ASTVผู้จัดการรายวัน - 5 หอการค้าต่างชาติถกคลัง ร่วมขจัดอุปสรรคการค้า-การลงทุน เน้นมาตรการภาษีศุลกากร รมช.ประดิษฐ์รับลูกตั้งคณะทำงานเร่งสรุปใน 3-6 เดือน เล็งยึดตามรูปแบบสิงคโปร์ ผลสำรวจ ม.หอการค้าพบเอกชนให้คะแนนมาร์คแก้ปัญหาเศรษฐกิจแค่ 6.3 จากคะแนนเต็ม 10 ส่วนใหญ่เชื่อจีดีพีลบ 3-4% โหร "ธนวรรธน์" ไม่ยอมน้อยหน้าแบงก์ชาติ ทำนายจีดีพีติดลบ 5.3%
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับหอการค้าต่างประเทศในไทย ทั้งหอการค้าอินเดีย ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ และอเมริกัน ซึ่งล้วนเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยว่า ส่วนใหญ่ยังต้องการให้ไทยเป็นฐานในการลงทุน แต่ต้องการให้ไทยขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดคามสามารถให้ผู้ส่งออกด้วย โดยเฉพาะการบริการของศุลกากร ทั้งด้านกฎระเบียบ พิธีการทางศุลกากรและการคืนภาษีเพื่อช่วยสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกในช่วงที่ออเดอร์ลดลง จึงจะตั้งคณะทำงานโดยมีตัวแทนจากหลายหน่วยงานภายใน 4-6 สัปดาห์นี้ เพื่อประชุมได้ภายใน 1-2 เดือนและคาดว่าภายใน 3-6 เดือนจะได้ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม
ประเด็นที่หอการค้าต่างชาติต้องการคือ ให้ไทยดำเนินนโยบายสนับสนุนการค้าและการลงทุนเหมือนสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่น่าลงทุน 1 ใน 5 ส่วนไทยอยู่ที่อันดับ 19 ขณะที่อินโดนีเซียอยู่ที่อันดับ 20 กว่า และขณะนี้มาเลเซียที่ยังน่าสนใจน้อยกว่าไทยกำลังเร่งปรับปรุงด้านศุลกากรไทยจึงต้องเร่งปรับตัวเช่นเดียวกัน
“หอการค้าต่างชาติยืนยันว่าไทยยังเป็นประเทศน่าลงทุน โดยเฉพาะอังกฤษยังเลือกให้เป็นประเทศน่าลงทุนอันดับต้นๆ ของโลก ส่วนสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาได้แต่สิ่งที่เหมือนกันคืออยากให้มีการทำความเข้าใจหรือสื่อสารให้ตรงกันมากกว่า” นายประดิษฐ์กล่าวและว่า อุปสรรคทางการค้าที่พบเช่นพิกัดอัตราภาษีที่ไม่เอื้อต่อผู้ส่งออกจากไทย เช่น บางประเทศเขาเก็บภาษีสิ่งทอจากไทยสูงกว่าที่ไทยเก็บจากประเทศนั้นๆ และบางประเทศใช้มาตรการกีดกันทางการค้าโดยการทำให้ขั้นตอนการส่งออกยุ่งยากขึ้น เช่น อินโดนีเซีย จึงจะประสานไปยังคณะผู้แทนการค้า และหอการค้าประเทศต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคการส่งออกและจูงใจการลงทุนมากขึ้น
สำหรับขอเสนอของกระทรวงพาณิชย์ที่ให้จ่ายชดชยภาษีให้ผู้ส่งออกหรือภาษีมุมน้ำเงินสูงขึ้นนั้นต้องรอให้ ครม.เศรษฐกิจพิจารณาก่อนว่าจะช่วยในกลุ่มไหนและใช้วงเงินชดเชยภาษีเท่าไหร่ ซึ่งยอมรับว่าจะกระทบกับรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นบ้าง
นายรอดนี่ เบนท์ ประธานกรรมการบริหารหอการค้าอังกฤษ กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เน้นที่มาตรการภาษีศุลกากรเป็นหลัก เพื่อต้องการให้การส่งออก-นำเข้าทำได้ง่ายขึ้นและช่วยดึงดูดการลงทุนเข้ามาในไทย เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของไทยเอง ส่วนความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้นแน่นอนว่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวล แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมตามแนวทางของไทยเอง
เอกชนให้คะแนนมาร์ค 6.3 เต็ม 10
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผู้ประกอบการธุรกิจจำนวน 806 ราย เพื่อสอบถามถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและธุรกิจไทยหลังเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ จะขยายตัวติดลบ 3-4% และส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 1-2%
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามถึงเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น และมีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินนั้น ส่วนใหญ่ตอบว่าได้รับผลกระทบทางธุรกิจ 43.3% โดยภาคบริการได้รับผลกระทบมากสุด รองลงมาเป็น ภาคการผลิต ภาคการเกษตร และภาคการค้า ซึ่งทำให้ยอดขายและสภาพคล่องทางธุรกิจลดลง ขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการจ้างงานลดลงตามไปด้วย
เมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศ โดยมีคะแนนเต็ม 10 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้คะแนนในแง่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจรัฐบาล 6.3 คะแนน การแก้ไขปัญหาด้านสังคม 6.7 คะแนน การแก้ไขปัญหาด้านการเมือง 6.1 คะแนน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น 6.5 คะแนน
