จากวันที่ 12-15 เมษายน หรือที่เรียกตามนัยแห่งประเพณีของชนชาติไทยว่า เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย คนไทยทั่วทั้งประเทศจะถือเทศกาลนี้เข้าวัดทำบุญอุทิศให้บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้วในตอนเช้าวันที่ 13 พอตกบ่ายก็จะสรงน้ำพระ แล้วตามด้วยรดน้ำผู้เฒ่าผู้แก่ และจบลงด้วยการเล่นสงกรานต์สาดน้ำสนุกสนานในหมู่หนุ่มสาว พร้อมๆ กับมีการละเล่นตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
ดังนั้น ในห้วงแห่งเวลาที่ว่านี้ของทุกๆ ปีผู้คนในทุกชุมชนจะยิ้มแย้มแจ่มใสให้แก่กัน และจากจุดเด่นในลักษณะนี้เอง เทศกาลสงกรานต์จึงกลายเป็นจุดขายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเทศกาลหนึ่ง ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวประเทศไทย และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนนับหมื่นล้านบาทต่อปี
แต่ปีนี้เทศกาลสงกรานต์ได้กลายเป็นเทศกาลแห่งความเศร้า และก่อความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่คนไทยและประเทศไทยมากมายเหลือคณานับ ดังที่ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ทราบจากข่าวทางสื่อมวลชนไปแล้ว
แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทบทวนความจำ และนำไปสู่การวิเคราะห์ลงลึกไปถึงเหตุปัจจัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นพอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
1. กลุ่มคนเสื้อแดงได้ชุมนุมกัน และมีการยื่นข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และองคมนตรีลาออกโดยอ้างว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศไม่ถูกต้องตามครรลองแห่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และให้องคมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ลาออกด้วยอ้างว่าเข้ามาก้าวก่ายการเมือง
2. เมื่อข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนองก็แสดงพลังในลักษณะป่าเถื่อน โดยการเคลื่อนพลังประชาชนจำนวนหนึ่งปิดล้อมเส้นทางจราจรที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนอย่างหนักแก่ผู้สัญจรไปมา
แต่ในที่สุดก็ถูกกำลังตำรวจ และทหารสลายการชุมนุมจากการปิดถนนออกไป
3. จากเหตุการณ์วุ่นวายในกรุงเทพฯ คนกลุ่มเสื้อแดงได้ขนย้ายกำลังคนไปยังเมืองพัทยา อันเป็นที่จัดการประชุมอาเซียน และได้ปะทะกับคนเสื้อหลากสีที่ออกมาต่อต้าน แต่ในที่สุดก็เข้าถึงโรงแรมอันเป็นสถานที่ประชุมจนได้ และสามารถทำให้รัฐบาลต้องประกาศเลื่อนการประชุมออกไปไม่มีกำหนด
จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้แสดงพลังฮึกเหิมเป็นอย่างยิ่งกับชัยชนะที่พัทยา
4. ฉากอวสานของคนเสื้อแดงได้ส่อเค้าขึ้น เมื่อทางฝ่ายรัฐได้ส่งกำลังทหาร และตำรวจออกมาแสดงพลังเดินเข้าพบกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมกับเสนอทางออกให้ผู้ที่ต้องการจะเลิกการชุมนุมได้เดินทางกลับบ้าน โดยทางราชการจะจัดรถให้ และในขณะเดียวกันนี้ ทางด้านแกนนำของคนกลุ่มเสื้อแดงนำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ ประกาศบนเวทีให้สลายการชุมนุม และเดินทางไปมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงทำให้เหตุการณ์วุ่นวายค่อยๆ ยุติลงเป็นลำดับจนเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 15 เมษายน 2552
แต่ถึงกระนั้น ทางรัฐบาลก็ยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ต่อไป และคาดว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรที่ส่อเค้าว่าจะมีความรุนแรง ก็คงจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในไม่ช้านี้
ทั้งหมดที่นำมาทบทวนก็เป็นเพียงภาพเหตุการณ์ใหญ่เพื่อให้ท่านมองเห็นเค้าโครงเท่านั้น ส่วนรายละเอียดท่านผู้อ่านคงหาอ่านได้จากทางสื่อสิ่งพิมพ์ย้อนหลังทุกฉบับในช่วงวันที่ 8-15 เมษายน ที่ผ่านมา
