ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตรภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
การประชุมรัฐสภาที่ผ่านมานั้น เป็นกรณีรัฐบาลขอรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา โดยมุ่งหวังว่า จะมีการเสนอแนะทางออกให้กับวิกฤติการเมืองของประเทศ มิใช่การเปิดอภิปรายที่มุ่งจะไม่ไว้วางใจ หรือตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรง
แต่การประชุมที่เสร็จสิ้นไปนั้น คงได้เห็นกันไปแล้วว่า เป็นไปตามเจตนารมณ์เพียงใด
กลับกลายเป็นว่า เวทีรัฐสภา เป็นสมรภูมิต่อเนื่องในสงครามการเมืองของระบอบทักษิณ
1. เมื่อเสื้อแดงตกเป็จำเลยของสังคมในการชุมนุมก่อจลาจลที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ต่อต้านและรังเกียจพฤติกรรมของขบวนการเสื้อแดงอย่างที่สุด
เรียกว่า เอือมระอาเต็มทีแล้ว
ในช่วงวันที่ 11-13 เมษายน ที่เสื้อแดงก่อจลาจลป่วนกรุงนั้น ประชาชนทั่วไปเริ่มแสดงออกถึงการต่อต้าน และตอบโต้ขบวนการเสื้อแดงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำของเสื้อแดง ถึงขนาดพร้อมจะเผชิญหน้า ลุกขึ้นต่อสู้ หรือตอบโต้ขบวนการเสื้อแดงเลยก็ว่าได้
ขบวนการเสื้อแดง จึงทำลายความชอบธรรม และความน่าเชื่อถือของตัวเองไปจนป่นปี้หมดสิ้นแล้ว
ในการประชุมรัฐสภาที่ผ่านมา จึงกลายเป็นเวทีให้เสื้อแดงในสภา ใช้เป็นเครื่องมือหวังจะสร้างกระแสด้วยข้อมูลและความเท็จ เพื่อแย่งชิงประชาชน ให้มีความเห็นอกเห็นใจตนเอง
เพื่อให้ตนเป็นฝ่ายถูกกระทำ หวังพลิกกลับ ให้รัฐบาลและกองทัพตกเป็นจำเลยของสังคมแทน
การประชุมรัฐสภาที่เป็นการร้องขอของรัฐบาล กลับกลายเป็นช่องทางให้เสื้อแดงในสภาลงมือปฏิบัติการสงครามการเมืองอีกรอบหนึ่ง
2. วิธีการของเสื้อแดงในสภา พยายามจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายความชอบธรรมของรัฐบาล
แม้แต่การจงใจกล่าวเท็จ บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือใช้เวทีรัฐสภาเป็นสถานที่สำหรับโหมกระพือข่าวลือที่ขบวนการเสื้อแดงเป็นผู้กระทำการอยู่ในขณะนี้
ส.ส.พรรคเพื่อไทย พยายามอย่างยิ่งที่จะนำเสนอข้อมูล อภิปรายโน้มน้าว อ้างอิง ชี้นำหรือกล่าวหาไปทิศทางว่า ทหารฆ่าประชาชน
ถ้าจะพยายามมองในแง่ดีว่า ส.ส.พรรคเพื่อไทยอาจจะเกิดดวงตาเห็นธรรม เห็นความสูญเสียของประชาชนจากการฆาตกรรมของรัฐเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 อันเกิดจากน้ำมือและการสั่งการของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จึงรู้สึกสำนึกผิด กลับตัวกลับใจ มองเห็นคุณค่าในชีวิตของประชาชน จึงได้พยายามจะดูแลชีวิตของประชาชนในครั้งนี้ อย่างเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตาย
แต่เมื่อมองตามเนื้อผ้า จะเห็นว่า ขบวนการเสื้อแดงไม่ได้เห็นค่าชีวิตของประชาชนมากเท่ากับค่าของศพที่จะสามารถนำไปเคลื่อนไหวในทางการเมืองของตนเองต่อไป
