ASTVผู้จัดการรายวัน - กองทุนมองดัชนีหุ้นไทยวิ่งต่อ แม้ข่าวร้ายยังกระหน่ำ ระบุตลาดซึมซับไปเยอะแล้ว โดยเฉพาะปัจจัยเศรษฐกิจโลกหดตัว "แมนูไลฟ์" มั่นใจ ดัชนีผ่านจุดต่ำสุดแล้ว โอกาสตกไป 380 จุดไม่มี พร้อมระบุอาจได้เห็นดัชนี 500 จุด ก่อนสิ้นปี ส่วนเศรษฐกิจโลก คาดฟื้นตัวต้นปีหน้า ล่าสุด ทยอยปรับพอร์ตโยกเงินดักเก็นหุ้นแบงก์-พลังงานสะสม ด้าน "กรุงไทย" ไม่ทิ้งโอกาสเช่นกัน ลุยเก็บหุ้นที่คาดว่าจะได้อานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น แต่คงน้ำหนักลงทุนหุ้นแข็งแกร่ง หวั่นถูกแรงเทขายซ้ำ
นายพนุกร จันทรประภาพ ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทยังคงเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยไว้ที่ 500 จุดเช่นเดิม แม้จะมีปัจจัยลบต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา แต่พบว่าตลาดหุ้นไทยเองไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ในขณะที่ปัญหาไข้หวัดหมูที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ก็ไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเช่นกัน ส่วนปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวตลาดก็รับข่าวไปค่อนข้างเยอะแล้ว ดังนั้น จึงเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะไม่ปรับลงไปอยู่ระดับ 380 จุดซึ่งเป็นระดับต่ำสุดอีก แล้วหลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ปรับขึ้นได้ และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเห็นดัชนีที่ระดับ 500 จุด ก่อนสิ้นปีก็ได้
ทั้งนี้ ในส่วนของเศรษฐกิจโลกเอง ปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในต้นปีหน้า ซึ่งจากสัญญาณดังกล่าว กระตุ้นให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นมากขึ้น แม้อาจจะบอกไม่ได้ว่าเป็นการลงทุนระยะยาวหรือการเก็งกำไรระยะสั้น แต่ก็เป็นปกติของการลงทุนอยู่แล้ว
สำหรับตลาดหุ้นไทย จะเห็นว่าเดือนมีนาคมและเมษายน นักลงทุนต่างชาติเองเริ่มกลับเข้ามาซื้อสุทธิแล้วรวมกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วต้องบอกว่าเวลูเอชั่นของตลาดหุ้นไทยเอง รวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลกยังมีสูง ค่า P/E ยังต่ำกว่าที่เคยเป็น การจ่ายปันผลก็ยังอยู่ในระดับที่ดีด้วย
"การประเมินดัชนีเราพิจารณาใน 2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรกคือ เรามองว่าดัชนีหุ้นไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ส่วนประเด็นที่สอง คือเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งเดิมทีเรามองว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงจุดต่ำสุดซะทีเดียว ประกอบกับเศรษฐกิจไทยเอง ก็พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้น จึงคาดว่าจีดีพีของไทยจะติดลบอย่างน้อย 3 ไตรมาสติดต่อกัน ก่อนจะดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 แต่หลังจากมีปัจจัยลบและความผันผวนต่อเนื่อง ทำให้ไม่มั่นใจว่าจีดีพีไตรมาส 4 จะยังเป็นบวกได้หรือไม่ แต่ก็ยังเชื่อว่าจะเริ่มฟื้นได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า"นายพนุกรกล่าว
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของบลจ.แมนูไลฟ์ นายพนุกรกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา เราเน้นการลงทุนแบบระมัดระวัง และเลือกลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อย เช่น กลุ่มพาณิชย์ กลุ่มเทเลคอม แต่จากสัญญาณการปื้นตัวของเศรษฐกิจที่เริ่มเห็นบ้างแล้ว เราได้ทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มพลังงาน ซึ่งขณะนี้ ได้ทยอยเข้าไปลงทุนบ้างแล้วในช่วงที่ราคาปรับฐานลงมา โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่ จะมาจากเงินในพอร์ตเดิมอยู่แล้ว เพราะยังไม่มีเงินจากลูกค้าเข้ามามากนัก เนื่องจากยังกังวลสถานการณ์อยู่ แต่จะมาจากการที่เราปรับพอร์ตด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนให้หุ้นกลุ่มเดิมที่เราถืออยู่ดังกล่าว
