วิเคราะห์ หน้า 2
แม้นาทีนี้จะยังไม่อาจเดาใจ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะว่ามีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร สำหรับแนวทางการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะให้ระดมความคิดเห็น และในเบื้องต้นตั้งเป็นคณะกรรมการสามฝ่ายจากนิติบัญญัติ คือฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภาให้สรุปประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดยให้สรุปความเห็นแล้วเสนอมา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหากันให้รอบด้านต่อไป
แม้ว่าในทางปฏิบัติยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายขึ้นมา อีกทั้งยังไม่มีท่าทีชัดเจนจากฝ่ายค้าน คือ พรรคเพื่อไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร แต่เท่าที่ฟังดูและนำมาประมวลจับใจความในเบื้องต้นก็คือ ฝ่ายการเมืองจำนวนไม่น้อยมีความประสงค์จะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตรา
ขณะเดียวกันยังเลยเถิดไปจนถึงการให้นิรโทษกรรมความผิดของบรรดานักการเมือง ซึ่งถ้าพูดให้ตรงไปตรงมาก็คือ ให้ยกเลิกความผิดของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคทั้ง 220 คน (111+109 คน) โดยอ้างว่า เพื่อความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้ นำทุกฝ่ายเข้ามาระดมสมอง ไม่มีการแบ่งแยกกันอีกต่อไป
ฟังดูเผินๆ ก็ชวนเคลิบเคลิ้ม ไม่น่าจะปฏิเสธกันได้เลย
แต่หากตั้งสติให้ดีแล้วพิจารณาอย่างมีเหตุผลแล้วรับรองว่า ไม่สมควรสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 เลยแม้แต่มาตราเดียว
ที่ผ่านมาหากติดตามการเมืองในบ้านเราจะพบว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้การเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ได้เดินหน้าอย่างยั่งยืน และเป็นระบบ มีแต่การฉ้อฉล หาประโยชน์จากงบประมาณ จนนับวันยิ่งล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านลงไปเรื่อยๆ และสิ่งสำคัญก็คือ ระบบการเมือง หรือนักการเมืองไร้จริยธรรม และการบริหารโดยขาดธรรมาภิบาล
ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จึงเข้มงวดในเรื่องการควบคุมดูแลนักการเมือง และให้การบริหารของพรรคการเมืองต้องมีธรรมาภิบาล จึงต้องใช้ “ยาแรง” เข้ามา แต่กลับกลายเป็นว่านักการเมืองชั่ว นักการเมืองที่ตลอดชีวิตเติบโตมาจากการฉ้อฉล หากินกับงบประมาณ การแทรกแซงข้าราชการประจำ เล่นพรรคเล่นพวก กลับคิดจะมาแก้ไขกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อลบล้างความผิดของตัวเอง
เป้าหมายมีแค่นี้จริงๆ !!