สังเกตจากการตระเตรียมประดิษฐ์ถ้อยคำ จงใจจะใช้ในการโจมตีรัฐบาล เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยการย้ำ ซ้ำๆ ถ้อยคำที่เตรียมมาอย่างเป็นขบวนการ เช่น “รัฐบาลมือเปื้อนเลือด” – “นายกอภิสิทธิ์เป็นทรราช” ฯลฯ โดยไม่ใส่ใจกับคำอธิบายและข้อเท็จจริงที่มีการเปิดเผย ชี้แจง หรือแสดงพยานหลักฐานออกมาอย่างแท้จริงในรัฐสภา
เรียกว่า เตรียมถ้อยคำมาแล้ว ยังไงก็เลยต้องใช้
ยิ่งกว่านั้น ถ้าพิจารณาพฤติกรรมของขบวนการเสื้อแดง จะเห็นว่า พยายามอย่างยิ่งที่จะกล่าวอ้างว่ามีคนตายจากน้ำมือของรัฐบาลและกลไกของรัฐ และเมื่อข้อกล่าวอ้างถูกหักล้างไปด้วยข้อเท็จจริง หรือมีการพิสูจน์ให้เห็นแจ่มชัดว่า คนเสื้อแดงที่ถูกอ้างว่าตาย แท้จริงยังไม่ตาย ขบวนการเสื้อแดงก็ไม่สนใจใยดี หรือแสดงออกให้เห็นว่าพวกตนเห็นค่าชีวิตของคนเสื้อแดงที่ตนเองกล่าวอ้างอย่างที่ควร
พูดง่ายๆ ว่า ตอนที่อ้างว่าเขาตาย แสดงอย่างกับว่าเป็นห่วงเป็นใยผู้ที่ตนกล่าวอ้างมาก แต่พอปรากฏความจริงว่า เขายังไม่ตาย กลับไม่สนใจ ไม่เป็นห่วง ไม่ดูแล ไม่เห็นค่าการยังมีชีวิตของคนเสื้อแดงเหล่านั้น อีกต่อไป
ถามว่า ประชาชนเสื้อแดงที่ถูกกล่าวอ้างว่าตายเหล่านี้ จะมีค่ากับแกนนำขบวนการเสื้อแดง เฉพาะก็ต่อเมื่อเขาเป็นศพ เท่านั้นหรือ?
สะท้อนถึงความพยายามจะทำสงครามการเมือง โดยใช้ข้อกล่าวอ้างว่ามีคนตายจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวปลุกปั่นทางการเมืองต่อไป
3. สงครามการเมืองของระบอบทักษิณในรัฐสภาที่ผ่านมานั้น สะท้อนว่า มีการตระเตรียมการ วางพล็อต วางแผนร่วมกับ ส.ส.พรรคเพื่อไทย
ยกตัวอย่าง กรณีให้ ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย อภิปรายภาพนิ่งเหตุการณ์ที่สตรีเสื้อแดง 2 คน ปะทะคำพูดและกระทบกระทั่งกับชายเสื้อยืดสีเขียวบนถนน พยายามกล่าวอ้างว่า ชายในเสื้อเขียวคือทหาร กำลังจิกผมสตรีเสื้อแดง พยายามจะลากเข้าไปหลังแนวทหารที่ยืนอยู่ ในขณะที่สตรีอีกนางหนึ่งถอดเสื้อ เหลือแต่ยกทรง
สิ่งนี้ ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทยนำมาประนามกลางสภา พร้อมกับนัดแนะ วางแผนร่วมกันกับสตรีเสื้อแดงผู้อยุ่ในภาพทั้งสองคน ให้มาปรากฏตัวอยู่ภายในอาคารรัฐสภาด้วย และทันทีที่ ส.ส.หญิงอภิปรายเสร็จ ก็เร่งรีบไปแถลงข่าวกับสื่อมวลชนทันที โดยไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ฝ่ายอื่นๆ จะแถลงออกมาแต่ประการใด
ปรากฏว่า ฝ่ายรัฐบาลได้นำเสนอคลิปวีดีโดภาพถ่ายเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นความเป็นไปของเหตุการณ์ทั้งหมด เริ่มจากสตรีเสื้อแดงทั้งสองคนเดินเข้ามาด่าสื่อมวลชนด้วยถ้อยคำหยาบคาย ชายเสื้อเขียวที่ถูกด่าว่าเพราะสตรีเสื้อแดงคิดว่าเป็นสื่อมวลชน รับไม่ได้ จึงโต้คารมกับสตรีเสื้อแดงอย่างดุเดือด ในที่สุด สตรีเสื้อแดงก็ถุยน้ำลายเหยียดหยามชายเสื้อเขียว หลังจากนั้นชายเสื้อเขียวเดินถอยหนี แต่สตรีเสื้อแดงกลับเป็นฝ่ายถลันตามเข้าไป ก่อนจะเกิดเหตุการณ์โรมรันพันตูกันสองคน จนบางจังหวะเกิดภาพถ่ายที่ชายเสื้อเขียวดึงผมสตรีเสื้อแดงปรากฏออกมา
