ASTVผู้จัดการรายัวน - iTAP จับมือ มจพ. เปิดหลักสูตร “การตั้งใบมีดและการปรับตั้งเครื่องไสสี่หน้าสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” อบรมผู้ประกอบการไทย หวังฟื้นฟูศักยภาพฝีมือแรงงานสู้ตลาดต่างชาติ ผู้เชี่ยวชาญเปรย ช่างไทยยังขาดเทคนิคเบื้องต้น หวั่นวิชาช่างไม้สูญ เหตุทำงานตามความเคยชินจากรุ่นสู่รุ่นไม่บันทึกเป็นตำรา
นายสงกรานต์ บางศรัณย์ทิพย์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไม้ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในฐานะ หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญของ มจพ. ภายใต้โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ กล่าวถึงการจัดอบรม “การตั้งใบมีดและการปรับตั้งเครื่องไสสี่หน้าสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” ว่า ผู้ประกอบการได้เรียกร้องให้จัดผู้เชี่ยวชาญมาอบรม หลังจากที่ 2 ปีก่อนหน้านี้ได้มีการจัดสัมมนาเชิงทฤษฎีให้กับผู้ประกอบการมาแล้ว ขณะที่ iTAP เองได้คำนึงถึงปัญหาฝีมือแรงงานและเทคนิคในการเตรียมงานไม้ เพราะยังขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน อีกทั้งการขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคนิค จึงจำเป็นต้องสรรหาตัวบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญมาพัฒนาด้านตัวบุคคลให้สถานประกอบการ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านธุรกิจจนนำไปสู่การแข่งขันในอนาคต
“ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไม้ไทยเติบโตมาจากครัวเรือน จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนใดรวบรวมเคล็ดวิชาไม้ออกมาเป็นตำราสอนอย่างจริงๆ ทำให้ความรู้ด้านนี้ยังเป็นความลับ อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยจึงเติบโตช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ”นายสงกรานต์ กล่าว
หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญของ มจพ. ภายใต้โครงการ ฯ เปิดเผยอีกว่า เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการ “พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” โดยการจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาส่งเสริมความรู้และเทคนิคการผลิตให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไม้ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก
นายสงกรานต์ บางศรัณย์ทิพย์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไม้ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในฐานะ หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญของ มจพ. ภายใต้โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ กล่าวถึงการจัดอบรม “การตั้งใบมีดและการปรับตั้งเครื่องไสสี่หน้าสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” ว่า ผู้ประกอบการได้เรียกร้องให้จัดผู้เชี่ยวชาญมาอบรม หลังจากที่ 2 ปีก่อนหน้านี้ได้มีการจัดสัมมนาเชิงทฤษฎีให้กับผู้ประกอบการมาแล้ว ขณะที่ iTAP เองได้คำนึงถึงปัญหาฝีมือแรงงานและเทคนิคในการเตรียมงานไม้ เพราะยังขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงาน อีกทั้งการขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคนิค จึงจำเป็นต้องสรรหาตัวบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญมาพัฒนาด้านตัวบุคคลให้สถานประกอบการ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านธุรกิจจนนำไปสู่การแข่งขันในอนาคต
“ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไม้ไทยเติบโตมาจากครัวเรือน จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนใดรวบรวมเคล็ดวิชาไม้ออกมาเป็นตำราสอนอย่างจริงๆ ทำให้ความรู้ด้านนี้ยังเป็นความลับ อุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยจึงเติบโตช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ”นายสงกรานต์ กล่าว
หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญของ มจพ. ภายใต้โครงการ ฯ เปิดเผยอีกว่า เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดโครงการ “พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้” โดยการจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาส่งเสริมความรู้และเทคนิคการผลิตให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไม้ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก