ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ด รฟม.สั่งต่อรองค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วงสัญญาที่ 1 อีก เผยราคาที่สรุปยังไม่น่า พอใจหากไม่ได้ บอร์ดจะต่อเอง เผย ช.การช่าง ลดราคา เหลือ 1.55 หมื่นล้านบาท จากเดิม 1.6724 หมื่นล้านบาท มั่นใจเดือนพ.ค.นี้ได้เซ็นสัญญาก่อสร้าง ขณะสีน้ำเงินยังไม่คืบ JICA ยึกยัก ไม่ตอบกลับผลเจรจาลดเงื่อนไข Step Loan เตรียมส่งเรื่องถึงคลัง ช่วยสื่อสารให้ได้ข้อสรุปในเม.ย.นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดรฟม. วานนี้ (11 มี.ค.) ว่า คณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ที่มีนายชูเกียรติ โพธยานุวัตร รองผู้ว่าฯรฟม. (วิศกรรมและก่อสร้าง) เป็นประธาน ได้รายงานความคืบหน้าผลการเจรจาต่อรองค่าก่อสร้างโครงการในสัญญาที่ 1 ซึ่งกลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) เสนอราคาต่ำสุด ที่ 16,724 ล้านบาทเหลือ 15,500 ล้านบาท
แม้ว่าค่าก่อสร้างที่ต่อรองได้ในขณะนี้จะอยู่ในกรอบวงเงินของที่ปรึกษาโครงการที่ได้มีการคำนวนค่าก่อสร้างเมื่อเดือน ม.ค. 2552 ไว้ที่ 15,526 ล้านบาท ขณะที่การคำนวนค่าก่อสร้าง ณ เดือนก.ค.2551 ช่วงยื่นเอกสารประกวดราคา ที่ 16,000 ล้านบาทนั้น แต่ บอร์ดยังไม่พอใจวงเงินที่เจรจาออกมา เพราะเห็นว่าค่าก่อสร้างน่าจะลดลงได้มากกว่านี้ จึงสั่งให้คณะกรรมการประกวดราคาฯ ไปเจรจาต่อรองกับกลุ่ม CKTC อีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการประกวดราคา คาดว่าจะสามารถเจรจากับกลุ่ม CKTC ได้ข้อยุติภายใน 2 สัปดาห์
“บอร์ดเห็นว่าน่าจะลดลงได้มากกว่า15,500 ล้านบาทเพราะมีบางรายการที่อาจจะเจรจาลดได้อีกแต่ไม่ได้ตั้งเป้าราคาไว้ โดยวางไว้ว่า ค่าก่อสร้างของรถไฟสายสีม่วงในส่วนของสัญญาที่ 1 กับสัญญาที่ 2 รวมกันอยู่ที่ประมาณ 28,000 ล้านบาทน่าจะเหมาะสม ซึ่งหากกรรมการประกวดราคาฯต่อรองไม่ได้ บอร์ดอาจจะขอต่อรองกับผู้รับเมหาเอง” นายสุพจน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าภายในเดือนพ.ค.นี้ รฟม.จะสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาที่ 1 ซึ่งยังล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้ว่าจะลงนามได้ในเดือนมี.ค. 2552 โดยสาเหตุ หนึ่งมาจากการที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ทำการตรวจสอบกรณีที่ รฟม.ปรับร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) หลังจากปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาแล้ว
ทั้งนี้หลังจากได้ข้อยุติงานก่อสร้างสัญญาที่ 1 แล้ว รฟม.จะเร่งนำส่งให้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (JICA) ตรวจสอบ พร้อมขออนุญาต เปิดข้อเสนอด้านราคาสัญญาที่ 2 ทันที
