ยังไม่ทันที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะหายใจได้เต็มปอด หลังกรำศึกหนัก จากการลองของค่อนข้างรุนแรงจากกลุ่มม็อบเสื้อแดง ที่ปลุกปั่นระดมมวลชนภายใต้ยุทธการ “แดงทั่วแผ่นดิน” เมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
งานนี้ ฝ่ายรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ถือเป็นการมีชัยในเกมด่านแรก สามารถจัดการควบคุมสถานการณ์จนทำให้กลุ่มเสื้อแดงต้องล่าถอยกลับไปได้ ถึงจะไม่ค่อยสวยงามเท่าไรนัก ก็ยังได้รับเสียงชื่นชมจากทั่วมุมโลกอยู่พอสมควร
แต่ใช่ว่า รัฐบาลชุดนี้จะหมดวิบากกรรมไปเสียทีเดียว
เพราะยังมีคลื่นปัญหาอีกหลายลูกที่ถาโถมเข้าใส่ ให้ต้องแก้ไขกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเปิดเกมสกปรก มุดลงใต้ดิน ของ นักโทษหนีคดีอาญา ทักษิณ ชินวัตร และสมุนคู่ใจ จักรภพ เพ็ญแข ที่ประกาศสร้างเครือข่าย “แดงสยาม” ในต่างประเทศ คอยตอดเล็ดตอดน้อย ผ่านสื่อนานาชาติ ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ และความเชื่อมั่นของรัฐบาล
นอกจากนี้ ยังมีปมความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนกลุ่มสีใหม่เกิดขึ้นมา หลังเกิดเหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธสงครามถล่มยิง "สนธิ ลิ้มทองกุล" ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จนถึงวินาทีนี้ยังไม่สามารถจับมือใครดมได้
และได้กลายเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างสีขึ้นรอบใหม่ ระหว่าง "เหลือง-แดง-เขียว-น้ำเงิน-กากี" ที่ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า
สุดท้ายแล้วจะมีผลสรุปอย่างไร?
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ดูเหมือนจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ต้องตกอยู่สภาวะอึดอัด กระอักกระอ่วนใจในตอนนี้ คงหนีไม่พ้น
ปัญหาแรงกระเพื่อมภายในพรรคร่วมรัฐบาล
ที่มักจะคอยมีปฏิกิริยาขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่พรรคที่เป็นแกนนำรัฐบาลอยู่ในสถานะอ่อนแอกับปัญหาหลายหลากเต็มมือ
การออกมาเคลื่อนไหวของพรรคร่วมรัฐบาลที่ชัดเจนอย่าง มังกรการเมือง- บรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย เรียกร้องให้ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นแกนนำรัฐบาล ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนิรโทษกรรม ปลดโซ่ตรวน ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมัดตรึงไว้ให้หลุดออกมา เพื่อจะได้โลดแล่นในเวทีการเมืองได้ต่อไป
รวมถึงการออกมาทวงขอ “งบประมาณ” ในยามที่บ้านเมืองยังอยู่ในภาวะหน้าสิ่วหน้าขวาน
หลังจากบุตรชายของ"สนธิ ลิ้มทองกุล" ได้ออกมาแฉถึงเบื้องหลัง เบื้องลึก ในการลอบสังหารบิดา ที่มีหลายกลุ่มอยู่เบื้องหลัง รวมถึงการเสนอบทวิเคราะห์ของสื่อหลายสำนัก ทำให้ต้องให้ความสนใจ มองลึกเข้าไปถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
กลุ่มเพื่อนเนวิน กับ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี
แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ที่กำกับดูแลด้านความมั่นคงว่า ยังหวานชื่นเหมือนเมื่อครั้งที่ร่วมกันจับมือจัดตั้งรัฐบาลอยู่อีกหรือไม่?
หลังปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งจากเหตุการณ์กลุ่มม็อบแดงถ่อย บุกปิดล้อมรถนายกฯที่พัทยา ท่ามกลางความอดสูในสายตาของผู้นำหลายประเทศ ไปถึงการรุมกินโต๊ะนายกฯ และบุคคลอื่นๆ ที่กระทรวงมหาดไทย ผนวกกับข้อมูลเบื้องหลังการลอบสังหาร สนธิ ลิ้มทองกุล ทำให้สมาชิกประชาธิปัตย์หลายคนได้ทวงถามความนัยกับ สุเทพ กลางที่ประชุมพรรค
การยอมกล่าวขอโทษต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมดของสุเทพ เทือกสุบรรณ กลางที่ประชุมพรรคที่ผ่านมา และอ้อมแอ้มขอให้สมาชิกให้ความมั่นใจกับพรรคร่วมรัฐบาล เพราะยังต้องทำงานอีกต่อไป
แม้จะเป็นคำตอบที่ไม่ได้ฟันธงชัดๆ แต่ก็พอจะเห็นถึงภาวะความรู้สึกอึดอัดใจดังกล่าวพอสมควร
พิเคราะห์ดูสถานภาพความสัมพันธ์ระหว่าง เนวิน กับ สุเทพ ในตอนนี้เปรียบเสมือน “ผีเน่าต้องพึ่งพาโลงผุ” แม้แต่ละฝ่ายจะระแวงซึ่งกันและกัน แต่ก็ยังจำต้องอยู่ร่วมกันต่อไป โดยกลุ่มเนวิน ยังจำต้องเกาะภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ ต่อไปเพื่อฟอกตัว รอจังหวะที่เหมาะสมในการกลับมายิ่งใหญ่
ขณะที่ สุเทพ ก็จำต้องพึ่งพา “เนวิน” ในเสียงสนับสนุนในสภา อีกทั้งต้องพึ่งพา สมอง เล่ห์เพทุพาย ในเกมการเมืองบางอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถลงมือทำเองได้ หรืออะไรที่มันโจ่งแจ้งเกินไป ก็โยนลูกให้ "เนวิน"รับไป เพราะยังต้องรักษาภาพลักษณ์ความเป็นพรรคการเมืองผู้ดีเก่าเอาไว้
ตราบใดที่ผลประโยชน์ของทั้งสองกลุ่มยังไปด้วยกันได้ ภาพของการถ้อยทีถ้อยอาศัย ก็จะยังปรากฎให้เห็นอยู่ต่อไป
ที่สำคัญต้องยอมรับว่า เวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะได้เป็นแกนนำรัฐบาล แต่ก็ตกอยู่สภาวะเหมือนยักษ์ที่มีแต่กระบอง แต่ไม่มีอำนาจฤทธิเดช เพราะไม่สามาถที่กุมสภาพคล่องภายใต้อำนาจรัฐได้ โดยต้องยืมจมูกของ “เนวิน”หายใจ ซึ่งต้องยอมรับว่านับวัน “เนวิน” จะยิ่งสยายปีก แผ่อิทธิพลเข้าไปถึงกองทัพและตำรวจ จนสามารถได้รับความไว้วางใจ
นาทีนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเนวิน กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง นับตั้งแต่ก่อตั้งรัฐบาลก็มีเสียงเล็ดลอดตลอดว่า
“เนวิน” เป็นกุนซือให้กับประวิตร ซึ่งเป็นถึงอาจารย์ของ พล.อ อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.
