ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์กรุงเทพยันไม่ปรับเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำลูกค้าสินเชื่อบ้านและไม่ได้เข้มงวดปล่อยกู้มากขึ้น คุยสินเชื่อบ้านไตรมาแรกไปได้ดี ด้านกสิกรฯยันสินเชื่อปีนี้ยังโตได้ 5-6% ขณะที่เอ็นพีแอล 3 เดือนแรกยังไม่น่าห่วง ระบุขณะนี้สภาพคล่องส่วนเกินล้น1 ล้านล้าน หลังแบงก์คุมเข้มปล่อยกู้
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าธุรกิจบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ในขณะนี้ธนาคารยังไม่ได้ทำการปรับเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำต่อเดือนของลูกค้าที่มายื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยแต่อย่างใด โดยยังคงไว้ที่ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน แม้ว่าสภาวะทางเศรษฐกิจจะมีการชะลอตัวลงก็ตาม เนื่องจากธนาคารจะดูถึงความสามารถในการชำระหนี้มากกว่า เพราะลูกค้าบางรายถึงแม้จะมีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็พบว่ามีส่วนที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ธนาคารยืนยันว่าไม่ได้มีความเข้มงวดในการปล่อยกู้ไปมากขึ้น แต่ยังคงเป็นมาตรฐานเดิมของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่มีความระมัดระวังมากตั้งแต่การเริ่มให้บริการ เพราะต้องการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในอนาคต
สำหรับยอดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาก็ถือว่าดี โดยยอดการปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 6,000-7,000 ล้านบาท แต่ยอดการเติบโตสุทธิมีไม่มากนัก เนื่องจากธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ออกไปมากพอสมควรและก็มีลูกค้าชำระหนี้คืนกลับมามากเช่นกัน ส่งผลให้ยอดการเติบโตสินเชื่อสุทธิไตรมาส 1 ยังมีไม่มาก จากเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งปี 2552 นี้ธนาคารตั้งไว้ที่ 7-8% หรือคิดเป็นมูลค่าการปล่อยใหม่จะอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท
"เรายินดีที่จะปล่อยสินเชื่ออยู่แล้ว ส่วนเรื่องการสกรีนลูกค้าที่มาขอสินเชื่อธนาคารก็ทำมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะเพิ่มความเข้มงวด แต่เมื่อเศรษฐกิจในปัจจุบันย่ำแย่ธนาคารเราก็ต้องระวังมากขึ้น
กสิกรฯคาดสินเชื่อโตได้5-6%
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้เติบโต 5-6% จากปีก่อน โดยแบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโตประมาณ 6% เนื่องจากมองว่าความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีความต้องการคงที่ 60,000-70,000 ยูนิตต่อปี อีกทั้งผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่อยู่ในประเทศเป็นพนักงานที่มีรายได้ประจำ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลนั้น น่าจะมีอัตราการเติบโตในรถดับ 20% โดยการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวจะต้องมีการพิจารณาอย่างเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเสี่ยงที่จะขอสินเชื่อได้ยากขึ้น
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปีนี้ทั้งระบบคาดอยู่ที่ 4% โดยช่วง 3 เดือนแรกปีนี้อยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง โดยธนาคารมี NPL ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วง 3 เดือนแรกขยับขึ้นเล็กน้อยจาก 1.8% เพิ่มเป็น 2.1% และ NPL ลูกค้าบัตรเครดิตอยู่ที่ 5%
"ประเมินว่าปัจจุบันมียอดสินเชื่อทั้งระบบที่ยังไม่ได้ปล่อยอีกจำนวน 1 ล้านล้านบาท หลังจากสถาบันการเงินมีการระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นจึงทำให้สภาพคล่องของทั้งระบบมีจำนวนมาก โดยประเมินว่าอุตสาหกรรมที่ยังมีศักยภาพที่จะเติบโต ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแถบภูเก็ต เกาะสมุย พัทยา และอันดามัน ที่มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้เร็ว ขณะที่ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์แม้จะมีความเสี่ยงจากภาวะผลกระทบของเศรษฐกิจแต่ยังมีผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีศักยภาพที่จะเติบโตได้"นายชาติชายกล่าว.