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทหารไม่ได้ทำร้ายหญิงเสื้อแดงเลย ตรงกันข้าม กลับมีเสียงพยายามบอกชายเสื้อเขียว (ซึ่งไม่ใช่ทหาร) ว่าอย่าทำร้ายผู้หญิง
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แทบไม่ต้องอธิบาย เพราะปรากฏหลักฐานเป็นภาพวีดีโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อธิบายตัวเองเสร็จสรรพ แต่ ส.ส.หญิงเพื่อไทยก็ไม่สนใจ รีบพาหญิงเสื้อแดงไปแถลงข่าวทันที เพื่อหวังจะใช้สื่อมวลชนขยายประเด็นของตนเองต่อไปอีก
แม้แต่โฆษกของพรรค ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ถึงกับนัดหมาย เตรียมกันมาแถลงข่าวอีกด้วย แต่แล้ว สื่อมวลชนกลับรู้ทัน เพราะสื่อมวลชนจำนวนมากอยู่ในเหตุการณ์ของสตรีเสื้อแดงสองคนนั้นโดยตลอด ทราบว่าข้อเท็จจริงในที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร สื่อถึงกับตั้งคำถามกลับไปยัง ส.ส.หญิงเพื่อไทยคนดังกล่าวว่า ทำไมไม่ฟังข้อมูล คำชี้แจงของฝ่ายอื่นๆ ในสภา รวมทั้งคำอธิบายจากรัฐบาลเสียก่อน
สะท้อนว่า เสื้อแดงในสภาไม่ได้พยายามใช้เวทีรัฐสภาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง มากเท่ากับจะใช้เป็นช่องทางปลุกระดมของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง
และเมื่อไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง ความคาดหวังเรื่องจะได้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็ย่อมจะสิ้นหวัง
4. กรณีอื่นๆ ก็มีการอภิปรายชี้แจงกันในสภา เช่น กรณีรถแก๊สที่ดินแดง, กรณีศพ รปภ.ถูกฆ่าทิ้งน้ำ หรือกรณีคนขับรถเมล์ที่ถูกทหารควบคุมตัว ฯลฯ ทั้งหมด ล้วนแต่ถูกขบวนการเสื้อแดงนำมากล่าวอ้าง บิดเบือนข้อมูล เพื่อแก้ตัว และมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
อ้างว่า เสื้อแดงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุรถแก๊ส โดยนำภาพนิ่งมาเสนอในสภา บอกว่าไม่มีคนเสื้อแดงอยู่ในภาพ ทั้งๆ ที่ ภาพข่าวทุกสำนัก ปรากฏคนเสื้อแดงยึดรถแก๊สมาก่อการดัวกล่าวอย่างเปิดเผย และเชื่อมโยงกับคำสั่งการของแกนนำบนเวทีเสื้อแดง
อ้างว่า รปภ.ที่ถูกพบศพ เป็นคนเสื้อแดงที่ตายด้วยน้ำมือของทหาร ทั้งๆ ที่ ภรรยาของผู้ตายยืนยันว่า ผู้ตายไม่ใช่พวกเสื้อแดง และยังมีชีวิตอยู่จนถึงตีสองของวันที่ 14 เม.ย. 2552 ซึ่งทหารไม่ได้มีการปฏิบัติการใดๆ แล้ว
อ้างว่า คนขับรถเมล์ถูกทหารยิงตาย แล้วลากศพไปด้วย ทั้งๆ ที่ภาพบันทึกเหตุการณ์จากสื่อมวลชน เห็นชัดว่า คนขับรถเมล์ถูกตีด้วยกระบองล้มลง จากนั้น ทหารก็ควบคุมตัวไป และปัจจุบัน บุคคลดังกล่าวก็ยังไม่ตาย และบอกว่า เขาไม่ใช่พวกเสื้อแดง
ทั้งหมด ถูกหักล้างด้วยข้อเท็จจริงและหลักฐานภาพถ่ายทั้งสิ้น แต่เสื้อแดงในสภา ก็ยังดึงดัน เล่นตามเกมสงครามการเมืองของตนเองต่อไป ไม่หยุดหย่อน โดยใช้เวทีรัฐสภาเป็นสมรภูมิของพวกตนเอง
5. ข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อก้าวข้ามวิกฤติการเมืองในขณะนี้ จะได้รับการตอบสนองและบรรลุผลสำเร็จจริงหรือไม่ ?
