เอเอฟพี/รอยเตอร์/เอเยนซีส์ - การประชุมระดับผู้นำของกลุ่มจี20 ที่กรุงลอนดอนวานนี้(2) สิ้นสุดลงโดยที่สามารถตกลงกันในประเด็นใหญ่ๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้าน การปฏิรูประบบธนาคาร, การฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก, และการค้าระหว่างประเทศ โดยนายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ แห่งอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าภาพการประชุมระบุว่า นี่เป็นการสร้าง "ระเบียบโลกใหม่" และประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส กล่าวว่าผลลัพธ์ของการหารือคราวนี้ "มากเกินกว่าที่เราได้คาดหวังไว้"
ภายหลังการประชุมหารือเป็นเวลา 1 วัน บราวน์ได้แถลงข่าวถึงผลการประชุมว่า บรรดาผู้นำของประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาชั้นนำ 20 ประเทศของโลก สามารถตกลงเห็นพ้องกันได้ใน 6 ประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ การปฏิรูประบบธนาคาร, การสะสางหนี้เสียของธนาคารต่างๆ, การฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจโลก, การขยายการกำกับตรวจสอบภาคการเงินทั่วโลก รวมทั้งให้สิทธิประเทศเฟื่องฟูใหม่ในบรรดาสถานบันสำคัญระหว่างประเทศ, การช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ, การช่วยเหลือประเทศยากจนและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
บราวน์บอกว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการกำกับตรวจสอบกองทุนเฮดจ์ฟันด์, ใช้มาตรฐานระบบบัญชีระหว่างประเทศ, ดำเนินการเพื่อยุติดินแดนที่ทำตัวเป็นแหล่งพักพิงของพวกหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่ยอมแจ้งข้อมูลเมื่อถูกร้องขอ
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยังยืนยันข่าวที่เปิดเผยจากแหล่งข่าวในระหว่างที่การประชุมดำเนินอยู่ว่า ที่ประชุมจี20 ตกลงเพิ่มเงินทุนให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) และองค์กรด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศอื่นๆ เป็นเงินทั้งสิ้น 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่จะเป็นการเพิ่มให้ไอเอ็มเอฟ 500,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการค้า ก็จะให้วงเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 2 ปี
**ข่าวคราวก่อนหน้าการประชุมเสร็จสิ้น**
สำหรับการประชุมสุดยอดคราวนี้ มุ่งเน้นไปที่เรื่องการปฏิรูปกฎเกณฑ์ของระบบการเงินระหว่างประเทศ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก โดยที่บรรยากาศก่อนการประชุม มีข่าวคราวร่องรอยของความแตกแยกขัดแย้ง โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศสำคัญในยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี
แหล่งข่าวนักการทูตหลายรายแจ้งว่า บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมมีการหารือกันถึงวิธีการระดมหาเงินในระดับหลายๆ แสนล้านดอลลาร์ ให้แก่ไอเอ็มเอฟและสถาบันระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อจะได้ปล่อยกู้แก่พวกชาติที่ได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายจากวิกฤตโลกระลอกนี้ โดยที่แหล่งข่าวบางรายระบุว่าจะมีการเพิ่มเงินทุนให้ไอเอ็มเอฟถึง 500,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้ไอเอ็มเอฟที่ยอดเงินที่จะปล่อยกู้ได้เป็น 750,000 ล้านดอลลาร์
