ASTVผู้จัดการรายวัน - ข่าวดีรับวันแรงงาน “ไพฑูรย์” โปรยยาหอมแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน เร่งออกกฎหมายประกันสังคม ดึงรัฐร่วมจ่าย หวังขยายสิทธิการดูแลสุขภาพ พบบริษัทปิดกิจการแล้ว 296 แห่ง โหร "ธนวรรธน์" อ้างผลสำรวจแรงงานวิกฤต ทำนายเดือน พ.ค.-มิ.ย.คนตกงานเพิ่มเป็นเดือนละ 1 แสนคน ทั้งปีคนตกงานไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านคน
วานนี้ (30 เม.ย.) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกทม.จัดงานมหกรรมสมัชชาแรงงานนอกระบบ นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แรงงานนอกระบบมีกว่า 24 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน ส่งผลให้พี่น้องแรงงานนอกระบบไม่ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม ไม่มีหลักประกันด้านสวัสดิการหรือการประกันสังคม เช่นเดียวกับแรงงานในระบบ
ดังนั้นเพื่อสร้างระบบการดูแลคุ้มครองกลุ่มแรงงานนอกระบบอย่างครอบคลุมและทั่วถึงโดยเฉพาะในภาวะ ที่เศรษฐกิจกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการเรื่องนี้ ซึ่งจากผลการศึกษาข้อเสนอ เชิงนโยบายเรื่องการขยายการประกันสังคมไปสู่แรงงานนอกระบบของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ พบว่า ช่องว่างที่สำคัญของการสร้างหลักประกันทางสังคมให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ คือ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ. ศ.2533 ที่แม้จะเปิดโอกาสให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ สมัครเข้ามาเป็นผู้ประกันตน โดยสมัครใจตามมาตร 40 แต่เงื่อนไขสิทธิประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกับแรงงานนอกระบบ ทั้งกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว ปีละ 3,360 บาท ขณะที่ได้รับสิทธิประโยชน์ เพียง 3 กรณี คือ 1. คลอดบุตร 2. ทุพพลภาพ และ 3. ตาย ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากผู้ประกันตนในระบบ
ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะขยายหลักประกันทางสังคม ตามมาตร 40 ของ พ.ร.บ. ประกันสังคม ซึ่งเป็นภาคสมัครใจ คือ ให้รัฐบาลและผู้ประกันตนร่วมกันรับภาระค่าใช้จ่ายและปรับชุดสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับความต้องการและกำลังความสามารถในการจ่ายของแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ได้เสนอโดยทางปฏิบัติ จะต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม ซึ่งขณะนี้ สปส. ได้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมไปแล้ว โดยระบุว่า “ ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตรากำหนดในกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน” ซึ่งอยู่ในขั้นตอนในการพิจารณาของสำนักงานกฤษฎีกา และรัฐบาลจะผลักดันให้มีการเร่งรัดการแก้ไขกฎหมายให้ผ่านการพิจารณาโดยเร็ว
พบบริษัทปิดกิจการแล้ว 296 แห่ง
นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์การเลิกจ้างล่าสุดตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ พบว่า มีสถานประกอบการปิดกิจการแล้ว 296 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 27,852 คน สถานประกอบการที่มีแนวโน้มจะเลิกจ้างกว่า 410 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 177,191 คน แบ่งออกเป็นลูกจ้างที่เสี่ยงต่อการเลิกจ้างถึงจำนวน 60,889 คน และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบในลักษณะถูกลดเงินโบนัส ลดเวลาทำงาน จำนวน 116,302 คน ส่วนใหญ่ประกอบกิจการประเภทผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตสิ่งทอ ยานยนต์ ผลิตเครื่องจักร เครื่องเรือน ตามลำดับ
