ASTV ผู้จัดการรายวัน – นายกสมาคมบล.เตรียมกล่อมสมาชิกมีความเห็นชอบทิศทางเดียวกัน ค้านเปิดเสรีค่าคอมมิชชัน จากปัจจุบันเสียงแตก ลั่นแม้ก.ล.ต.เดินหน้าเปิดเสรีฯ แต่จะร่วมกันกำหนดค่าธรรมเนียมใช้เป็นมาตรฐานกันเอง เผยตลาดหุ้นไทยมีต้นทุนเทรดหุ้นต่ำสุดอันดับ 3 จากตลาดหุ้นเอเชีย 14 ประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้น 124 ประเทศทั่วโลกยังเปิดเสรีน้อยมาก-ตลาดหุ้นเสรีฯแล้วยังคิดค่าธรรมเนียมสูงกว่าไทย
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า สมาชิกของสมาคมบล.ขณะนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น)ซึ่งส่วนตัวในฐานะนายกสมาคมจะมีการหารือกับทางบริษัทสมาชิกขอความร่วมมือให้มีความเห็นในทิศทางเดียวกันในเรื่องการคัดค้านการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการหารือกับบล.ต่างๆไปบ้างแล้ว
ทั้งนี้ ส่วนตัวจะมีการพยายามหารือและขอความร่วมมือจากบล.ต่างๆในการคัดค้านการเปิดเสรีค่าคอมมิชั่น ถึงแม้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)จะยืนยันให้มีการเปิดเสรีก็ตาม ทางสมาชิกสมาคมบล.ก็จะมีการกำหนดกรอบการคิดค่าคอมมิชชั่นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงที่จะกระทบกับบล.เอง โดยจะพยายามที่จะขอความร่วมมือให้ทันในช่วงการเปิดเสรีแบบขั้นบันไดที่จะมีในปี 2553
“บล.จะต้องมีการเปลี่ยนแนวคิดให้หันมาร่วมมือกันทำธุรกิจมากขึ้นในด้านความคิดเห็นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการขัดขวาง การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ยังไม่เหมาะสมกับเมืองไทย คือในเรื่องการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น จากปัจจุบันที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ซึ่งตนก็จะไปหารือกับบล.ต่างๆในการขอความร่วมมือให้มีความคิดเห็นเป็นทิศทางเดียวกัน แม้ก.ล.ต.จะมีการให้เปิดเสรีฯแต่เราจะมีการกำหนดกันเองในเรื่องค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสมว่าควรจะอยู่ที่เท่าไร”นายกัมปนาทกล่าว
สำหรับกลุ่มที่มีความกังวลในการที่จะไม่เห็นด้วยกับทางสมาคมบล.คือ กลุ่มบล.ที่มีถือหุ้นในบุคคลในประเทศ เนื่องจาก กลุ่มนี้จะมีการแอบลดค่าคอมมิชชั่นโดยมีการจ่ายเงินคืนให้ภายหลัง ซึ่งถือว่าไม่เป็นเรื่องที่ดี ไม่ควรที่จะมีการทำแบบนั้น ส่วนกลุ่มบล.ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นธนาคารพาณิชย์นั้น เชื่อว่าจะมีการเจรจาได้ ส่วนกลุ่มที่น่าจะเห็นด้วยกับทางสมาคมคือ บล.ที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งหากต้องการลดให้ลูกค้ารายใหญ่ที่มีปริมาณการซื้อขายจำนวนมากก็สามารถทำได้ ซึ่งจะต้องมีการหารือกัน
นายกัมปนาท กล่าวว่า การที่สมาคมบล.ไม่เห็นด้วยกับการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น เนื่องจาก ไม่อยากให้มีการแข่งขันที่รุนแรงในเรื่องราคาโดยจะทำให้บล.ได้รับความเสียหายและไม่สามารถอยู่รอดได้ เหมือนกับการเปิดเสรีค่าคอมฯในอดีตที่ผ่านมาซึ่งเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นได้ไม่นาน จากการสำรวจต้นทุนการซื้อขายหุ้นในแถบภูมิภาคเอเซียที่มี 10 ประเทศนั้นนั้น ประเทศไทย ถือว่าการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆในการซื้อขายที่ต่ำอยู่ในอันดับ3 ที่คิด 0.267% โดยประเทศที่มีการเก็บที่ต่ำกว่าไทยมี 2 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นฮ่องกง ที่มีการคิด0.25% และ ตลาดหุ้นใต้หวันที่มีการเก็บ 0.24% ขณะที่ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ มีการเปิดเสรีค่าคอมฯแล้ว ยังมีการคิดค่าธรรมเนียมต่างๆซื้อขายถึง 0.31% โดยประเทศที่มีการเก็บค่าคอมฯสูงสุดคืออินเดียถึง 1.72% รองมาอินโดนีเซีย กับจีนที่คิดในอัตรา 0.45%
