ภายหลังจาก พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ที่ได้มาเป็นหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล แทนพล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ก็ได้มีความคืบหน้าในคดีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากคดีการยิงระเบิด M-79 ใส่ผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจนมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บล้มตาย หรือคดีการยิงถล่มสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ปี 2551 ที่เงียบหายไม่เคยมีความคืบหน้าแต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน
เบาะแสจากกระสุนของกรมสรรพาวุธทหารบก ภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดอีกหลายตัวกลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พยานและหลักฐานที่มาจากการสืบสวนสอบสวน ได้เป็นผลทำให้ปรากฏเป็นคำสัมภาษณ์และแถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552 หลังจากได้มีการเปลี่ยนชุดสืบสวนสอบสวนเพียงแค่ 7 วัน
พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ได้ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า “คดีมีความคืบหน้าไปมาก ทั้งในส่วนของมือปืน พยานหลักฐานที่รวบรวมได้ก็มีความชัดเจนมากขึ้น มั่นใจว่า พยานหลักฐานที่มีอยู่นั้นสามารถนำไปสู่การจับกุมคนร้ายได้แน่นอนแต่ยังไม่ระบุระยะเวลาว่าจะเป็นเมื่อไร”
แต่ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแสดงความเชื่อมั่นมากกว่านั้น โดยได้ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า “เรื่องการจับกุมนั้นภายใน 7 วันจะมีข่าวดี ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ภายใน 7 วันนี้แหละจะมีข่าวดี ซีเรียสทอล์กนะเนี่ย” พล.ต.ท.อัศวิน กล่าวอย่างอารมณ์ดี โดยย้ำประโยคที่ว่า ซีเรียสทอล์กอีกสองสามครั้ง
ดูจากประวัติการทำงานของ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่รู้ตื้นลึกหนาบางของกลุ่มซุ้มมือปืน และกลุ่มอิทธิพลหลายพื้นที่ไม่เว้นแม้แต่ทหาร ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย สุพรรณบุรี นครปฐมลงไปถึงกาญจนบุรี รวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน การแสดงความเชื่อมั่นเรื่องการจับกุมคนร้ายของ พล.ต.ท.อัศวิน ผ่านสื่อมวลชนขนาดนี้ ก็น่าจะเชื่อได้ว่าตำรวจชุดนี้มีความคืบหน้าในคดีนี้ไปมากแล้วจริงๆ!
ผ่านไปแล้ว 3 วัน ดังนั้นอีกไม่เกิน 4 วัน ถ้าหากจับคนร้ายได้จริง ก็ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญในการพิสูจน์ฝีมือของตำรวจชุดนี้ สมควรที่รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างไม่ต้องสงสัย
ประเด็นที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือการให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกของ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ที่ระบุว่าคดีนี้เป็นประเด็นทางการเมือง โดย พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ขณะนี้ได้เทน้ำหนักมาที่ประเด็นทางการเมือง ซึ่งรวมทั้งกรณีที่นายสนธิเคยออกมากล่าวโจมตีบุคคลต่างๆ”
เมื่อมีน้ำหนักมาที่ประเด็นทางการเมือง ก็ย่อมทำให้น่าสงสัยว่า อำนาจการเมืองประเภทไหนที่มีศักยภาพสามารถปฏิบัติการได้
1. ใช้อาวุธสงครามขนาดหนักทั้งปืนเอ็ม 16, เอชเค, อาก้า และระเบิด M 79 ใจกลางกรุงโดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้กระสุนที่ผลิตจากกรมสรรพาวุธทหารบก
2. มีศักยภาพสามารถทำให้กล้องวงจรปิด 4 กล้องในบริเวณลอบสังหารไม่สามารถทำงานได้พร้อมๆ กันล่วงหน้าเป็นเวลา 1 วัน
