“อนุพงษ์ เผ่าจินดา” ผบ.ทบ.จำนนหลักฐาน ยอมรับกระสุนเอ็น 16 ยิง “สนธิ” เป็นกระสุนจากกองพลทหารราบที่ 9 แต่อ้างเป็นกระสุนที่ใช้ในการฝึกยิงและได้มีการรั่วไหลออกมา ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 1 โบ้ยมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ให้สัมภาษณ์
จากกรณีที่ชุดคลี่คลายคดีลอบสังหาร นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เอเอสทีวี ผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตรวจสอบพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 ขนาด 5.56 มม.จำนวน 3 ปลอก ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นกระสุนที่ผลิตโดยกรมสรรพาวุธทหารบก มีการตีตราสัญลักษณ์ (RTA) ซึ่งมาจากว่า ROYAL THAI ARMY และเป็นซีรีส์ที่ส่งให้เฉพาะหน่วยทหารหน่วยหนึ่งในสังกัดกองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) ทำให้หลายฝ่ายต่างพุ่งไปว่าอาจจะมีทหารระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือรับงานฆ่านายสนธิในครั้งนี้
วันนี้ (23 เม.ย.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงประเด็น เรื่องปลอกกระสุนเอ็ม 16 จำนวน 3 นัดที่ใช้ยิงนายสนธิว่า จากการตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจยอมรับว่าเป็นกระสุนที่มาจากกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งอยู่ในสายงานการบังคับบัญชาของกองทัพภาคที่ 1 แต่เป็นกระสุนที่ใช้ในการฝึกยิงและได้มีการรั่วไหลออกมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากในการตรวจสอบว่าเป็นกระสุนมาจากหน่วยใด
ทั้งนี้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีการตรวจสอบพบว่าเป็นกระสุนจากที่ใดก็จะต้องมีการดำเนินการสอบสวนผู้รับผิดชอบจากกฎระเบียบของกองทัพต่อไป
ด้าน พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวยอมรับเช่นกันว่า กระสุนที่มีตราประทับดังกล่าวนั้นมีใช้ในหน่วยงานทางทหาร ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่จะมีการเล็ดรอดนำออกไปภายนอกหรือไม่นั้น คงตอบได้ยาก ขณะที่ก็ยืนยันว่าหน่วยงานทางทหารนั้นก็มีขั้นตอนในการควบคุมดูแลการใช้เครื่องกระสุนต่างๆอยู่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม พล.ท.คณิต กล่าวว่า หากมีการประสานงานมาจากหน่วยงานด้านการสืบสวนก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่อยู่แล้ว เพราะทหารก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานหนึ่ง หากพบว่าใครกระทำความผิดก็ต้องว่าไปตามนั้น ไม่มีการปกป้อง
ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ชุดสืบสวนได้พยานปากสำคัญซึ่งเห็นเหตุการณ์ขณะคนร้ายก่อเหตุยิงนายสนธิ โดยพยานได้ให้รายละเอียดเกียวกับรูปพรรณสันฐานของคนร้ายได้อย่างชัดเจน และขณะนี้พยานคนดังกล่าวได้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วเนื่องจากเกรงพยานจะได้รับอันตราย
สำหรับกลุ่มมือปืน ทางชุดสืบสวนได้มีการพูดถึงว่ามีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะถูกฆ่าตัดตอน เนื่องจากทางสืบสวนเชื่อว่าการลอบสังหารนายสนธิในครั้งนี้ บิ๊กทหารในราชการมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีลอบสังหารนายสนธิ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุ พล.อ.อนุพงษ์ ได้ให้สัมภาษณ์ที่สโมสรทหารบก โดยมองว่า “เรื่องการลอบยิงเป็นเรื่องอาชญากรรม ซึ่งจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่มี ก็สามารถเป็นเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ ทหารที่มีมาอยู่ประจำ 150 เขต มีเพียง 102 จุด เฉลี่ยประมาณเขตละ 2 จุด หากใครจะไปทำอะไรคงยากที่จะไปควบคุมได้ หรือไปรักษาไม่ให้เกิดขึ้นคงทำไม่ได้ ทั้งนี้ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำสั่งหลังจากคืนวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา เราได้สั่งการเด็ดขาดว่า แม้ว่าจะมีการมาป่วนเมือง เช่น โยนระเบิดปิงปอง หรือระเบิดเพลิงเล็กๆ ห้ามใช้อาวุธโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าจะเห็นตัวก็ไม่ใช้อาวุธ เพราะหากมีคนขี่มอเตอร์ไซค์มาแล้วโยนระเบิดปิงปอง หรือประทัดยักษ์ แล้วทหารยิงจนทำให้เกิดการเสียชีวิต ประชาชนคงรับไม่ได้ ดังนั้น การสั่งการแน่ชัดว่าห้ามทำอะไรทั้งสิ้น ดังนั้น การที่เรามีจุดตรวจเพียงเขตละสองจุด ในเรื่องที่จะไปเฝ้าไม่ให้เกิดเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นคนละเรื่องกัน และไม่ว่าจะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่อย่างไรก็ต้องเกิด”