เมื่อวานนี้ (23 เม.ย.) นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2552 ใหม่ หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่เป็นไปได้มากสุด มีโอกาส 60% หากสถานการณ์การเมืองคลี่คลายในไตรมาส 3 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบ 4.3% จากคาดการณ์เดิมขยายตัวติดลบ 2.8% โดยจะสูญเสียรายได้ของระบบเศรษฐกิจ 1.42 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ผลกระทบจากการท่องเที่ยวหายไป 1.12 แสนล้านบาท การบริโภคต่อจีดีพีหายไป 2.7 หมื่นล้านบาท การลงทุนหาย 2.4 หมื่นล้านบาท การนำเข้าหายไป 2.1 หมื่นล้านบาท และเกิดอัตราการว่างงาน 1.3-1.6 ล้านคน
กรณีเลวร้ายสุด มีโอกาสเกิดขึ้น 20% โดยสถานการณ์การเมืองยังไม่แน่นอนตลอดปี จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 5.3% และสูญเสียรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจ 2.19 แสนล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบจากการท่องเที่ยว 1.62 แสนล้านบาท การบริโภค 4.5 หมื่นล้านบาท การลงทุน 4.2 หมื่นล้านบาท และผลกระทบต่อการนำเข้า 2.1 หมื่นบาท เกิดอัตราการว่างงาน 1.7-2 ล้านคน
ส่วนกรณีสาม มีโอกาสเกิดขึ้น 20% หากสถานการณ์การเมืองคลี่คลายและกลับมามีเสถียรภาพในไตรมาส 2 จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวติดลบ 3.5% จากการสูญเสียรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจ 6.7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น การท่องเที่ยว 5.6 หมื่นล้านบาท การบริโภค 1.3 หมื่นล้านบาท การลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท และผลกระทบต่อการนำเข้า 1.3 หมื่นล้านบาท เกิดอัตราการว่างงาน 1-1.2 ล้านคน
ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวติดลบ 15-20% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 10-15% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ติดลบ 0.8% ถึงติดลบ 1.3% จากเดิมที่คาดว่าอยู่ในระดับติดลบ 0.5 ถึงติดลบ 1.%
เป็นที่น่าสังเกตเมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยกรณีเลวร้ายสุดว่ามีโอกาสติดลบ 4-5% ภายใต้ปัจจัยการเมืองรุนแรงและเศรษฐกิจทรุดตัวยาว
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับหอการค้าต่างประเทศในไทย ทั้งหอการค้าอินเดีย ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ และอเมริกัน ซึ่งล้วนเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยว่า ส่วนใหญ่ยังต้องการให้ไทยเป็นฐานในการลงทุน แต่ต้องการให้ไทยขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดคามสามารถให้ผู้ส่งออกด้วย โดยเฉพาะการบริการของศุลกากร ทั้งด้านกฎระเบียบ พิธีการทางศุลกากรและการคืนภาษีเพื่อช่วยสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกในช่วงที่ออเดอร์ลดลง จึงจะตั้งคณะทำงานโดยมีตัวแทนจากหลายหน่วยงานภายใน 4-6 สัปดาห์นี้ เพื่อประชุมได้ภายใน 1-2 เดือนและคาดว่าภายใน 3-6 เดือนจะได้ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม
ประเด็นที่หอการค้าต่างชาติต้องการคือ ให้ไทยดำเนินนโยบายสนับสนุนการค้าและการลงทุนเหมือนสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่น่าลงทุน 1 ใน 5 ส่วนไทยอยู่ที่อันดับ 19 ขณะที่อินโดนีเซียอยู่ที่อันดับ 20 กว่า และขณะนี้มาเลเซียที่ยังน่าสนใจน้อยกว่าไทยกำลังเร่งปรับปรุงด้านศุลกากรไทยจึงต้องเร่งปรับตัวเช่นเดียวกัน
“หอการค้าต่างชาติยืนยันว่าไทยยังเป็นประเทศน่าลงทุน โดยเฉพาะอังกฤษยังเลือกให้เป็นประเทศน่าลงทุนอันดับต้นๆ ของโลก ส่วนสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาได้แต่สิ่งที่เหมือนกันคืออยากให้มีการทำความเข้าใจหรือสื่อสารให้ตรงกันมากกว่า” นายประดิษฐ์กล่าวและว่า อุปสรรคทางการค้าที่พบเช่นพิกัดอัตราภาษีที่ไม่เอื้อต่อผู้ส่งออกจากไทย เช่น บางประเทศเขาเก็บภาษีสิ่งทอจากไทยสูงกว่าที่ไทยเก็บจากประเทศนั้นๆ และบางประเทศใช้มาตรการกีดกันทางการค้าโดยการทำให้ขั้นตอนการส่งออกยุ่งยากขึ้น เช่น อินโดนีเซีย จึงจะประสานไปยังคณะผู้แทนการค้า และหอการค้าประเทศต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคการส่งออกและจูงใจการลงทุนมากขึ้น