นอกจากนี้ ตลาดหุ้น 124 ประเทศทั่วโลกนั้นมีการเปิดเสรีที่น้อยมาก โดยมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของโลก และประเทศที่มีการเปิดค่าคอมมิชชั่นนั้นก็ยังมีสมาคมโบรกเกอร์ของประเทศนั้นเข้ามาดูแลในเรื่องการคิดค่าคอมมิชชั่นไม่ได้ปล่อยให้มีการคิดเสรีแบบตายตัว ซึ่งการที่ประเทศไทยจะนำรูปแบบการให้ทางสมาคมบล.มีการกำกับดูแลสมาชิกกันเองนั้นยังเร็วเกินไปที่จะทำแบบนั้น เพราะ จะต้องมีการปรับให้สมาคมบล.มีการดูแลบล.ให้เท่ากับต่างประเทศก่อน หากมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นก็จะไม่เกิดปัญหา
อย่างไรก็ตาม ทางทางการควรให้ความสำคัญกับบล.ที่ถือว่าเป็นตัวกลางในการซื้อขายหุ้น ให้เหมือนกับธนาคารพาณิชย์ในการเป็นตัวกลางทางด้านตลาดเงิน ในการช่วยสนับสนุนให้บล.มีความแข็งแกร่ง ซึ่งทางบล.มีการแข็งแรงก็จะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาตลาดทุนให้มีการเติบโตมากขึ้น
นายกัมปนาท กล่าวว่า จากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะมีการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนและมีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปนั้น ก็ไม่ให้ความสำคัญกับบล.ในการส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแปรรูป มีเพียงแต่ ตัวแทนจากกระทรวงการคลัง 2 คน ตัวแทนก.ล.ต. 2 คน และตัวแทนตลท.2 คน และกรรมการผู้จัดการอีก 1 โดยไม่มีภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งที่ผ่านมานั้นทางสมาคมบล.ได้มีจดหมายคัดค้านไปยังทางการ กง,ง๖งในเรื่องการคัดค้านแปรรูป แต่ไม่ทราบว่าทางการจะรับฟังหรือไม่ จากที่ผ่านมาก.ล.ต.ได้มีการปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียร์ริ่ง)ไปแล้ว ซึ่งต้องรอดูว่าจะสามารถจะมีการแก้ไขกฎหมายและทางสภาผูแทนราษฎรจะอนุมัติกฎหมายในเรื่องการแปรรูปของตลท.หรือไม่
“ตลาดทุนจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายซึ่งตลท.ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง และบล.ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำธุรกิจจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกไม่เฟื่องฟู ไปอีกสักระยะในอนาคต และ 10 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกก็มีการเติบโตช้ามาก แต่จะขึ้นเป็นช่วงเวลา แต่ตลาดที่โตเร็วคือ ตลาดอนุพันธ์ ที่โตเร็ว และจะโตแซงหน้าตลาดหุ้น ซึ่งการที่บล.จะมีกำไรและอยู่รอดได้ต้องทำธุรกิจใน 4 ตลาด คือหุ้น อนุพันธ์ ตราสารหนี้ ตลาดโภคภันฑ์ ด้านก.ล.ต.ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ในแนวคิดเรื่องการกำกับดูแลให้คำนึงถึงในเรื่องการให้ความสำคัญของบล. ” นายกัมปนาท กล่าว
นายกัมปนาท กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาที่จะมีการมีการเปิดสาขา เยาวราช และสาขาพหลโยธิน จากปัจจุบันที่มี 14 สาขา เนื่องจากไม่สามารถที่จะมีกำไรได้ จึงจะมีการปิดสาขาย้ายมารวมกับสาขาสำนักงานใหญ่ เนื่องจาก สาขาที่จะอยู่ได้คุ้มทุนจะต้องมีวอลุ่มการซื้อขาย 10 ล้านบาทต่อวันขึ้นไป