5.1 ก่อนปิดการประชุมรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเสนอให้วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา โดยมีประธานระฐสภาเป็นเจ้าภาพ เพื่อกำหนดคณะกรรมการที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ ทำหน้าที่ประมวล และแสวงหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งหมดอีกครั้ง
หวังว่า จะได้ข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน แม้ว่าในการประชุมที่ผ่านมานั้น ความจริงจะปรากฏค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ฝ่ายที่โกหกคือ ส.ส.เสื้อแดงในสภา
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับกรณีการสลายการชุมนุม 7 ตุลา ซึ่งมีคนบาดเจ็บล้มตาย รัฐบาลสมชายใช้วิธีตั้งคณะกรรมการเอง โดยไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเช่นนี้ ก็จะเห็นว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์มีความจริงใจมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
5.2 นายกฯ อภิสิทธิ์ยังได้เสนอให้ประธานรัฐสภาและวิป 3 ฝ่าย มีการพิจารณาตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเสนอการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่อไปด้วย
ประเด็นที่ควรต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้น คือ
(1) ปัญหาความแตกแยกจลาจลที่ประเทศชาติประสบอยู่ในขณะนี้ เกิดจากรัฐธรรมนูญ จริงหรือไม่? หรือเกิดจากการแย่งชิงอำนาจและรักษาผลประโยชน์ของตน แล้วโยนความผิดให้รัฐธรรมนูญ เสมือนว่า รัฐธรรมนูญเป็นแพะรับบาป
(2) การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรจะให้ ส.ส. หรือ ส.ว. มีบทบาทแค่ไหน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการกำหนดกติกาทางการเมืองของประเทศ
อาจจะเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ ที่ห้ามมิให้ ส.ส. ส.ว. กระทำการในเรื่องที่ตนเองมีผลประโยชน์ส่วนได้เสีย หรือไม่
(3) ก่อนจะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ควรจะต้องมีการศึกษาให้ชัดเจนเสียก่อนว่า จะปฏิรูปประเทศไทยไปในทิศทางใด ? เมื่อเห็นภาพระบบการเมืองที่พึงประสงค์ชัดเจนแล้ว จึงทำการศึกษาต่อว่า จะต้องแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นอย่างไรบ้าง จึงจะเอื้ออำนวยและทำให้เกิดระบบการเมืองอันพึงประสงค์เช่นนั้นขึ้นมาได้จริงๆ
จึงควรมีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ก่อนจะศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คล้ายๆ ตอนที่ปฏิรูปการเมืองปี 2540
ไม่เช่นนั้นแล้ว หากการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย กระทำไปโดยนักการเมือง โดยมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนของนักการเมืองด้วยกัน หรือโดยเฉพาะประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก ย่อมจะเป็นการจุดไฟความขัดแย้งครั้งใหญ่ขึ้นมาในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง
5.3 เพื่อยุติปัญหาความไม่สงบในบ้านเมืองเฉพาะหน้า นายกรัฐมนตรี “ขอร้อง” ให้ทุกฝ่ายยุติการก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ และขอให้ยุติการใช้ความรุนแรง
หากทุกฝ่ายดำเนินการตามคำร้องขอของนายกรัฐมนตรี ย่อมจะไม่เกิดสงครามกลางเมือง หรือเกิดการแบ่งแยกประชาชนภายในประเทศอย่างแน่นอน
แต่น่าคิดว่า ฝ่ายที่กำลังทำสงครามการเมืองอยู่ จะยอมรับหรือไม่ ?
ทำไมความสงบสุขของประเทศชาติ ต้องถูกคนเหล่านี้จับเป็นตัวประกัน ?
ศาสตรภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
การประชุมรัฐสภาที่ผ่านมานั้น เป็นกรณีรัฐบาลขอรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา โดยมุ่งหวังว่า จะมีการเสนอแนะทางออกให้กับวิกฤติการเมืองของประเทศ มิใช่การเปิดอภิปรายที่มุ่งจะไม่ไว้วางใจ หรือตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรง
แต่การประชุมที่เสร็จสิ้นไปนั้น คงได้เห็นกันไปแล้วว่า เป็นไปตามเจตนารมณ์เพียงใด
กลับกลายเป็นว่า เวทีรัฐสภา เป็นสมรภูมิต่อเนื่องในสงครามการเมืองของระบอบทักษิณ
1. เมื่อเสื้อแดงตกเป็จำเลยของสังคมในการชุมนุมก่อจลาจลที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ต่อต้านและรังเกียจพฤติกรรมของขบวนการเสื้อแดงอย่างที่สุด
เรียกว่า เอือมระอาเต็มทีแล้ว
ในช่วงวันที่ 11-13 เมษายน ที่เสื้อแดงก่อจลาจลป่วนกรุงนั้น ประชาชนทั่วไปเริ่มแสดงออกถึงการต่อต้าน และตอบโต้ขบวนการเสื้อแดงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำของเสื้อแดง ถึงขนาดพร้อมจะเผชิญหน้า ลุกขึ้นต่อสู้ หรือตอบโต้ขบวนการเสื้อแดงเลยก็ว่าได้
ขบวนการเสื้อแดง จึงทำลายความชอบธรรม และความน่าเชื่อถือของตัวเองไปจนป่นปี้หมดสิ้นแล้ว
ในการประชุมรัฐสภาที่ผ่านมา จึงกลายเป็นเวทีให้เสื้อแดงในสภา ใช้เป็นเครื่องมือหวังจะสร้างกระแสด้วยข้อมูลและความเท็จ เพื่อแย่งชิงประชาชน ให้มีความเห็นอกเห็นใจตนเอง
เพื่อให้ตนเป็นฝ่ายถูกกระทำ หวังพลิกกลับ ให้รัฐบาลและกองทัพตกเป็นจำเลยของสังคมแทน
การประชุมรัฐสภาที่เป็นการร้องขอของรัฐบาล กลับกลายเป็นช่องทางให้เสื้อแดงในสภาลงมือปฏิบัติการสงครามการเมืองอีกรอบหนึ่ง
2. วิธีการของเสื้อแดงในสภา พยายามจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายความชอบธรรมของรัฐบาล
แม้แต่การจงใจกล่าวเท็จ บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือใช้เวทีรัฐสภาเป็นสถานที่สำหรับโหมกระพือข่าวลือที่ขบวนการเสื้อแดงเป็นผู้กระทำการอยู่ในขณะนี้
ส.ส.พรรคเพื่อไทย พยายามอย่างยิ่งที่จะนำเสนอข้อมูล อภิปรายโน้มน้าว อ้างอิง ชี้นำหรือกล่าวหาไปทิศทางว่า ทหารฆ่าประชาชน
ถ้าจะพยายามมองในแง่ดีว่า ส.ส.พรรคเพื่อไทยอาจจะเกิดดวงตาเห็นธรรม เห็นความสูญเสียของประชาชนจากการฆาตกรรมของรัฐเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 อันเกิดจากน้ำมือและการสั่งการของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จึงรู้สึกสำนึกผิด กลับตัวกลับใจ มองเห็นคุณค่าในชีวิตของประชาชน จึงได้พยายามจะดูแลชีวิตของประชาชนในครั้งนี้ อย่างเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตาย
แต่เมื่อมองตามเนื้อผ้า จะเห็นว่า ขบวนการเสื้อแดงไม่ได้เห็นค่าชีวิตของประชาชนมากเท่ากับค่าของศพที่จะสามารถนำไปเคลื่อนไหวในทางการเมืองของตนเองต่อไป