เพราะถ้าดูเจตนาที่นักการเมือง และพรรคการเมืองหลายพรรคแสดงท่าทีออกมาก็พอสรุปได้ว่ามีไม่กี่มาตราที่จะแก้ไข เช่น มาตรา 190 ที่ปัจจุบันห้ามไม่ให้รัฐบาลไปทำสัญญากับต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง อาณาเขต ทางด้านเศรษฐกิจแบบมีนัยสำคัญ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ขายสมบัติชาติ ขายอธิปไตย (กรณีเขาพระวิหาร) หรือกรณีงุบงิบทำเอฟทีเอ ทำให้ประเทศเสียเปรียบ
มาตรา 237 ที่เกี่ยวกับความผิดจากการทุจริตเลือกตั้ง ทำให้ต้องถูกยุบพรรคและกรรมการบริหารพรรคต้องถูกตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปี หลายคนมักจะอ้างว่า ตัวเองไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องโดนไปด้วย ก็อยากถามกลับว่ากฎหมายหรือข้อห้ามดังกล่าวมีกำหนดเอาไว้ชัดเจนล่วงหน้า ว่าถ้าผิดแบบนี้ก็ต้องถูกยุบพรรค ถูกตัดสิทธิ์ แต่ก็ยังฝ่าฝืน เมื่อถูกจับได้ต้องเชือด มันก็ถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือ
และถ้าอ้างว่าตัวเองไม่เกี่ยวเป็นการงุบงิบกันภายในไม่กี่คนก็ต้องไปไล่เบี้ยกันเอง เพราะการเป็นพรรค ถ้ากรรมการบริหารคนอื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้รับรู้ ก็ไม่สมควรดำรงตำแหน่ง
มาตรา 266 ที่ห้ามไม่ให้ ส.ส.เข้าไปก้าวก่าย การทำงานของข้าราชการประจำ ซึ่งก็ไม่เห็นแปลกเพราะ ส.ส.ตามหลักสากลก็ต้องทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ออกกฎหมาย ตรวจสอบฝ่ายบริหาร ไม่มีหน้าที่ไปจุ้นจนระบบราชการรวนไปหมด
มาตรา 309 ที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งของ คปค. หลังการยึดอำนาจ โดยเฉพาะการตั้งองค์กรอิสระหลายองค์กร ซึ่งบางพรรคต้องการให้ตัดทิ้ง หรือแก้ไข เจตนาก็ดูไม่ยาก คือเพื่อลบล้างความผิดเกี่ยวกับคดีทุจริต ต่างๆ ทั้งในเรื่องคดียุบพรรค คดีที่เกี่ยวกับการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) หรืออีกมาตรา ที่ต้องการให้มีการย้อนกลับไปใช้วิธีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว เพราะเชื่อว่า เมื่อใช้วิธีแบบนี้แล้วตัวเองจะได้เปรียบ
สรุปก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นความต้องการของพวกนักการเมือง ขี้ฉ้อ เขี้ยวลากดินล้วนๆ ที่ตลอดชีวิตทางการเมืองล้วนหาผลประโยชน์จากการเมืองเป็นนักการเมือง เป็น ส.ส.มาทั้งสิ้น ขณะที่สังคม หรือประชาชนไม่ได้อะไรเลย ในทางตรงข้ามมีแต่เสียประโยชน์ หากรัฐธรรมนูญหรือกติกาถูกแก้ไขตามที่คนกลุ่มนี้ต้องการ
หลายคนตั้งคำถามว่า ขนาดมีกฎหมายห้าม หรือใช้ “ยาแรง” แบบนี้ บ้านเมืองยังแทบยับเยิน ถ้ากลับไปเป็นเหมือนเดิมมันจะขนาดไหน ลองหลับตานึกเดาเอาเอง
ที่อ้างว่าจะสมานฉันท์ นั้นก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เนื่องจากความผิดต่างๆ ของนักการเมืองถูกตัดสินโดยศาลยุติธรรม หากตัวเองถูกตัดสินลงโทษแล้วไม่สำนึก แถมยังพยายามแก้ไขกฎหมายเพื่อล้างความผิด ก็ไม่น่าจะมีใครยอมรับได้แน่นอน
สำคัญที่สุดประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองอีกรอบ เพราะมีคนที่ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก และแม้ไม่อยากมองในแง่ร้าย แต่ช่วยไม่ได้ที่อาจต้องดักคอไว้ล่วงหน้าว่า นี่อาจเป็นแผนทำให้เกิดความปั่นป่วนสำหรับ “กลุ่มอำนาจ” ที่รอจังหวะเข้ามากวาดล้าง แล้วชุบมือเปิบอีกครั้ง หลังประสบความล้มเหลวมาสองสามครั้งในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้นก็ต้องเตือนนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ระวังกับดักอำมหิตเหล่านี้เอาไว้ด้วย เพราะการสมานฉันท์ที่ดีที่สุดคือ การยึดหลักกฎหมาย ใครถูก-ผิด ว่ากันไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ นั่นแหละคือแนวทางที่ถูกต้อง ถูกทางแล้ว อย่าเขวเป็นอันขาด !!