เมื่อรวมสถานการณ์ การเลือกตั้งตั้งแต่ต้นปี 51 จนถึงขณะนี้ มีสถานประกอบการปิดกิจการกว่า 994 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 83,401 คน สถานประกอบการที่มีแนวโน้มเลิกจ้างกว่า 737 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 378,432 คน แบ่งออกเป็นลูกจ้างที่เสี่ยงต่อการเลิกจ้างสูง 103,821 คน และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบลักษณะถูกลดเงินโบนัส เวลาการทำงานจำนวน 274,605 คน
ผู้ใช้แรงงานยื่น 2 ข้อเรียกร้อง
นางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ กล่าวว่า ข้อเสนอของแรงงานนอกระบบที่มีการประชุมกันก่อนหน้านี้ความต้องการที่สำคัญ คือ สวัสดิการสังคม ถึงแม้ว่าปัจจุบัน สปส. ได้เปิดให้แรงงานนอกระบบสมัครใจตามมาตร 40 แต่เงื่อนไขสิทธิประโยชน์นั้นไม่สอดคล้องกับแรงงาน โดยตรงทำให้ปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบสมัครเพียง 39 คนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเป็น 3,360 บาท แต่ได้สิทิประโยชน์แค่ 3 กรณี คือ1. คลอดบุตร 2. ทุพพลภาพ และ 3. ตาย ขณะที่ผู้ประกันตนในระบบได้รับมากถึง 7 กรณี คือ 1. เจ็บป่วย 2.คลอดบุตร 3. ทุพพลภาพ 4. ตาย 5.สงเคราะห์บุตรุ 6.ชราภาพ และ 7.กรณีว่างงาน ดังนั้น เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ของเสนอสิทธิประโยชน์เพิ่ม อีก 2 ข้อ คือ กรณีขาดรายได้ทดแทน และ กรณีชราภาพ เพิ่มเติมด้วย
นายสมคิด ด้วงเงิน ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ได้เสนอนโยบายแก่ผู้ว่าฯกทม. ดังนี้1.สนับสนุนกองทุนสวัสดิการสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ โดยพิจารณาต่อยอดจากฐานกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนที่มีความสามารถในการจัดการเพื่อพึ่งตนเองในระยะยามในรูปแบบของเงินอุดหนุน โดยมีสัดส่วนการอุดหนุน ระหว่างกลุ่มแรงงานนอกระบบและกรุงเทพฯในสัดส่วน 1 ต่อ1 และกำหนดให้เป็นข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร 2.สนับสนุนการจ้างงานให้กับกลุ่มอาชีพใน 5 ประเภทงานได้แก่
1)ตัดเย็บเสื้อผ้า (ชุดนักเรียนและเครื่องแบบพนักงานรักษาความสะอาดและพลขับ 2)หล่อฝาท่อระบายน้ำ 3)ทาสีป้ายรถเมล์และสะพานลอย 4)ปูตัวหนอนพื้นฟุตบาทและ 5)ล้อมรั้วต้นไม้ โดยกำหนดโควตาการจ้างงานให้กับกลุ่มอาชีพในชุมชนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ อย่างน้อยร้อยละ 10 ของปริมาณงานในแต่ละประเภท 3.สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพศูนย์สุขภาพชุมชนและอาสาสมัครสาธารสุข(อสส.)ให้เป็นกลไกสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขโดยการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะเบื้องต้นในการประเมินความเสี่ยงและการสื่อสารความเสี่ยง เพื่อให้เป็นกลไกการเฝ้าระวังด้านอาชีวอนามัยชุมชน 4.จัดทำโครงการนำร่องเรื่องการจัดตั้งกองทุนสุขภาพท้องถิ่นใน 12 ศูนย์บริการสาธารณสุข ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กทม. สปสช. และ อสส. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
โห! ตกงานพุ่งเดือนละแสนคน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรเศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจสถานภาพแรงงานไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 1,212 คน ระหว่าง 24-28 เม.ย.52 ว่า มีความเป็นห่วงสถานการณ์การจ้างแรงงานไทย ช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.2552 จะมียอดการว่างงานทะลุเกินเดือนละ 100,000 คน สูงกว่าเดือน เม.ย.ที่ว่างงานเพิ่มเพียง 80,000 คน เนื่องจากจะมีบัณฑิตและนักศึกษาจบใหม่ทยอยเข้าระบบแรงงานอีก 2 แสนคน ประกอบกับการแก้ปัญหาแรงงานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่ได้ผล รวมถึงมีความไม่มั่นคงการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเหตุการณ์รุนแรงเดือนเม.ย.