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ กับหัวลำโพง-บางแค นายสุพจน์ กล่าวว่า ล่าสุด JICA ยังไม่ตอบกลับมาว่าจะยอมลดเงื่อนไขเงินกู้แบบพิเศษสุด (Step Loan) อัตราดอกเบี้ย 0.2% ตามที่ รฟม.ร้องขอหรือไม่ ดังนั้นจึงมีแนวคิดว่าจะให้ รฟม.ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม กับกระทรวงการคลัง ช่วยประ สานไปยัง JICA ว่าสรุปแล้วจะให้ รฟม.กู้หรือไม่ โดยขอให้ JICA ตอบมาภายในเดือนเม.ย.นี้ หาก JICA ไม่ยอมผ่อนปรนเงื่อนไขเงินกู้ กระทรวงการคลังก็สามารถหาแหล่งเงินกู้ในประเทศมาดำเนินโครงการได้ โดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดรฟม. วานนี้ (11 มี.ค.) ว่า คณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ที่มีนายชูเกียรติ โพธยานุวัตร รองผู้ว่าฯรฟม. (วิศกรรมและก่อสร้าง) เป็นประธาน ได้รายงานความคืบหน้าผลการเจรจาต่อรองค่าก่อสร้างโครงการในสัญญาที่ 1 ซึ่งกลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) เสนอราคาต่ำสุด ที่ 16,724 ล้านบาทเหลือ 15,500 ล้านบาท
แม้ว่าค่าก่อสร้างที่ต่อรองได้ในขณะนี้จะอยู่ในกรอบวงเงินของที่ปรึกษาโครงการที่ได้มีการคำนวนค่าก่อสร้างเมื่อเดือน ม.ค. 2552 ไว้ที่ 15,526 ล้านบาท ขณะที่การคำนวนค่าก่อสร้าง ณ เดือนก.ค.2551 ช่วงยื่นเอกสารประกวดราคา ที่ 16,000 ล้านบาทนั้น แต่ บอร์ดยังไม่พอใจวงเงินที่เจรจาออกมา เพราะเห็นว่าค่าก่อสร้างน่าจะลดลงได้มากกว่านี้ จึงสั่งให้คณะกรรมการประกวดราคาฯ ไปเจรจาต่อรองกับกลุ่ม CKTC อีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการประกวดราคา คาดว่าจะสามารถเจรจากับกลุ่ม CKTC ได้ข้อยุติภายใน 2 สัปดาห์
“บอร์ดเห็นว่าน่าจะลดลงได้มากกว่า15,500 ล้านบาทเพราะมีบางรายการที่อาจจะเจรจาลดได้อีกแต่ไม่ได้ตั้งเป้าราคาไว้ โดยวางไว้ว่า ค่าก่อสร้างของรถไฟสายสีม่วงในส่วนของสัญญาที่ 1 กับสัญญาที่ 2 รวมกันอยู่ที่ประมาณ 28,000 ล้านบาทน่าจะเหมาะสม ซึ่งหากกรรมการประกวดราคาฯต่อรองไม่ได้ บอร์ดอาจจะขอต่อรองกับผู้รับเมหาเอง” นายสุพจน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าภายในเดือนพ.ค.นี้ รฟม.จะสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาที่ 1 ซึ่งยังล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้ว่าจะลงนามได้ในเดือนมี.ค. 2552 โดยสาเหตุ หนึ่งมาจากการที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ทำการตรวจสอบกรณีที่ รฟม.ปรับร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) หลังจากปิดจำหน่ายเอกสารประกวดราคาแล้ว
ทั้งนี้หลังจากได้ข้อยุติงานก่อสร้างสัญญาที่ 1 แล้ว รฟม.จะเร่งนำส่งให้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (JICA) ตรวจสอบ พร้อมขออนุญาต เปิดข้อเสนอด้านราคาสัญญาที่ 2 ทันที
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ กับหัวลำโพง-บางแค นายสุพจน์ กล่าวว่า ล่าสุด JICA ยังไม่ตอบกลับมาว่าจะยอมลดเงื่อนไขเงินกู้แบบพิเศษสุด (Step Loan) อัตราดอกเบี้ย 0.2% ตามที่ รฟม.ร้องขอหรือไม่ ดังนั้นจึงมีแนวคิดว่าจะให้ รฟม.ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม กับกระทรวงการคลัง ช่วยประ สานไปยัง JICA ว่าสรุปแล้วจะให้ รฟม.กู้หรือไม่ โดยขอให้ JICA ตอบมาภายในเดือนเม.ย.นี้ หาก JICA ไม่ยอมผ่อนปรนเงื่อนไขเงินกู้ กระทรวงการคลังก็สามารถหาแหล่งเงินกู้ในประเทศมาดำเนินโครงการได้ โดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น