ASTV ผู้จัดการรายวัน – อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มยิ้มออก เดือนมีนาคมเริ่มมีสัญญาณเป็นบวก มีอัตราการขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและส่งออก เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เชื่อแนวโน้มน่าจะปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ แม้ภาพรวมช่วงไตรมาสแรกจะยังติดลบหนัก ขณะที่ส่งออกตลาดตะวันออกกลางมาแรง มีตัวเลขเติบโตเพียงตลาดเดียว ทำให้พุ่งมาอยู่อันดับ 1 ภูมิภาคที่ส่งออกรถยนต์จากไทยมากสุดแทนออสเตรเลีย
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้างเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดรถยนต์ในประเทศและส่งออก ด้วยการเติบโต 20% สำหรับยอดขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.3%
“เป็นครั้งแรกของปีนี้ที่มียอดขายรถยนต์ภายในประเทศถึงกว่า 4 หมื่นคันต่อเดือน จากเดิมจะอยู่ที่กว่า 3 หมื่นคันต่อเดือน และตลาดส่งออกแม้จะขยายตัวไม่มากแต่ก็มีสัญญาณที่ดี ซึ่งแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะปรับดีขึ้น เห็นได้จากงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2009 ที่ผ่านมา ที่มียอดจองภายในงานมากกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ ส่วนปัญหาความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงระยะสั้นๆ รัฐบาลสามารถควบคุมได้ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดในประเทศนัก ขณะที่ตลาดส่งออกจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวและนิ่งขึ้น ทำให้มีทิศทางที่น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เดือนเมษายนน่าจะลดลงมาบ้าง เพราะไทยมีวันหยุดทำการหลายวัน”
ในส่วนของปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ ตลาดส่งออกคงไม่สามารถไปกำหนดอะไรได้มาก เพราะจะไปกำหนดการสั่งซื้อของคู่ค้าประเทศนั้นๆ ไม่ได้ ขึ้นอยู่สภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหน แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่นิ่ง หรือประเทศจีนก็ดีขึ้น ทำให้น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีในเร็วๆ นี้ ขณะที่ตลาดภายในประเทศจะอยู่ที่การอนุมัติปล่อยสินเชื่อเป็นสำคัญ ซึ่งสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังอยู่ แม้จะมีความต้องการซื้อรถจากลูกค้าจำนวนมาก
นายสุรพงษ์กล่าวว่า สำหรับยอดขายรถยนต์เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 41,328 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 37.8% รถจักรยานยนต์มียอดขาย 126,875 คัน ลดลง 12.40% และเมื่อรวมยอดขายรถยนต์ช่วงไตรมาสแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2552 มีจำนวน 107,774 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 33.4% และรถจักรยานยนต์ทำได้ 356,292 คัน ลดลง 16.8%
ส่วนการผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 63,454 คัน เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วลดลง 52.63% รวมรถยนต์ที่ผลิตได้ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคมมีจำนวน 196,977 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 46.13% และการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมีนาคม 149,575 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 47.10% รวมช่วงไตรมาสแรก 462,720 คัน เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีแล้วลดลง 42.07%
นายสุรงพงษ์กล่าวว่า สำหรับการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมีนาคม มีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 44,742 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 38.69% มูลค่าการส่งออก 19,841.11 ล้านบาท ลดลง 38.52% รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 29,226.80 ล้านบาท ลดลง 37.24% และเมื่อรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 138,805 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 29.74% มีมูลค่าการส่งออก 87,330.83 ล้านบาท ลดลง 31.81%
“ในจำนวนการส่งออกรถยนต์ทั่วโลกจากไทย ทุกภูมิภาคติดลบหมดไม่ว่าจะเป็นตลาดใหญ่สุดออสเตรเลียลดลง 42% และโดยเฉพาะยุโรปลดลงถึง 60% มีเพียงตลาดตะวันออกกลางที่เติบโตเป็นบวก 36% ทำให้ขยับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยแทนออสเตรเลีย ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการส่งออกปัจจุบันอยู่ที่ 34% ซึ่งน่าจะมาจากตะวันออกกลางได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด จึงเป็นตลาดที่หลายสินค้าพยายามจะเข้าไปเจาะมากขึ้น”
