แบงก์ไทยพาณิชย์ ยึดกลยุทธ์พี่เลี้ยงประกบลูกค้าเอสเอ็มอีรายเดิม หวั่นพิษเศรษฐกิจกระทบกลายเป็นหนี้เน่า ตั้งเป้าเสียไม่เกินร้อยละ 5 แนะเอสเอ็มอีเลี่ยงลงทุนสินทรัพย์ถาวร ควรมีเงินสดหมุนเวียนสำรองในภาวะฉุนเฉิน ระบุวิกฤตปี 40 ช่วยให้ผปก.ไทย ปรับตัวได้ดีขึ้น
นายวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กลุ่มลูกค้าธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ (2552) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากสภาพคล่องที่ลดลงจากตลาดการค้าที่หดตัว และยังต้องเผชิญความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ภาวะดอกเบี้ย และการแข่งขันที่รุนแรง ธนาคารไทยพาณิชย์จึงใช้กลยุทธ์ดูแลกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีรายเดิมที่มีราว 30,000 ราย ไม่ให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ด้วยการเข้าเป็นดูแลแบบพันธมิตร ไม่ใช่เป็นเพียงเจ้าหนี้ โดยจะให้ทั้งคำปรึกษา ส่งข้อมูลที่จำเป็นทางธุรกิจให้แบบออนไลน์ ยืดเวลาการชำระหนี้ และเติมสภาพคล่องให้บางส่วน รวมถึงสร้างเครือข่ายการค้าภายในกลุ่ม เพื่อเป็นตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิม เพื่อควบคุมเอ็นพีแอลไม่ให้เกินร้อยละ 5 โดยจะเน้นกลุ่มธุรกิจโรงแรม รถยนต์ และผู้ส่งออก เป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเอ็นพีแอลสูง
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า ในภาวะเช่นนี้ เอสเอ็มอีควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เนื่องจากกระแสเงินสดถือว่าสำคัญที่สุด และไม่ควรสตอกสินค้ามากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ภายใต้วิกฤติครั้งนี้พบว่า เอสเอ็มอีเริ่มเรียนรู้การใช้เงินที่กู้ยืมจากธนาคารได้คุ้มค่า ต่างจากวิกฤติปี 2540 ที่ทำธุรกิจโดยเน้นกู้เงินจนเกิดปัญหา จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีของผู้ประกอบการที่ได้เรียนรู้บทเรียนในอดีต
ทั้งนี้ ในส่วนลูกค้าใหม่ ไทยพาณิชย์จะปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น โดยจะเป็นการปล่อยกู้อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันว่า ธนาคารยังมีนโยบายปล่อยสินเชื่อรายใหม่ ไม่ได้หยุดการปล่อยสินเชื่อแต่อย่างใด แต่ก็ประเมินว่า เอ็นพีแอลโดยรวมในปีนี้ จะสูงกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน
นายวิวัฒน์ กิตติพงศ์โกศล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กลุ่มลูกค้าธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ (2552) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากสภาพคล่องที่ลดลงจากตลาดการค้าที่หดตัว และยังต้องเผชิญความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ภาวะดอกเบี้ย และการแข่งขันที่รุนแรง ธนาคารไทยพาณิชย์จึงใช้กลยุทธ์ดูแลกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีรายเดิมที่มีราว 30,000 ราย ไม่ให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ด้วยการเข้าเป็นดูแลแบบพันธมิตร ไม่ใช่เป็นเพียงเจ้าหนี้ โดยจะให้ทั้งคำปรึกษา ส่งข้อมูลที่จำเป็นทางธุรกิจให้แบบออนไลน์ ยืดเวลาการชำระหนี้ และเติมสภาพคล่องให้บางส่วน รวมถึงสร้างเครือข่ายการค้าภายในกลุ่ม เพื่อเป็นตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิม เพื่อควบคุมเอ็นพีแอลไม่ให้เกินร้อยละ 5 โดยจะเน้นกลุ่มธุรกิจโรงแรม รถยนต์ และผู้ส่งออก เป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเอ็นพีแอลสูง
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า ในภาวะเช่นนี้ เอสเอ็มอีควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เนื่องจากกระแสเงินสดถือว่าสำคัญที่สุด และไม่ควรสตอกสินค้ามากเกินไป
อย่างไรก็ตาม ภายใต้วิกฤติครั้งนี้พบว่า เอสเอ็มอีเริ่มเรียนรู้การใช้เงินที่กู้ยืมจากธนาคารได้คุ้มค่า ต่างจากวิกฤติปี 2540 ที่ทำธุรกิจโดยเน้นกู้เงินจนเกิดปัญหา จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีของผู้ประกอบการที่ได้เรียนรู้บทเรียนในอดีต
ทั้งนี้ ในส่วนลูกค้าใหม่ ไทยพาณิชย์จะปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น โดยจะเป็นการปล่อยกู้อย่างเคร่งครัด พร้อมยืนยันว่า ธนาคารยังมีนโยบายปล่อยสินเชื่อรายใหม่ ไม่ได้หยุดการปล่อยสินเชื่อแต่อย่างใด แต่ก็ประเมินว่า เอ็นพีแอลโดยรวมในปีนี้ จะสูงกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอน