ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดรฟม.ถก 20 เม.ย.นี้ ตั้งท่าเจรจา ช.การช่างลดค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วงสัญญาที่ 1 ลงอีก หลังล่าสุดยอมลดเหลือ 14,985 ล้านบาทแล้ว เพราะมีช่องลดได้อีก ขณะที่วงการผู้รับเหมาชี้ต้นทุนน้ำมันและวัสุดก่อสร้างปัจจุบันราคาไม่ควรเกิน 13,000 ล้านบาท ส่วนสายสีน้ำเงินเสนอใช้แหล่งเงินในประเทศแทนไจก้า ชี้ Step Loan เงื่อนไขเสียเปรียบ
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณาค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) สัญญาที่ 1 ว่า คณะกรรมการประกวดราคาที่มีนายชูเกียรติ โพธยานุวัตร รองผู้ว่าการ (วิศกรรมและก่อสร้าง) รฟม.เป็นประธานได้รายงานผลการเจรจาค่าก่อสร้างกับกลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) ผู้เสนอราคาต่ำสุดในสัญญาที่ 1 ที่ 16,724 ล้านบาทว่าผู้รับเหมาปรับลดค่าก่อสร้างล่าสุดที่ 14,985 ล้านบาทลดลงจาก 15,535 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการรฟม. จะประชุมในวันที่ 20 เม.ย. เพื่อพิจารณาความเหมาะสมทั้งหมด และหากคณะกรรมการประกวดราคาฯ ชี้แจงแล้ว บอร์ดยังเห็นว่ายังมีรายละเอียดที่สามารถปรับลดค่าก่อสร้างลงได้อีก บอร์ดอาจจะเจรจากับผู้รับเหมาเพิ่มเติมโดยตรง เพราะก่อนหน้านี้ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้นโยบายต่อบอร์ดรฟม.ให้พิจารณาค่าก่อสร้างโครงการให้สอดคล้องกับสถาวะปัจจุบันทั้งราคาน้ำมันและต้นทุนค่าก่อสร้างอื่นๆ และเห็นว่า ค่าก่อสร้างควรต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท
นายสุพจน์ กล่าวว่า กรณีราคาน้ำมันปัจจุบันปรับลดลงเหลือประมาณ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลและวัสดุก่อสร้างลดลง ในขณะที่ช่วงประกวดราคาเมื่อปี 2551 ราคาน้ำมันอยู่ในระดับที่สูงมากประมาณ 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลนั้น เป็นสิ่งที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาราคาที่เหมาะสม โดยรฟม.จะต้องนำค่าเค มาพิจารณาประกอบด้วย ซึ่งราคาที่ออกมาจะต้องไม่ทำให้รฟม.เสียหายและต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้รับเหมาในเรื่องความเสี่ยงด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาที่ 1 มีความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดตั้งแต่เดือนธ.ค.2551 และตามเงื่อนไขเงินกู้ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า กำหนดว่า หากมีความล่าช้าในการดำเนินหรือเบิกจ่ายค่างวดงานล่าช้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเบิกจ่ายเงินค่างวดงานในอัตรา 0.1% ของวงเงินแต่ละงวด โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผลและลงนามกับผู้รับเหมาได้ประมาณมิ.ย.-ก.ค.นี้ ซึ่งทำให้ล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 5-6 เดือน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาที่ 1 ที่ผู้รับเหมาเสนอลดลงเหลือประมาณ 14,900-15,000 ล้านบาท ยังเป็นราคาที่สูงเกินไป เนื่องจากในช่วงที่มีการเปิดประมูลนั้น เป็นช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในอัตราที่สูงและราคาน้ำมันอยู่ในระดับที่สูงมากประมาณ 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่ต้นทุนปัจจุบันราคาน้ำมันมี่การปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล และเงินเฟ้อก็มีอัตราที่ลดลง ค่าก่อสร้างที่เหมาะสมควรอยู่ในระดับไม่เกิน 13,000 ล้านบาท
สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค นายสุพจน์ กล่าวว่า รฟม.ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคมแล้วว่าไม่ขอรับเงื่อนไขการกู้เงินรูปแบบอัตราดอกเบี้ยพิเศษสุด 0.2% (Step Loan) ของไจก้า เพราะมีเงื่อนไขที่ทำให้รฟม.เสียเปรียบมาก โดยเสนอใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศ อัตราดอกเบี้ยปกติ 1.2-1.4% เป็นแนวทางที่ดีกว่า เพราะไม่ยุ่งยากในขั้นตอนการอนุมัติ โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน หรือใช้วิธีออกพันธบัตร