สังเกตจากการตระเตรียมประดิษฐ์ถ้อยคำ จงใจจะใช้ในการโจมตีรัฐบาล เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล โดยการย้ำ ซ้ำๆ ถ้อยคำที่เตรียมมาอย่างเป็นขบวนการ เช่น “รัฐบาลมือเปื้อนเลือด” – “นายกอภิสิทธิ์เป็นทรราช” ฯลฯ โดยไม่ใส่ใจกับคำอธิบายและข้อเท็จจริงที่มีการเปิดเผย ชี้แจง หรือแสดงพยานหลักฐานออกมาอย่างแท้จริงในรัฐสภา
เรียกว่า เตรียมถ้อยคำมาแล้ว ยังไงก็เลยต้องใช้
ยิ่งกว่านั้น ถ้าพิจารณาพฤติกรรมของขบวนการเสื้อแดง จะเห็นว่า พยายามอย่างยิ่งที่จะกล่าวอ้างว่ามีคนตายจากน้ำมือของรัฐบาลและกลไกของรัฐ และเมื่อข้อกล่าวอ้างถูกหักล้างไปด้วยข้อเท็จจริง หรือมีการพิสูจน์ให้เห็นแจ่มชัดว่า คนเสื้อแดงที่ถูกอ้างว่าตาย แท้จริงยังไม่ตาย ขบวนการเสื้อแดงก็ไม่สนใจใยดี หรือแสดงออกให้เห็นว่าพวกตนเห็นค่าชีวิตของคนเสื้อแดงที่ตนเองกล่าวอ้างอย่างที่ควร
พูดง่ายๆ ว่า ตอนที่อ้างว่าเขาตาย แสดงอย่างกับว่าเป็นห่วงเป็นใยผู้ที่ตนกล่าวอ้างมาก แต่พอปรากฏความจริงว่า เขายังไม่ตาย กลับไม่สนใจ ไม่เป็นห่วง ไม่ดูแล ไม่เห็นค่าการยังมีชีวิตของคนเสื้อแดงเหล่านั้น อีกต่อไป
ถามว่า ประชาชนเสื้อแดงที่ถูกกล่าวอ้างว่าตายเหล่านี้ จะมีค่ากับแกนนำขบวนการเสื้อแดง เฉพาะก็ต่อเมื่อเขาเป็นศพ เท่านั้นหรือ?
สะท้อนถึงความพยายามจะทำสงครามการเมือง โดยใช้ข้อกล่าวอ้างว่ามีคนตายจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวปลุกปั่นทางการเมืองต่อไป
3. สงครามการเมืองของระบอบทักษิณในรัฐสภาที่ผ่านมานั้น สะท้อนว่า มีการตระเตรียมการ วางพล็อต วางแผนร่วมกับ ส.ส.พรรคเพื่อไทย
ยกตัวอย่าง กรณีให้ ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย อภิปรายภาพนิ่งเหตุการณ์ที่สตรีเสื้อแดง 2 คน ปะทะคำพูดและกระทบกระทั่งกับชายเสื้อยืดสีเขียวบนถนน พยายามกล่าวอ้างว่า ชายในเสื้อเขียวคือทหาร กำลังจิกผมสตรีเสื้อแดง พยายามจะลากเข้าไปหลังแนวทหารที่ยืนอยู่ ในขณะที่สตรีอีกนางหนึ่งถอดเสื้อ เหลือแต่ยกทรง
สิ่งนี้ ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทยนำมาประนามกลางสภา พร้อมกับนัดแนะ วางแผนร่วมกันกับสตรีเสื้อแดงผู้อยุ่ในภาพทั้งสองคน ให้มาปรากฏตัวอยู่ภายในอาคารรัฐสภาด้วย และทันทีที่ ส.ส.หญิงอภิปรายเสร็จ ก็เร่งรีบไปแถลงข่าวกับสื่อมวลชนทันที โดยไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ฝ่ายอื่นๆ จะแถลงออกมาแต่ประการใด
ปรากฏว่า ฝ่ายรัฐบาลได้นำเสนอคลิปวีดีโดภาพถ่ายเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นความเป็นไปของเหตุการณ์ทั้งหมด เริ่มจากสตรีเสื้อแดงทั้งสองคนเดินเข้ามาด่าสื่อมวลชนด้วยถ้อยคำหยาบคาย ชายเสื้อเขียวที่ถูกด่าว่าเพราะสตรีเสื้อแดงคิดว่าเป็นสื่อมวลชน รับไม่ได้ จึงโต้คารมกับสตรีเสื้อแดงอย่างดุเดือด ในที่สุด สตรีเสื้อแดงก็ถุยน้ำลายเหยียดหยามชายเสื้อเขียว หลังจากนั้นชายเสื้อเขียวเดินถอยหนี แต่สตรีเสื้อแดงกลับเป็นฝ่ายถลันตามเข้าไป ก่อนจะเกิดเหตุการณ์โรมรันพันตูกันสองคน จนบางจังหวะเกิดภาพถ่ายที่ชายเสื้อเขียวดึงผมสตรีเสื้อแดงปรากฏออกมา
