วานนี้ ( 2 เม.ย.) องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ที่มีนายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสด เป็นตุลาการเจ้าของสำนวน มีคำสั่ง ยืนตามคำสั่งศาลปครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องของนายพานทองแท้ หรือ โอ๊ค ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ฟ้องกรมสรรพากร กรณีที่มีคำสั่งให้นายพานทองแท้ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวน 5,904,791,172.29 บาท จากการซื้อหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มาจากบริษัท แอมเพิล ริช อินเวสท์ เม้น เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 49 จำนวน 164,600,000 หุ้นในราคาหุ้นละ 1 บาทไว้พิจารณาวินิจฉัย
ทั้งนี้คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายพานทองแท้ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของ ศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณา โดยเห็นว่าการออกคำสั่งที่ กค.1711(อธ.)/16095 ลงวันที่ 29 พ.ย. 50 ของกรมสรรพากรที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอาการแก่ตนเองนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอน รวมทั้งขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกรมสรรพากร รวม 15 ฉบับที่ยึดอายัดทรัพย์สินของตนเอง และขอให้ศาลฯสั่งให้กรมสรรพากรรวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 100 ล้านบาทให้แก่ตน อีกทั้งให้ชำระค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปเดือนละ 10 ล้านบาทจนกว่ากรมสรรพากรและผู้เกี่ยวข้องจะมีคำสั่งให้ตนเองได้รับการทุเลาการเสียภาษีอากร
ศาลปกครองสูงสุดได้ระบุเหตุผลของการไม่รับคำฟ้องดังกล่าวว่า ตามมาตรา 9 วรรค 2 ของ พ.ร.บจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ได้บัญญัติ ถึงเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองไว้ โดยหนึ่งในนั้นคือคดีที่อยู่ในอำนาจของ ศาลภาษีอากร ซึ่งกรณีนี้ข้อเท็จจริงตามฟ้อง เป็นกรณีพิพาทอันเกิดจาการที่ กรมสรรพากร มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินและเรียกเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจาก นายพานทองแท้
แต่นายพานทองแท้ไม่เห็นด้วย จึงยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรดังกล่าว ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่อ นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ที่ใช้ดุลยพินิจไม่อนุมัติ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าพนักงานหรือกคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลภาษีอาการ ตามมาตรา 7 ( 1) แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอาการ 2528 ไม่อยู่ในอำนาจการพิจาณาพิพากษาของ ศาลปกครอง
ส่วนที่นายพานทองแท้ อ้างว่า คดีนี้มีประเด็นหลักเรื่องการโต้แย้งคำสั่งยึดอายัดทรัพย์สินอันเป็นมาตรการบังคับทางปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อตนเนื่องจากคำสั่งของ อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้นที่ยึดอายัดทรัพย์สินของตนมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการออกคำสั่งนั้น เห็นว่า คำสั่งอายัดทรัพย์สินของกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการประเมินภาษีอาการ ซึ่งอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ไม่อยู่ในอำนาจศาลปคกรองเช่นกัน ข้อกล่าวอ้างของนายพานทองแท้ ฟังไม่ขึ้น และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่น ตามอุทธรณ์ ของนายพานทองแท้ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความกับให้คืน ค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดจำนวน 250,000 บาทแก่นายพานทองแท้ชอบแล้ว จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น
ทั้งนี้คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายพานทองแท้ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของ ศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณา โดยเห็นว่าการออกคำสั่งที่ กค.1711(อธ.)/16095 ลงวันที่ 29 พ.ย. 50 ของกรมสรรพากรที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอาการแก่ตนเองนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเพิกถอน รวมทั้งขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกรมสรรพากร รวม 15 ฉบับที่ยึดอายัดทรัพย์สินของตนเอง และขอให้ศาลฯสั่งให้กรมสรรพากรรวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 100 ล้านบาทให้แก่ตน อีกทั้งให้ชำระค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปเดือนละ 10 ล้านบาทจนกว่ากรมสรรพากรและผู้เกี่ยวข้องจะมีคำสั่งให้ตนเองได้รับการทุเลาการเสียภาษีอากร
ศาลปกครองสูงสุดได้ระบุเหตุผลของการไม่รับคำฟ้องดังกล่าวว่า ตามมาตรา 9 วรรค 2 ของ พ.ร.บจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ได้บัญญัติ ถึงเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองไว้ โดยหนึ่งในนั้นคือคดีที่อยู่ในอำนาจของ ศาลภาษีอากร ซึ่งกรณีนี้ข้อเท็จจริงตามฟ้อง เป็นกรณีพิพาทอันเกิดจาการที่ กรมสรรพากร มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินและเรียกเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจาก นายพานทองแท้
แต่นายพานทองแท้ไม่เห็นด้วย จึงยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรดังกล่าว ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่อ นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ที่ใช้ดุลยพินิจไม่อนุมัติ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าหน้าพนักงานหรือกคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลภาษีอาการ ตามมาตรา 7 ( 1) แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอาการ 2528 ไม่อยู่ในอำนาจการพิจาณาพิพากษาของ ศาลปกครอง
ส่วนที่นายพานทองแท้ อ้างว่า คดีนี้มีประเด็นหลักเรื่องการโต้แย้งคำสั่งยึดอายัดทรัพย์สินอันเป็นมาตรการบังคับทางปกครองที่เกิดจากการใช้อำนาจ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อตนเนื่องจากคำสั่งของ อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้นที่ยึดอายัดทรัพย์สินของตนมิได้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการออกคำสั่งนั้น เห็นว่า คำสั่งอายัดทรัพย์สินของกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการประเมินภาษีอาการ ซึ่งอยู่ใน อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ไม่อยู่ในอำนาจศาลปคกรองเช่นกัน ข้อกล่าวอ้างของนายพานทองแท้ ฟังไม่ขึ้น และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่น ตามอุทธรณ์ ของนายพานทองแท้ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความกับให้คืน ค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดจำนวน 250,000 บาทแก่นายพานทองแท้ชอบแล้ว จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น