บีบีซีนิวส์ - ภายหลังการประชุมที่กรุงลอนดอนเป็นเวลา 1 วันเมื่อวันพฤหัสบดี(2) บรรดาผู้นำกลุ่มจี20 ได้เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมกล่าวถึงเรื่องต่างๆ ที่พวกเขาตกลงกันเพื่อใช้ต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจโลกเวลานี้ นอกจากนั้น ขณะที่เขากล่าวปิดการประชุมซัมมิตจี20 คราวนี้ นายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษในฐานะเจ้าภาพ ก็ได้กล่าวกับที่ประชุมแถลงข่าวว่าสามารถทำข้อตกลงมูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ หัวข้อสำคัญๆ ของแถลงการณ์ร่วมและคำแถลงของบราวน์พอจะสรุปได้ดังนี้
**ระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการเงิน**
--ชมรมเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Forum) จะถูกแทนที่ด้วย คณะกรรมการเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board) โดยที่จะได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นอันมาก
--ต่อไปจะมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์และระบบการกำกับดูแล สถาบันการเงิน, เครื่องมือทางการเงิน, และตลาดการเงินทุกๆ ประเภท
--การกำหนดเช่นนี้หมายความว่า พวกกองทุนเฮดจ์ฟันด์ จะต้องถูกคุมโดยกฎระเบียบระดับโลกเป็นครั้งแรก
--ประเทศจี20ให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ใหม่อันเข้มงวดระดับโลก ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและโบนัส
--จะมีการจัดตั้งมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
--จะมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับพวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เพื่อแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของบริษัทประเภทนี้
--มีการตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการร่วมกัน ในการเข้าสะสางสินทรัพย์เน่าเสียของธนาคารต่างๆ
**ดินแดนที่ถูกใช้เพื่อหนีภาษี**
--จะมีการลงโทษพวกดินแดนที่ถูกใช้เพื่อหนีภาษี ซึ่งไม่ยอมส่งข้อมูลให้เมื่อได้รับการร้องขอ
--องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ(โออีซีดี) เพิ่งเผยแพร่บัญชีรายชื่อประเทศที่ถูกประเมินจากโออีซีดีว่า กระทำกันขัดกับมาตรฐานสากลในเรื่องการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลด้านภาษี
**ไอเอ็มเอฟ**
--ทรัพยากรสำหรับให้ไอเอ็มเอฟไปใช้ปล่อยกู้แก่ประเทศที่มีปัญหา จะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว คือเป็น 750.000 ล้านดอลลาร์
--ในจำนวนนี้จะเป็นกลไกการเบิกเงินเกินบัญชีใหม่ หรือก็คือการจัดสรร special drawing rights เป็นจำนวน 250,000 ล้านดอลลาร์
--จะกันเงินอีก 6,000 ล้านดอลลาร์จากการขายทองคำสำรองของไอเอ็มเอฟ เพื่อใช้ปล่อยกู้ให้แก่พวกประเทศยากจนที่สุด
--จี20 ยังสนับสนุนให้บรรดาธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี เพิ่มการปล่อยกู้ให้แก่พวกประเทศยากจนที่สุดของโลก เป็นจำนวนอย่างน้อย 100,000 ล้านดอลลาร์
**การค้าโลก**
--จะมีการให้คำมั่นสัญญาทางการเงินในวงเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้สนับสนุนทางการเงินให้แก่การค้าระหว่างประเทศภายในระยะเวลา 2 ปีจากนี้ไป
--ความสนับสนุนทางการเงินดังกล่าวนี้ จะดำเนินการผ่านทางพวกหน่วยงานสินเชื่อเพื่อการส่งออกและการลงทุน ตลอดจนผ่านพวกธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี
--จะขอให้บรรดาหน่วยงานกำกับดูของประเทศต่างๆ ใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องข้อกำหนดด้านเงินทุนสำหรับเรื่องการเงินเพื่อสนับสนุนการค้า
**ลัทธิกีดกันการค้า**
--จี20 ให้สัญญาว่าจะต่อต้านลัทธิกีดกันการค้า
--มีการให้คำมั่นสัญญาที่จะระบุชื่อประเทศที่ละเมิดกฎเกณฑ์การค้าเสรี เพื่อให้เกิดความอับอาย
--จี20 จะแจ้งให้องค์การการค้าโลก (WTO) ทราบถึงมาตรการใดๆก็ตามที่กีดขวางการไหลเวียนของเงินทุนในทั่วโลก
--จี20 จะเรียกร้องให้ WTO ตรวจสอบติดตามและรายงานต่อสาธารณชนในเรื่องเหล่านี้เป็นรายไตรมาส