ทั้งนี้ จากการปรับพอร์ตการลงทุนดังกล่าว ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นภายใต้การบริหารของแมนูไลฟ์ ออกมาค่อนข้างดี โดยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ในส่วนของกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ แวลู ให้ผลตอบแทน 8.35% กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ อิควิตี้ ให้ผลตอบแทน 8.84% และกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.26% ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 5.36% ซึ่งถือว่ากองทุนหุ้นของเราดีกว่า
"กลยุทธ์ของเราจะเข้าไปเก็บสะสมในช่วงที่ราคาปรับลดลง ซึ่งตอนนี้เองก็เริ่มทยอยเข้าไปซื้อบ้างแล้ว และผลตอบแทนที่ออกมาก็ชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งจากการที่เราปรับพอร์ตการลงทุนทำให้เราไม่เสียโอกาส"นายพนุกรกล่าว
ด้านรายงานข่าวจากฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกลยุทธ์เเละการคาดการณ์การลงทุนตราสารทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552ว่า กลยุทธ์การลงทุนของตราสารทุนของบลจ.นั้น ยังจะเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีฐานะทางการเงินเเข็งเเกร่งสามารถทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่เเน่นอน ในขณะเดียวกันจะทยอยลงทุนหุ้นในกลุ่มอุตสหกรรมที่จะได้รับประโยชน์จากเเนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหากเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ในขณะที่ปัญหาความขัดเเย้งทางการเมืองยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อภาวะการลงทุนที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ บลจ.กรุงไทยคาดว่าเป้าหมายของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปี 2552 อยู่ที่ 480 จุด ซึ่งกลยุทธ์ในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้านี้คือลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีฐานะทางการเงินเเข็งเเกร่ง มีหนี้สินในสัดส่วนที่ต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงหากภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจต่อเนื่องยาวนาน ในขณะเดียวกันจะลงทุนหุ้นในกลุ่ม Defensive หรือหุ้นที่ไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกืจ เเละ Dividend Stocks หรือหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในอัตราที่ดีต่อเนื่อง) เเละจะไม่เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าว สูงกว่าสัดส่วนของตลาดมากนัก (Slightly Overweight) เนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยง หากเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือสัญญาณว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดเเล้ว จะเกิดเเรงเทขายในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงเช่น พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ หรือหุ้นประเภท Defensive เพื่อเคลื่อนย้ายเม็ดเงินบางส่วนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้จะไม่มีการลงทุนในหุ้นขนาดเล็กที่มีสภาพคล่องเพื่อเตรียมรับความไม่เเน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจเเละการเมือง ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่กระทบด้านลบอย่างรุนเเรง ปริมาณการซื้อขายหุ้นอาจลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ทันเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปดังนั้นจะทยอยขายหุ้นดังกล่าวออกไปในช่วงที่ตลาดมีปริมาณการซื้อขายสูง
สำหรับจำนวนหุ้นที่อยู่ในพอร์ตการลงทุนเเต่ละช่วงเวลาที่จะไม่มากเกินไป เเต่จะพยายามบริหารเเบบ Activeโดยลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสหกรรมที่มีเเนวโน้มที่ดีในเเต่ละช่วงเศรษฐกิจเเละสภาวะการลงทุนที่เเตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานเเละปัจจัยการลงทุนในช่วงเวลานั้น ทั้งนี้การปรับตัวของตลาดยังคงมีความผันผวนสูงเหมือนไตรมาสเเรกของปี ดังนั้นการบริหารพอร์ตการลงทุนในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง จะให้ความสำคัญกับราคาเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน