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าธุรกิจบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ในขณะนี้ธนาคารยังไม่ได้ทำการปรับเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำต่อเดือนของลูกค้าที่มายื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยแต่อย่างใด โดยยังคงไว้ที่ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน แม้ว่าสภาวะทางเศรษฐกิจจะมีการชะลอตัวลงก็ตาม เนื่องจากธนาคารจะดูถึงความสามารถในการชำระหนี้มากกว่า เพราะลูกค้าบางรายถึงแม้จะมีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็พบว่ามีส่วนที่ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ธนาคารยืนยันว่าไม่ได้มีความเข้มงวดในการปล่อยกู้ไปมากขึ้น แต่ยังคงเป็นมาตรฐานเดิมของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่มีความระมัดระวังมากตั้งแต่การเริ่มให้บริการ เพราะต้องการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในอนาคต
สำหรับยอดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาก็ถือว่าดี โดยยอดการปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 6,000-7,000 ล้านบาท แต่ยอดการเติบโตสุทธิมีไม่มากนัก เนื่องจากธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ออกไปมากพอสมควรและก็มีลูกค้าชำระหนี้คืนกลับมามากเช่นกัน ส่งผลให้ยอดการเติบโตสินเชื่อสุทธิไตรมาส 1 ยังมีไม่มาก จากเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งปี 2552 นี้ธนาคารตั้งไว้ที่ 7-8% หรือคิดเป็นมูลค่าการปล่อยใหม่จะอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท
"เรายินดีที่จะปล่อยสินเชื่ออยู่แล้ว ส่วนเรื่องการสกรีนลูกค้าที่มาขอสินเชื่อธนาคารก็ทำมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะเพิ่มความเข้มงวด แต่เมื่อเศรษฐกิจในปัจจุบันย่ำแย่ธนาคารเราก็ต้องระวังมากขึ้น
กสิกรฯคาดสินเชื่อโตได้5-6%
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้เติบโต 5-6% จากปีก่อน โดยแบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโตประมาณ 6% เนื่องจากมองว่าความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีความต้องการคงที่ 60,000-70,000 ยูนิตต่อปี อีกทั้งผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่อยู่ในประเทศเป็นพนักงานที่มีรายได้ประจำ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลนั้น น่าจะมีอัตราการเติบโตในรถดับ 20% โดยการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวจะต้องมีการพิจารณาอย่างเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเสี่ยงที่จะขอสินเชื่อได้ยากขึ้น
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปีนี้ทั้งระบบคาดอยู่ที่ 4% โดยช่วง 3 เดือนแรกปีนี้อยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง โดยธนาคารมี NPL ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วง 3 เดือนแรกขยับขึ้นเล็กน้อยจาก 1.8% เพิ่มเป็น 2.1% และ NPL ลูกค้าบัตรเครดิตอยู่ที่ 5%
"ประเมินว่าปัจจุบันมียอดสินเชื่อทั้งระบบที่ยังไม่ได้ปล่อยอีกจำนวน 1 ล้านล้านบาท หลังจากสถาบันการเงินมีการระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นจึงทำให้สภาพคล่องของทั้งระบบมีจำนวนมาก โดยประเมินว่าอุตสาหกรรมที่ยังมีศักยภาพที่จะเติบโต ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแถบภูเก็ต เกาะสมุย พัทยา และอันดามัน ที่มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้เร็ว ขณะที่ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์แม้จะมีความเสี่ยงจากภาวะผลกระทบของเศรษฐกิจแต่ยังมีผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีศักยภาพที่จะเติบโตได้"นายชาติชายกล่าว.