สัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้หยิบยกข้อสังเกตที่ได้จากการมองระบอบทักษิณ ผ่านคำพิพากษาคดีซุกหุ้นภาคแรก ที่แม้มติองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น จะวินิจฉัยออกมาเป็น 8 ต่อ 7 อันส่งผลให้นายทักษิณ ชินวัตร รอดพ้นจากการชี้มูลความผิดมาได้ แต่ต้องยอมรับว่า เนื้อหาในคำวินิจฉัยส่วนตัวของท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญนายประเสริฐ นาสกุล ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยขณะนั้น ได้ชี้ให้เห็นถึงความเลวร้ายของระบอบทักษิณว่า ได้ปรากฏขึ้นนับแต่ก้าวย่างเข้าสู่ระบอบการเมืองไทย และที่น่าสนใจอีกประการ คือ มติขององค์คณะฯ ที่ออกมาเมื่อ 18 มิถุนายน 2543 ถือเป็นหลักไมล์สำคัญที่ระบอบทักษิณใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการสยายปีกแห่งอำนาจความชั่วร้าย เข้ามาครอบงำสังคมไทย
พฤติกรรมการโจมตีผู้ที่ทำให้ตนเสียประโยชน์ และชื่นชมผู้ที่หยิบยื่นผลประโยชน์ให้กับตนสำหรับตัวนายทักษิณแล้ว มิได้เพิ่งเกิดขึ้นหลัง 19 กันยายน 2549 แต่มันปรากฏขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้ว ตั้งแต่ปี 2543 ดังจะเห็นได้จากการที่นายทักษิณออกมาชื่นชมตุลาการเสียงข้างมากหลังรอดจากคดีว่า “ทรงความยุติธรรม” และปรักปรำคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชุดที่มีนายโอภาส อรุณินท์ เป็นประธาน และมีนายกล้าณรงค์ จันทิกเป็นเลขาธิการฯ ว่าเป็นเพียง “องค์กรอิสระที่มีไว้เพื่อไล่คนดี” และยังให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีคำวินิจฉัยของประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายประเสริฐ นาสกุล เขียนวิพากษ์นายทักษิณอย่างตรงไปตรงมาว่า ตนไม่อยากจะพูดถึงนายประเสริฐเพราะต้องการให้ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบหลังเกษียณ
แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีการรายงานข่าวการสั่งย้ายข้าราชการรายหนึ่งที่เป็นภรรยาของตุลาการเสียงข้างน้อย คดีซุกหุ้นภาคแรกยังเป็นเหตุการสั่งถอดรายการเหรียญสองด้าน ของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่มีการนำประเด็น คดีซุกหุ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อ เช่นเดียวกับที่มีการขู่ฟ้องสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่ขุดคุ้ยความจริงในเรื่องเดียวกัน
แต่ใครเลยจะรู้ว่า อีกไม่กี่ปีต่อมา คำพิพากษาที่ศาลอาญาได้อ่านเมื่อ 10.00 น.ของวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ที่ห้องพิจารณาคดี 904 อันมีอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นฝ่ายโจทก์ร่วมกับนายกระมล ทองธรรมชาติ, นายผัน จันทรปาน, นายศักดิ์ เตชาชาญ, นายปรีชา เฉลิมวณิชย์, นายอนันต์ เกตุวงศ์, นายสุจินดา ยงสุนทร และนายจุมพล ณ สงขลา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากในคดีซุกหุ้น ที่ยื่นฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นจำเลยที่ 1, นายจีระพงศ์ เต็มเปี่ยม จำเลยที่ 2, บริษัทหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด จำเลยที่ 3, นางผานิต พูนศิริวงศ์ จำเลยที่ 4 และนายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ จำเลยที่ 5