3. มีความเชื่อมั่น จนสามารถยิงถล่มนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในช่วงระยะเวลาที่รัฐบาลประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
4. สามารถขับรถขนอาวุธ ยิงถล่มลอบสังหาร และสามารถหลบหนีไปได้ ตลอดเส้นทางที่มีทหารอยู่ตามจุดตรวจจำนวนมาก โดยปราศจากการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงจากฝ่ายทหาร
คดีที่ตำรวจชุดนี้กำลังทำงานคืบหน้ามากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายทหารเองก็กลับมีพิรุธในการสัมภาษณ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่วันเกิดเหตุ
วันที่ 17 เมษายน 2552 วันเกิดเหตุลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
“เรื่องการลอบยิงเป็นเรื่องอาชญากรรม ซึ่งจะมีพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่มี ก็สามารถเป็นเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ทหารที่มีมาอยู่ประจำ 150 เขต มีเพียง 102 จุด เฉลี่ยประมาณเขตละสองจุด หากใครจะไปทำอะไร คงยากที่จะไปควบคุมได้ หรือไปรักษาไม่ให้เกิดขึ้นคงทำไม่ได้...ส่วนที่มีการใช้อาวุธสงครามนั้น ต้องยอมรับว่า มีการใช้อยู่ในประเทศไทยหลายครั้ง หลายหน และหลายกรณีที่มีการยิง”
ความหมายข้างต้นผู้บัญชาการทหารบก แสดงความเห็นว่าการใช้อาวุธสงครามขนาดหนักใจกลางกรุง ในช่วงการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นได้ ทหารไม่ต้องไปดำเนินการแก้ไขอะไรและยืนมองเฉยๆ ได้ในทุกที่ ไม่ต่างจากปฏิกิริยาของกองทัพต่อเหตุการณ์ที่พันธมิตรฯ ถูกยิงระเบิด M79 รายวันในปี 2551 ไม่ต่างจากปฏิกิริยาที่ใส่เกียร์ว่างจนนายกรัฐมนตรีถูกลอบสังหาร 3 ครั้ง และไม่ต่างจากปฏิกิริยาใส่เกียร์ว่างจนทำให้การประชุมอาเซียนและคู่เจรจราล้มลงอย่างน่าอัปยศโดยไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ
วันที่ 22 เมษายน 2552 ชุดสืบสวนคลี่คลายคดีได้แจ้งข่าวว่า จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุได้ตรวจพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 ขนาด 5.56 มม.จำนวน 3 ปลอก ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นกระสุนที่ผลิตโดยกรมสรรพาวุธทหารบก มีการตีตราสัญลักษณ์ (RTA) ซึ่งมาจากคำว่า รอยัล ไทย อาร์มี่ และเป็นซีรีส์ที่ส่งให้เฉพาะหน่วยทหารหน่วยหนึ่งในสังกัดกองทัพภาคที่ 1 ใช้เท่านั้น
สำหรับเลขกระสุนของกรมสรรพาวุธทหารบกรุ่นใหม่หลังปี 2535 จะมีเลขข้างปลอกกระสุน เป็น sub lot เป็นเลขอารบิก 3 ตัว ตามด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ 1 ตัว ตามด้วยเลขอารบิกอีก 1 ตัว และยังมีรหัสตัวเลขอยู่ที่ท้ายจานด้วย การจำหน่ายจ่ายแจกกระสุนทั้งหมดจะถูกบันทึกลงแฟ้มของกรมสรรพาวุธทหารบก และกองทัพแต่ละภาคที่ได้รับเครื่องกระสุนไป และสามารถทำให้รู้หน่วยและวันที่ได้รับเครื่องกระสุนไปใช้ รวมทั้ง วัน เดือน ปีที่ผลิต ได้อย่างชัดเจน
ผลจากการเปิดเผยข้อมูลของตำรวจผ่านสื่อมวลชนในวันนั้น ทำให้อุณหภูมิของกองทัพบกต้องร้อนระอุขึ้นมาอีกครั้ง
วันที่ 23 เมษายน 2552 หลังจากที่ได้พบกระสุนที่ผลิตมาจากกรมสรรพาวุธกองทัพบกเพียงวันเดียว ก็ได้ทำให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ร้อนตัวเร่งรีบออกมาให้สัมภาษณ์ในเช้าวันรุ่งขึ้น “ชิงตัดหน้าก่อนที่ตำรวจจะแถลงข่าว” ว่า เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพาวุธทหารบก และทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้คุยกัน จากการตรวจสอบทราบกระสุนปืนเอ็ม 16 ทั้ง 3 นัด เป็นกระสุนที่แจกจ่ายจากกองทัพภาคที่ 1 ที่แจกจ่ายให้กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร. 9) อย่างไรก็ตาม กองพลทหารราบที่ 9 มีหน่วยทหารมาก ซึ่งขณะนี้เมื่อรับทราบรายละเอียดจะตรวจสอบภายในว่ามีกระสุนเล็ดลอดออกมาได้อย่างไร แต่เป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะกระสุนที่จ่ายไปมีจำนวนเป็นพัน เป็นหมื่นนัด หากสมมติว่าแจกจ่ายกระสุนไป 10 หน่วยการล็อดลอดจึงยากต่อการตรวจสอบว่า เป็นหน่วยไหน และเท่าที่ทราบเป็นกระสุนที่มาจากการฝึกของกองพลทหารราบที่ 9