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทหารไม่ได้ทำร้ายหญิงเสื้อแดงเลย ตรงกันข้าม กลับมีเสียงพยายามบอกชายเสื้อเขียว (ซึ่งไม่ใช่ทหาร) ว่าอย่าทำร้ายผู้หญิง
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ แทบไม่ต้องอธิบาย เพราะปรากฏหลักฐานเป็นภาพวีดีโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อธิบายตัวเองเสร็จสรรพ แต่ ส.ส.หญิงเพื่อไทยก็ไม่สนใจ รีบพาหญิงเสื้อแดงไปแถลงข่าวทันที เพื่อหวังจะใช้สื่อมวลชนขยายประเด็นของตนเองต่อไปอีก
แม้แต่โฆษกของพรรค ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ถึงกับนัดหมาย เตรียมกันมาแถลงข่าวอีกด้วย แต่แล้ว สื่อมวลชนกลับรู้ทัน เพราะสื่อมวลชนจำนวนมากอยู่ในเหตุการณ์ของสตรีเสื้อแดงสองคนนั้นโดยตลอด ทราบว่าข้อเท็จจริงในที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร สื่อถึงกับตั้งคำถามกลับไปยัง ส.ส.หญิงเพื่อไทยคนดังกล่าวว่า ทำไมไม่ฟังข้อมูล คำชี้แจงของฝ่ายอื่นๆ ในสภา รวมทั้งคำอธิบายจากรัฐบาลเสียก่อน
สะท้อนว่า เสื้อแดงในสภาไม่ได้พยายามใช้เวทีรัฐสภาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง มากเท่ากับจะใช้เป็นช่องทางปลุกระดมของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง
และเมื่อไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง ความคาดหวังเรื่องจะได้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็ย่อมจะสิ้นหวัง
4. กรณีอื่นๆ ก็มีการอภิปรายชี้แจงกันในสภา เช่น กรณีรถแก๊สที่ดินแดง, กรณีศพ รปภ.ถูกฆ่าทิ้งน้ำ หรือกรณีคนขับรถเมล์ที่ถูกทหารควบคุมตัว ฯลฯ ทั้งหมด ล้วนแต่ถูกขบวนการเสื้อแดงนำมากล่าวอ้าง บิดเบือนข้อมูล เพื่อแก้ตัว และมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
อ้างว่า เสื้อแดงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุรถแก๊ส โดยนำภาพนิ่งมาเสนอในสภา บอกว่าไม่มีคนเสื้อแดงอยู่ในภาพ ทั้งๆ ที่ ภาพข่าวทุกสำนัก ปรากฏคนเสื้อแดงยึดรถแก๊สมาก่อการดัวกล่าวอย่างเปิดเผย และเชื่อมโยงกับคำสั่งการของแกนนำบนเวทีเสื้อแดง
อ้างว่า รปภ.ที่ถูกพบศพ เป็นคนเสื้อแดงที่ตายด้วยน้ำมือของทหาร ทั้งๆ ที่ ภรรยาของผู้ตายยืนยันว่า ผู้ตายไม่ใช่พวกเสื้อแดง และยังมีชีวิตอยู่จนถึงตีสองของวันที่ 14 เม.ย. 2552 ซึ่งทหารไม่ได้มีการปฏิบัติการใดๆ แล้ว
อ้างว่า คนขับรถเมล์ถูกทหารยิงตาย แล้วลากศพไปด้วย ทั้งๆ ที่ภาพบันทึกเหตุการณ์จากสื่อมวลชน เห็นชัดว่า คนขับรถเมล์ถูกตีด้วยกระบองล้มลง จากนั้น ทหารก็ควบคุมตัวไป และปัจจุบัน บุคคลดังกล่าวก็ยังไม่ตาย และบอกว่า เขาไม่ใช่พวกเสื้อแดง
ทั้งหมด ถูกหักล้างด้วยข้อเท็จจริงและหลักฐานภาพถ่ายทั้งสิ้น แต่เสื้อแดงในสภา ก็ยังดึงดัน เล่นตามเกมสงครามการเมืองของตนเองต่อไป ไม่หยุดหย่อน โดยใช้เวทีรัฐสภาเป็นสมรภูมิของพวกตนเอง
5. ข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อก้าวข้ามวิกฤติการเมืองในขณะนี้ จะได้รับการตอบสนองและบรรลุผลสำเร็จจริงหรือไม่ ?