มาร์ก มัลลอช-บราวน์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ บอกกับวิทยุบีบีซีว่า "ผมคิดว่าเรากำลังจะได้ตัวเลขที่น่าประทับใจมากๆ ทีเดียว"
แหล่งข่าวด้านการเงินและประเทศกำลังพัฒนาบอกว่า ถ้าหากไอเอ็มเอฟยังต้องการเงินทุนเพิ่มเติมอีก ก็สามารถที่จะขอกู้ในตลาดระหว่างประเทศ ขณะที่รัฐมนตรีอังกฤษอีกผู้หนึ่งกล่าวว่า บรรดาผู้นำจี 20 จะมีการหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะขายทองคำสำรองของไอเอ็มเอฟ เพื่อระดมเงินสดเข้ามามากขึ้น ถึงแม้เขาไม่คาดหมายว่าจะมีการตัดสินเรื่องนี้ในการประชุมคราวนี้
นอกจากนั้น แหล่งข่าวในที่ประชุมซัมมิตลอนดอนครั้งนี้รายหนึ่งยังระบุว่า จี 20 น่าจะตกลงกันในเรื่องแพกเกจทางการเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการค้า (trade finance) ในระดับมูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีบราวน์ได้เคยประกาศตั้งเป้าหมายว่าควรจะต้องได้อย่างน้อยที่สุด 100,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้ช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่ติดขัดเรื่องการทำการค้าเพราะเผชิญภาวะสินเชื่อตึงตัว
อีโออิน โอมัลลีย์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการค้าระหว่างประเทศของ บิสซิเนสยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจระดับท็อปของยุโรป ให้ความเห็นว่า มาตรการการเงินเพื่อสนับสนุนการค้าเช่นนี้ จะส่งผลในทางบวกทำให้การค้าโลกไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงนับเป็นคุณูปการสำคัญมากในการแก้ไขปัญหาวิกฤตคราวนี้ แต่เขาก็ย้ำว่า "กุญแจสำคัญในเวลานี้คือการปฏิบัติให้เป็นจริง บรรดารัฐบาลของจี20 จะต้องลงมือกระทำอย่างรวดเร็ว ในการนำเอาเงินช่วยเหลือเหล่านี้ให้ไปถึงบริษัทต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วน"
ปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาดินแดนที่ทำตัวให้เป็นที่พักพิงของพวกหลบเลี่ยงการเสียภาษี แหล่งข่าวนักการทูตยุโรปรายหนึ่งบอกว่า บรรดาผู้นำจี20เห็นพ้องกันว่าจะต้องจัดทำบัญชีดำของดินแดนที่เป็นแหล่งหลบหนีภาษีขึ้นมา โดยที่ควรจะตีพิมพ์เผยแพร่ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ขณะที่ สตีเฟน ทิมส์ ปลัดกระทรวงฝ่ายการเงินของกระทรวงการคลังอังกฤษก็บอกกับผู้สื่อข่าวว่า พวกดินแดนแหล่งหลบภาษี ที่ปฏิเสธไม่ยอมให้ข้อมูลกับประเทศอื่นๆ จะต้องประสบกับ "การคว่ำบาตร" เขาถึงกับประกาศว่า "ยุคสมัยแห่งการรักษาความลับของธนาคารได้สิ้นสุดลงแล้ว"
กระนั้นก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า จากการที่กำหนดเวลาคร่าวๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บัญชีดำเช่นนี้ จะเป็นที่พอใจของฝรั่งเศสและเยอรมนีหรือไม่ โดยที่ประเทศทั้งสองเป็นผู้นำเรียกร้องให้ปราบปรามพวกดินแดนแหล่งหลบภาษีเหล่านี้ ซึ่งพวกเขาประณามว่าเปิดทางให้พวกคนร่ำรวยสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องจ่ายเงินส่วนที่พวกเขาควรต้องจ่าย ในยามที่เศรษฐกิจกำลังลำบากลำบนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้
ฝรั่งเศสและเยอรมนียังเรียกร้องให้ที่ประชุมผู้นำจี20 คราวนี้ สร้างระเบียบการเงินโลกที่เข้มงวดขึ้นมา
ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ก่อให้เกิดความหวาดผวากันว่าการประชุมซัมมิตครั้งนี้อาจจบลงด้วยความล้มเหลว ด้วยการแถลงว่าพวกเขาไม่สบายใจกับเนื้อหาในร่างแถลงการณ์สรุปการประชุม ที่นำออกแจกจ่ายก่อนหน้าการประชุม