ทั้งนี้ในช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี มีแผนการปฏิวัติเกิดขึ้น โดยมีการวางตัวบุคคลที่จะขึ้นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแทน มีเพียงชื่อเดียวที่ถูกเขียนไว้ในฝ่ามือผู้มีอำนาจคือ “ประวิตร วงษ์สุวรรณ”
และที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องมีชื่อ ประวิตร ติดโผมาในรายชื่อครม.หนึ่งเดี่ยวของกระทรวงกลาโหมตั้งแต่วินาทีแรกที่ฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลได้เป็นผลสำเร็จจนถึงนาทีสุดท้าย เพราะมีการส่งสัญญาณจากพล.อ.อนุพงษ์ ถึง สุเทพ ว่า
ชื่อเดียวที่จะยอมรับให้มาเป็นนายคือ ประวิตร เท่านั้น
แต่ทีมงานความมั่นคงกำลังประสบปัญหาเกิดความหวาดระแวงกันอย่างหนัก เป็นแรงสั่นสะเทือนจากสาเหตุที่ทำให้ สนธิ ลิ้มทองกุล โดนลอบสังหารในครั้งนี้ ที่ถูกมองในประเด็นที่ว่า เนื่องจากการออกมาเคลื่อนไหวโจมตีอย่างหนัก ถึงบทบาทของกองทัพและตำรวจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใส่เกียร์ว่าง และการทำงานที่ไร้ประสิทธ์ภาพในการปราบม็อบเสื้อแดง
จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะ สุเทพ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ดูแลหน่วยงานด้านความมั่นคงไม่สามารถจับมือใครดมได้ และไม่อาจที่จะนิ่งนอนใจ
หันหลังให้ใครได้อย่างสนิทใจ!
ทั้งหลายทั้งปวงของปัญหารุมเร้า การแก้เกมของพรรคประชาธิปัตย์ จึงทำได้เพียงอย่างเดียวคือ การยอมผ่อนมากกว่าตึง ลดอุณหภูมิร้อน
ด้วยการรับลูกแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนิรโทษกรรม
เพื่อขยับให้พรรคร่วมรัฐบาลได้มีพื้นที่หายใจหายคอมากขึ้น รวมถึงต่อลมหายใจรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์
งานนี้ อภิสิทธิ์ ย่อมรู้แก่ใจว่า การนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ย่อมทำให้กลุ่มพันธมิตรฯไม่พอใจแน่ จึงได้เสนอออปชั่น แยกปลาออกจากน้ำ โดยมีเงื่อนไขว่า งานนี้ต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้กับคดีอาญาที่ติดตัวของ ทักษิณ ชินวัตร
นัยว่า เพื่อเป็นการเตะถ่วง เพราะรัฐบาลรู้ดีว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะต้องฝ่าด่านหินอีกหลายขั้นตอน
อย่างน้อยก็เป็นเกมต่ออายุรัฐบาล ท่ามกลางสถานการณ์รุมบีบรอบด้าน!
งานนี้ ฝ่ายรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ถือเป็นการมีชัยในเกมด่านแรก สามารถจัดการควบคุมสถานการณ์จนทำให้กลุ่มเสื้อแดงต้องล่าถอยกลับไปได้ ถึงจะไม่ค่อยสวยงามเท่าไรนัก ก็ยังได้รับเสียงชื่นชมจากทั่วมุมโลกอยู่พอสมควร
แต่ใช่ว่า รัฐบาลชุดนี้จะหมดวิบากกรรมไปเสียทีเดียว
เพราะยังมีคลื่นปัญหาอีกหลายลูกที่ถาโถมเข้าใส่ ให้ต้องแก้ไขกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเปิดเกมสกปรก มุดลงใต้ดิน ของ นักโทษหนีคดีอาญา ทักษิณ ชินวัตร และสมุนคู่ใจ จักรภพ เพ็ญแข ที่ประกาศสร้างเครือข่าย “แดงสยาม” ในต่างประเทศ คอยตอดเล็ดตอดน้อย ผ่านสื่อนานาชาติ ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ และความเชื่อมั่นของรัฐบาล
นอกจากนี้ ยังมีปมความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนกลุ่มสีใหม่เกิดขึ้นมา หลังเกิดเหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธสงครามถล่มยิง "สนธิ ลิ้มทองกุล" ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จนถึงวินาทีนี้ยังไม่สามารถจับมือใครดมได้
และได้กลายเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างสีขึ้นรอบใหม่ ระหว่าง "เหลือง-แดง-เขียว-น้ำเงิน-กากี" ที่ไม่มีใครคาดเดาได้ว่า
สุดท้ายแล้วจะมีผลสรุปอย่างไร?