จากกรณีที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ตีพิมพ์บทความของตน ในชื่อ “คำวินิจฉัยไร้จิตสำนัก” ลงในนสพ.แนวหน้า ฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 หน้า 3 ว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวระบอบทักษิณ กับข้อหาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
โดยคดีนี้แม้ศาลอาญา (ชั้นต้น) จะได้พิพากษาจำคุก น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และนายจิระพงศ์ เต็มเปี่ยม บก.หนังสือพิมพ์แนวหน้า คนละ 1 ปี และปรับคนละ 7 พัน ฐานหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญกรณีเขียนบทความใช้คำรุนแรงวิจารณ์คดีซุกหุ้น แต่ในความผิดในคดีหมิ่นประมาทตุลาการเสียงข้างมาก ศาลพิพากษาให้ยกฟ้อง ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีที่มาจาก คำเบิกความของพยานคนสำคัญฝ่ายจำเลยที่มีการพาดพิงถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนทั้งในแง่ของการวินิจฉัยคดีที่ไม่ยึดหลักกฎหมาย และการอ้างถึงพฤติการณ์ของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดีมีการเสนอผลประโยชน์ให้กับตุลาการบางราย จนส่งผลสะเทือนถึงองค์กรอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลภายใต้การนำของนายทักษิณ
หนึ่งในนั้นคือคำเบิกความของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ขึ้นเบิกความเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2547 มีการพาดพิงถึงนายจุมพล ณ สงขลา หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก โดยระบุว่า
“…ขณะเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาในเดือนสิงหาคม 2544 ก่อนการลงมติในคดีซุกหุ้นของนายกรัฐมนตรี นายจุมพล ณ สงขลา ได้เดินทางมาพบที่ห้องทำงานศาลฎีกา เพื่อมาขอคำปรึกษาว่าหากจะเขียนคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิดในคดีซุกหุ้นเพราะไม่เข้าข่ายมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญ จะเหมาะสมหรือไม่ ก็ได้สอบถามนายจุมพลว่า ตกลงจะอุ้มนายกฯ ทักษิณใช่หรือไม่ นายจุมพลตอบว่าประชาชนกว่า 11 ล้านคนเลือก พ.ต.ท.ทักษิณมาเป็นนายกฯ จะให้เสียงของคนไม่กี่คนมาทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นตำแหน่งได้อย่างไร...”
ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังเบิกความด้วยว่า ได้ทักท้วงนายจุมพลว่าเมื่อเป็นผู้พิพากษาถ้าหากใครทำผิดกฎหมายก็ต้องลงโทษไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่ก็แนะนำไปว่าถ้าจะอุ้มควรจะวินิจฉัยในเรื่องข้อเท็จจริงของคดีมากกว่าใช้การตีความตามข้อกฎหมาย ซึ่งภายหลังจากที่ได้มีการลงมติในคดีซุกหุ้นไปแล้วได้พบกับนายจุมพลอีกครั้งหนึ่ง และได้ซักถามว่าเหตุใดนายจุมพลจึงวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด เพราะไม่เข้าข่ายตามมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญ ที่ในขณะนั้นตุลาการที่วินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด เพราะไม่เข้าข่ายมาตรา 295 ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง กว่าตุลาการที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริง นายจุมพลได้ให้เหตุผลว่าที่ไม่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริง ก็เพราะเกรงว่าจะฝืนกับความรู้สึกของตัวเอง