จากภาพเหตุการณ์ที่เสนอมา ท่านผู้อ่านก็คงเห็นแล้วว่าความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมาจากการชุมนุม และข้อเรียกร้องที่ใครๆ ก็มองไม่เห็นว่าจะปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอที่ให้ประธานองคมนตรี และองคมนตรีอีก 2 ท่านลาออก เพราะนั่นหมายถึงว่าคนเสื้อแดงกำลังก้าวก่ายพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์โดยตรง
ส่วนประเด็นที่เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออก ถึงแม้ว่าถ้ามองในแง่ของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญปัจเจกบุคคลสามารถเรียกร้องได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะใช้กำลังข่มขู่หรือคุกคามได้ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทย และที่สำคัญที่สุดเหตุอ้างในการให้ออกที่ว่ามิได้มาตามเส้นทางแห่งประชาธิปไตยนั้นไม่มีใครรับได้ เพราะเพียงแต่มองในแง่ของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และวิธีการขึ้นสู่ตำแหน่งที่มาจากการออกเสียงเลือกนายกฯ ที่ผ่านการคัดเลือกของสภาฯ และมีการออกเสียงเลือกอย่างถูกต้อง ก็พูดได้ว่าข้อเรียกร้องที่ว่านี้บิดเบือน และมีเจตนาให้เกิดการปฏิเสธเพื่อถือเป็นเหตุอ้างก่อความรุนแรงตามที่เจ้านายของพวกเขาบงการนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่ปรากฏออกมาดังที่กล่าวมาแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงประสบความล้มเหลวในการต่อสู้ ต้องกลับบ้านมือเปล่าไม่เป็นไปตามที่ทักษิณคุยโอ่ไว้แต่เดิม จึงน่าจะทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงที่มาด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นในตัวทักษิณลดลงไปมาก หรืออาจถึงขั้นปฏิเสธภาวะความเป็นผู้นำของเขาก็เป็นไปได้ ยกเว้นผู้ที่มาร่วมชุมนุมด้วยเห็นแก่อามิสสินจ้างคงรู้สึกเฉยๆ กับการแพ้ชนะ และพร้อมจะกลับมาถ้าผลตอบแทนในการมาคุ้มค่า
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะมีใครถามว่าเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงจะยังคงมีอีกหรือไม่ และถ้ามีจะมีจำนวนมากกว่าเดิมหรือไม่ และความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ คงจะตอบได้โดยอาศัยปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. นับจากวันนี้เป็นต้นไป ทางรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำเนินการอย่างจริงจังในการขจัดเงื่อนไขอันเป็นเหตุให้คนกลุ่มเสื้อแดงหมดความเชื่อมั่นในตัวผู้บงการ คืออดีตนายกฯ ทักษิณ โดยการจัดการโยกย้ายข้าราชการทหาร และตำรวจที่มีหลักฐานเพียงพอให้เชื่อได้ว่าใส่เกียร์ว่างเพื่อปล่อยให้คนกลุ่มเสื้อแดงกระทำผิดกฎหมายดังเช่นที่เกิดขึ้นที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทย รวมไปถึงกระทำการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ขัดขวางการจราจร และทำลายทรัพย์สิน เป็นต้น และคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพในการแก้ไข และป้องกันมิให้เหตุการณ์เกิดขึ้นเหมือนกับที่เคยเกิดมาได้มาทดแทน
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ก็เชื่อได้ว่าเหตุการณ์ชุมนุมของคนกลุ่มเสื้อแดงจะเกิดขึ้นได้ยาก
2. พร้อมๆ กับการดำเนินงานในข้อ 1 รัฐบาลจะต้องหาทางแก้ไขปฏิรูปการเมืองให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่เคยเป็นมา และเป็นอยู่ในขณะนี้ แล้วยุบสภาฯ ให้มีการเลือกตั้งใหม่
ถ้ารัฐบาลดำเนินการได้ทั้ง 2 ประการดังกล่าวข้างต้นภายใน 1-2 ปี ก็เชื่อว่าคนกลุ่มเสื้อแดงคงจะฝ่อไปเอง และถ้ายิ่งทำให้ท่อน้ำเลี้ยงที่ส่งมาถูกตัดขาดได้ ก็ยิ่งทำให้เชื่อได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงกลายเป็นประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของการเมืองไทยที่มีไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังยึดมาเพื่อเป็นบทเรียนว่าอย่าเชื่อว่าคนรวยแล้วไม่โกง และพร้อมกับที่อย่าเชื่อว่า คนจงรักภักดี โดยฟังจากคำพูด แต่ให้ดูจากการกระทำ