คำให้สัมภาษณ์แบบชิงตัดหน้าตำรวจดังกล่าวแทนที่จะเป็นคุณประโยชน์กับผู้บัญชาการทหารบกกลับทำให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกตั้งคำถามมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม
ประการแรก กองพลทหารราบที่ 9 ก็ถือเป็นหน่วยทหารที่มีผู้บัญชาการกองพล อยู่ในสายทหารบูรพา ที่เติบโตมาจากผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 ซึ่งก็มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อยู่ดี
ประการที่สองหากกระสุนมาจากกองพลทหารราบที่ 9 จริง ก็นับว่าเป็นเหตุบังเอิญ ที่กองพลทหารราบที่ 9 เป็นหน่วยที่ตั้งด่านจุดตรวจบริเวณใกล้พี้นที่ลอบสังหาร และบริเวณที่คนร้ายสัญจรไปมาและหลบหนีไปอย่างสบาย ยิ่งทำให้เกิดข้อสงสัยมากยิ่งขึ้นต่อความเกี่ยวข้องของฝ่ายทหารมากยิ่งขึ้น
ประการที่สาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่าจะหาผู้กระทำความผิดยาก และรู้ได้อย่างไรว่ากระสุนนัดนั้นมาจากการเล็ดลอด หรือเบิกใช้กันอย่างเป็นทางการ?
แต่สถานการณ์ยิ่งสับสนมากยิ่งขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2552 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กลับให้ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ออกมาแถลงข่าวสรุปใจความได้ว่า “เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ได้ประสานงานมา จึงขอให้อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกระสุนจากกองพลทหารราบที่ 9” ทำให้ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยในตัวผู้บัญชาการทหารบกมากยิ่งขึ้นว่า ข้อมูลเรื่องกระสุนจากกองพลทหารราบที่ 9 นั้นเป็นเรื่องจริง หรือมั่วขึ้นมา หรือกำลังมีใครเปลี่ยนแปลงหลักฐานหรือไม่?
คำสัมภาษณ์ที่กลับไปกลับมาเช่นนี้ทำให้มีพิรุธมากยิ่งไปกว่าเดิม และเกิดคำถามว่า ถ้าตำรวจยังไม่เคยประสานงานมาก่อน แล้ว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รู้ได้อย่างไรว่ากระสุนจากปืน M -16 มาจากกองพลทหารราบที่ 9?
1. หากสมมติว่ากรมสรรพาวุธทหารบกมั่วข้อมูล โดยที่กระสุนไม่ได้มาจากกองพลทหารราบที่ 9 แล้วใส่ร้ายกองพลทหารราบที่ 9 อย่างไร้หลักฐาน ถ้าเป็นเช่นนั้นประชาชนย่อมต้องสงสัยว่ามีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งอยู่ภายใต้กองทัพภาคที่ 1 เพื่อวัตถุประสงค์บางประการในการเบี่ยงเบนประเด็นมือสังหารที่แท้จริงหรือไม่?
หรือ
2. หากมือสังหารใช้กระสุนจากกองพลทหารราบที่ 9 เป็นความจริง โดยที่ตำรวจไม่เคยประสานข้อมูลมา ก็ต้องมีคำถามอีกว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่ามือสังหารใช้กระสุน M 16 จากกองพลทหารราบที่ 9 โดยไม่เคยเห็นหลักฐาน หากเป็นเช่นนั้นประชาชนอาจเคลือบแคลงสงสัยยิ่งกว่าเดิมว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รับรู้ หรือรู้เห็นเป็นใจในการลอบสังหารครั้งนี้ด้วยหรือไม่ !?
หรือ
3. หากมือสังหารใช้กระสุนจากกองพลทหาราบที่ 9 จริง และเป็นการประสานงานข้อมูลจากตำรวจและทหารมาตั้งแต่ตอนต้น ประชาชนย่อมสงสัยได้ว่าจะมีการเปลี่ยนพยานหลักฐาน หรือการเปลี่ยนหนังสือคู่มือบัญชีควบคุมกระสุน เพื่อเปลี่ยนประเด็นจากที่ผู้บัญชาการทหารบกเคยให้สัมภาษณ์มาก่อนหน้านี้หรือไม่?
อีก 4 วัน หวังว่าจะได้ข่าวดีในการจับกุมคนร้ายตามคำมั่นของ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง เมื่อนั้นคำถามเหล่านี้ก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นอย่างไร?
เบาะแสจากกระสุนของกรมสรรพาวุธทหารบก ภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิดอีกหลายตัวกลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พยานและหลักฐานที่มาจากการสืบสวนสอบสวน ได้เป็นผลทำให้ปรากฏเป็นคำสัมภาษณ์และแถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552 หลังจากได้มีการเปลี่ยนชุดสืบสวนสอบสวนเพียงแค่ 7 วัน
พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ได้ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า “คดีมีความคืบหน้าไปมาก ทั้งในส่วนของมือปืน พยานหลักฐานที่รวบรวมได้ก็มีความชัดเจนมากขึ้น มั่นใจว่า พยานหลักฐานที่มีอยู่นั้นสามารถนำไปสู่การจับกุมคนร้ายได้แน่นอนแต่ยังไม่ระบุระยะเวลาว่าจะเป็นเมื่อไร”
แต่ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแสดงความเชื่อมั่นมากกว่านั้น โดยได้ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า “เรื่องการจับกุมนั้นภายใน 7 วันจะมีข่าวดี ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ภายใน 7 วันนี้แหละจะมีข่าวดี ซีเรียสทอล์กนะเนี่ย” พล.ต.ท.อัศวิน กล่าวอย่างอารมณ์ดี โดยย้ำประโยคที่ว่า ซีเรียสทอล์กอีกสองสามครั้ง
ดูจากประวัติการทำงานของ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่รู้ตื้นลึกหนาบางของกลุ่มซุ้มมือปืน และกลุ่มอิทธิพลหลายพื้นที่ไม่เว้นแม้แต่ทหาร ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย สุพรรณบุรี นครปฐมลงไปถึงกาญจนบุรี รวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน การแสดงความเชื่อมั่นเรื่องการจับกุมคนร้ายของ พล.ต.ท.อัศวิน ผ่านสื่อมวลชนขนาดนี้ ก็น่าจะเชื่อได้ว่าตำรวจชุดนี้มีความคืบหน้าในคดีนี้ไปมากแล้วจริงๆ!
ผ่านไปแล้ว 3 วัน ดังนั้นอีกไม่เกิน 4 วัน ถ้าหากจับคนร้ายได้จริง ก็ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญในการพิสูจน์ฝีมือของตำรวจชุดนี้ สมควรที่รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างไม่ต้องสงสัย
ประเด็นที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือการให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกของ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ ที่ระบุว่าคดีนี้เป็นประเด็นทางการเมือง โดย พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ขณะนี้ได้เทน้ำหนักมาที่ประเด็นทางการเมือง ซึ่งรวมทั้งกรณีที่นายสนธิเคยออกมากล่าวโจมตีบุคคลต่างๆ”
เมื่อมีน้ำหนักมาที่ประเด็นทางการเมือง ก็ย่อมทำให้น่าสงสัยว่า อำนาจการเมืองประเภทไหนที่มีศักยภาพสามารถปฏิบัติการได้
1. ใช้อาวุธสงครามขนาดหนักทั้งปืนเอ็ม 16, เอชเค, อาก้า และระเบิด M 79 ใจกลางกรุงโดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้กระสุนที่ผลิตจากกรมสรรพาวุธทหารบก
2. มีศักยภาพสามารถทำให้กล้องวงจรปิด 4 กล้องในบริเวณลอบสังหารไม่สามารถทำงานได้พร้อมๆ กันล่วงหน้าเป็นเวลา 1 วัน
3. มีความเชื่อมั่น จนสามารถยิงถล่มนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในช่วงระยะเวลาที่รัฐบาลประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
4. สามารถขับรถขนอาวุธ ยิงถล่มลอบสังหาร และสามารถหลบหนีไปได้ ตลอดเส้นทางที่มีทหารอยู่ตามจุดตรวจจำนวนมาก โดยปราศจากการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงจากฝ่ายทหาร