แม้นาทีนี้จะยังไม่อาจเดาใจ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะว่ามีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร สำหรับแนวทางการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะให้ระดมความคิดเห็น และในเบื้องต้นตั้งเป็นคณะกรรมการสามฝ่ายจากนิติบัญญัติ คือฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภาให้สรุปประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดยให้สรุปความเห็นแล้วเสนอมา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหากันให้รอบด้านต่อไป
แม้ว่าในทางปฏิบัติยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายขึ้นมา อีกทั้งยังไม่มีท่าทีชัดเจนจากฝ่ายค้าน คือ พรรคเพื่อไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร แต่เท่าที่ฟังดูและนำมาประมวลจับใจความในเบื้องต้นก็คือ ฝ่ายการเมืองจำนวนไม่น้อยมีความประสงค์จะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตรา
ขณะเดียวกันยังเลยเถิดไปจนถึงการให้นิรโทษกรรมความผิดของบรรดานักการเมือง ซึ่งถ้าพูดให้ตรงไปตรงมาก็คือ ให้ยกเลิกความผิดของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคทั้ง 220 คน (111+109 คน) โดยอ้างว่า เพื่อความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้ นำทุกฝ่ายเข้ามาระดมสมอง ไม่มีการแบ่งแยกกันอีกต่อไป
ฟังดูเผินๆ ก็ชวนเคลิบเคลิ้ม ไม่น่าจะปฏิเสธกันได้เลย
แต่หากตั้งสติให้ดีแล้วพิจารณาอย่างมีเหตุผลแล้วรับรองว่า ไม่สมควรสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 เลยแม้แต่มาตราเดียว
ที่ผ่านมาหากติดตามการเมืองในบ้านเราจะพบว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้การเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ได้เดินหน้าอย่างยั่งยืน และเป็นระบบ มีแต่การฉ้อฉล หาประโยชน์จากงบประมาณ จนนับวันยิ่งล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านลงไปเรื่อยๆ และสิ่งสำคัญก็คือ ระบบการเมือง หรือนักการเมืองไร้จริยธรรม และการบริหารโดยขาดธรรมาภิบาล
ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จึงเข้มงวดในเรื่องการควบคุมดูแลนักการเมือง และให้การบริหารของพรรคการเมืองต้องมีธรรมาภิบาล จึงต้องใช้ “ยาแรง” เข้ามา แต่กลับกลายเป็นว่านักการเมืองชั่ว นักการเมืองที่ตลอดชีวิตเติบโตมาจากการฉ้อฉล หากินกับงบประมาณ การแทรกแซงข้าราชการประจำ เล่นพรรคเล่นพวก กลับคิดจะมาแก้ไขกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อลบล้างความผิดของตัวเอง
เป้าหมายมีแค่นี้จริงๆ !!