และระหว่างพิจารณาคดีซุกหุ้นนายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. ได้ชูวารสาร Who is Who กลางศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งในวารสารมีข้อความระบุถึงคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณถือหุ้นเป็นจำนวนมากมายมหาศาล นายจุมพลจึงหาทางออกว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 295 ภายหลังการสืบพยานนายวสันต์เสร็จสิ้น
การพิพากษาโทษจำคุก 1 ปี ในวันนั้น กลายเป็นประเด็นรองในทันที หลัง น.ต.ประสงค์ได้ออกมาแสดงความพอใจในคำพิพากษาของศาล โดยมีการให้สัมภาษณ์ของทนายความจำเลยและความเห็นของคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์หลายเล่มมองตรงกันว่า คดีนี้บุรุษคาบไปป์เหมือนแพ้แต่ชนะ เพราะศาลอาญาได้มีคำวินิจฉัยที่ให้น้ำหนักกับการเบิกความของพยานจำเลยหลายตอน อาทิ
“…ศาลพิจารณาจากคำเบิกความโจทก์ร่วมที่ 7 และนายวสันต์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ชัดเจนและเป็นที่เชื่อได้ว่า นายวสันต์ได้เบิกความตามความสัตย์จริง ไม่ได้ปรักปรำให้ร้ายโจทก์ร่วมที่ 7 ซึ่งพยานก็เป็นเพื่อนสนิทกับโจทก์ร่วมที่ 7 และแสดงความนับถือเรียกโจทก์ร่วมที่ 7 ว่า “พี่จุ๋ม” อีกทั้งพยานยังเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย และมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยอมรับของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วไป
ขณะที่ทางนำสืบปรากฏข้อเท็จจริงว่าการตอบคำถามทนายความจำเลย โจทก์ร่วมที่ 7 พยายามบ่ายเบี่ยงในลักษณะแบ่งรับแบ่งสู้หลายคำตอบ อ้างว่า จำไม่ได้ หรือไม่ทราบบ้าง ซึ่งมีข้อเท็จจริงอยู่ตอนหนึ่งที่โจทก์ร่วมที่ 7 ยอมรับว่าได้พูดคุยกับนายวสันต์ในประเด็นข้อกฎหมายมาตรา 295 จริง แต่ที่โจทก์ร่วมที่ 7 อ้างว่า คดีอื่นที่เคยตัดสินมา ผู้ถูกร้องไม่เคยยกประเด็นมาตรา 295 ขึ้นต่อสู้นั้น ศาลเห็นว่าไม่เป็นความจริง เพราะข้อเท็จจริง พบว่าโจทก์ร่วมเคยตัดสินคดีของนายอนันต์ ศวัสตนานนท์ และนายโกศล ศรีสังข์ ทั้ง 2 ก็ยกข้อกฎหมายว่า พ้นตำแหน่งทางการเมืองไปแล้ว จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 295…”
“…ส่วนคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ โจทก์ร่วมที่ 7 กลับไม่วินิจฉัยตามหลักกฎหมาย มาตรา 295 และโจทก์ร่วมที่ 7 ให้สัมภาษณ์ นสพ.ไทยโพสต์มีข้อความตอนหนึ่ง ระบุว่า “การกล่าวหาผมวันนี้ ตัดสินอย่างหนึ่ง แล้ววันหลังตัดสินอีกอย่างหนึ่ง เรื่องนี้ถือเป็นสิทธิของผม เมื่อวันก่อนผมยังโง่อยู่ คิดไม่ออก แต่วันต่อมา ผมฉลาดขึ้น ตรงนี้ ผมถือว่าเป็นสิทธิของผม” ซึ่งโจทก์ร่วมที่ 7 ก็ได้ยอมรับกับทนายจำเลยว่า ให้สัมภาษณ์เช่นนั้นจริง
ดังนั้น กรณีจึงเห็นได้ชัดเจนว่า โจทก์ร่วมที่ 7 ได้วินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายแพ่งที่อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยกมาตรา 295 ขึ้นต่อสู้ ในลักษณะยกอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/29 ที่บัญญัติไว้ว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความ เป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้” ไม่ใช่การวินิจฉัยคดี ตามหลักกฎหมายมหาชนตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ขณะที่อีกตอนหนึ่งของคำวินิจฉัยของศาลยังระบุด้วยว่า “ศาลเห็นว่า บทความของจำเลยที่ 1 เป็นการเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน…”