นอกจากนั้น พล.อ.อนุพงษ์ ยังพูดปัดความรับผิดชอบว่าเหตุการณ์นี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสืบสวน จับกุมมาให้ได้ ไม่ว่าสีไหนก็ตามจะต้องนำตัวมาลงโทษให้ได้ ในฐานะที่เป็นหน้าที่รักษากฎหมาย ทั้งนี้ ตนยังไม่มีข้อมูลที่จะไปวิเคราะห์ว่าการลอบยิงนายสนธิเป็นเพราะอะไร ส่วนที่มีการใช้อาวุธสงครามนั้น ต้องยอมรับว่ามีการใช้อยู่ในประเทศไทยหลายครั้งหลายหน และหลายกรณีที่มีการยิง และเมื่อหลายวันก่อนก็มีการยิงเอ็ม 79 เข้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราพยายามกำหนดมาตรการเพื่อควบคุม ซึ่งดีขึ้นกว่าแต่ก่อนแต่ยังไม่หมดไป จึงต้องหาทางขจัดปัญหานี้ไปให้ได้
นอกจากนั้น เมื่อถามว่า อยากให้ประชาชนเข้าใจว่าการลอบยิงดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับกองทัพ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร ต้องให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้เร่งสอบสวนและหาผู้กระทำผิดจะดีกว่า ตนไม่อยากแสดงความคิดเห็น เมื่อถามว่า จากสถานการณ์ขณะนี้จะมีกลุ่มใต้ดินออกมาก่อกวนหรือไม่ พล.อ.นุพงษ์ กล่าวว่า หากมองตามยุทธศาสตร์ การป่วนเมืองไม่น่าจะใช้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เช่นการล้มการประชุมระดับชาติที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ การไปใช้กฎหมู่ที่กระทรวงมหาดไทยหรือการปิดถนนไม่น่าจะใช้ได้ ซึ่งขณะนี้เราต้องเฝ้าติดตาม หากเป็นมาตรการก่อกวนเมือง ตนประเมินว่าไม่น่าจะเป็นมาตรการที่สังคมยอมรับ
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ให้สัมภาษณ์
จากกรณีที่ชุดคลี่คลายคดีลอบสังหาร นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เอเอสทีวี ผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตรวจสอบพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 ขนาด 5.56 มม.จำนวน 3 ปลอก ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นกระสุนที่ผลิตโดยกรมสรรพาวุธทหารบก มีการตีตราสัญลักษณ์ (RTA) ซึ่งมาจากว่า ROYAL THAI ARMY และเป็นซีรีส์ที่ส่งให้เฉพาะหน่วยทหารหน่วยหนึ่งในสังกัดกองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) ทำให้หลายฝ่ายต่างพุ่งไปว่าอาจจะมีทหารระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือรับงานฆ่านายสนธิในครั้งนี้
วันนี้ (23 เม.ย.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงประเด็น เรื่องปลอกกระสุนเอ็ม 16 จำนวน 3 นัดที่ใช้ยิงนายสนธิว่า จากการตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจยอมรับว่าเป็นกระสุนที่มาจากกองพลทหารราบที่ 9 ซึ่งอยู่ในสายงานการบังคับบัญชาของกองทัพภาคที่ 1 แต่เป็นกระสุนที่ใช้ในการฝึกยิงและได้มีการรั่วไหลออกมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากในการตรวจสอบว่าเป็นกระสุนมาจากหน่วยใด
ทั้งนี้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีการตรวจสอบพบว่าเป็นกระสุนจากที่ใดก็จะต้องมีการดำเนินการสอบสวนผู้รับผิดชอบจากกฎระเบียบของกองทัพต่อไป
