นร.ยากจนไม่มีเงินเรียนต่อมหาวิทยาลัย เข้าพบ รมว.ศธ.ระหว่างตรวจเยี่ยม ร.ร.ใน จ.ร้อยเอ็ด ขณะที่ สพฐ.เตรียมคุยกับ ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ให้ประสานร.ร.ดูแลเด็กยากจนที่ไม่มีเงินจัดการธุระต่างๆ สำหรับเรียนต่อมหาวิทยาลัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศธ.เดินมาตรวจเยี่ยม ร.ร.ปทุมรัตต์พิทยาคม ร.ร.ในฝันของ อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด นั้น นายสมบูรณ์ งามสุข นักเรียน ร.ร.ช้างเผือกวิทยาคม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ที่เคยเป็นข่าวว่า ยากจนไม่มีเงินเรียนต่อมหาวิทยาลัย ได้เดินทางมาเข้าพบ รมว.ศธ.เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยนายสมบูรณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ตนสอบแอดมิชชั่นได้ที่คณะวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศรวร จ.พิษณุโลก และสอบตรงได้คณะวิศกรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
รวมทั้งได้เดินทางสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือตามคำแนะนำของเพื่อนแต่ไม่ทราบผลว่าสอบได้หรือไม่ และก็ไม่ได้สนใจติดตามผลเพราะไม่มีเงินเรียนต่อ แม้แต่ค่าเดินทางไปสอบสัมภาษณ์ก็ไม่มีทั้งนี้ได้รับการแนะนำจาก นายประดิษฐ์ ขุมเงิน ผอ.ร.ร.คำพระ จ.ร้อยเอ็ด ให้มาพบ รมว.ศธ. ซึ่งจะเดินทางพร้อม คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเตรวจเยี่ยม ร.ร.ปทุมรัตต์พิทยาคม และได้รับเงินช่วยเหลือจาก ศธ.จำนวน 10,000 บาท เพื่อเป็นค่าเดินทางไปสอบสัมภาษณ์ที่ ม.มหารสาม โดยทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ประสานงานให้มหาวิทยาลัยรอสัมภาษณ์เป็นกรณีพิเศษเพราะการสอบสัมภาษณ์ตามปกติได้สิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ขณะที่ สพฐ.รับจะประสานไปยัง มจพ.เพื่อสอบถามผลสอบ ทั้งนี้ หากสอบติด มจพ.จริง ตนอยากจะไปเรียน มจพ.
ด้าน นายสมชาย กล่าวว่า การช่วยเหลือเด็กทุกคนให้เข้าถึงการศึกษาเป็นนโยบายของรัฐบาลนี้อยู่แล้ว นอกจากจะมีนโยบายสนับสนุนเรียนฟรี 14 ปีแล้ว ยังมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ให้เด็กยากจนหรือมีความจำเป็นกู้เรียนตั้งแต่ระดับม.4 ถึงปริญญาตรี
อย่างไรก็ตาม ที่เกิดปัญหาเป็นข่าวเด็กไม่มีเงินต่อหลายรายนั้น อาจเพราะยังประชาสัมพันธ์ไม่ทั่งถึง เด็กและผู้ปกครองจึงขาดความเข้าใจ จะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสาน ร.ร.ให้ข้อมูลกับนักเรียน หากต้องการเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องอย่างไรบ้าง ให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุน กรอ.และ กยศ. อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 มิ.ย.นี้ คณะ กยศ. ที่มีนายสมนึก พิมลเสถียร ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการขยายเพดานรายได้ครอบครัวผู้มีสิทธิ์กู้เงิน กยศ.จากรายได้ไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี เป็น 2 แสนบาทต่อปี ตามนโยบายของรัฐบาล
ส่วนกรณีของนายสมบูรณ์นั้น ศธ.จะให้ความช่วยเหลือ โดยให้ สกอ.ประสานกับมหาวิทยาลัย ให้เด็กได้สิทธิ์สอบสัมภาษณ์เป็นพิเศษ เมื่อเด็กเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว ให้มหาวิทยาลัยประสานกองทุนกู้ยืมปล่อยกู้ให้เด็ก ส่วนเรื่องทุนการศึกษา ให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณา
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ในปีการศึกษาหน้า จะต้องคุยกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศให้ชัดเจนว่า สพท.ต้องลงไปดูแลเด็กยากจนที่ต้องการเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเด็กจำเป็นต้องมีเงินก้อนแรกใช้เดินทางไปสอบ สัมภาษณ์และจัดการอื่นๆ ฉะนั้นหากพบว่า เด็กยากจนไม่มีเงินก้อนนี้แล้ว สพท.จะต้องประสานกับ ร.ร.ให้ความช่วยเหลือเด็ก รวมทั้งครูแนะแนวต้องคอยติดตามให้ความช่วยเหลือเด็กด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศธ.เดินมาตรวจเยี่ยม ร.ร.ปทุมรัตต์พิทยาคม ร.ร.ในฝันของ อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด นั้น นายสมบูรณ์ งามสุข นักเรียน ร.ร.ช้างเผือกวิทยาคม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ที่เคยเป็นข่าวว่า ยากจนไม่มีเงินเรียนต่อมหาวิทยาลัย ได้เดินทางมาเข้าพบ รมว.ศธ.เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยนายสมบูรณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ตนสอบแอดมิชชั่นได้ที่คณะวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศรวร จ.พิษณุโลก และสอบตรงได้คณะวิศกรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
รวมทั้งได้เดินทางสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือตามคำแนะนำของเพื่อนแต่ไม่ทราบผลว่าสอบได้หรือไม่ และก็ไม่ได้สนใจติดตามผลเพราะไม่มีเงินเรียนต่อ แม้แต่ค่าเดินทางไปสอบสัมภาษณ์ก็ไม่มีทั้งนี้ได้รับการแนะนำจาก นายประดิษฐ์ ขุมเงิน ผอ.ร.ร.คำพระ จ.ร้อยเอ็ด ให้มาพบ รมว.ศธ. ซึ่งจะเดินทางพร้อม คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเตรวจเยี่ยม ร.ร.ปทุมรัตต์พิทยาคม และได้รับเงินช่วยเหลือจาก ศธ.จำนวน 10,000 บาท เพื่อเป็นค่าเดินทางไปสอบสัมภาษณ์ที่ ม.มหารสาม โดยทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ประสานงานให้มหาวิทยาลัยรอสัมภาษณ์เป็นกรณีพิเศษเพราะการสอบสัมภาษณ์ตามปกติได้สิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ขณะที่ สพฐ.รับจะประสานไปยัง มจพ.เพื่อสอบถามผลสอบ ทั้งนี้ หากสอบติด มจพ.จริง ตนอยากจะไปเรียน มจพ.
ด้าน นายสมชาย กล่าวว่า การช่วยเหลือเด็กทุกคนให้เข้าถึงการศึกษาเป็นนโยบายของรัฐบาลนี้อยู่แล้ว นอกจากจะมีนโยบายสนับสนุนเรียนฟรี 14 ปีแล้ว ยังมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ให้เด็กยากจนหรือมีความจำเป็นกู้เรียนตั้งแต่ระดับม.4 ถึงปริญญาตรี
อย่างไรก็ตาม ที่เกิดปัญหาเป็นข่าวเด็กไม่มีเงินต่อหลายรายนั้น อาจเพราะยังประชาสัมพันธ์ไม่ทั่งถึง เด็กและผู้ปกครองจึงขาดความเข้าใจ จะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประสาน ร.ร.ให้ข้อมูลกับนักเรียน หากต้องการเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องอย่างไรบ้าง ให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุน กรอ.และ กยศ. อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 มิ.ย.นี้ คณะ กยศ. ที่มีนายสมนึก พิมลเสถียร ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการขยายเพดานรายได้ครอบครัวผู้มีสิทธิ์กู้เงิน กยศ.จากรายได้ไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี เป็น 2 แสนบาทต่อปี ตามนโยบายของรัฐบาล
ส่วนกรณีของนายสมบูรณ์นั้น ศธ.จะให้ความช่วยเหลือ โดยให้ สกอ.ประสานกับมหาวิทยาลัย ให้เด็กได้สิทธิ์สอบสัมภาษณ์เป็นพิเศษ เมื่อเด็กเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว ให้มหาวิทยาลัยประสานกองทุนกู้ยืมปล่อยกู้ให้เด็ก ส่วนเรื่องทุนการศึกษา ให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณา
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ในปีการศึกษาหน้า จะต้องคุยกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศให้ชัดเจนว่า สพท.ต้องลงไปดูแลเด็กยากจนที่ต้องการเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเด็กจำเป็นต้องมีเงินก้อนแรกใช้เดินทางไปสอบ สัมภาษณ์และจัดการอื่นๆ ฉะนั้นหากพบว่า เด็กยากจนไม่มีเงินก้อนนี้แล้ว สพท.จะต้องประสานกับ ร.ร.ให้ความช่วยเหลือเด็ก รวมทั้งครูแนะแนวต้องคอยติดตามให้ความช่วยเหลือเด็กด้วย