5.1 ก่อนปิดการประชุมรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเสนอให้วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา โดยมีประธานระฐสภาเป็นเจ้าภาพ เพื่อกำหนดคณะกรรมการที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ ทำหน้าที่ประมวล และแสวงหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งหมดอีกครั้ง
หวังว่า จะได้ข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน แม้ว่าในการประชุมที่ผ่านมานั้น ความจริงจะปรากฏค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ฝ่ายที่โกหกคือ ส.ส.เสื้อแดงในสภา
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับกรณีการสลายการชุมนุม 7 ตุลา ซึ่งมีคนบาดเจ็บล้มตาย รัฐบาลสมชายใช้วิธีตั้งคณะกรรมการเอง โดยไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการเช่นนี้ ก็จะเห็นว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์มีความจริงใจมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
5.2 นายกฯ อภิสิทธิ์ยังได้เสนอให้ประธานรัฐสภาและวิป 3 ฝ่าย มีการพิจารณาตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเสนอการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่อไปด้วย
ประเด็นที่ควรต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้น คือ
(1) ปัญหาความแตกแยกจลาจลที่ประเทศชาติประสบอยู่ในขณะนี้ เกิดจากรัฐธรรมนูญ จริงหรือไม่? หรือเกิดจากการแย่งชิงอำนาจและรักษาผลประโยชน์ของตน แล้วโยนความผิดให้รัฐธรรมนูญ เสมือนว่า รัฐธรรมนูญเป็นแพะรับบาป
(2) การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรจะให้ ส.ส. หรือ ส.ว. มีบทบาทแค่ไหน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการกำหนดกติกาทางการเมืองของประเทศ
อาจจะเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ ที่ห้ามมิให้ ส.ส. ส.ว. กระทำการในเรื่องที่ตนเองมีผลประโยชน์ส่วนได้เสีย หรือไม่
(3) ก่อนจะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ควรจะต้องมีการศึกษาให้ชัดเจนเสียก่อนว่า จะปฏิรูปประเทศไทยไปในทิศทางใด ? เมื่อเห็นภาพระบบการเมืองที่พึงประสงค์ชัดเจนแล้ว จึงทำการศึกษาต่อว่า จะต้องแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นอย่างไรบ้าง จึงจะเอื้ออำนวยและทำให้เกิดระบบการเมืองอันพึงประสงค์เช่นนั้นขึ้นมาได้จริงๆ
จึงควรมีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ก่อนจะศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คล้ายๆ ตอนที่ปฏิรูปการเมืองปี 2540
ไม่เช่นนั้นแล้ว หากการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย กระทำไปโดยนักการเมือง โดยมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนของนักการเมืองด้วยกัน หรือโดยเฉพาะประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก ย่อมจะเป็นการจุดไฟความขัดแย้งครั้งใหญ่ขึ้นมาในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง
5.3 เพื่อยุติปัญหาความไม่สงบในบ้านเมืองเฉพาะหน้า นายกรัฐมนตรี “ขอร้อง” ให้ทุกฝ่ายยุติการก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ และขอให้ยุติการใช้ความรุนแรง
หากทุกฝ่ายดำเนินการตามคำร้องขอของนายกรัฐมนตรี ย่อมจะไม่เกิดสงครามกลางเมือง หรือเกิดการแบ่งแยกประชาชนภายในประเทศอย่างแน่นอน
แต่น่าคิดว่า ฝ่ายที่กำลังทำสงครามการเมืองอยู่ จะยอมรับหรือไม่ ?
ทำไมความสงบสุขของประเทศชาติ ต้องถูกคนเหล่านี้จับเป็นตัวประกัน ?