือญาติของคุณหญิงพจมานอีกด้วย
เอกสารดังกล่าวถูกบันทึกอยู่ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๑ ตอนที่ ๕ ง หน้าที่ ๒๔ ประกาศเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๗ เรื่อง ประกาศวุฒิสภา เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง [ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล] โดยเนื้อความตอนหนึ่งในเอกสารระบุว่า
“... จึงแต่งตั้งให้ ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗” ลงนามโดย นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
สำหรับนายสุชน ชาลีเครือ เป็นเครือญาติของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ดามาพงศ์) โดยในช่วงปลายของการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาในปี 2548-2549 นายสุชน ได้มีส่วนเอื้อและช่วยเหลือ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอย่างมาก จนเป็นที่ครหาของสังคมและถูกประชาชนร่วมล่าชื่อถอดถอนจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา ด้วยข้อกล่าวหา ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย กรณีการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน จนในเวลานั้นนายสุชนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า “สุชิน”.