“ผมประเมินว่าในช่วงไตรมาส 2/52 บริษัทจะเริ่มมีกำไร เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะต่างประเทศยังไม่มีแหล่งที่จะนำเงินไปลงทุนทำให้ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ โดยคาดว่าในช่วง 3-5 เดือนนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 550 -600 จุด ได้”
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า สมาชิกของสมาคมบล.ขณะนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น)ซึ่งส่วนตัวในฐานะนายกสมาคมจะมีการหารือกับทางบริษัทสมาชิกขอความร่วมมือให้มีความเห็นในทิศทางเดียวกันในเรื่องการคัดค้านการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการหารือกับบล.ต่างๆไปบ้างแล้ว
ทั้งนี้ ส่วนตัวจะมีการพยายามหารือและขอความร่วมมือจากบล.ต่างๆในการคัดค้านการเปิดเสรีค่าคอมมิชั่น ถึงแม้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)จะยืนยันให้มีการเปิดเสรีก็ตาม ทางสมาชิกสมาคมบล.ก็จะมีการกำหนดกรอบการคิดค่าคอมมิชชั่นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงที่จะกระทบกับบล.เอง โดยจะพยายามที่จะขอความร่วมมือให้ทันในช่วงการเปิดเสรีแบบขั้นบันไดที่จะมีในปี 2553
“บล.จะต้องมีการเปลี่ยนแนวคิดให้หันมาร่วมมือกันทำธุรกิจมากขึ้นในด้านความคิดเห็นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการขัดขวาง การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ยังไม่เหมาะสมกับเมืองไทย คือในเรื่องการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น จากปัจจุบันที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ซึ่งตนก็จะไปหารือกับบล.ต่างๆในการขอความร่วมมือให้มีความคิดเห็นเป็นทิศทางเดียวกัน แม้ก.ล.ต.จะมีการให้เปิดเสรีฯแต่เราจะมีการกำหนดกันเองในเรื่องค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสมว่าควรจะอยู่ที่เท่าไร”นายกัมปนาทกล่าว
สำหรับกลุ่มที่มีความกังวลในการที่จะไม่เห็นด้วยกับทางสมาคมบล.คือ กลุ่มบล.ที่มีถือหุ้นในบุคคลในประเทศ เนื่องจาก กลุ่มนี้จะมีการแอบลดค่าคอมมิชชั่นโดยมีการจ่ายเงินคืนให้ภายหลัง ซึ่งถือว่าไม่เป็นเรื่องที่ดี ไม่ควรที่จะมีการทำแบบนั้น ส่วนกลุ่มบล.ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นธนาคารพาณิชย์นั้น เชื่อว่าจะมีการเจรจาได้ ส่วนกลุ่มที่น่าจะเห็นด้วยกับทางสมาคมคือ บล.ที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งหากต้องการลดให้ลูกค้ารายใหญ่ที่มีปริมาณการซื้อขายจำนวนมากก็สามารถทำได้ ซึ่งจะต้องมีการหารือกัน
นายกัมปนาท กล่าวว่า การที่สมาคมบล.ไม่เห็นด้วยกับการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น เนื่องจาก ไม่อยากให้มีการแข่งขันที่รุนแรงในเรื่องราคาโดยจะทำให้บล.ได้รับความเสียหายและไม่สามารถอยู่รอดได้ เหมือนกับการเปิดเสรีค่าคอมฯในอดีตที่ผ่านมาซึ่งเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นได้ไม่นาน จากการสำรวจต้นทุนการซื้อขายหุ้นในแถบภูมิภาคเอเซียที่มี 10 ประเทศนั้นนั้น ประเทศไทย ถือว่าการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆในการซื้อขายที่ต่ำอยู่ในอันดับ3 ที่คิด 0.267% โดยประเทศที่มีการเก็บที่ต่ำกว่าไทยมี 2 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นฮ่องกง ที่มีการคิด0.25% และ ตลาดหุ้นใต้หวันที่มีการเก็บ 0.24% ขณะที่ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ มีการเปิดเสรีค่าคอมฯแล้ว ยังมีการคิดค่าธรรมเนียมต่างๆซื้อขายถึง 0.31% โดยประเทศที่มีการเก็บค่าคอมฯสูงสุดคืออินเดียถึง 1.72% รองมาอินโดนีเซีย กับจีนที่คิดในอัตรา 0.45%