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ดูเหมือนจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ต้องตกอยู่สภาวะอึดอัด กระอักกระอ่วนใจในตอนนี้ คงหนีไม่พ้น
ปัญหาแรงกระเพื่อมภายในพรรคร่วมรัฐบาล
ที่มักจะคอยมีปฏิกิริยาขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่พรรคที่เป็นแกนนำรัฐบาลอยู่ในสถานะอ่อนแอกับปัญหาหลายหลากเต็มมือ
การออกมาเคลื่อนไหวของพรรคร่วมรัฐบาลที่ชัดเจนอย่าง มังกรการเมือง- บรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย เรียกร้องให้ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่เป็นแกนนำรัฐบาล ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนิรโทษกรรม ปลดโซ่ตรวน ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมัดตรึงไว้ให้หลุดออกมา เพื่อจะได้โลดแล่นในเวทีการเมืองได้ต่อไป
รวมถึงการออกมาทวงขอ “งบประมาณ” ในยามที่บ้านเมืองยังอยู่ในภาวะหน้าสิ่วหน้าขวาน
หลังจากบุตรชายของ"สนธิ ลิ้มทองกุล" ได้ออกมาแฉถึงเบื้องหลัง เบื้องลึก ในการลอบสังหารบิดา ที่มีหลายกลุ่มอยู่เบื้องหลัง รวมถึงการเสนอบทวิเคราะห์ของสื่อหลายสำนัก ทำให้ต้องให้ความสนใจ มองลึกเข้าไปถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
กลุ่มเพื่อนเนวิน กับ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี
แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ที่กำกับดูแลด้านความมั่นคงว่า ยังหวานชื่นเหมือนเมื่อครั้งที่ร่วมกันจับมือจัดตั้งรัฐบาลอยู่อีกหรือไม่?
หลังปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งจากเหตุการณ์กลุ่มม็อบแดงถ่อย บุกปิดล้อมรถนายกฯที่พัทยา ท่ามกลางความอดสูในสายตาของผู้นำหลายประเทศ ไปถึงการรุมกินโต๊ะนายกฯ และบุคคลอื่นๆ ที่กระทรวงมหาดไทย ผนวกกับข้อมูลเบื้องหลังการลอบสังหาร สนธิ ลิ้มทองกุล ทำให้สมาชิกประชาธิปัตย์หลายคนได้ทวงถามความนัยกับ สุเทพ กลางที่ประชุมพรรค
การยอมกล่าวขอโทษต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมดของสุเทพ เทือกสุบรรณ กลางที่ประชุมพรรคที่ผ่านมา และอ้อมแอ้มขอให้สมาชิกให้ความมั่นใจกับพรรคร่วมรัฐบาล เพราะยังต้องทำงานอีกต่อไป
แม้จะเป็นคำตอบที่ไม่ได้ฟันธงชัดๆ แต่ก็พอจะเห็นถึงภาวะความรู้สึกอึดอัดใจดังกล่าวพอสมควร
พิเคราะห์ดูสถานภาพความสัมพันธ์ระหว่าง เนวิน กับ สุเทพ ในตอนนี้เปรียบเสมือน “ผีเน่าต้องพึ่งพาโลงผุ” แม้แต่ละฝ่ายจะระแวงซึ่งกันและกัน แต่ก็ยังจำต้องอยู่ร่วมกันต่อไป โดยกลุ่มเนวิน ยังจำต้องเกาะภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ ต่อไปเพื่อฟอกตัว รอจังหวะที่เหมาะสมในการกลับมายิ่งใหญ่
ขณะที่ สุเทพ ก็จำต้องพึ่งพา “เนวิน” ในเสียงสนับสนุนในสภา อีกทั้งต้องพึ่งพา สมอง เล่ห์เพทุพาย ในเกมการเมืองบางอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถลงมือทำเองได้ หรืออะไรที่มันโจ่งแจ้งเกินไป ก็โยนลูกให้ "เนวิน"รับไป เพราะยังต้องรักษาภาพลักษณ์ความเป็นพรรคการเมืองผู้ดีเก่าเอาไว้
ตราบใดที่ผลประโยชน์ของทั้งสองกลุ่มยังไปด้วยกันได้ ภาพของการถ้อยทีถ้อยอาศัย ก็จะยังปรากฎให้เห็นอยู่ต่อไป
ที่สำคัญต้องยอมรับว่า เวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะได้เป็นแกนนำรัฐบาล แต่ก็ตกอยู่สภาวะเหมือนยักษ์ที่มีแต่กระบอง แต่ไม่มีอำนาจฤทธิเดช เพราะไม่สามาถที่กุมสภาพคล่องภายใต้อำนาจรัฐได้ โดยต้องยืมจมูกของ “เนวิน”หายใจ ซึ่งต้องยอมรับว่านับวัน “เนวิน” จะยิ่งสยายปีก แผ่อิทธิพลเข้าไปถึงกองทัพและตำรวจ จนสามารถได้รับความไว้วางใจ
นาทีนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเนวิน กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง นับตั้งแต่ก่อตั้งรัฐบาลก็มีเสียงเล็ดลอดตลอดว่า
“เนวิน” เป็นกุนซือให้กับประวิตร ซึ่งเป็นถึงอาจารย์ของ พล.อ อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.