สำหรับขอเสนอของกระทรวงพาณิชย์ที่ให้จ่ายชดชยภาษีให้ผู้ส่งออกหรือภาษีมุมน้ำเงินสูงขึ้นนั้นต้องรอให้ ครม.เศรษฐกิจพิจารณาก่อนว่าจะช่วยในกลุ่มไหนและใช้วงเงินชดเชยภาษีเท่าไหร่ ซึ่งยอมรับว่าจะกระทบกับรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นบ้าง
นายรอดนี่ เบนท์ ประธานกรรมการบริหารหอการค้าอังกฤษ กล่าวว่า การหารือครั้งนี้เน้นที่มาตรการภาษีศุลกากรเป็นหลัก เพื่อต้องการให้การส่งออก-นำเข้าทำได้ง่ายขึ้นและช่วยดึงดูดการลงทุนเข้ามาในไทย เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของไทยเอง ส่วนความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้นแน่นอนว่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวล แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมตามแนวทางของไทยเอง
เอกชนให้คะแนนมาร์ค 6.3 เต็ม 10
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผู้ประกอบการธุรกิจจำนวน 806 ราย เพื่อสอบถามถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและธุรกิจไทยหลังเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ จะขยายตัวติดลบ 3-4% และส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 1-2%
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามถึงเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น และมีการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินนั้น ส่วนใหญ่ตอบว่าได้รับผลกระทบทางธุรกิจ 43.3% โดยภาคบริการได้รับผลกระทบมากสุด รองลงมาเป็น ภาคการผลิต ภาคการเกษตร และภาคการค้า ซึ่งทำให้ยอดขายและสภาพคล่องทางธุรกิจลดลง ขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการจ้างงานลดลงตามไปด้วย
เมื่อสอบถามความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศ โดยมีคะแนนเต็ม 10 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้คะแนนในแง่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจรัฐบาล 6.3 คะแนน การแก้ไขปัญหาด้านสังคม 6.7 คะแนน การแก้ไขปัญหาด้านการเมือง 6.1 คะแนน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น 6.5 คะแนน
เมื่อวานนี้ (23 เม.ย.) นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2552 ใหม่ หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่เป็นไปได้มากสุด มีโอกาส 60% หากสถานการณ์การเมืองคลี่คลายในไตรมาส 3 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวติดลบ 4.3% จากคาดการณ์เดิมขยายตัวติดลบ 2.8% โดยจะสูญเสียรายได้ของระบบเศรษฐกิจ 1.42 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ผลกระทบจากการท่องเที่ยวหายไป 1.12 แสนล้านบาท การบริโภคต่อจีดีพีหายไป 2.7 หมื่นล้านบาท การลงทุนหาย 2.4 หมื่นล้านบาท การนำเข้าหายไป 2.1 หมื่นล้านบาท และเกิดอัตราการว่างงาน 1.3-1.6 ล้านคน
กรณีเลวร้ายสุด มีโอกาสเกิดขึ้น 20% โดยสถานการณ์การเมืองยังไม่แน่นอนตลอดปี จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวติดลบ 5.3% และสูญเสียรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจ 2.19 แสนล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบจากการท่องเที่ยว 1.62 แสนล้านบาท การบริโภค 4.5 หมื่นล้านบาท การลงทุน 4.2 หมื่นล้านบาท และผลกระทบต่อการนำเข้า 2.1 หมื่นบาท เกิดอัตราการว่างงาน 1.7-2 ล้านคน
ส่วนกรณีสาม มีโอกาสเกิดขึ้น 20% หากสถานการณ์การเมืองคลี่คลายและกลับมามีเสถียรภาพในไตรมาส 2 จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวติดลบ 3.5% จากการสูญเสียรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจ 6.7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น การท่องเที่ยว 5.6 หมื่นล้านบาท การบริโภค 1.3 หมื่นล้านบาท การลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท และผลกระทบต่อการนำเข้า 1.3 หมื่นล้านบาท เกิดอัตราการว่างงาน 1-1.2 ล้านคน
ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวติดลบ 15-20% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 10-15% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ติดลบ 0.8% ถึงติดลบ 1.3% จากเดิมที่คาดว่าอยู่ในระดับติดลบ 0.5 ถึงติดลบ 1.%
เป็นที่น่าสังเกตเมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยกรณีเลวร้ายสุดว่ามีโอกาสติดลบ 4-5% ภายใต้ปัจจัยการเมืองรุนแรงและเศรษฐกิจทรุดตัวยาว