รายงานยังระบุอีกว่า การลงทุนในตราสารหนี้ไตรมาสที่ 2 นั้น บลจ.กรุงไทยมองว่า อัตราผลตอบเเทน (Yleld Curve) จะมีความชันลดลงเนื่องจากตลาดตราสารหนี้ปัจจุบันได้สะท้อนภาพของปริมาณพันธบัตรรที่เพิ่มขึ้นทำให้ (Yleld Curve) มีความชันค่อนข้างมาก โดยผลตอบระยะกลางถึงระยะยาวรุ่นตั้งเเต่ 7 ปีเป็นต้นไป ปรับตัวสูงกว่าต้นปี 2552 ประมาณ 50-120 จุด ประกอบกับอัตราผลตอบเเทนตราสารระยะสั้นที่มีอยู่ในระดับต่ำเกินไป
นอกจากนี้ตลาดตราสารหนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากตลาดตราสารหนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากกาหดตัวของเศรษฐกืจโลกที่มีเเนวโน้มรุนเเรงเเละอาจใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้ซึ่งทาง บลจ.กรุงไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวในปี 2553 โดยจะมีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.3เเละอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.2 ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะเพิ่มร้อยละ 1.3
อย่างไรก็ตามตลาดตราสารหนี้อาจได้รัยปัจจัยลบจากความกังวลของตลาดเกี่ยวกับ Supply ที่อาจะเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการขาดดุลงบประมาณซึ่งจะทำให้มีเเรงขายตราสารหนี้ระยะะกลางถึงยาวเเละสูงผลอัตราผลตอบเเทนปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ความกังวลเกี่ยวกัยอัตราเงินเฟ้อเนื่องมาจากราคาน้ำมันเเละสินค้าโภคภัณฑ์ที่น่าจะถึงระดับต่ำสุดเเล้วประกอบกับปริมาณเงินที่ใส่เข้าไปเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของระบบ ก็เป็นอีกปัจจัยลบต่อตลาดตราสารหนี้
ส่วนเเผนการลงทุนในไตรมาส 2 ปีนี้ทางบลจ.จะให้มีการเพิ่มน้ำหนักตราสารหนี้ระยะกลางรุ่น 5-10 ปีเพราะเป็นช่วงที่มีผลตอบเเทนที่จูงใจโดยจะพยายามรักษา Duration ของพอร์ตไว้ที่ 3-4 ปีสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนจะเน้นลงทุนในตราสารที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 3 อันดับเเรก
นายพนุกร จันทรประภาพ ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทยังคงเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยไว้ที่ 500 จุดเช่นเดิม แม้จะมีปัจจัยลบต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา แต่พบว่าตลาดหุ้นไทยเองไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ในขณะที่ปัญหาไข้หวัดหมูที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ก็ไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเช่นกัน ส่วนปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวตลาดก็รับข่าวไปค่อนข้างเยอะแล้ว ดังนั้น จึงเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะไม่ปรับลงไปอยู่ระดับ 380 จุดซึ่งเป็นระดับต่ำสุดอีก แล้วหลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ปรับขึ้นได้ และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเห็นดัชนีที่ระดับ 500 จุด ก่อนสิ้นปีก็ได้
ทั้งนี้ ในส่วนของเศรษฐกิจโลกเอง ปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในต้นปีหน้า ซึ่งจากสัญญาณดังกล่าว กระตุ้นให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นมากขึ้น แม้อาจจะบอกไม่ได้ว่าเป็นการลงทุนระยะยาวหรือการเก็งกำไรระยะสั้น แต่ก็เป็นปกติของการลงทุนอยู่แล้ว
สำหรับตลาดหุ้นไทย จะเห็นว่าเดือนมีนาคมและเมษายน นักลงทุนต่างชาติเองเริ่มกลับเข้ามาซื้อสุทธิแล้วรวมกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วต้องบอกว่าเวลูเอชั่นของตลาดหุ้นไทยเอง รวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลกยังมีสูง ค่า P/E ยังต่ำกว่าที่เคยเป็น การจ่ายปันผลก็ยังอยู่ในระดับที่ดีด้วย