ด้าน พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวยอมรับเช่นกันว่า กระสุนที่มีตราประทับดังกล่าวนั้นมีใช้ในหน่วยงานทางทหาร ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่จะมีการเล็ดรอดนำออกไปภายนอกหรือไม่นั้น คงตอบได้ยาก ขณะที่ก็ยืนยันว่าหน่วยงานทางทหารนั้นก็มีขั้นตอนในการควบคุมดูแลการใช้เครื่องกระสุนต่างๆอยู่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม พล.ท.คณิต กล่าวว่า หากมีการประสานงานมาจากหน่วยงานด้านการสืบสวนก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่อยู่แล้ว เพราะทหารก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานหนึ่ง หากพบว่าใครกระทำความผิดก็ต้องว่าไปตามนั้น ไม่มีการปกป้อง
ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ชุดสืบสวนได้พยานปากสำคัญซึ่งเห็นเหตุการณ์ขณะคนร้ายก่อเหตุยิงนายสนธิ โดยพยานได้ให้รายละเอียดเกียวกับรูปพรรณสันฐานของคนร้ายได้อย่างชัดเจน และขณะนี้พยานคนดังกล่าวได้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วเนื่องจากเกรงพยานจะได้รับอันตราย
สำหรับกลุ่มมือปืน ทางชุดสืบสวนได้มีการพูดถึงว่ามีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะถูกฆ่าตัดตอน เนื่องจากทางสืบสวนเชื่อว่าการลอบสังหารนายสนธิในครั้งนี้ บิ๊กทหารในราชการมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีลอบสังหารนายสนธิ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุ พล.อ.อนุพงษ์ ได้ให้สัมภาษณ์ที่สโมสรทหารบก โดยมองว่า “เรื่องการลอบยิงเป็นเรื่องอาชญากรรม ซึ่งจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่มี ก็สามารถเป็นเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ ทหารที่มีมาอยู่ประจำ 150 เขต มีเพียง 102 จุด เฉลี่ยประมาณเขตละ 2 จุด หากใครจะไปทำอะไรคงยากที่จะไปควบคุมได้ หรือไปรักษาไม่ให้เกิดขึ้นคงทำไม่ได้ ทั้งนี้ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำสั่งหลังจากคืนวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา เราได้สั่งการเด็ดขาดว่า แม้ว่าจะมีการมาป่วนเมือง เช่น โยนระเบิดปิงปอง หรือระเบิดเพลิงเล็กๆ ห้ามใช้อาวุธโดยเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าจะเห็นตัวก็ไม่ใช้อาวุธ เพราะหากมีคนขี่มอเตอร์ไซค์มาแล้วโยนระเบิดปิงปอง หรือประทัดยักษ์ แล้วทหารยิงจนทำให้เกิดการเสียชีวิต ประชาชนคงรับไม่ได้ ดังนั้น การสั่งการแน่ชัดว่าห้ามทำอะไรทั้งสิ้น ดังนั้น การที่เรามีจุดตรวจเพียงเขตละสองจุด ในเรื่องที่จะไปเฝ้าไม่ให้เกิดเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นคนละเรื่องกัน และไม่ว่าจะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่อย่างไรก็ต้องเกิด”
นอกจากนั้น พล.อ.อนุพงษ์ ยังพูดปัดความรับผิดชอบว่าเหตุการณ์นี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสืบสวน จับกุมมาให้ได้ ไม่ว่าสีไหนก็ตามจะต้องนำตัวมาลงโทษให้ได้ ในฐานะที่เป็นหน้าที่รักษากฎหมาย ทั้งนี้ ตนยังไม่มีข้อมูลที่จะไปวิเคราะห์ว่าการลอบยิงนายสนธิเป็นเพราะอะไร ส่วนที่มีการใช้อาวุธสงครามนั้น ต้องยอมรับว่ามีการใช้อยู่ในประเทศไทยหลายครั้งหลายหน และหลายกรณีที่มีการยิง และเมื่อหลายวันก่อนก็มีการยิงเอ็ม 79 เข้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราพยายามกำหนดมาตรการเพื่อควบคุม ซึ่งดีขึ้นกว่าแต่ก่อนแต่ยังไม่หมดไป จึงต้องหาทางขจัดปัญหานี้ไปให้ได้
นอกจากนั้น เมื่อถามว่า อยากให้ประชาชนเข้าใจว่าการลอบยิงดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับกองทัพ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอะไร ต้องให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้เร่งสอบสวนและหาผู้กระทำผิดจะดีกว่า ตนไม่อยากแสดงความคิดเห็น เมื่อถามว่า จากสถานการณ์ขณะนี้จะมีกลุ่มใต้ดินออกมาก่อกวนหรือไม่ พล.อ.นุพงษ์ กล่าวว่า หากมองตามยุทธศาสตร์ การป่วนเมืองไม่น่าจะใช้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เช่นการล้มการประชุมระดับชาติที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ การไปใช้กฎหมู่ที่กระทรวงมหาดไทยหรือการปิดถนนไม่น่าจะใช้ได้ ซึ่งขณะนี้เราต้องเฝ้าติดตาม หากเป็นมาตรการก่อกวนเมือง ตนประเมินว่าไม่น่าจะเป็นมาตรการที่สังคมยอมรับ