4 ธันวาคม 2544 ในปีที่มีการพิพากษาคดีซุกหุ้นภาคแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ยังศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต เพื่อพระราชทาน พระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 74 พรรษา ที่ยังคงประทับติดตราอยู่ในหัวใจคนไทยทุกคน เรื่อง “double standard” โดยทรงเตือนให้ระวังว่า สองมาตรฐานจะทำให้ชาติเสื่อม
“…อีกอย่างที่จะพูด แต่ละคนต้องโกรธตัวเอง ไม่ใช่โกรธคนอื่น อย่างคนมีความคิดอย่างหนึ่ง เจอคนคิดอีกอย่าง ก็โกรธ รู้สึกเคืองว่าไม่มีความคิดเหมือนกัน ที่น่าโกรธที่สุดตอนนี้ เราคิดอย่างนี้ พรุ่งนี้คิดอีกอย่าง ขัดกันเอง ขัดกับตัวเรา ทำไมถึงขัดกัน นี่ไม่รู้ว่าคิดมา 3 วันจะแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร หมู่นี้ฟังแต่ภาษาอังกฤษ นี่ภาษาอังกฤษก็จำไม่ได้จริงๆ สมองชักจะเลือน อายุมาก เลยมีเรื่องของความคิดที่ขัดกัน มีคนละมาตรฐาน เขาเรียกภาษาอังกฤษ Double Standard
Double ก็สอง Standard ก็เกณฑ์มีสองมาตรฐาน เราคิดสำหรับตัวเรา อะไรดีก็บอก ไปพูดกับอีกคน พูดอีกอย่าง ว่าอันนั้นดีสำหรับเขา สำหรับเราคนไทยถือว่าทำอะไรอย่างดี แต่ไปบอก ของต่างประเทศเขาพูดอย่างนั้นไม่ดี เราก็ Double Standard คำนี้ทำให้ความเจริญไม่เกิดขึ้น แต่ว่า อาจนึกว่าความเจริญเกิดขึ้น เพราะไปต้มไปหลอกเขาได้ แต่ความจริง Double Standard มีทั่วโลกทั่วไป ไม่เฉพาะประเทศไทย ต่างประเทศมีมากกว่า
การที่แก้ไขความเดือดร้อนแก้หายนะ ต้องดูว่า Double Standard เราจะปราบได้อย่างไร ขอให้ท่านไปคิดเป็นการบ้าน Double ภาษาไทยว่าอะไร คิด 3 วัน 3 คืน หลับก็คิด ตื่นก็คิด ไม่เข้าใจอะไรเป็นอะไร มาปรารภว่า ถ้าเราไม่ใช้ Double ใช้ความตรงไปตรงมา จะแก้ไขสถานการณ์ได้ แต่ถ้ายังใช้รู้สึกว่า จะไม่เจริญ…”
พฤติกรรมการโจมตีผู้ที่ทำให้ตนเสียประโยชน์ และชื่นชมผู้ที่หยิบยื่นผลประโยชน์ให้กับตนสำหรับตัวนายทักษิณแล้ว มิได้เพิ่งเกิดขึ้นหลัง 19 กันยายน 2549 แต่มันปรากฏขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้ว ตั้งแต่ปี 2543 ดังจะเห็นได้จากการที่นายทักษิณออกมาชื่นชมตุลาการเสียงข้างมากหลังรอดจากคดีว่า “ทรงความยุติธรรม” และปรักปรำคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชุดที่มีนายโอภาส อรุณินท์ เป็นประธาน และมีนายกล้าณรงค์ จันทิกเป็นเลขาธิการฯ ว่าเป็นเพียง “องค์กรอิสระที่มีไว้เพื่อไล่คนดี” และยังให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีคำวินิจฉัยของประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายประเสริฐ นาสกุล เขียนวิพากษ์นายทักษิณอย่างตรงไปตรงมาว่า ตนไม่อยากจะพูดถึงนายประเสริฐเพราะต้องการให้ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบหลังเกษียณ
แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีการรายงานข่าวการสั่งย้ายข้าราชการรายหนึ่งที่เป็นภรรยาของตุลาการเสียงข้างน้อย คดีซุกหุ้นภาคแรกยังเป็นเหตุการสั่งถอดรายการเหรียญสองด้าน ของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่มีการนำประเด็น คดีซุกหุ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อ เช่นเดียวกับที่มีการขู่ฟ้องสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่ขุดคุ้ยความจริงในเรื่องเดียวกัน