นอกจากนี้ ตลาดหุ้น 124 ประเทศทั่วโลกนั้นมีการเปิดเสรีที่น้อยมาก โดยมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของโลก และประเทศที่มีการเปิดค่าคอมมิชชั่นนั้นก็ยังมีสมาคมโบรกเกอร์ของประเทศนั้นเข้ามาดูแลในเรื่องการคิดค่าคอมมิชชั่นไม่ได้ปล่อยให้มีการคิดเสรีแบบตายตัว ซึ่งการที่ประเทศไทยจะนำรูปแบบการให้ทางสมาคมบล.มีการกำกับดูแลสมาชิกกันเองนั้นยังเร็วเกินไปที่จะทำแบบนั้น เพราะ จะต้องมีการปรับให้สมาคมบล.มีการดูแลบล.ให้เท่ากับต่างประเทศก่อน หากมีการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นก็จะไม่เกิดปัญหา
อย่างไรก็ตาม ทางทางการควรให้ความสำคัญกับบล.ที่ถือว่าเป็นตัวกลางในการซื้อขายหุ้น ให้เหมือนกับธนาคารพาณิชย์ในการเป็นตัวกลางทางด้านตลาดเงิน ในการช่วยสนับสนุนให้บล.มีความแข็งแกร่ง ซึ่งทางบล.มีการแข็งแรงก็จะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาตลาดทุนให้มีการเติบโตมากขึ้น
นายกัมปนาท กล่าวว่า จากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะมีการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนและมีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปนั้น ก็ไม่ให้ความสำคัญกับบล.ในการส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแปรรูป มีเพียงแต่ ตัวแทนจากกระทรวงการคลัง 2 คน ตัวแทนก.ล.ต. 2 คน และตัวแทนตลท.2 คน และกรรมการผู้จัดการอีก 1 โดยไม่มีภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งที่ผ่านมานั้นทางสมาคมบล.ได้มีจดหมายคัดค้านไปยังทางการ กง,ง๖งในเรื่องการคัดค้านแปรรูป แต่ไม่ทราบว่าทางการจะรับฟังหรือไม่ จากที่ผ่านมาก.ล.ต.ได้มีการปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียร์ริ่ง)ไปแล้ว ซึ่งต้องรอดูว่าจะสามารถจะมีการแก้ไขกฎหมายและทางสภาผูแทนราษฎรจะอนุมัติกฎหมายในเรื่องการแปรรูปของตลท.หรือไม่
“ตลาดทุนจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายซึ่งตลท.ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง และบล.ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำธุรกิจจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกไม่เฟื่องฟู ไปอีกสักระยะในอนาคต และ 10 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกก็มีการเติบโตช้ามาก แต่จะขึ้นเป็นช่วงเวลา แต่ตลาดที่โตเร็วคือ ตลาดอนุพันธ์ ที่โตเร็ว และจะโตแซงหน้าตลาดหุ้น ซึ่งการที่บล.จะมีกำไรและอยู่รอดได้ต้องทำธุรกิจใน 4 ตลาด คือหุ้น อนุพันธ์ ตราสารหนี้ ตลาดโภคภันฑ์ ด้านก.ล.ต.ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ในแนวคิดเรื่องการกำกับดูแลให้คำนึงถึงในเรื่องการให้ความสำคัญของบล. ” นายกัมปนาท กล่าว
นายกัมปนาท กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาที่จะมีการมีการเปิดสาขา เยาวราช และสาขาพหลโยธิน จากปัจจุบันที่มี 14 สาขา เนื่องจากไม่สามารถที่จะมีกำไรได้ จึงจะมีการปิดสาขาย้ายมารวมกับสาขาสำนักงานใหญ่ เนื่องจาก สาขาที่จะอยู่ได้คุ้มทุนจะต้องมีวอลุ่มการซื้อขาย 10 ล้านบาทต่อวันขึ้นไป
“ผมประเมินว่าในช่วงไตรมาส 2/52 บริษัทจะเริ่มมีกำไร เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เพราะต่างประเทศยังไม่มีแหล่งที่จะนำเงินไปลงทุนทำให้ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ โดยคาดว่าในช่วง 3-5 เดือนนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 550 -600 จุด ได้”