"การประเมินดัชนีเราพิจารณาใน 2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรกคือ เรามองว่าดัชนีหุ้นไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ส่วนประเด็นที่สอง คือเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งเดิมทีเรามองว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงจุดต่ำสุดซะทีเดียว ประกอบกับเศรษฐกิจไทยเอง ก็พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้น จึงคาดว่าจีดีพีของไทยจะติดลบอย่างน้อย 3 ไตรมาสติดต่อกัน ก่อนจะดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 แต่หลังจากมีปัจจัยลบและความผันผวนต่อเนื่อง ทำให้ไม่มั่นใจว่าจีดีพีไตรมาส 4 จะยังเป็นบวกได้หรือไม่ แต่ก็ยังเชื่อว่าจะเริ่มฟื้นได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า"นายพนุกรกล่าว
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของบลจ.แมนูไลฟ์ นายพนุกรกล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา เราเน้นการลงทุนแบบระมัดระวัง และเลือกลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อย เช่น กลุ่มพาณิชย์ กลุ่มเทเลคอม แต่จากสัญญาณการปื้นตัวของเศรษฐกิจที่เริ่มเห็นบ้างแล้ว เราได้ทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มพลังงาน ซึ่งขณะนี้ ได้ทยอยเข้าไปลงทุนบ้างแล้วในช่วงที่ราคาปรับฐานลงมา โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่ จะมาจากเงินในพอร์ตเดิมอยู่แล้ว เพราะยังไม่มีเงินจากลูกค้าเข้ามามากนัก เนื่องจากยังกังวลสถานการณ์อยู่ แต่จะมาจากการที่เราปรับพอร์ตด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนให้หุ้นกลุ่มเดิมที่เราถืออยู่ดังกล่าว
ทั้งนี้ จากการปรับพอร์ตการลงทุนดังกล่าว ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของกองทุนหุ้นภายใต้การบริหารของแมนูไลฟ์ ออกมาค่อนข้างดี โดยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ในส่วนของกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ อิควิตี้ แวลู ให้ผลตอบแทน 8.35% กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ อิควิตี้ ให้ผลตอบแทน 8.84% และกองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ หุ้นระยะยาว ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.26% ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 5.36% ซึ่งถือว่ากองทุนหุ้นของเราดีกว่า
"กลยุทธ์ของเราจะเข้าไปเก็บสะสมในช่วงที่ราคาปรับลดลง ซึ่งตอนนี้เองก็เริ่มทยอยเข้าไปซื้อบ้างแล้ว และผลตอบแทนที่ออกมาก็ชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งจากการที่เราปรับพอร์ตการลงทุนทำให้เราไม่เสียโอกาส"นายพนุกรกล่าว
ด้านรายงานข่าวจากฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกลยุทธ์เเละการคาดการณ์การลงทุนตราสารทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552ว่า กลยุทธ์การลงทุนของตราสารทุนของบลจ.นั้น ยังจะเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีฐานะทางการเงินเเข็งเเกร่งสามารถทนทานต่อสภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่เเน่นอน ในขณะเดียวกันจะทยอยลงทุนหุ้นในกลุ่มอุตสหกรรมที่จะได้รับประโยชน์จากเเนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหากเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ในขณะที่ปัญหาความขัดเเย้งทางการเมืองยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อภาวะการลงทุนที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ บลจ.