เอเอฟพี – เขื่อนดินเก่าแก่แห่งหนึ่งในเมืองซิเรอุนเดอู ใกล้กับกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย เกิดแตกในช่วงเช้ามืดวานนี้ (27) ทำให้กระแสน้ำและโคลนตมทะลักเข้าทำลายและท่วมบ้านเรือนที่อยู่ในพื้นที่บริเวณต่ำกว่าอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 52 ราย และผู้สูญหายอีกนับสิบ
กระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซียระบุว่า เนื่องจากเขื่อนดินดังกล่าวแตกในช่วงกลางดึกระหว่างที่ประชาชนกำลังหลับสนิท จึงแทบไม่มีใครหลบหนีได้ทัน ส่วนผู้รอดชีวิตคนหนึ่งเปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเหมือนกับสึนามิ
“หายนภัยครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน” ดานัง ซูซานโต เจ้าหน้าที่ของศูนย์รับมือเหตุวิกฤตในกระทรวงสาธารณสุขกล่าว เขาคาดการณ์ว่ามีบ้านเรือนราว 500 หลังถูกทำลายหรือจมอยู่ใต้กระแสน้ำ หลังจากที่มีฝนตกต่อเนื่องกันหลายวันจนทำให้เขื่อนดินซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลสาบซิตู กินตุงแตกกลางดึก ส่วนระดับน้ำคาดว่าสูงถึงราว 6 เมตร
“เรากำลังอพยพประชาชนออกจากที่เกิดเหตุ ซึ่งราวครึ่งหนึ่งยังคงติดอยู่บนหลังคาบ้าน” รุสตัม ปากายา หัวหน้าศูนย์รับมือเหตุวิกฤตระบุ
ทั้งนี้ ทางการได้ใช้หอประชุมของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกันเป็นสถานที่เก็บศพชั่วคราว ขณะที่ประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุเที่ยวค้นหาบุคคลที่สูญหายไป
กูฟรอน นักศึกษาวัย 17 ปี เล่าว่าเขาหลบหนีกระแสน้ำที่พัดเข้ามาปะทะบ้านของเขาได้หวุดหวิด แต่ลุงของเขาเสียชีวิต และญาติอีกสามคนยังสูญหาย
“ตอนที่ผมตื่นขึ้นมาน้ำก็ท่วมถึงจมูกแล้ว ผมรีบปีนหนีขึ้นไปบนหลังคาบ้านเพื่อเอาตัวรอด ระหว่างนั้นก็ได้ยินเสียงกรีดร้องและตะโกนดังไปทั่ว” เขาบอก
ส่วนเดวี มาสิโตห์ แม่บ้านวัย 40 ปี เล่าว่าเธอกับสามีและลูกสาวสองคนหนีเอาตัวรอดได้หวุดหวิดเช่นกันหลังจากที่พวกเขาเห็นว่าน้ำกำลังท่วมสูงขึ้นมาจนถึงประตูบ้านซึ่งเป็นแบบยกพื้นสูง
“เราอยู่กันบนชั้นสองแต่ลูกสาวกลับลงไปข้างล่างตอนที่หน้าต่างถูกน้ำพัดแตกและไหลท่วมเข้ามาในบ้าน สามีของดิฉันรีบกระโดดลงไปดึงตัวลูกขึ้นมาจากน้ำที่ท่วมสูงถึงคอแล้ว
“ดิฉันทุบหลังคาแตกจนเป็นช่อง แล้วพวกเราก็ปีนขึ้นไปอยู่กันบนนั้น” เธอเล่าพร้อมกับยกแขนที่มีรอยบาดแผลให้ดู
สถานีโทรทัศน์แพร่ภาพศพที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปตามถนนหนทางต่างๆ และกระแสน้ำที่ไหลทะลักลงมาตามรอยแตกของเขื่อน
“มันเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์สึนามิเลย” มินู ชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุการณ์เล่า
ทางการอินโดนีเซียระบุว่าสาเหตุที่เขื่อนแตกพังลงมาก็เพราะมีฝนตกอย่างหนัก แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณเขื่อนซึ่งมีอายุหลายสิบปีดังกล่าว กลับคิดว่าเป็นเพราะสาเหตุอื่น
“มีการสร้างบ้านใหม่มากมายในบริเวณใกล้ๆ เขื่อน ผมว่ามันทำให้ผืนดินที่ฐานเขื่อนร่วนซุยไม่แน่นพอที่จะรับน้ำหนักเขื่อน” ซูเพเจ ซูเกง วัย 49 ปี วิเคราะห์และเสริมว่า “ผมเห็นน้ำรั่วซึมที่เขื่อนตั้งแต่ตอนเที่ยงคืนแล้ว ตอนเขื่อนแตกมันเกิดขึ้นรวดเร็วมาก และเสียงก็ดังยังกับฟ้าผ่า”
ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน และรัฐมนตรีอีกหลายคนได้ระงับแผนการหาเสียงเลือกตั้งไว้ เพื่อเดินทางไปยังพื้นที่เกิดเหตุและตรวจดูการให้ความช่วยเหลือและเยี่ยมผู้ประสบเหตุ
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะแรงดันขนาดมหาศาลจากระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเขื่อน ซึ่งถือว่าเป็นหายนภัยอย่างแท้จริง” ยุโธโยโนกล่าว
ส่วนซิติ ฟาดิลาห์ ซุปารี รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่า “สิ่งที่เราจะดำเนินการในขณะนี้ก็คือช่วยเหลือผู้ที่รอดชีวิต ทำการชันสูตรศพ และป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น”