ถ้าทุกคนเรียนรู้และเข้าใจตรงกัน เชื่อว่าโอกาสที่ประเทศไทยจะซื้อความสงบราคาแพงเหมือนกับที่เกิดขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา คงจะไม่เกิดขึ้นอีก
ดังนั้น ในห้วงแห่งเวลาที่ว่านี้ของทุกๆ ปีผู้คนในทุกชุมชนจะยิ้มแย้มแจ่มใสให้แก่กัน และจากจุดเด่นในลักษณะนี้เอง เทศกาลสงกรานต์จึงกลายเป็นจุดขายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเทศกาลหนึ่ง ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวประเทศไทย และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนนับหมื่นล้านบาทต่อปี
แต่ปีนี้เทศกาลสงกรานต์ได้กลายเป็นเทศกาลแห่งความเศร้า และก่อความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่คนไทยและประเทศไทยมากมายเหลือคณานับ ดังที่ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ทราบจากข่าวทางสื่อมวลชนไปแล้ว
แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทบทวนความจำ และนำไปสู่การวิเคราะห์ลงลึกไปถึงเหตุปัจจัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นพอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้
1. กลุ่มคนเสื้อแดงได้ชุมนุมกัน และมีการยื่นข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และองคมนตรีลาออกโดยอ้างว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศไม่ถูกต้องตามครรลองแห่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และให้องคมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ลาออกด้วยอ้างว่าเข้ามาก้าวก่ายการเมือง
2. เมื่อข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนองก็แสดงพลังในลักษณะป่าเถื่อน โดยการเคลื่อนพลังประชาชนจำนวนหนึ่งปิดล้อมเส้นทางจราจรที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนอย่างหนักแก่ผู้สัญจรไปมา
แต่ในที่สุดก็ถูกกำลังตำรวจ และทหารสลายการชุมนุมจากการปิดถนนออกไป
3. จากเหตุการณ์วุ่นวายในกรุงเทพฯ คนกลุ่มเสื้อแดงได้ขนย้ายกำลังคนไปยังเมืองพัทยา อันเป็นที่จัดการประชุมอาเซียน และได้ปะทะกับคนเสื้อหลากสีที่ออกมาต่อต้าน แต่ในที่สุดก็เข้าถึงโรงแรมอันเป็นสถานที่ประชุมจนได้ และสามารถทำให้รัฐบาลต้องประกาศเลื่อนการประชุมออกไปไม่มีกำหนด
จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้แสดงพลังฮึกเหิมเป็นอย่างยิ่งกับชัยชนะที่พัทยา
4. ฉากอวสานของคนเสื้อแดงได้ส่อเค้าขึ้น เมื่อทางฝ่ายรัฐได้ส่งกำลังทหาร และตำรวจออกมาแสดงพลังเดินเข้าพบกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมกับเสนอทางออกให้ผู้ที่ต้องการจะเลิกการชุมนุมได้เดินทางกลับบ้าน โดยทางราชการจะจัดรถให้ และในขณะเดียวกันนี้ ทางด้านแกนนำของคนกลุ่มเสื้อแดงนำโดย นายวีระ มุสิกพงศ์ ประกาศบนเวทีให้สลายการชุมนุม และเดินทางไปมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงทำให้เหตุการณ์วุ่นวายค่อยๆ ยุติลงเป็นลำดับจนเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 15 เมษายน 2552
แต่ถึงกระนั้น ทางรัฐบาลก็ยังคงประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ต่อไป และคาดว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรที่ส่อเค้าว่าจะมีความรุนแรง ก็คงจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในไม่ช้านี้
ทั้งหมดที่นำมาทบทวนก็เป็นเพียงภาพเหตุการณ์ใหญ่เพื่อให้ท่านมองเห็นเค้าโครงเท่านั้น ส่วนรายละเอียดท่านผู้อ่านคงหาอ่านได้จากทางสื่อสิ่งพิมพ์ย้อนหลังทุกฉบับในช่วงวันที่ 8-15 เมษายน ที่ผ่านมา
จากภาพเหตุการณ์ที่เสนอมา ท่านผู้อ่านก็คงเห็นแล้วว่าความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมาจากการชุมนุม และข้อเรียกร้องที่ใครๆ ก็มองไม่เห็นว่าจะปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอที่ให้ประธานองคมนตรี และองคมนตรีอีก 2 ท่านลาออก เพราะนั่นหมายถึงว่าคนเสื้อแดงกำลังก้าวก่ายพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์โดยตรง