กรุงไทยคาดว่าเป้าหมายของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปี 2552 อยู่ที่ 480 จุด ซึ่งกลยุทธ์ในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้านี้คือลงทุนเฉพาะหุ้นที่มีฐานะทางการเงินเเข็งเเกร่ง มีหนี้สินในสัดส่วนที่ต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงหากภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจต่อเนื่องยาวนาน ในขณะเดียวกันจะลงทุนหุ้นในกลุ่ม Defensive หรือหุ้นที่ไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกืจ เเละ Dividend Stocks หรือหุ้นที่มีการจ่ายปันผลในอัตราที่ดีต่อเนื่อง) เเละจะไม่เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าว สูงกว่าสัดส่วนของตลาดมากนัก (Slightly Overweight) เนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยง หากเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือสัญญาณว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดเเล้ว จะเกิดเเรงเทขายในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงเช่น พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ หรือหุ้นประเภท Defensive เพื่อเคลื่อนย้ายเม็ดเงินบางส่วนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้จะไม่มีการลงทุนในหุ้นขนาดเล็กที่มีสภาพคล่องเพื่อเตรียมรับความไม่เเน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจเเละการเมือง ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่กระทบด้านลบอย่างรุนเเรง ปริมาณการซื้อขายหุ้นอาจลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ทันเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปดังนั้นจะทยอยขายหุ้นดังกล่าวออกไปในช่วงที่ตลาดมีปริมาณการซื้อขายสูง
สำหรับจำนวนหุ้นที่อยู่ในพอร์ตการลงทุนเเต่ละช่วงเวลาที่จะไม่มากเกินไป เเต่จะพยายามบริหารเเบบ Activeโดยลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสหกรรมที่มีเเนวโน้มที่ดีในเเต่ละช่วงเศรษฐกิจเเละสภาวะการลงทุนที่เเตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานเเละปัจจัยการลงทุนในช่วงเวลานั้น ทั้งนี้การปรับตัวของตลาดยังคงมีความผันผวนสูงเหมือนไตรมาสเเรกของปี ดังนั้นการบริหารพอร์ตการลงทุนในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง จะให้ความสำคัญกับราคาเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน
รายงานยังระบุอีกว่า การลงทุนในตราสารหนี้ไตรมาสที่ 2 นั้น บลจ.กรุงไทยมองว่า อัตราผลตอบเเทน (Yleld Curve) จะมีความชันลดลงเนื่องจากตลาดตราสารหนี้ปัจจุบันได้สะท้อนภาพของปริมาณพันธบัตรรที่เพิ่มขึ้นทำให้ (Yleld Curve) มีความชันค่อนข้างมาก โดยผลตอบระยะกลางถึงระยะยาวรุ่นตั้งเเต่ 7 ปีเป็นต้นไป ปรับตัวสูงกว่าต้นปี 2552 ประมาณ 50-120 จุด ประกอบกับอัตราผลตอบเเทนตราสารระยะสั้นที่มีอยู่ในระดับต่ำเกินไป
นอกจากนี้ตลาดตราสารหนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากตลาดตราสารหนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากกาหดตัวของเศรษฐกืจโลกที่มีเเนวโน้มรุนเเรงเเละอาจใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้ซึ่งทาง บลจ.กรุงไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวในปี 2553 โดยจะมีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.3เเละอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.2 ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะเพิ่มร้อยละ 1.3
อย่างไรก็ตามตลาดตราสารหนี้อาจได้รัยปัจจัยลบจากความกังวลของตลาดเกี่ยวกับ Supply ที่อาจะเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการขาดดุลงบประมาณซึ่งจะทำให้มีเเรงขายตราสารหนี้ระยะะกลางถึงยาวเเละสูงผลอัตราผลตอบเเทนปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ความกังวลเกี่ยวกัยอัตราเงินเฟ้อเนื่องมาจากราคาน้ำมันเเละสินค้าโภคภัณฑ์ที่น่าจะถึงระดับต่ำสุดเเล้วประกอบกับปริมาณเงินที่ใส่เข้าไปเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของระบบ ก็เป็นอีกปัจจัยลบต่อตลาดตราสารหนี้
ส่วนเเผนการลงทุนในไตรมาส 2 ปีนี้ทางบลจ.จะให้มีการเพิ่มน้ำหนักตราสารหนี้ระยะกลางรุ่น 5-10 ปีเพราะเป็นช่วงที่มีผลตอบเเทนที่จูงใจโดยจะพยายามรักษา Duration ของพอร์ตไว้ที่ 3-4 ปีสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนจะเน้นลงทุนในตราสารที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 3 อันดับเเรก