**การตั้งงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ**
--ถึงแม้ไม่ได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ร่วมกันใช้มาตรการด้านงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของตนเพิ่มเติม แต่กอร์ดอน บราวน์ แถลงว่า บรรดาประเทศจี20 กำลังลงมือดำเนินการอยู่แล้วเพื่ออัดฉีดเงินเป็นจำนวนถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งเขากล่าวว่าเป็น "การกระตุ้นทางด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยเห็นมา"
**ระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการเงิน**
--ชมรมเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Forum) จะถูกแทนที่ด้วย คณะกรรมการเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board) โดยที่จะได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นอันมาก
--ต่อไปจะมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์และระบบการกำกับดูแล สถาบันการเงิน, เครื่องมือทางการเงิน, และตลาดการเงินทุกๆ ประเภท
--การกำหนดเช่นนี้หมายความว่า พวกกองทุนเฮดจ์ฟันด์ จะต้องถูกคุมโดยกฎระเบียบระดับโลกเป็นครั้งแรก
--ประเทศจี20ให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ใหม่อันเข้มงวดระดับโลก ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและโบนัส
--จะมีการจัดตั้งมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
--จะมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับพวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เพื่อแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของบริษัทประเภทนี้
--มีการตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการร่วมกัน ในการเข้าสะสางสินทรัพย์เน่าเสียของธนาคารต่างๆ
**ดินแดนที่ถูกใช้เพื่อหนีภาษี**
--จะมีการลงโทษพวกดินแดนที่ถูกใช้เพื่อหนีภาษี ซึ่งไม่ยอมส่งข้อมูลให้เมื่อได้รับการร้องขอ
--องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ(โออีซีดี) เพิ่งเผยแพร่บัญชีรายชื่อประเทศที่ถูกประเมินจากโออีซีดีว่า กระทำกันขัดกับมาตรฐานสากลในเรื่องการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลด้านภาษี
**ไอเอ็มเอฟ**
--ทรัพยากรสำหรับให้ไอเอ็มเอฟไปใช้ปล่อยกู้แก่ประเทศที่มีปัญหา จะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว คือเป็น 750.000 ล้านดอลลาร์
--ในจำนวนนี้จะเป็นกลไกการเบิกเงินเกินบัญชีใหม่ หรือก็คือการจัดสรร special drawing rights เป็นจำนวน 250,000 ล้านดอลลาร์
--จะกันเงินอีก 6,000 ล้านดอลลาร์จากการขายทองคำสำรองของไอเอ็มเอฟ เพื่อใช้ปล่อยกู้ให้แก่พวกประเทศยากจนที่สุด
--จี20 ยังสนับสนุนให้บรรดาธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี เพิ่มการปล่อยกู้ให้แก่พวกประเทศยากจนที่สุดของโลก เป็นจำนวนอย่างน้อย 100,000 ล้านดอลลาร์
**การค้าโลก**
--จะมีการให้คำมั่นสัญญาทางการเงินในวงเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้สนับสนุนทางการเงินให้แก่การค้าระหว่างประเทศภายในระยะเวลา 2 ปีจากนี้ไป
--ความสนับสนุนทางการเงินดังกล่าวนี้ จะดำเนินการผ่านทางพวกหน่วยงานสินเชื่อเพื่อการส่งออกและการลงทุน ตลอดจนผ่านพวกธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี
--จะขอให้บรรดาหน่วยงานกำกับดูของประเทศต่างๆ ใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องข้อกำหนดด้านเงินทุนสำหรับเรื่องการเงินเพื่อสนับสนุนการค้า
**ลัทธิกีดกันการค้า**
--จี20 ให้สัญญาว่าจะต่อต้านลัทธิกีดกันการค้า
--มีการให้คำมั่นสัญญาที่จะระบุชื่อประเทศที่ละเมิดกฎเกณฑ์การค้าเสรี เพื่อให้เกิดความอับอาย
--จี20 จะแจ้งให้องค์การการค้าโลก (WTO) ทราบถึงมาตรการใดๆก็ตามที่กีดขวางการไหลเวียนของเงินทุนในทั่วโลก
--จี20 จะเรียกร้องให้ WTO ตรวจสอบติดตามและรายงานต่อสาธารณชนในเรื่องเหล่านี้เป็นรายไตรมาส
**การตั้งงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ**
--ถึงแม้ไม่ได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ร่วมกันใช้มาตรการด้านงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของตนเพิ่มเติม แต่กอร์ดอน บราวน์ แถลงว่า บรรดาประเทศจี20 กำลังลงมือดำเนินการอยู่แล้วเพื่ออัดฉีดเงินเป็นจำนวนถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งเขากล่าวว่าเป็น "การกระตุ้นทางด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยเห็นมา"