ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์กสิกรไทยมั่นใจสินเชื่อปีนี้เข้าเป้า หลังเดือนมี.ค.และแนวโน้มครึ่งปีหลังมีสัญญาณเป็นบวก ยันไม่มีนโยบายไม่ปล่อยสินเชื่อเพราะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ ชี้กนง.หั่่นดอกเบี้ยอีกรอบ หวั่นสถานการณ์ทางการเมืองไม่นิ่ง การชุมนุมยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารยังมีความมั่นใจเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ว่าจะมีการขยายตัวที่ 5% เนื่องจากคาดว่าสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังจะเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ต้องรอดูถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไรด้วย โดยในส่วนของการปล่อยสินเชื่อในเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้นได้เริ่มปรับตัวดีกว่าช่วง 2เดือนแรกที่มีความต้องการสินเชื่อไม่สูงนัก แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทดแทนการปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 เดือนที่ติดลบได้
ส่วนกรณที่มีข่าวว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อเนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) นั้น ส่วนตัวเชื่อว่าธนาคารทุกแห่งยังคงมุ่งเน้นที่จะทำการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับธนาคาร และขณะนี้ธนาคารทุกแห่งยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่สูง
สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันที่ 8 เมษายนนี้ คาดว่า การประชุมดังกล่าวอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนในกรณีที่มีบางธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อนหนี้แล้ว และหลังจากการประชุมกนง. จะปรับลดอีกหรือไม่นั้นยังไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่ยังมีหลายธนาคารที่ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและยังรอสัญญาณการประชุม กนง. ก่อนพิจารณาปรับลด
นายประสาร กล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มนปช.หากยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งทุกฝ่ายควรที่จะคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก และจะเป็นสิ่งที่ดีหากสถานการณ์การเมืองสงบลงได้ ในส่วนของธุรกิจธนาคารนั้นคงไม่สามารถร่วมแก้ปัญหาการเมืองได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และเกินกำลัง จึงขอให้คนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรคิดถึงส่วนรวมให้มาก เนื่องจาก ปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภครวมถึง เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วง 3 เดือนแรกนั้น มียอดการปล่อยสินเชื่ออยุ่ที่ 6,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดการปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 5,900 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ว่าธนาคารไม่ยอมปล่อยสินเชื่อนั้นส่วนตัวมองว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยอดการปล่อยสินเชื่อ 3 เดือนแรกนั้นมีการเติบโตขึ้นและเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วย
“สาเหตุที่สินเชื่อเดือนมีนาคมปรับตัวได้ดีเนื่องจากมาตราภาษีหมดกำหนดในวัน 28 มีนาคมนี้ จึงส่งผลให้สินเชื่อไตรมาสแรกมีสัญญาณการเติบโตได้ดีด้วย แต่ถ้าเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่เหลือยังไม่ดีขึ้นก็มีความเป็นไปได้ที่สินเชื่อทั้งปีจะไม่สามารถเติบโตได้มากเท่าที่ควร”
ทั้งนี้ธนาคารเริ่มมีความเข้มงวดด้านการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยธนาคารได้หันมาปล่อยสินเชื่อลูกค้าที่มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีวงเงินกู้เฉลี่ยประมาณ 2-2.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 70% ในส่วนของลูกค้าที่มีรายได้ 15,000 หมื่นบาทต่อเดือน นั้นธนาคารยังคงปล่อยกู้อย่างต่อเนื่องแต่จะเริ่มลดสัดส่วนลง
ส่วนปีนี้ธนาคารฯตั้งเป้าคุมเอ็นพีแอลของสินเชื่อบ้านไม่ให้เกิน 2.1% ซึ่งปัจจุบันมีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.8% จากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 3.5-3.6% ขณะนี้เริ่มพบหนี้เสียเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 0.1% ทั้งนี้คาดว่าในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. เป็นช่วงการใช้จ่าย อาจจะเริ่มเห็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ เป็นผลมาจากลูกค้าจะเริ่มชำระหนี้ล่าช้ามากขึ้น