อนึ่ง บริษัทพีแอลเอ็นซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่น้ำท่วมได้ปิดการจ่ายกระแสไฟในพื้นที่เช่นกันเนื่องจากโรงไฟฟ้าห้าแห่งจมอยู่ใต้น้ำ
กระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซียระบุว่า เนื่องจากเขื่อนดินดังกล่าวแตกในช่วงกลางดึกระหว่างที่ประชาชนกำลังหลับสนิท จึงแทบไม่มีใครหลบหนีได้ทัน ส่วนผู้รอดชีวิตคนหนึ่งเปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเหมือนกับสึนามิ
“หายนภัยครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน” ดานัง ซูซานโต เจ้าหน้าที่ของศูนย์รับมือเหตุวิกฤตในกระทรวงสาธารณสุขกล่าว เขาคาดการณ์ว่ามีบ้านเรือนราว 500 หลังถูกทำลายหรือจมอยู่ใต้กระแสน้ำ หลังจากที่มีฝนตกต่อเนื่องกันหลายวันจนทำให้เขื่อนดินซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลสาบซิตู กินตุงแตกกลางดึก ส่วนระดับน้ำคาดว่าสูงถึงราว 6 เมตร
“เรากำลังอพยพประชาชนออกจากที่เกิดเหตุ ซึ่งราวครึ่งหนึ่งยังคงติดอยู่บนหลังคาบ้าน” รุสตัม ปากายา หัวหน้าศูนย์รับมือเหตุวิกฤตระบุ
ทั้งนี้ ทางการได้ใช้หอประชุมของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกันเป็นสถานที่เก็บศพชั่วคราว ขณะที่ประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุเที่ยวค้นหาบุคคลที่สูญหายไป
กูฟรอน นักศึกษาวัย 17 ปี เล่าว่าเขาหลบหนีกระแสน้ำที่พัดเข้ามาปะทะบ้านของเขาได้หวุดหวิด แต่ลุงของเขาเสียชีวิต และญาติอีกสามคนยังสูญหาย
“ตอนที่ผมตื่นขึ้นมาน้ำก็ท่วมถึงจมูกแล้ว ผมรีบปีนหนีขึ้นไปบนหลังคาบ้านเพื่อเอาตัวรอด ระหว่างนั้นก็ได้ยินเสียงกรีดร้องและตะโกนดังไปทั่ว” เขาบอก
ส่วนเดวี มาสิโตห์ แม่บ้านวัย 40 ปี เล่าว่าเธอกับสามีและลูกสาวสองคนหนีเอาตัวรอดได้หวุดหวิดเช่นกันหลังจากที่พวกเขาเห็นว่าน้ำกำลังท่วมสูงขึ้นมาจนถึงประตูบ้านซึ่งเป็นแบบยกพื้นสูง
“เราอยู่กันบนชั้นสองแต่ลูกสาวกลับลงไปข้างล่างตอนที่หน้าต่างถูกน้ำพัดแตกและไหลท่วมเข้ามาในบ้าน สามีของดิฉันรีบกระโดดลงไปดึงตัวลูกขึ้นมาจากน้ำที่ท่วมสูงถึงคอแล้ว
“ดิฉันทุบหลังคาแตกจนเป็นช่อง แล้วพวกเราก็ปีนขึ้นไปอยู่กันบนนั้น” เธอเล่าพร้อมกับยกแขนที่มีรอยบาดแผลให้ดู
สถานีโทรทัศน์แพร่ภาพศพที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปตามถนนหนทางต่างๆ และกระแสน้ำที่ไหลทะลักลงมาตามรอยแตกของเขื่อน
“มันเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์สึนามิเลย” มินู ชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุการณ์เล่า
ทางการอินโดนีเซียระบุว่าสาเหตุที่เขื่อนแตกพังลงมาก็เพราะมีฝนตกอย่างหนัก แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณเขื่อนซึ่งมีอายุหลายสิบปีดังกล่าว กลับคิดว่าเป็นเพราะสาเหตุอื่น
“มีการสร้างบ้านใหม่มากมายในบริเวณใกล้ๆ เขื่อน ผมว่ามันทำให้ผืนดินที่ฐานเขื่อนร่วนซุยไม่แน่นพอที่จะรับน้ำหนักเขื่อน” ซูเพเจ ซูเกง วัย 49 ปี วิเคราะห์และเสริมว่า “ผมเห็นน้ำรั่วซึมที่เขื่อนตั้งแต่ตอนเที่ยงคืนแล้ว ตอนเขื่อนแตกมันเกิดขึ้นรวดเร็วมาก และเสียงก็ดังยังกับฟ้าผ่า”
ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน และรัฐมนตรีอีกหลายคนได้ระงับแผนการหาเสียงเลือกตั้งไว้ เพื่อเดินทางไปยังพื้นที่เกิดเหตุและตรวจดูการให้ความช่วยเหลือและเยี่ยมผู้ประสบเหตุ
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะแรงดันขนาดมหาศาลจากระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเขื่อน ซึ่งถือว่าเป็นหายนภัยอย่างแท้จริง” ยุโธโยโนกล่าว
ส่วนซิติ ฟาดิลาห์ ซุปารี รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่า “สิ่งที่เราจะดำเนินการในขณะนี้ก็คือช่วยเหลือผู้ที่รอดชีวิต ทำการชันสูตรศพ และป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น”
อนึ่ง บริษัทพีแอลเอ็นซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่น้ำท่วมได้ปิดการจ่ายกระแสไฟในพื้นที่เช่นกันเนื่องจากโรงไฟฟ้าห้าแห่งจมอยู่ใต้น้ำ