คดีที่ตำรวจชุดนี้กำลังทำงานคืบหน้ามากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายทหารเองก็กลับมีพิรุธในการสัมภาษณ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่วันเกิดเหตุ
วันที่ 17 เมษายน 2552 วันเกิดเหตุลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
“เรื่องการลอบยิงเป็นเรื่องอาชญากรรม ซึ่งจะมีพ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่มี ก็สามารถเป็นเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ทหารที่มีมาอยู่ประจำ 150 เขต มีเพียง 102 จุด เฉลี่ยประมาณเขตละสองจุด หากใครจะไปทำอะไร คงยากที่จะไปควบคุมได้ หรือไปรักษาไม่ให้เกิดขึ้นคงทำไม่ได้...ส่วนที่มีการใช้อาวุธสงครามนั้น ต้องยอมรับว่า มีการใช้อยู่ในประเทศไทยหลายครั้ง หลายหน และหลายกรณีที่มีการยิง”
ความหมายข้างต้นผู้บัญชาการทหารบก แสดงความเห็นว่าการใช้อาวุธสงครามขนาดหนักใจกลางกรุง ในช่วงการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นได้ ทหารไม่ต้องไปดำเนินการแก้ไขอะไรและยืนมองเฉยๆ ได้ในทุกที่ ไม่ต่างจากปฏิกิริยาของกองทัพต่อเหตุการณ์ที่พันธมิตรฯ ถูกยิงระเบิด M79 รายวันในปี 2551 ไม่ต่างจากปฏิกิริยาที่ใส่เกียร์ว่างจนนายกรัฐมนตรีถูกลอบสังหาร 3 ครั้ง และไม่ต่างจากปฏิกิริยาใส่เกียร์ว่างจนทำให้การประชุมอาเซียนและคู่เจรจราล้มลงอย่างน่าอัปยศโดยไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ
วันที่ 22 เมษายน 2552 ชุดสืบสวนคลี่คลายคดีได้แจ้งข่าวว่า จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุได้ตรวจพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 ขนาด 5.56 มม.จำนวน 3 ปลอก ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นกระสุนที่ผลิตโดยกรมสรรพาวุธทหารบก มีการตีตราสัญลักษณ์ (RTA) ซึ่งมาจากคำว่า รอยัล ไทย อาร์มี่ และเป็นซีรีส์ที่ส่งให้เฉพาะหน่วยทหารหน่วยหนึ่งในสังกัดกองทัพภาคที่ 1 ใช้เท่านั้น
สำหรับเลขกระสุนของกรมสรรพาวุธทหารบกรุ่นใหม่หลังปี 2535 จะมีเลขข้างปลอกกระสุน เป็น sub lot เป็นเลขอารบิก 3 ตัว ตามด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ 1 ตัว ตามด้วยเลขอารบิกอีก 1 ตัว และยังมีรหัสตัวเลขอยู่ที่ท้ายจานด้วย การจำหน่ายจ่ายแจกกระสุนทั้งหมดจะถูกบันทึกลงแฟ้มของกรมสรรพาวุธทหารบก และกองทัพแต่ละภาคที่ได้รับเครื่องกระสุนไป และสามารถทำให้รู้หน่วยและวันที่ได้รับเครื่องกระสุนไปใช้ รวมทั้ง วัน เดือน ปีที่ผลิต ได้อย่างชัดเจน
ผลจากการเปิดเผยข้อมูลของตำรวจผ่านสื่อมวลชนในวันนั้น ทำให้อุณหภูมิของกองทัพบกต้องร้อนระอุขึ้นมาอีกครั้ง
วันที่ 23 เมษายน 2552 หลังจากที่ได้พบกระสุนที่ผลิตมาจากกรมสรรพาวุธกองทัพบกเพียงวันเดียว ก็ได้ทำให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ร้อนตัวเร่งรีบออกมาให้สัมภาษณ์ในเช้าวันรุ่งขึ้น “ชิงตัดหน้าก่อนที่ตำรวจจะแถลงข่าว” ว่า เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพาวุธทหารบก และทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้คุยกัน จากการตรวจสอบทราบกระสุนปืนเอ็ม 16 ทั้ง 3 นัด เป็นกระสุนที่แจกจ่ายจากกองทัพภาคที่ 1 ที่แจกจ่ายให้กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร. 9) อย่างไรก็ตาม กองพลทหารราบที่ 9 มีหน่วยทหารมาก ซึ่งขณะนี้เมื่อรับทราบรายละเอียดจะตรวจสอบภายในว่ามีกระสุนเล็ดลอดออกมาได้อย่างไร แต่เป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะกระสุนที่จ่ายไปมีจำนวนเป็นพัน เป็นหมื่นนัด หากสมมติว่าแจกจ่ายกระสุนไป 10 หน่วยการล็อดลอดจึงยากต่อการตรวจสอบว่า เป็นหน่วยไหน และเท่าที่ทราบเป็นกระสุนที่มาจากการฝึกของกองพลทหารราบที่ 9