“ไตรมาสแรกนี้เราได้เริ่มเห็นลูกค้าผิดนัดชำระเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในกลุ่มซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.8-1.9% ขณะที่แบงก์อื่นอยู่ที่ 4-5% ส่วนตัวจึงไม่เป็นห่วงการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียแต่ก็จะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น”
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารยังมีความมั่นใจเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ว่าจะมีการขยายตัวที่ 5% เนื่องจากคาดว่าสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังจะเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ต้องรอดูถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไรด้วย โดยในส่วนของการปล่อยสินเชื่อในเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้นได้เริ่มปรับตัวดีกว่าช่วง 2เดือนแรกที่มีความต้องการสินเชื่อไม่สูงนัก แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทดแทนการปล่อยสินเชื่อในช่วง 2 เดือนที่ติดลบได้
ส่วนกรณที่มีข่าวว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อเนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) นั้น ส่วนตัวเชื่อว่าธนาคารทุกแห่งยังคงมุ่งเน้นที่จะทำการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับธนาคาร และขณะนี้ธนาคารทุกแห่งยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่สูง
สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันที่ 8 เมษายนนี้ คาดว่า การประชุมดังกล่าวอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนในกรณีที่มีบางธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อนหนี้แล้ว และหลังจากการประชุมกนง. จะปรับลดอีกหรือไม่นั้นยังไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่ยังมีหลายธนาคารที่ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและยังรอสัญญาณการประชุม กนง. ก่อนพิจารณาปรับลด
นายประสาร กล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มนปช.หากยืดเยื้อ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งทุกฝ่ายควรที่จะคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก และจะเป็นสิ่งที่ดีหากสถานการณ์การเมืองสงบลงได้ ในส่วนของธุรกิจธนาคารนั้นคงไม่สามารถร่วมแก้ปัญหาการเมืองได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และเกินกำลัง จึงขอให้คนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรคิดถึงส่วนรวมให้มาก เนื่องจาก ปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภครวมถึง เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วง 3 เดือนแรกนั้น มียอดการปล่อยสินเชื่ออยุ่ที่ 6,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดการปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 5,900 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ว่าธนาคารไม่ยอมปล่อยสินเชื่อนั้นส่วนตัวมองว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยอดการปล่อยสินเชื่อ 3 เดือนแรกนั้นมีการเติบโตขึ้นและเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วย
“สาเหตุที่สินเชื่อเดือนมีนาคมปรับตัวได้ดีเนื่องจากมาตราภาษีหมดกำหนดในวัน 28 มีนาคมนี้ จึงส่งผลให้สินเชื่อไตรมาสแรกมีสัญญาณการเติบโตได้ดีด้วย แต่ถ้าเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่เหลือยังไม่ดีขึ้นก็มีความเป็นไปได้ที่สินเชื่อทั้งปีจะไม่สามารถเติบโตได้มากเท่าที่ควร”
ทั้งนี้ธนาคารเริ่มมีความเข้มงวดด้านการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยธนาคารได้หันมาปล่อยสินเชื่อลูกค้าที่มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีวงเงินกู้เฉลี่ยประมาณ 2-2.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 70% ในส่วนของลูกค้าที่มีรายได้ 15,000 หมื่นบาทต่อเดือน นั้นธนาคารยังคงปล่อยกู้อย่างต่อเนื่องแต่จะเริ่มลดสัดส่วนลง
ส่วนปีนี้ธนาคารฯตั้งเป้าคุมเอ็นพีแอลของสินเชื่อบ้านไม่ให้เกิน 2.1% ซึ่งปัจจุบันมีเอ็นพีแอล อยู่ที่ 1.8% จากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 3.5-3.6% ขณะนี้เริ่มพบหนี้เสียเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 0.1% ทั้งนี้คาดว่าในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. เป็นช่วงการใช้จ่าย อาจจะเริ่มเห็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ เป็นผลมาจากลูกค้าจะเริ่มชำระหนี้ล่าช้ามากขึ้น
“ไตรมาสแรกนี้เราได้เริ่มเห็นลูกค้าผิดนัดชำระเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในกลุ่มซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.8-1.9% ขณะที่แบงก์อื่นอยู่ที่ 4-5% ส่วนตัวจึงไม่เป็นห่วงการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียแต่ก็จะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น”