ทั้งนี้ในช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี มีแผนการปฏิวัติเกิดขึ้น โดยมีการวางตัวบุคคลที่จะขึ้นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแทน มีเพียงชื่อเดียวที่ถูกเขียนไว้ในฝ่ามือผู้มีอำนาจคือ “ประวิตร วงษ์สุวรรณ”
และที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องมีชื่อ ประวิตร ติดโผมาในรายชื่อครม.หนึ่งเดี่ยวของกระทรวงกลาโหมตั้งแต่วินาทีแรกที่ฟอร์มทีมตั้งรัฐบาลได้เป็นผลสำเร็จจนถึงนาทีสุดท้าย เพราะมีการส่งสัญญาณจากพล.อ.อนุพงษ์ ถึง สุเทพ ว่า
ชื่อเดียวที่จะยอมรับให้มาเป็นนายคือ ประวิตร เท่านั้น
แต่ทีมงานความมั่นคงกำลังประสบปัญหาเกิดความหวาดระแวงกันอย่างหนัก เป็นแรงสั่นสะเทือนจากสาเหตุที่ทำให้ สนธิ ลิ้มทองกุล โดนลอบสังหารในครั้งนี้ ที่ถูกมองในประเด็นที่ว่า เนื่องจากการออกมาเคลื่อนไหวโจมตีอย่างหนัก ถึงบทบาทของกองทัพและตำรวจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใส่เกียร์ว่าง และการทำงานที่ไร้ประสิทธ์ภาพในการปราบม็อบเสื้อแดง
จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะ สุเทพ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ดูแลหน่วยงานด้านความมั่นคงไม่สามารถจับมือใครดมได้ และไม่อาจที่จะนิ่งนอนใจ
หันหลังให้ใครได้อย่างสนิทใจ!
ทั้งหลายทั้งปวงของปัญหารุมเร้า การแก้เกมของพรรคประชาธิปัตย์ จึงทำได้เพียงอย่างเดียวคือ การยอมผ่อนมากกว่าตึง ลดอุณหภูมิร้อน
ด้วยการรับลูกแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนิรโทษกรรม
เพื่อขยับให้พรรคร่วมรัฐบาลได้มีพื้นที่หายใจหายคอมากขึ้น รวมถึงต่อลมหายใจรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์
งานนี้ อภิสิทธิ์ ย่อมรู้แก่ใจว่า การนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ย่อมทำให้กลุ่มพันธมิตรฯไม่พอใจแน่ จึงได้เสนอออปชั่น แยกปลาออกจากน้ำ โดยมีเงื่อนไขว่า งานนี้ต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้กับคดีอาญาที่ติดตัวของ ทักษิณ ชินวัตร
นัยว่า เพื่อเป็นการเตะถ่วง เพราะรัฐบาลรู้ดีว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะต้องฝ่าด่านหินอีกหลายขั้นตอน
อย่างน้อยก็เป็นเกมต่ออายุรัฐบาล ท่ามกลางสถานการณ์รุมบีบรอบด้าน!