ผู้นำสำคัญทั้งสองของยุโรปยังประกาศว่า จะร่วมมือกันเพื่อกดดันให้เกิดระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่สำหรับระบบการเงินโลก โดยถือเป็นเรื่องที่ "ต่อรองไม่ได้" อีกทั้งแสดงท่าทีต่อต้านแรงกดดันซึ่งที่สำคัญมาจากสหรัฐฯและญี่ปุ่น ให้ที่ประชุมลอนดอนคราวนี้ประกาศคำมั่นว่าจะออกมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่แบบประสานร่วมมือกันทั่วโลก
**จับปูใส่กระด้ง**
บรรดาผู้นำจี20 ซึ่งกำลังหาทางสามัคคีร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว กลับประสบความล้มเหลวถึง 2 ครั้งเมื่อวานนี้ ในการออกมายืนเข้าแถวให้พร้อมเพรียง สำหรับการถ่ายภาพหมู่ไว้เป็นที่ระลึกตามประเพณี
ขณะที่ผู้นำทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทยในฐานะตัวแทนของสมาคมอาเซียน พากันเข้าแถวเพื่อให้สื่อมวลชนทั่วโลกถ่ายภาพกันตามชอบใจ ทางเจ้าหน้าที่ผู้จัดงานก็พบเมื่อสายเกินไปแล้วว่า นายกรัฐมนตรี สตีเฟน ฮาร์เปอร์ ของแคนาดา หายตัวไป
ไม่มีทางทำอะไรอย่างอื่นได้ นอกจากต้องจัดให้มีการถ่ายภาพเป็นครั้งที่สองในอีก 2 ชั่วโมงต่อมา
ปรากฏว่าคราวนี้ นายกรัฐมนตรี ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี แห่งอิตาลี ไม่ได้มาเข้าร่วม และประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แห่งอินโดนีเซีย ก็ไม่ทราบว่าหายไปไหน
**ยังมีประท้วงกลุ่มเล็กๆ**
เมื่อวานนี้มีผู้ประท้วงกลุ่มเล็กๆ กระจัดกระจายกันอยู่ใกล้ๆ เอ็กเซล เซนเตอร์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมซัมมิตคราวนี้ ตลอดจนในย่านการเงินหลักของลอนดอน หนึ่งวันหลังจากมีผู้ประท้วงหลายพันคนบุกไปโอบล้อมอาคารธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ตลอดจนบุกเข้าไปทุบทำลายข้าวของในสาขาแห่งหนึ่งของธนาคาร รอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ โดยที่การประท้วงในวันพุธ(1)นี้ มีผู้เสียชีวิตไป 1 ราย และผู้ประท้วงถูกจับกุมร่วม 90 คน
ภายหลังการประชุมหารือเป็นเวลา 1 วัน บราวน์ได้แถลงข่าวถึงผลการประชุมว่า บรรดาผู้นำของประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาชั้นนำ 20 ประเทศของโลก สามารถตกลงเห็นพ้องกันได้ใน 6 ประเด็นใหญ่ๆ ได้แก่ การปฏิรูประบบธนาคาร, การสะสางหนี้เสียของธนาคารต่างๆ, การฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจโลก, การขยายการกำกับตรวจสอบภาคการเงินทั่วโลก รวมทั้งให้สิทธิประเทศเฟื่องฟูใหม่ในบรรดาสถานบันสำคัญระหว่างประเทศ, การช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ, การช่วยเหลือประเทศยากจนและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
บราวน์บอกว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการกำกับตรวจสอบกองทุนเฮดจ์ฟันด์, ใช้มาตรฐานระบบบัญชีระหว่างประเทศ, ดำเนินการเพื่อยุติดินแดนที่ทำตัวเป็นแหล่งพักพิงของพวกหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่ยอมแจ้งข้อมูลเมื่อถูกร้องขอ
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยังยืนยันข่าวที่เปิดเผยจากแหล่งข่าวในระหว่างที่การประชุมดำเนินอยู่ว่า ที่ประชุมจี20 ตกลงเพิ่มเงินทุนให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) และองค์กรด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศอื่นๆ เป็นเงินทั้งสิ้น 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่จะเป็นการเพิ่มให้ไอเอ็มเอฟ 500,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการค้า ก็จะให้วงเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 2 ปี