คำให้สัมภาษณ์แบบชิงตัดหน้าตำรวจดังกล่าวแทนที่จะเป็นคุณประโยชน์กับผู้บัญชาการทหารบกกลับทำให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกตั้งคำถามมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม
ประการแรก กองพลทหารราบที่ 9 ก็ถือเป็นหน่วยทหารที่มีผู้บัญชาการกองพล อยู่ในสายทหารบูรพา ที่เติบโตมาจากผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 ซึ่งก็มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อยู่ดี
ประการที่สองหากกระสุนมาจากกองพลทหารราบที่ 9 จริง ก็นับว่าเป็นเหตุบังเอิญ ที่กองพลทหารราบที่ 9 เป็นหน่วยที่ตั้งด่านจุดตรวจบริเวณใกล้พี้นที่ลอบสังหาร และบริเวณที่คนร้ายสัญจรไปมาและหลบหนีไปอย่างสบาย ยิ่งทำให้เกิดข้อสงสัยมากยิ่งขึ้นต่อความเกี่ยวข้องของฝ่ายทหารมากยิ่งขึ้น
ประการที่สาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่าจะหาผู้กระทำความผิดยาก และรู้ได้อย่างไรว่ากระสุนนัดนั้นมาจากการเล็ดลอด หรือเบิกใช้กันอย่างเป็นทางการ?
แต่สถานการณ์ยิ่งสับสนมากยิ่งขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2552 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กลับให้ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ออกมาแถลงข่าวสรุปใจความได้ว่า “เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ได้ประสานงานมา จึงขอให้อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกระสุนจากกองพลทหารราบที่ 9” ทำให้ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยในตัวผู้บัญชาการทหารบกมากยิ่งขึ้นว่า ข้อมูลเรื่องกระสุนจากกองพลทหารราบที่ 9 นั้นเป็นเรื่องจริง หรือมั่วขึ้นมา หรือกำลังมีใครเปลี่ยนแปลงหลักฐานหรือไม่?
คำสัมภาษณ์ที่กลับไปกลับมาเช่นนี้ทำให้มีพิรุธมากยิ่งไปกว่าเดิม และเกิดคำถามว่า ถ้าตำรวจยังไม่เคยประสานงานมาก่อน แล้ว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รู้ได้อย่างไรว่ากระสุนจากปืน M -16 มาจากกองพลทหารราบที่ 9?
1. หากสมมติว่ากรมสรรพาวุธทหารบกมั่วข้อมูล โดยที่กระสุนไม่ได้มาจากกองพลทหารราบที่ 9 แล้วใส่ร้ายกองพลทหารราบที่ 9 อย่างไร้หลักฐาน ถ้าเป็นเช่นนั้นประชาชนย่อมต้องสงสัยว่ามีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งอยู่ภายใต้กองทัพภาคที่ 1 เพื่อวัตถุประสงค์บางประการในการเบี่ยงเบนประเด็นมือสังหารที่แท้จริงหรือไม่?
หรือ
2. หากมือสังหารใช้กระสุนจากกองพลทหารราบที่ 9 เป็นความจริง โดยที่ตำรวจไม่เคยประสานข้อมูลมา ก็ต้องมีคำถามอีกว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รู้ล่วงหน้าได้อย่างไรว่ามือสังหารใช้กระสุน M 16 จากกองพลทหารราบที่ 9 โดยไม่เคยเห็นหลักฐาน หากเป็นเช่นนั้นประชาชนอาจเคลือบแคลงสงสัยยิ่งกว่าเดิมว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รับรู้ หรือรู้เห็นเป็นใจในการลอบสังหารครั้งนี้ด้วยหรือไม่ !?
หรือ
3. หากมือสังหารใช้กระสุนจากกองพลทหาราบที่ 9 จริง และเป็นการประสานงานข้อมูลจากตำรวจและทหารมาตั้งแต่ตอนต้น ประชาชนย่อมสงสัยได้ว่าจะมีการเปลี่ยนพยานหลักฐาน หรือการเปลี่ยนหนังสือคู่มือบัญชีควบคุมกระสุน เพื่อเปลี่ยนประเด็นจากที่ผู้บัญชาการทหารบกเคยให้สัมภาษณ์มาก่อนหน้านี้หรือไม่?
อีก 4 วัน หวังว่าจะได้ข่าวดีในการจับกุมคนร้ายตามคำมั่นของ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง เมื่อนั้นคำถามเหล่านี้ก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นอย่างไร?