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณาค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) สัญญาที่ 1 ว่า คณะกรรมการประกวดราคาที่มีนายชูเกียรติ โพธยานุวัตร รองผู้ว่าการ (วิศกรรมและก่อสร้าง) รฟม.เป็นประธานได้รายงานผลการเจรจาค่าก่อสร้างกับกลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) ผู้เสนอราคาต่ำสุดในสัญญาที่ 1 ที่ 16,724 ล้านบาทว่าผู้รับเหมาปรับลดค่าก่อสร้างล่าสุดที่ 14,985 ล้านบาทลดลงจาก 15,535 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการรฟม. จะประชุมในวันที่ 20 เม.ย. เพื่อพิจารณาความเหมาะสมทั้งหมด และหากคณะกรรมการประกวดราคาฯ ชี้แจงแล้ว บอร์ดยังเห็นว่ายังมีรายละเอียดที่สามารถปรับลดค่าก่อสร้างลงได้อีก บอร์ดอาจจะเจรจากับผู้รับเหมาเพิ่มเติมโดยตรง เพราะก่อนหน้านี้ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้นโยบายต่อบอร์ดรฟม.ให้พิจารณาค่าก่อสร้างโครงการให้สอดคล้องกับสถาวะปัจจุบันทั้งราคาน้ำมันและต้นทุนค่าก่อสร้างอื่นๆ และเห็นว่า ค่าก่อสร้างควรต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท
นายสุพจน์ กล่าวว่า กรณีราคาน้ำมันปัจจุบันปรับลดลงเหลือประมาณ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลและวัสดุก่อสร้างลดลง ในขณะที่ช่วงประกวดราคาเมื่อปี 2551 ราคาน้ำมันอยู่ในระดับที่สูงมากประมาณ 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลนั้น เป็นสิ่งที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาราคาที่เหมาะสม โดยรฟม.จะต้องนำค่าเค มาพิจารณาประกอบด้วย ซึ่งราคาที่ออกมาจะต้องไม่ทำให้รฟม.เสียหายและต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้รับเหมาในเรื่องความเสี่ยงด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาที่ 1 มีความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดตั้งแต่เดือนธ.ค.2551 และตามเงื่อนไขเงินกู้ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า กำหนดว่า หากมีความล่าช้าในการดำเนินหรือเบิกจ่ายค่างวดงานล่าช้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเบิกจ่ายเงินค่างวดงานในอัตรา 0.1% ของวงเงินแต่ละงวด โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผลและลงนามกับผู้รับเหมาได้ประมาณมิ.ย.-ก.ค.นี้ ซึ่งทำให้ล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 5-6 เดือน
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาที่ 1 ที่ผู้รับเหมาเสนอลดลงเหลือประมาณ 14,900-15,000 ล้านบาท ยังเป็นราคาที่สูงเกินไป เนื่องจากในช่วงที่มีการเปิดประมูลนั้น เป็นช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในอัตราที่สูงและราคาน้ำมันอยู่ในระดับที่สูงมากประมาณ 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่ต้นทุนปัจจุบันราคาน้ำมันมี่การปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล และเงินเฟ้อก็มีอัตราที่ลดลง ค่าก่อสร้างที่เหมาะสมควรอยู่ในระดับไม่เกิน 13,000 ล้านบาท
สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค นายสุพจน์ กล่าวว่า รฟม.ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคมแล้วว่าไม่ขอรับเงื่อนไขการกู้เงินรูปแบบอัตราดอกเบี้ยพิเศษสุด 0.2% (Step Loan) ของไจก้า เพราะมีเงื่อนไขที่ทำให้รฟม.เสียเปรียบมาก โดยเสนอใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศ อัตราดอกเบี้ยปกติ 1.2-1.4% เป็นแนวทางที่ดีกว่า เพราะไม่ยุ่งยากในขั้นตอนการอนุมัติ โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน หรือใช้วิธีออกพันธบัตร