**ข่าวคราวก่อนหน้าการประชุมเสร็จสิ้น**
สำหรับการประชุมสุดยอดคราวนี้ มุ่งเน้นไปที่เรื่องการปฏิรูปกฎเกณฑ์ของระบบการเงินระหว่างประเทศ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก โดยที่บรรยากาศก่อนการประชุม มีข่าวคราวร่องรอยของความแตกแยกขัดแย้ง โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศสำคัญในยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี
แหล่งข่าวนักการทูตหลายรายแจ้งว่า บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมมีการหารือกันถึงวิธีการระดมหาเงินในระดับหลายๆ แสนล้านดอลลาร์ ให้แก่ไอเอ็มเอฟและสถาบันระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อจะได้ปล่อยกู้แก่พวกชาติที่ได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายจากวิกฤตโลกระลอกนี้ โดยที่แหล่งข่าวบางรายระบุว่าจะมีการเพิ่มเงินทุนให้ไอเอ็มเอฟถึง 500,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้ไอเอ็มเอฟที่ยอดเงินที่จะปล่อยกู้ได้เป็น 750,000 ล้านดอลลาร์
มาร์ก มัลลอช-บราวน์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ บอกกับวิทยุบีบีซีว่า "ผมคิดว่าเรากำลังจะได้ตัวเลขที่น่าประทับใจมากๆ ทีเดียว"
แหล่งข่าวด้านการเงินและประเทศกำลังพัฒนาบอกว่า ถ้าหากไอเอ็มเอฟยังต้องการเงินทุนเพิ่มเติมอีก ก็สามารถที่จะขอกู้ในตลาดระหว่างประเทศ ขณะที่รัฐมนตรีอังกฤษอีกผู้หนึ่งกล่าวว่า บรรดาผู้นำจี 20 จะมีการหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะขายทองคำสำรองของไอเอ็มเอฟ เพื่อระดมเงินสดเข้ามามากขึ้น ถึงแม้เขาไม่คาดหมายว่าจะมีการตัดสินเรื่องนี้ในการประชุมคราวนี้
นอกจากนั้น แหล่งข่าวในที่ประชุมซัมมิตลอนดอนครั้งนี้รายหนึ่งยังระบุว่า จี 20 น่าจะตกลงกันในเรื่องแพกเกจทางการเงินเพื่อช่วยสนับสนุนการค้า (trade finance) ในระดับมูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีบราวน์ได้เคยประกาศตั้งเป้าหมายว่าควรจะต้องได้อย่างน้อยที่สุด 100,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้ช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่ติดขัดเรื่องการทำการค้าเพราะเผชิญภาวะสินเชื่อตึงตัว
อีโออิน โอมัลลีย์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการค้าระหว่างประเทศของ บิสซิเนสยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจระดับท็อปของยุโรป ให้ความเห็นว่า มาตรการการเงินเพื่อสนับสนุนการค้าเช่นนี้ จะส่งผลในทางบวกทำให้การค้าโลกไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงนับเป็นคุณูปการสำคัญมากในการแก้ไขปัญหาวิกฤตคราวนี้ แต่เขาก็ย้ำว่า "กุญแจสำคัญในเวลานี้คือการปฏิบัติให้เป็นจริง บรรดารัฐบาลของจี20 จะต้องลงมือกระทำอย่างรวดเร็ว ในการนำเอาเงินช่วยเหลือเหล่านี้ให้ไปถึงบริษัทต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วน"
ปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาดินแดนที่ทำตัวให้เป็นที่พักพิงของพวกหลบเลี่ยงการเสียภาษี แหล่งข่าวนักการทูตยุโรปรายหนึ่งบอกว่า บรรดาผู้นำจี20เห็นพ้องกันว่าจะต้องจัดทำบัญชีดำของดินแดนที่เป็นแหล่งหลบหนีภาษีขึ้นมา โดยที่ควรจะตีพิมพ์เผยแพร่ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ขณะที่ สตีเฟน ทิมส์ ปลัดกระทรวงฝ่ายการเงินของกระทรวงการคลังอังกฤษก็บอกกับผู้สื่อข่าวว่า พวกดินแดนแหล่งหลบภาษี ที่ปฏิเสธไม่ยอมให้ข้อมูลกับประเทศอื่นๆ จะต้องประสบกับ "การคว่ำบาตร" เขาถึงกับประกาศว่า "ยุคสมัยแห่งการรักษาความลับของธนาคารได้สิ้นสุดลงแล้ว"
กระนั้นก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า จากการที่กำหนดเวลาคร่าวๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บัญชีดำเช่นนี้ จะเป็นที่พอใจของฝรั่งเศสและเยอรมนีหรือไม่ โดยที่ประเทศทั้งสองเป็นผู้นำเรียกร้องให้ปราบปรามพวกดินแดนแหล่งหลบภาษีเหล่านี้ ซึ่งพวกเขาประณามว่าเปิดทางให้พวกคนร่ำรวยสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องจ่ายเงินส่วนที่พวกเขาควรต้องจ่าย ในยามที่เศรษฐกิจกำลังลำบากลำบนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้
ฝรั่งเศสและเยอรมนียังเรียกร้องให้ที่ประชุมผู้นำจี20 คราวนี้ สร้างระเบียบการเงินโลกที่เข้มงวดขึ้นมา
ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี ก่อให้เกิดความหวาดผวากันว่าการประชุมซัมมิตครั้งนี้อาจจบลงด้วยความล้มเหลว ด้วยการแถลงว่าพวกเขาไม่สบายใจกับเนื้อหาในร่างแถลงการณ์สรุปการประชุม ที่นำออกแจกจ่ายก่อนหน้าการประชุม
ผู้นำสำคัญทั้งสองของยุโรปยังประกาศว่า จะร่วมมือกันเพื่อกดดันให้เกิดระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่สำหรับระบบการเงินโลก โดยถือเป็นเรื่องที่ "ต่อรองไม่ได้" อีกทั้งแสดงท่าทีต่อต้านแรงกดดันซึ่งที่สำคัญมาจากสหรัฐฯและญี่ปุ่น ให้ที่ประชุมลอนดอนคราวนี้ประกาศคำมั่นว่าจะออกมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่แบบประสานร่วมมือกันทั่วโลก
**จับปูใส่กระด้ง**
บรรดาผู้นำจี20 ซึ่งกำลังหาทางสามัคคีร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว กลับประสบความล้มเหลวถึง 2 ครั้งเมื่อวานนี้ ในการออกมายืนเข้าแถวให้พร้อมเพรียง สำหรับการถ่ายภาพหมู่ไว้เป็นที่ระลึกตามประเพณี
ขณะที่ผู้นำทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทยในฐานะตัวแทนของสมาคมอาเซียน พากันเข้าแถวเพื่อให้สื่อมวลชนทั่วโลกถ่ายภาพกันตามชอบใจ ทางเจ้าหน้าที่ผู้จัดงานก็พบเมื่อสายเกินไปแล้วว่า นายกรัฐมนตรี สตีเฟน ฮาร์เปอร์ ของแคนาดา หายตัวไป
ไม่มีทางทำอะไรอย่างอื่นได้ นอกจากต้องจัดให้มีการถ่ายภาพเป็นครั้งที่สองในอีก 2 ชั่วโมงต่อมา
ปรากฏว่าคราวนี้ นายกรัฐมนตรี ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี แห่งอิตาลี ไม่ได้มาเข้าร่วม และประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยุโธโยโน แห่งอินโดนีเซีย ก็ไม่ทราบว่าหายไปไหน
**ยังมีประท้วงกลุ่มเล็กๆ**
เมื่อวานนี้มีผู้ประท้วงกลุ่มเล็กๆ กระจัดกระจายกันอยู่ใกล้ๆ เอ็กเซล เซนเตอร์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมซัมมิตคราวนี้ ตลอดจนในย่านการเงินหลักของลอนดอน หนึ่งวันหลังจากมีผู้ประท้วงหลายพันคนบุกไปโอบล้อมอาคารธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ตลอดจนบุกเข้าไปทุบทำลายข้าวของในสาขาแห่งหนึ่งของธนาคาร รอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ โดยที่การประท้วงในวันพุธ(1)นี้ มีผู้เสียชีวิตไป 1 ราย และผู้ประท้วงถูกจับกุมร่วม 90 คน