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคมมีมูลค่า 3,084.29 ล้านบาท ลดลง 29% และเมื่อรวมมูลค่าการส่งออกช่วงไตรมาสแรก ของรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่ 8,454.97 ล้านบาท ลดลง 26.29%
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีสัญญาณที่ดีขึ้นบ้างเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดรถยนต์ในประเทศและส่งออก ด้วยการเติบโต 20% สำหรับยอดขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.3%
“เป็นครั้งแรกของปีนี้ที่มียอดขายรถยนต์ภายในประเทศถึงกว่า 4 หมื่นคันต่อเดือน จากเดิมจะอยู่ที่กว่า 3 หมื่นคันต่อเดือน และตลาดส่งออกแม้จะขยายตัวไม่มากแต่ก็มีสัญญาณที่ดี ซึ่งแนวโน้มในอีก 3 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะปรับดีขึ้น เห็นได้จากงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2009 ที่ผ่านมา ที่มียอดจองภายในงานมากกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ ส่วนปัญหาความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงระยะสั้นๆ รัฐบาลสามารถควบคุมได้ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดในประเทศนัก ขณะที่ตลาดส่งออกจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวและนิ่งขึ้น ทำให้มีทิศทางที่น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เดือนเมษายนน่าจะลดลงมาบ้าง เพราะไทยมีวันหยุดทำการหลายวัน”
ในส่วนของปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ ตลาดส่งออกคงไม่สามารถไปกำหนดอะไรได้มาก เพราะจะไปกำหนดการสั่งซื้อของคู่ค้าประเทศนั้นๆ ไม่ได้ ขึ้นอยู่สภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหน แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่นิ่ง หรือประเทศจีนก็ดีขึ้น ทำให้น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีในเร็วๆ นี้ ขณะที่ตลาดภายในประเทศจะอยู่ที่การอนุมัติปล่อยสินเชื่อเป็นสำคัญ ซึ่งสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังอยู่ แม้จะมีความต้องการซื้อรถจากลูกค้าจำนวนมาก
นายสุรพงษ์กล่าวว่า สำหรับยอดขายรถยนต์เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 41,328 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 37.8% รถจักรยานยนต์มียอดขาย 126,875 คัน ลดลง 12.40% และเมื่อรวมยอดขายรถยนต์ช่วงไตรมาสแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2552 มีจำนวน 107,774 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 33.4% และรถจักรยานยนต์ทำได้ 356,292 คัน ลดลง 16.8%
ส่วนการผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 63,454 คัน เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วลดลง 52.63% รวมรถยนต์ที่ผลิตได้ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคมมีจำนวน 196,977 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 46.13% และการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมีนาคม 149,575 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 47.10% รวมช่วงไตรมาสแรก 462,720 คัน เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีแล้วลดลง 42.07%
นายสุรงพงษ์กล่าวว่า สำหรับการส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมีนาคม มีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 44,742 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 38.69% มูลค่าการส่งออก 19,841.11 ล้านบาท ลดลง 38.52% รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 29,226.80 ล้านบาท ลดลง 37.24% และเมื่อรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 138,805 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 29.74% มีมูลค่าการส่งออก 87,330.83 ล้านบาท ลดลง 31.81%
“ในจำนวนการส่งออกรถยนต์ทั่วโลกจากไทย ทุกภูมิภาคติดลบหมดไม่ว่าจะเป็นตลาดใหญ่สุดออสเตรเลียลดลง 42% และโดยเฉพาะยุโรปลดลงถึง 60% มีเพียงตลาดตะวันออกกลางที่เติบโตเป็นบวก 36% ทำให้ขยับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยแทนออสเตรเลีย ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการส่งออกปัจจุบันอยู่ที่ 34% ซึ่งน่าจะมาจากตะวันออกกลางได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด จึงเป็นตลาดที่หลายสินค้าพยายามจะเข้าไปเจาะมากขึ้น”
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคมมีมูลค่า 3,084.29 ล้านบาท ลดลง 29% และเมื่อรวมมูลค่าการส่งออกช่วงไตรมาสแรก ของรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่ 8,454.97 ล้านบาท ลดลง 26.29%