“สิ่งที่ต้องจับตามองคือบัณฑิตจบใหม่ในเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่เข้ามาเพิ่ม และหากเศรษฐกิจไม่ฟื้น มีการปลดคนงานตามมา ก็อาจจะทำให้ตัวเลขการว่างงานสูงถึง 1.2 ล้านคนได้ เพิ่มจากปกติที่มีการว่างงาน 8-9 แสนคน โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ที่จะมีคนงานว่างงานเพิ่มมากสุด เพราะได้รับผลกระทบตรงจากปัญหาการเมือง และเศรษฐกิจโลก รวมถึงตรงกับช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวแต่ข่าวดีตอนนี้คือยอดคำสั่งซื้อจากภาคส่งออกที่กลับเพิ่มขึ้นไตรมาส 3 ดังนั้น ปัญหาการปลดคนงานอาจจะไม่สูงนัก”นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ผลสำรวจแรงงาน 55.6% รู้สึกไม่มั่นคงต่องานที่ทำ และเสี่ยงถูกปลดจากงานสูง ส่วนอีก 25.4% ไม่แน่ใจในสถานะของตัวเอง เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไม่ดี และอนาคตอาจจะถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษามัธยม ปวช. ปวส.และปริญญาตรีมีโอกาสตกงานมากสุด ส่วนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีเห็นว่ามีโอกาสตกงานระดับปานกลางและเมื่อแยกตามสถานที่ทำงานพบว่าลูกจ้างในโรงงานหรือไซด์งานมีโอกาสตกงานถึง 51.57% ส่วนในสำนักงานจะตกงาน 44.14% แต่แรงงานส่วนใหญ่กว่า 71.5% มีแผนรองรับการตกงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะกลับไปทำการค้าขาย รองลงมาเป็นหางานใหม่ กลับไปทำการเกษตรและรับจ้างรายวัน
ผลสำรวจยังพบว่า แรงงานกว่า 83.33% กำลังก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่ม เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย โดยเฉพาะแรงงานที่รายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 87,399 บาท และเป็นการก่อหนี้นอกระบบด้วยการกู้จากญาติ เพื่อน คนรู้จัก และนายทุน เพิ่มเป็น 48% สูงกว่าช่วงปกติที่มีสัดส่วนแค่ 25-30%
ขณะที่หนี้ในระบบมีสัดส่วนลดลงเหลือ 51.49% เนื่องจากสถาบันการเงิน และเงินกู้ในระบบเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อทำให้ ภาคแรงงานเข้าถึงเงินกู้ยาก ส่วนสาเหตุที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย มาจากเวลาการทำงานที่น้อยลง หลังจากโรงงานลดเวลาการทำงานล่วงเวลา (โอที) สวนทางกับรายจ่ายที่เพิ่มจาก ค่าครองชีพ อาหาร ราคาน้ำมัน
ปัจจุบันภาคแรงงาน ไม่มีอาชีพเสริมสูงถึง 90.7% มีอาชีพเสริมเพียง 9.3% และแรงงานไทยส่วนใหญ่มีหนี้ 83.3% ไม่มีหนี้เพียง 16.7% โดยหนี้ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้จ่ายทั่วไป 63.64% ซื้อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ 22.41% หนี้ซื้อบ้าน 8.93% ซึ่งแหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่มากจากบัตรเครดิต รองลงมาจากญาติ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารพาณิชย์ โดยมีแรงงานที่มีปัญหาในการผ่อนชำระหนี้ 69.92% ไม่มีปัญหาการชำระหนี้ 30.08%.
วานนี้ (30 เม.ย.) ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกทม.จัดงานมหกรรมสมัชชาแรงงานนอกระบบ นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า แรงงานนอกระบบมีกว่า 24 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน ส่งผลให้พี่น้องแรงงานนอกระบบไม่ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม ไม่มีหลักประกันด้านสวัสดิการหรือการประกันสังคม เช่นเดียวกับแรงงานในระบบ
ดังนั้นเพื่อสร้างระบบการดูแลคุ้มครองกลุ่มแรงงานนอกระบบอย่างครอบคลุมและทั่วถึงโดยเฉพาะในภาวะ ที่เศรษฐกิจกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการเรื่องนี้ ซึ่งจากผลการศึกษาข้อเสนอ เชิงนโยบายเรื่องการขยายการประกันสังคมไปสู่แรงงานนอกระบบของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ พบว่า ช่องว่างที่สำคัญของการสร้างหลักประกันทางสังคมให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ คือ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ. ศ.2533 ที่แม้จะเปิดโอกาสให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ สมัครเข้ามาเป็นผู้ประกันตน โดยสมัครใจตามมาตร 40 แต่เงื่อนไขสิทธิประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกับแรงงานนอกระบบ ทั้งกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว ปีละ 3,360 บาท ขณะที่ได้รับสิทธิประโยชน์ เพียง 3 กรณี คือ 1. คลอดบุตร 2. ทุพพลภาพ และ 3. ตาย ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากผู้ประกันตนในระบบ
ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดที่จะขยายหลักประกันทางสังคม ตามมาตร 40 ของ พ.ร.บ. ประกันสังคม ซึ่งเป็นภาคสมัครใจ คือ ให้รัฐบาลและผู้ประกันตนร่วมกันรับภาระค่าใช้จ่ายและปรับชุดสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับความต้องการและกำลังความสามารถในการจ่ายของแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่ได้เสนอโดยทางปฏิบัติ จะต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม ซึ่งขณะนี้ สปส. ได้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมไปแล้ว โดยระบุว่า “ ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตรากำหนดในกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน” ซึ่งอยู่ในขั้นตอนในการพิจารณาของสำนักงานกฤษฎีกา และรัฐบาลจะผลักดันให้มีการเร่งรัดการแก้ไขกฎหมายให้ผ่านการพิจารณาโดยเร็ว
พบบริษัทปิดกิจการแล้ว 296 แห่ง
นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์การเลิกจ้างล่าสุดตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ พบว่า มีสถานประกอบการปิดกิจการแล้ว 296 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 27,852 คน สถานประกอบการที่มีแนวโน้มจะเลิกจ้างกว่า 410 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 177,191 คน แบ่งออกเป็นลูกจ้างที่เสี่ยงต่อการเลิกจ้างถึงจำนวน 60,889 คน และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบในลักษณะถูกลดเงินโบนัส ลดเวลาทำงาน จำนวน 116,302 คน ส่วนใหญ่ประกอบกิจการประเภทผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตสิ่งทอ ยานยนต์ ผลิตเครื่องจักร เครื่องเรือน ตามลำดับ
เมื่อรวมสถานการณ์ การเลือกตั้งตั้งแต่ต้นปี 51 จนถึงขณะนี้ มีสถานประกอบการปิดกิจการกว่า 994 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 83,401 คน สถานประกอบการที่มีแนวโน้มเลิกจ้างกว่า 737 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 378,432 คน แบ่งออกเป็นลูกจ้างที่เสี่ยงต่อการเลิกจ้างสูง 103,821 คน และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบลักษณะถูกลดเงินโบนัส เวลาการทำงานจำนวน 274,605 คน
ผู้ใช้แรงงานยื่น 2 ข้อเรียกร้อง
นางสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบระดับชาติ กล่าวว่า ข้อเสนอของแรงงานนอกระบบที่มีการประชุมกันก่อนหน้านี้ความต้องการที่สำคัญ คือ สวัสดิการสังคม ถึงแม้ว่าปัจจุบัน สปส. ได้เปิดให้แรงงานนอกระบบสมัครใจตามมาตร 40 แต่เงื่อนไขสิทธิประโยชน์นั้นไม่สอดคล้องกับแรงงาน โดยตรงทำให้ปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบสมัครเพียง 39 คนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเป็น 3,360 บาท แต่ได้สิทิประโยชน์แค่ 3 กรณี คือ1. คลอดบุตร 2. ทุพพลภาพ และ 3. ตาย ขณะที่ผู้ประกันตนในระบบได้รับมากถึง 7 กรณี คือ 1. เจ็บป่วย 2.คลอดบุตร 3. ทุพพลภาพ 4. ตาย 5.สงเคราะห์บุตรุ 6.ชราภาพ และ 7.กรณีว่างงาน ดังนั้น เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ของเสนอสิทธิประโยชน์เพิ่ม อีก 2 ข้อ คือ กรณีขาดรายได้ทดแทน และ กรณีชราภาพ เพิ่มเติมด้วย
นายสมคิด ด้วงเงิน ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ได้เสนอนโยบายแก่ผู้ว่าฯกทม. ดังนี้1.สนับสนุนกองทุนสวัสดิการสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ โดยพิจารณาต่อยอดจากฐานกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนที่มีความสามารถในการจัดการเพื่อพึ่งตนเองในระยะยามในรูปแบบของเงินอุดหนุน โดยมีสัดส่วนการอุดหนุน ระหว่างกลุ่มแรงงานนอกระบบและกรุงเทพฯในสัดส่วน 1 ต่อ1 และกำหนดให้เป็นข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร 2.สนับสนุนการจ้างงานให้กับกลุ่มอาชีพใน 5 ประเภทงานได้แก่
1)ตัดเย็บเสื้อผ้า (ชุดนักเรียนและเครื่องแบบพนักงานรักษาความสะอาดและพลขับ 2)หล่อฝาท่อระบายน้ำ 3)ทาสีป้ายรถเมล์และสะพานลอย 4)ปูตัวหนอนพื้นฟุตบาทและ 5)ล้อมรั้วต้นไม้ โดยกำหนดโควตาการจ้างงานให้กับกลุ่มอาชีพในชุมชนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ อย่างน้อยร้อยละ 10 ของปริมาณงานในแต่ละประเภท 3.สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพศูนย์สุขภาพชุมชนและอาสาสมัครสาธารสุข(อสส.)ให้เป็นกลไกสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขโดยการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะเบื้องต้นในการประเมินความเสี่ยงและการสื่อสารความเสี่ยง เพื่อให้เป็นกลไกการเฝ้าระวังด้านอาชีวอนามัยชุมชน 4.จัดทำโครงการนำร่องเรื่องการจัดตั้งกองทุนสุขภาพท้องถิ่นใน 12 ศูนย์บริการสาธารณสุข ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กทม. สปสช. และ อสส. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
โห! ตกงานพุ่งเดือนละแสนคน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรเศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจสถานภาพแรงงานไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 1,212 คน ระหว่าง 24-28 เม.ย.52 ว่า มีความเป็นห่วงสถานการณ์การจ้างแรงงานไทย ช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.2552 จะมียอดการว่างงานทะลุเกินเดือนละ 100,000 คน สูงกว่าเดือน เม.ย.ที่ว่างงานเพิ่มเพียง 80,000 คน เนื่องจากจะมีบัณฑิตและนักศึกษาจบใหม่ทยอยเข้าระบบแรงงานอีก 2 แสนคน ประกอบกับการแก้ปัญหาแรงงานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่ได้ผล รวมถึงมีความไม่มั่นคงการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเหตุการณ์รุนแรงเดือนเม.ย.