เพราะถ้าดูเจตนาที่นักการเมือง และพรรคการเมืองหลายพรรคแสดงท่าทีออกมาก็พอสรุปได้ว่ามีไม่กี่มาตราที่จะแก้ไข เช่น มาตรา 190 ที่ปัจจุบันห้ามไม่ให้รัฐบาลไปทำสัญญากับต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง อาณาเขต ทางด้านเศรษฐกิจแบบมีนัยสำคัญ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ขายสมบัติชาติ ขายอธิปไตย (กรณีเขาพระวิหาร) หรือกรณีงุบงิบทำเอฟทีเอ ทำให้ประเทศเสียเปรียบ
มาตรา 237 ที่เกี่ยวกับความผิดจากการทุจริตเลือกตั้ง ทำให้ต้องถูกยุบพรรคและกรรมการบริหารพรรคต้องถูกตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปี หลายคนมักจะอ้างว่า ตัวเองไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องโดนไปด้วย ก็อยากถามกลับว่ากฎหมายหรือข้อห้ามดังกล่าวมีกำหนดเอาไว้ชัดเจนล่วงหน้า ว่าถ้าผิดแบบนี้ก็ต้องถูกยุบพรรค ถูกตัดสิทธิ์ แต่ก็ยังฝ่าฝืน เมื่อถูกจับได้ต้องเชือด มันก็ถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือ
และถ้าอ้างว่าตัวเองไม่เกี่ยวเป็นการงุบงิบกันภายในไม่กี่คนก็ต้องไปไล่เบี้ยกันเอง เพราะการเป็นพรรค ถ้ากรรมการบริหารคนอื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้รับรู้ ก็ไม่สมควรดำรงตำแหน่ง
มาตรา 266 ที่ห้ามไม่ให้ ส.ส.เข้าไปก้าวก่าย การทำงานของข้าราชการประจำ ซึ่งก็ไม่เห็นแปลกเพราะ ส.ส.ตามหลักสากลก็ต้องทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ออกกฎหมาย ตรวจสอบฝ่ายบริหาร ไม่มีหน้าที่ไปจุ้นจนระบบราชการรวนไปหมด
มาตรา 309 ที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งของ คปค. หลังการยึดอำนาจ โดยเฉพาะการตั้งองค์กรอิสระหลายองค์กร ซึ่งบางพรรคต้องการให้ตัดทิ้ง หรือแก้ไข เจตนาก็ดูไม่ยาก คือเพื่อลบล้างความผิดเกี่ยวกับคดีทุจริต ต่างๆ ทั้งในเรื่องคดียุบพรรค คดีที่เกี่ยวกับการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) หรืออีกมาตรา ที่ต้องการให้มีการย้อนกลับไปใช้วิธีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว เพราะเชื่อว่า เมื่อใช้วิธีแบบนี้แล้วตัวเองจะได้เปรียบ
สรุปก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นความต้องการของพวกนักการเมือง ขี้ฉ้อ เขี้ยวลากดินล้วนๆ ที่ตลอดชีวิตทางการเมืองล้วนหาผลประโยชน์จากการเมืองเป็นนักการเมือง เป็น ส.ส.มาทั้งสิ้น ขณะที่สังคม หรือประชาชนไม่ได้อะไรเลย ในทางตรงข้ามมีแต่เสียประโยชน์ หากรัฐธรรมนูญหรือกติกาถูกแก้ไขตามที่คนกลุ่มนี้ต้องการ
หลายคนตั้งคำถามว่า ขนาดมีกฎหมายห้าม หรือใช้ “ยาแรง” แบบนี้ บ้านเมืองยังแทบยับเยิน ถ้ากลับไปเป็นเหมือนเดิมมันจะขนาดไหน ลองหลับตานึกเดาเอาเอง
ที่อ้างว่าจะสมานฉันท์ นั้นก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เนื่องจากความผิดต่างๆ ของนักการเมืองถูกตัดสินโดยศาลยุติธรรม หากตัวเองถูกตัดสินลงโทษแล้วไม่สำนึก แถมยังพยายามแก้ไขกฎหมายเพื่อล้างความผิด ก็ไม่น่าจะมีใครยอมรับได้แน่นอน
สำคัญที่สุดประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองอีกรอบ เพราะมีคนที่ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก และแม้ไม่อยากมองในแง่ร้าย แต่ช่วยไม่ได้ที่อาจต้องดักคอไว้ล่วงหน้าว่า นี่อาจเป็นแผนทำให้เกิดความปั่นป่วนสำหรับ “กลุ่มอำนาจ” ที่รอจังหวะเข้ามากวาดล้าง แล้วชุบมือเปิบอีกครั้ง หลังประสบความล้มเหลวมาสองสามครั้งในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้นก็ต้องเตือนนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ระวังกับดักอำมหิตเหล่านี้เอาไว้ด้วย เพราะการสมานฉันท์ที่ดีที่สุดคือ การยึดหลักกฎหมาย ใครถูก-ผิด ว่ากันไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ นั่นแหละคือแนวทางที่ถูกต้อง ถูกทางแล้ว อย่าเขวเป็นอันขาด !!