เอเอฟพี - อินโดนีเซียและไทยกำลังถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีคอร์รัปชั่นมากที่สุดในเอเชีย โดยมีค่าคะแนน 8.32 และ 7.63 ตามลำดับ ขณะที่ฟิลิปปินส์ซึ่งเคยรั้งตำแหน่งประเทศที่มีคอร์รัปชั่นสูงสุดเมื่อปีที่แล้ว มีการปรับปรุงในทางที่ดีขึ้นมาก ทั้งนี้เป็นผลการสำรวจประจำปีเกี่ยวกับความคิดเห็นของบรรดาผู้บริหารธุรกิจต่างชาติ ซึ่งนำออกเผยแพร่เมื่อวานนี้(8)
ผลการสำรวจล่าสุดของบริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (Political and Economic Risk Consultancy - PERC หรือ เพิร์ก)นี้ ระบุด้วยว่า สิงคโปร์และฮ่องกงยังรั้งตำแหน่งประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่มีคอร์รัปชั่นน้อยที่สุดในเอเชียเช่นเคย แม้ว่าจะมีความกังวลในเรื่องเกี่ยวกับการฉ้อโกงในภาคเอกชนอยู่บ้าง
ถึงแม้อินโดนีเซียจะถูกระบุว่ามีปัญหาคอร์รัปชั่นสูงที่สุด แต่รายงานการสำรวจของเพิร์กก็บอกว่า ในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคของประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน นั้น "มีการดำเนินการในเรื่องการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่คืบหน้าไปมากทีเดียว" ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยุโธโยโนกำลังเตรียมการที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัยในเดือนกรกฎาคมปีนี้
"แต่ที่แน่ๆ จากคะแนนรวมก็พบว่าคอร์รัปชั่นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนก็ยังสูงอยู่มาก" เพิร์กชี้
"จากการสำรวจครั้งล่าสุดของเราพบว่าชาวอินโดนีเซียค่อนข้างชื่นชอบแนวทางที่เด็ดขาดในเรื่องการจัดการกับคอร์รัปชั่นของคณะกรรมการปราบปรามคอร์รัปชั่น (เคพีเค) ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่มีคอร์รัปชั่นสูงยังไม่พอใจกับการจัดการปัญหาดังกล่าวในประเทศของตนเท่าใด"
รายงานยังระบุด้วยว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียไม่แน่ใจว่าการปราปปรามคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังจะดำเนินต่อไปได้นานเท่าไร
ทั้งนี้ เพิร์กระบุว่าผลการสำรวจครั้งนี้จัดทำขึ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการสำรวจความเห็นของผู้บริหารกว่า 1,700 คน จาก 14 ประเทศในเอเชีย แต่เพิ่มออสเตรเลียกับสหรัฐฯ เข้าไปด้วยเพื่อต้องการให้เป็นตัวเปรียบเทียบ
สำหรับการให้คะแนน มีค่าระดับตั้งแต่ 0 ซึ่งหมายถึงคะแนนดีที่สุด คือไม่มีคอร์รัปชั่น จนถึงค่าคะแนน 10 ซึ่งหมายถึงมีคอร์รัปชั่นสูงที่สุด และปรากฏว่าอินโดนีเซียมีค่าคะแนนสูงถึง 8.32
ส่วนไทยนั้นแม้จะถูกมองว่าเป็นประเทศในเอเชียที่มีคอร์รัปชั่นสูงเป็นอันดับสอง โดยมีค่าคะแนน 7.63 แต่ เพิร์กระบุว่านักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่กลับวิตกกังวลกับเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่า
"มีผู้บริหารชาวต่างชาติน้อยมากที่มองว่าคอร์รัปชั่นจะทำให้ประเทศไทยน่าอยู่หรือน่าทำธุรกิจน้อยลง"
ขณะที่กัมพูชานั้นรั้งอันดับสามต่อจากไทย มีคะแนน 7.25 ตามมาด้วยอินเดีย (7.21) และเวียดนาม (7.11)
เพิร์กระบุด้วยว่าค่าคะแนนที่สูงกว่า 7.0 แสดงว่าปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับ "รุนแรง" ส่วนค่าคะแนนระหว่าง 4.0 ถึง 7.0 แสดงว่าปัญหาอยู่ในระดับ "ปานกลาง"
ฟิลิปปินส์เคยเป็นประเทศที่มีคอร์รัปชั่นสูงที่สุดในเอเชียเมื่อปี 2008 แต่มาปีนี้ได้ปรับปรุงขึ้นจนอันดับการคอร์รัปชั่นสูงถอยลงมาอยู่อันดับหกและมีค่าคะแนน 7.0 ตามมาด้วยมาเลเซีย (6.70) ไต้หวัน (6.47) จีน (6.16) มาเก๊า (5.84) เกาหลีใต้ (4.64) และญี่ปุ่น (3.99)
เพิร์กระบุด้วยว่าหน่วยงานด้านภาษีและศุลกากร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและนักการเมืองของฟิลิปปินส์นั้นขึ้นชื่อมากที่สุดในเรื่องคอร์รัปชั่น
แม้ "คนแทบไม่เชื่อมั่นในความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลต่อการแก้ปัญหานี้" แต่เพิร์กระบุว่า "ระดับความรุนแรงของปัญหาที่แท้จริงก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่พูดๆ กัน"
