รอยเตอร์- ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แห่งอินโดนีเซีย เตรียมเปิดการเจรจากับพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมหลังจากผลการเลือกตั้งรัฐสภาอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดี (9)ที่ผ่านมาชี้ว่า พรรคเดโมแครตภายใต้การนำของเขามีคะแนนต่ำกว่าที่คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ แม้จะมีคะแนนนำหน้าพรรคการเมืองอื่นๆอยู่ก็ตาม
ผลการรับคะแนนแบบสุ่มตัวอย่างที่จัดทำโดยสถาบันแอลเอสไอของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่ติดตามอ้างอิงกันอย่างกว้างขวาง ระบุว่า พรรคเดโมแครตของประธานาธิบดียุโธโยโน อดีตนายพลนักปฏิรูปผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้นำอินโดนีเซียที่เข้มแข็ง ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 20.4 หรือประมาณ 1 ใน 5 จากจำนวนที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภา ตามมาด้วยพรรคพีดีไอ-พี ของอดีตประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรีที่ได้คะแนนร้อยละ 15 ขณะที่พรรคโกลคาร์ที่ได้คะแนนร้อยละ14 ตามมาเป็นอันดับที่ 3
อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการคงต้องใช้เวลาอีกหลายวัน แต่นักวิเคราะห์ประเมินว่าผลที่ออกมาคงจะไม่แตกต่างจากรายงานของแอลเอสไอเท่าใดนัก ซึ่งทำให้พรรคเดโมแครตของประธานาธิบดียุโธโยโน จำเป็นต้องเจรจาทาบทามพรรคการเมืองอื่นๆ เข้ามาร่วมรัฐบาลผสม
ยุโธโยโน ซึ่งมีอายุ 59 ปี และเป็นตัวเต็งที่จะได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้กล่าวในการแถลงข่าวที่บ้านของเขาในเมืองโบกอร์ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงจาการ์ตาว่า พรรคของเขาเสนอโอกาสให้กับพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการจัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไปเพื่อบริหารประเทศร่วมกันตลอด 5 ปีข้างหน้า และเขาต้องการให้
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและรัฐสภาของอินโดนีเซียแข็งแรงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
รายงานข่าวระบุว่า พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่เป็นตัวเลือกของยุโธโยโนน่าจะเป็นพรรคที่สนับสนุนให้เขาเดินหน้าปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมและระบบราชการได้ เช่นเดียวกับการเร่งปราบปรามการคอร์รัปชั่นที่ถือเป็นปัญหาสำคัญของอินโดนีเซียมาอย่างยาวนาน โดยมีความเป็นไปได้ว่า ยุโธโยโนน่าจะยังคงทำงานร่วมกับพรรคโกลคาร์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันต่อไป หรืออาจหันไปจับมือกับพรรคการเมืองสายอิสลามขนาดเล็ก อีกหนึ่งหรือสองพรรคเพื่อตั้งรัฐบาล
โดยที่ผ่านมายุโธโยโน ได้ผลักดันการปฏิรูปเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติซึ่งเป็นสิ่งที่อินโดนีเซียกำลังต้องการอย่างมาก ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ เช่นพรรคพีดีไอ-พี ของอดีตประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี และพรรคโกลคาร์ดูเหมือนจะไม่สนใจในเรื่องการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติเท่าใดนัก ซึ่งอาจทำให้ยุโธโยโนต้องยอมประนีประนอมกับพรรคโกลคาร์ในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ และอาจต้องยอมให้พรรคการเมืองสายอิสลามเข้ามามีอิทธิพลในด้าน
การปฏิรูปสถาบันต่างๆของประเทศภายหลังตั้งรัฐบาลผสม
อย่างไรก็ตาม เควิน โอรูก นักวิเคราะห์ด้านความเสี่ยงทางการเมืองระบุว่า คะแนนของพรรคเดโมแครตที่ออกมาในขณะนี้ แม้จะได้มากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนในปี 2004 ที่ได้เพียง 7.5% แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง เนื่องจากก่อนหน้านี้เป็นที่คาด
กันว่าพรรคของยุโธโยโนน่าจะได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ30
โอรูกระบุว่า การเป็นรัฐบาลผสมอาจเป็นการลดโอกาสที่ยุโธโยโนเซียจะเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจของอินโดนีเซียซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากยุโธโยโนจำเป็นต้องฟังเสียงพรรคการเมืองอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรทางการเมือง
ก่อนจะตัดสินใจดำเนินการปฏิรูปใดๆ
ส่วนในด้านการเลือกตั้งครั้งนี้ของอินโดนีเซียซึ่งเป็นชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงมากกว่า 170 ล้านคนนั้น ยุโธโยโนกล่าวว่า โดยภาพรวมถือว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แม้จะมีปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยบ้าง เช่น ที่จังหวัดปาปัวที่มีเหตุรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตไป 5 ราย ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงานและการคอร์รัปชั่นถือเป็นประเด็นหลักที่
พรรคการเมืองต่างๆทั้ง 38 พรรคมุ่งใช้ในการหาเสียงคราวนี้