“สิ่งที่ต้องจับตามองคือบัณฑิตจบใหม่ในเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่เข้ามาเพิ่ม และหากเศรษฐกิจไม่ฟื้น มีการปลดคนงานตามมา ก็อาจจะทำให้ตัวเลขการว่างงานสูงถึง 1.2 ล้านคนได้ เพิ่มจากปกติที่มีการว่างงาน 8-9 แสนคน โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว ที่จะมีคนงานว่างงานเพิ่มมากสุด เพราะได้รับผลกระทบตรงจากปัญหาการเมือง และเศรษฐกิจโลก รวมถึงตรงกับช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวแต่ข่าวดีตอนนี้คือยอดคำสั่งซื้อจากภาคส่งออกที่กลับเพิ่มขึ้นไตรมาส 3 ดังนั้น ปัญหาการปลดคนงานอาจจะไม่สูงนัก”นายธนวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ผลสำรวจแรงงาน 55.6% รู้สึกไม่มั่นคงต่องานที่ทำ และเสี่ยงถูกปลดจากงานสูง ส่วนอีก 25.4% ไม่แน่ใจในสถานะของตัวเอง เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไม่ดี และอนาคตอาจจะถูกเลิกจ้าง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษามัธยม ปวช. ปวส.และปริญญาตรีมีโอกาสตกงานมากสุด ส่วนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีเห็นว่ามีโอกาสตกงานระดับปานกลางและเมื่อแยกตามสถานที่ทำงานพบว่าลูกจ้างในโรงงานหรือไซด์งานมีโอกาสตกงานถึง 51.57% ส่วนในสำนักงานจะตกงาน 44.14% แต่แรงงานส่วนใหญ่กว่า 71.5% มีแผนรองรับการตกงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะกลับไปทำการค้าขาย รองลงมาเป็นหางานใหม่ กลับไปทำการเกษตรและรับจ้างรายวัน
ผลสำรวจยังพบว่า แรงงานกว่า 83.33% กำลังก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่ม เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย โดยเฉพาะแรงงานที่รายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 87,399 บาท และเป็นการก่อหนี้นอกระบบด้วยการกู้จากญาติ เพื่อน คนรู้จัก และนายทุน เพิ่มเป็น 48% สูงกว่าช่วงปกติที่มีสัดส่วนแค่ 25-30%
ขณะที่หนี้ในระบบมีสัดส่วนลดลงเหลือ 51.49% เนื่องจากสถาบันการเงิน และเงินกู้ในระบบเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อทำให้ ภาคแรงงานเข้าถึงเงินกู้ยาก ส่วนสาเหตุที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย มาจากเวลาการทำงานที่น้อยลง หลังจากโรงงานลดเวลาการทำงานล่วงเวลา (โอที) สวนทางกับรายจ่ายที่เพิ่มจาก ค่าครองชีพ อาหาร ราคาน้ำมัน
ปัจจุบันภาคแรงงาน ไม่มีอาชีพเสริมสูงถึง 90.7% มีอาชีพเสริมเพียง 9.3% และแรงงานไทยส่วนใหญ่มีหนี้ 83.3% ไม่มีหนี้เพียง 16.7% โดยหนี้ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้จ่ายทั่วไป 63.64% ซื้อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ 22.41% หนี้ซื้อบ้าน 8.93% ซึ่งแหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่มากจากบัตรเครดิต รองลงมาจากญาติ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารพาณิชย์ โดยมีแรงงานที่มีปัญหาในการผ่อนชำระหนี้ 69.92% ไม่มีปัญหาการชำระหนี้ 30.08%.