สิงคโปร์ติดอันดับประเทศที่มีคอร์รัปชั่นต่ำที่สุดเช่นเดียวกับเมื่อปีก่อน ด้วยคะแนน 1.07 ส่วนฮ่องกงมีคะแนน 1.89 ออสเตรเลีย 2.40 สหรัฐฯ 2.89
อย่างไรก็ตาม PERC คาดว่า "แรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้จะส่งผลให้เกิดคอร์รัปชั่นในภาคเอกชนมากขึ้น"
ผลการสำรวจล่าสุดของบริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (Political and Economic Risk Consultancy - PERC หรือ เพิร์ก)นี้ ระบุด้วยว่า สิงคโปร์และฮ่องกงยังรั้งตำแหน่งประเทศหรือเขตเศรษฐกิจที่มีคอร์รัปชั่นน้อยที่สุดในเอเชียเช่นเคย แม้ว่าจะมีความกังวลในเรื่องเกี่ยวกับการฉ้อโกงในภาคเอกชนอยู่บ้าง
ถึงแม้อินโดนีเซียจะถูกระบุว่ามีปัญหาคอร์รัปชั่นสูงที่สุด แต่รายงานการสำรวจของเพิร์กก็บอกว่า ในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคของประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน นั้น "มีการดำเนินการในเรื่องการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่คืบหน้าไปมากทีเดียว" ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยุโธโยโนกำลังเตรียมการที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัยในเดือนกรกฎาคมปีนี้
"แต่ที่แน่ๆ จากคะแนนรวมก็พบว่าคอร์รัปชั่นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนก็ยังสูงอยู่มาก" เพิร์กชี้
"จากการสำรวจครั้งล่าสุดของเราพบว่าชาวอินโดนีเซียค่อนข้างชื่นชอบแนวทางที่เด็ดขาดในเรื่องการจัดการกับคอร์รัปชั่นของคณะกรรมการปราบปรามคอร์รัปชั่น (เคพีเค) ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่มีคอร์รัปชั่นสูงยังไม่พอใจกับการจัดการปัญหาดังกล่าวในประเทศของตนเท่าใด"
รายงานยังระบุด้วยว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียไม่แน่ใจว่าการปราปปรามคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังจะดำเนินต่อไปได้นานเท่าไร
ทั้งนี้ เพิร์กระบุว่าผลการสำรวจครั้งนี้จัดทำขึ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการสำรวจความเห็นของผู้บริหารกว่า 1,700 คน จาก 14 ประเทศในเอเชีย แต่เพิ่มออสเตรเลียกับสหรัฐฯ เข้าไปด้วยเพื่อต้องการให้เป็นตัวเปรียบเทียบ
สำหรับการให้คะแนน มีค่าระดับตั้งแต่ 0 ซึ่งหมายถึงคะแนนดีที่สุด คือไม่มีคอร์รัปชั่น จนถึงค่าคะแนน 10 ซึ่งหมายถึงมีคอร์รัปชั่นสูงที่สุด และปรากฏว่าอินโดนีเซียมีค่าคะแนนสูงถึง 8.32
ส่วนไทยนั้นแม้จะถูกมองว่าเป็นประเทศในเอเชียที่มีคอร์รัปชั่นสูงเป็นอันดับสอง โดยมีค่าคะแนน 7.63 แต่ เพิร์กระบุว่านักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่กลับวิตกกังวลกับเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่า
"มีผู้บริหารชาวต่างชาติน้อยมากที่มองว่าคอร์รัปชั่นจะทำให้ประเทศไทยน่าอยู่หรือน่าทำธุรกิจน้อยลง"
ขณะที่กัมพูชานั้นรั้งอันดับสามต่อจากไทย มีคะแนน 7.25 ตามมาด้วยอินเดีย (7.21) และเวียดนาม (7.11)
เพิร์กระบุด้วยว่าค่าคะแนนที่สูงกว่า 7.0 แสดงว่าปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับ "รุนแรง" ส่วนค่าคะแนนระหว่าง 4.0 ถึง 7.0 แสดงว่าปัญหาอยู่ในระดับ "ปานกลาง"
ฟิลิปปินส์เคยเป็นประเทศที่มีคอร์รัปชั่นสูงที่สุดในเอเชียเมื่อปี 2008 แต่มาปีนี้ได้ปรับปรุงขึ้นจนอันดับการคอร์รัปชั่นสูงถอยลงมาอยู่อันดับหกและมีค่าคะแนน 7.0 ตามมาด้วยมาเลเซีย (6.70) ไต้หวัน (6.47) จีน (6.16) มาเก๊า (5.84) เกาหลีใต้ (4.64) และญี่ปุ่น (3.99)
เพิร์กระบุด้วยว่าหน่วยงานด้านภาษีและศุลกากร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและนักการเมืองของฟิลิปปินส์นั้นขึ้นชื่อมากที่สุดในเรื่องคอร์รัปชั่น
แม้ "คนแทบไม่เชื่อมั่นในความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลต่อการแก้ปัญหานี้" แต่เพิร์กระบุว่า "ระดับความรุนแรงของปัญหาที่แท้จริงก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่พูดๆ กัน"
สิงคโปร์ติดอันดับประเทศที่มีคอร์รัปชั่นต่ำที่สุดเช่นเดียวกับเมื่อปีก่อน ด้วยคะแนน 1.07 ส่วนฮ่องกงมีคะแนน 1.89 ออสเตรเลีย 2.40 สหรัฐฯ 2.89
อย่างไรก็ตาม PERC คาดว่า "แรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้จะส่งผลให้เกิดคอร์รัปชั่นในภาคเอกชนมากขึ้น"