ทั้งนี้ ยุโธโยโนเป็นผู้นำอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และถือเป็นผู้นำคนแรกที่สามารถอยู่จนครบวาระ 5 ปี นับตั้งแต่ที่อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตถูกกดดันให้ลงจากอำนาจเมื่อปี 1998
ผลการรับคะแนนแบบสุ่มตัวอย่างที่จัดทำโดยสถาบันแอลเอสไอของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่ติดตามอ้างอิงกันอย่างกว้างขวาง ระบุว่า พรรคเดโมแครตของประธานาธิบดียุโธโยโน อดีตนายพลนักปฏิรูปผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้นำอินโดนีเซียที่เข้มแข็ง ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 20.4 หรือประมาณ 1 ใน 5 จากจำนวนที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภา ตามมาด้วยพรรคพีดีไอ-พี ของอดีตประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรีที่ได้คะแนนร้อยละ 15 ขณะที่พรรคโกลคาร์ที่ได้คะแนนร้อยละ14 ตามมาเป็นอันดับที่ 3
อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการคงต้องใช้เวลาอีกหลายวัน แต่นักวิเคราะห์ประเมินว่าผลที่ออกมาคงจะไม่แตกต่างจากรายงานของแอลเอสไอเท่าใดนัก ซึ่งทำให้พรรคเดโมแครตของประธานาธิบดียุโธโยโน จำเป็นต้องเจรจาทาบทามพรรคการเมืองอื่นๆ เข้ามาร่วมรัฐบาลผสม
ยุโธโยโน ซึ่งมีอายุ 59 ปี และเป็นตัวเต็งที่จะได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้กล่าวในการแถลงข่าวที่บ้านของเขาในเมืองโบกอร์ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงจาการ์ตาว่า พรรคของเขาเสนอโอกาสให้กับพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อเป็นหุ้นส่วนในการจัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไปเพื่อบริหารประเทศร่วมกันตลอด 5 ปีข้างหน้า และเขาต้องการให้
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและรัฐสภาของอินโดนีเซียแข็งแรงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
รายงานข่าวระบุว่า พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่เป็นตัวเลือกของยุโธโยโนน่าจะเป็นพรรคที่สนับสนุนให้เขาเดินหน้าปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมและระบบราชการได้ เช่นเดียวกับการเร่งปราบปรามการคอร์รัปชั่นที่ถือเป็นปัญหาสำคัญของอินโดนีเซียมาอย่างยาวนาน โดยมีความเป็นไปได้ว่า ยุโธโยโนน่าจะยังคงทำงานร่วมกับพรรคโกลคาร์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันต่อไป หรืออาจหันไปจับมือกับพรรคการเมืองสายอิสลามขนาดเล็ก อีกหนึ่งหรือสองพรรคเพื่อตั้งรัฐบาล
โดยที่ผ่านมายุโธโยโน ได้ผลักดันการปฏิรูปเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติซึ่งเป็นสิ่งที่อินโดนีเซียกำลังต้องการอย่างมาก ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ เช่นพรรคพีดีไอ-พี ของอดีตประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี และพรรคโกลคาร์ดูเหมือนจะไม่สนใจในเรื่องการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติเท่าใดนัก ซึ่งอาจทำให้ยุโธโยโนต้องยอมประนีประนอมกับพรรคโกลคาร์ในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ และอาจต้องยอมให้พรรคการเมืองสายอิสลามเข้ามามีอิทธิพลในด้าน
การปฏิรูปสถาบันต่างๆของประเทศภายหลังตั้งรัฐบาลผสม
อย่างไรก็ตาม เควิน โอรูก นักวิเคราะห์ด้านความเสี่ยงทางการเมืองระบุว่า คะแนนของพรรคเดโมแครตที่ออกมาในขณะนี้ แม้จะได้มากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนในปี 2004 ที่ได้เพียง 7.5% แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง เนื่องจากก่อนหน้านี้เป็นที่คาด
กันว่าพรรคของยุโธโยโนน่าจะได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ30
โอรูกระบุว่า การเป็นรัฐบาลผสมอาจเป็นการลดโอกาสที่ยุโธโยโนเซียจะเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจของอินโดนีเซียซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากยุโธโยโนจำเป็นต้องฟังเสียงพรรคการเมืองอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรทางการเมือง
ก่อนจะตัดสินใจดำเนินการปฏิรูปใดๆ
ส่วนในด้านการเลือกตั้งครั้งนี้ของอินโดนีเซียซึ่งเป็นชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงมากกว่า 170 ล้านคนนั้น ยุโธโยโนกล่าวว่า โดยภาพรวมถือว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แม้จะมีปัญหาในเรื่องของความปลอดภัยบ้าง เช่น ที่จังหวัดปาปัวที่มีเหตุรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตไป 5 ราย ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงานและการคอร์รัปชั่นถือเป็นประเด็นหลักที่
พรรคการเมืองต่างๆทั้ง 38 พรรคมุ่งใช้ในการหาเสียงคราวนี้
ทั้งนี้ ยุโธโยโนเป็นผู้นำอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และถือเป็นผู้นำคนแรกที่สามารถอยู่จนครบวาระ 5 ปี นับตั้งแต่ที่อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตถูกกดดันให้ลงจากอำนาจเมื่อปี 1998