ส่วนประเด็นที่เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออก ถึงแม้ว่าถ้ามองในแง่ของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญปัจเจกบุคคลสามารถเรียกร้องได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะใช้กำลังข่มขู่หรือคุกคามได้ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทย และที่สำคัญที่สุดเหตุอ้างในการให้ออกที่ว่ามิได้มาตามเส้นทางแห่งประชาธิปไตยนั้นไม่มีใครรับได้ เพราะเพียงแต่มองในแง่ของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และวิธีการขึ้นสู่ตำแหน่งที่มาจากการออกเสียงเลือกนายกฯ ที่ผ่านการคัดเลือกของสภาฯ และมีการออกเสียงเลือกอย่างถูกต้อง ก็พูดได้ว่าข้อเรียกร้องที่ว่านี้บิดเบือน และมีเจตนาให้เกิดการปฏิเสธเพื่อถือเป็นเหตุอ้างก่อความรุนแรงตามที่เจ้านายของพวกเขาบงการนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่ปรากฏออกมาดังที่กล่าวมาแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงประสบความล้มเหลวในการต่อสู้ ต้องกลับบ้านมือเปล่าไม่เป็นไปตามที่ทักษิณคุยโอ่ไว้แต่เดิม จึงน่าจะทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงที่มาด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นในตัวทักษิณลดลงไปมาก หรืออาจถึงขั้นปฏิเสธภาวะความเป็นผู้นำของเขาก็เป็นไปได้ ยกเว้นผู้ที่มาร่วมชุมนุมด้วยเห็นแก่อามิสสินจ้างคงรู้สึกเฉยๆ กับการแพ้ชนะ และพร้อมจะกลับมาถ้าผลตอบแทนในการมาคุ้มค่า
ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะมีใครถามว่าเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงจะยังคงมีอีกหรือไม่ และถ้ามีจะมีจำนวนมากกว่าเดิมหรือไม่ และความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ คงจะตอบได้โดยอาศัยปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. นับจากวันนี้เป็นต้นไป ทางรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำเนินการอย่างจริงจังในการขจัดเงื่อนไขอันเป็นเหตุให้คนกลุ่มเสื้อแดงหมดความเชื่อมั่นในตัวผู้บงการ คืออดีตนายกฯ ทักษิณ โดยการจัดการโยกย้ายข้าราชการทหาร และตำรวจที่มีหลักฐานเพียงพอให้เชื่อได้ว่าใส่เกียร์ว่างเพื่อปล่อยให้คนกลุ่มเสื้อแดงกระทำผิดกฎหมายดังเช่นที่เกิดขึ้นที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทย รวมไปถึงกระทำการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ขัดขวางการจราจร และทำลายทรัพย์สิน เป็นต้น และคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพในการแก้ไข และป้องกันมิให้เหตุการณ์เกิดขึ้นเหมือนกับที่เคยเกิดมาได้มาทดแทน
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ก็เชื่อได้ว่าเหตุการณ์ชุมนุมของคนกลุ่มเสื้อแดงจะเกิดขึ้นได้ยาก
2. พร้อมๆ กับการดำเนินงานในข้อ 1 รัฐบาลจะต้องหาทางแก้ไขปฏิรูปการเมืองให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่เคยเป็นมา และเป็นอยู่ในขณะนี้ แล้วยุบสภาฯ ให้มีการเลือกตั้งใหม่
ถ้ารัฐบาลดำเนินการได้ทั้ง 2 ประการดังกล่าวข้างต้นภายใน 1-2 ปี ก็เชื่อว่าคนกลุ่มเสื้อแดงคงจะฝ่อไปเอง และถ้ายิ่งทำให้ท่อน้ำเลี้ยงที่ส่งมาถูกตัดขาดได้ ก็ยิ่งทำให้เชื่อได้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงกลายเป็นประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งของการเมืองไทยที่มีไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังยึดมาเพื่อเป็นบทเรียนว่าอย่าเชื่อว่าคนรวยแล้วไม่โกง และพร้อมกับที่อย่าเชื่อว่า คนจงรักภักดี โดยฟังจากคำพูด แต่ให้ดูจากการกระทำ
ถ้าทุกคนเรียนรู้และเข้าใจตรงกัน เชื่อว่าโอกาสที่ประเทศไทยจะซื้อความสงบราคาแพงเหมือนกับที่เกิดขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา คงจะไม่เกิดขึ้นอีก