แต่ใครเลยจะรู้ว่า อีกไม่กี่ปีต่อมา คำพิพากษาที่ศาลอาญาได้อ่านเมื่อ 10.00 น.ของวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ที่ห้องพิจารณาคดี 904 อันมีอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นฝ่ายโจทก์ร่วมกับนายกระมล ทองธรรมชาติ, นายผัน จันทรปาน, นายศักดิ์ เตชาชาญ, นายปรีชา เฉลิมวณิชย์, นายอนันต์ เกตุวงศ์, นายสุจินดา ยงสุนทร และนายจุมพล ณ สงขลา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากในคดีซุกหุ้น ที่ยื่นฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นจำเลยที่ 1, นายจีระพงศ์ เต็มเปี่ยม จำเลยที่ 2, บริษัทหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด จำเลยที่ 3, นางผานิต พูนศิริวงศ์ จำเลยที่ 4 และนายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ จำเลยที่ 5
จากกรณีที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ตีพิมพ์บทความของตน ในชื่อ “คำวินิจฉัยไร้จิตสำนัก” ลงในนสพ.แนวหน้า ฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 หน้า 3 ว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวระบอบทักษิณ กับข้อหาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
โดยคดีนี้แม้ศาลอาญา (ชั้นต้น) จะได้พิพากษาจำคุก น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และนายจิระพงศ์ เต็มเปี่ยม บก.หนังสือพิมพ์แนวหน้า คนละ 1 ปี และปรับคนละ 7 พัน ฐานหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญกรณีเขียนบทความใช้คำรุนแรงวิจารณ์คดีซุกหุ้น แต่ในความผิดในคดีหมิ่นประมาทตุลาการเสียงข้างมาก ศาลพิพากษาให้ยกฟ้อง ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีที่มาจาก คำเบิกความของพยานคนสำคัญฝ่ายจำเลยที่มีการพาดพิงถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนทั้งในแง่ของการวินิจฉัยคดีที่ไม่ยึดหลักกฎหมาย และการอ้างถึงพฤติการณ์ของนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดีมีการเสนอผลประโยชน์ให้กับตุลาการบางราย จนส่งผลสะเทือนถึงองค์กรอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลภายใต้การนำของนายทักษิณ
หนึ่งในนั้นคือคำเบิกความของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ขึ้นเบิกความเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2547 มีการพาดพิงถึงนายจุมพล ณ สงขลา หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก โดยระบุว่า
“…ขณะเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาในเดือนสิงหาคม 2544 ก่อนการลงมติในคดีซุกหุ้นของนายกรัฐมนตรี นายจุมพล ณ สงขลา ได้เดินทางมาพบที่ห้องทำงานศาลฎีกา เพื่อมาขอคำปรึกษาว่าหากจะเขียนคำวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิดในคดีซุกหุ้นเพราะไม่เข้าข่ายมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญ จะเหมาะสมหรือไม่ ก็ได้สอบถามนายจุมพลว่า ตกลงจะอุ้มนายกฯ ทักษิณใช่หรือไม่ นายจุมพลตอบว่าประชาชนกว่า 11 ล้านคนเลือก พ.ต.ท.ทักษิณมาเป็นนายกฯ จะให้เสียงของคนไม่กี่คนมาทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นตำแหน่งได้อย่างไร...”
ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังเบิกความด้วยว่า ได้ทักท้วงนายจุมพลว่าเมื่อเป็นผู้พิพากษาถ้าหากใครทำผิดกฎหมายก็ต้องลงโทษไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่ก็แนะนำไปว่าถ้าจะอุ้มควรจะวินิจฉัยในเรื่องข้อเท็จจริงของคดีมากกว่าใช้การตีความตามข้อกฎหมาย ซึ่งภายหลังจากที่ได้มีการลงมติในคดีซุกหุ้นไปแล้วได้พบกับนายจุมพลอีกครั้งหนึ่ง และได้ซักถามว่าเหตุใดนายจุมพลจึงวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด เพราะไม่เข้าข่ายตามมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญ ที่ในขณะนั้นตุลาการที่วินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด เพราะไม่เข้าข่ายมาตรา 295 ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง กว่าตุลาการที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริง นายจุมพลได้ให้เหตุผลว่าที่ไม่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริง ก็เพราะเกรงว่าจะฝืนกับความรู้สึกของตัวเอง
และระหว่างพิจารณาคดีซุกหุ้นนายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. ได้ชูวารสาร Who is Who กลางศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งในวารสารมีข้อความระบุถึงคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณถือหุ้นเป็นจำนวนมากมายมหาศาล นายจุมพลจึงหาทางออกว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 295 ภายหลังการสืบพยานนายวสันต์เสร็จสิ้น
การพิพากษาโทษจำคุก 1 ปี ในวันนั้น กลายเป็นประเด็นรองในทันที หลัง น.ต.ประสงค์ได้ออกมาแสดงความพอใจในคำพิพากษาของศาล โดยมีการให้สัมภาษณ์ของทนายความจำเลยและความเห็นของคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์หลายเล่มมองตรงกันว่า คดีนี้บุรุษคาบไปป์เหมือนแพ้แต่ชนะ เพราะศาลอาญาได้มีคำวินิจฉัยที่ให้น้ำหนักกับการเบิกความของพยานจำเลยหลายตอน อาทิ
“…ศาลพิจารณาจากคำเบิกความโจทก์ร่วมที่ 7 และนายวสันต์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ชัดเจนและเป็นที่เชื่อได้ว่า นายวสันต์ได้เบิกความตามความสัตย์จริง ไม่ได้ปรักปรำให้ร้ายโจทก์ร่วมที่ 7 ซึ่งพยานก็เป็นเพื่อนสนิทกับโจทก์ร่วมที่ 7 และแสดงความนับถือเรียกโจทก์ร่วมที่ 7 ว่า “พี่จุ๋ม” อีกทั้งพยานยังเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย และมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยอมรับของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วไป
ขณะที่ทางนำสืบปรากฏข้อเท็จจริงว่าการตอบคำถามทนายความจำเลย โจทก์ร่วมที่ 7 พยายามบ่ายเบี่ยงในลักษณะแบ่งรับแบ่งสู้หลายคำตอบ อ้างว่า จำไม่ได้ หรือไม่ทราบบ้าง ซึ่งมีข้อเท็จจริงอยู่ตอนหนึ่งที่โจทก์ร่วมที่ 7 ยอมรับว่าได้พูดคุยกับนายวสันต์ในประเด็นข้อกฎหมายมาตรา 295 จริง แต่ที่โจทก์ร่วมที่ 7 อ้างว่า คดีอื่นที่เคยตัดสินมา ผู้ถูกร้องไม่เคยยกประเด็นมาตรา 295 ขึ้นต่อสู้นั้น ศาลเห็นว่าไม่เป็นความจริง เพราะข้อเท็จจริง พบว่าโจทก์ร่วมเคยตัดสินคดีของนายอนันต์ ศวัสตนานนท์ และนายโกศล ศรีสังข์ ทั้ง 2 ก็ยกข้อกฎหมายว่า พ้นตำแหน่งทางการเมืองไปแล้ว จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 295…”
“…ส่วนคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ โจทก์ร่วมที่ 7 กลับไม่วินิจฉัยตามหลักกฎหมาย มาตรา 295 และโจทก์ร่วมที่ 7 ให้สัมภาษณ์ นสพ.ไทยโพสต์มีข้อความตอนหนึ่ง ระบุว่า “การกล่าวหาผมวันนี้ ตัดสินอย่างหนึ่ง แล้ววันหลังตัดสินอีกอย่างหนึ่ง เรื่องนี้ถือเป็นสิทธิของผม เมื่อวันก่อนผมยังโง่อยู่ คิดไม่ออก แต่วันต่อมา ผมฉลาดขึ้น ตรงนี้ ผมถือว่าเป็นสิทธิของผม” ซึ่งโจทก์ร่วมที่ 7 ก็ได้ยอมรับกับทนายจำเลยว่า ให้สัมภาษณ์เช่นนั้นจริง
ดังนั้น กรณีจึงเห็นได้ชัดเจนว่า โจทก์ร่วมที่ 7 ได้วินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายแพ่งที่อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยกมาตรา 295 ขึ้นต่อสู้ ในลักษณะยกอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/29 ที่บัญญัติไว้ว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความ เป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้” ไม่ใช่การวินิจฉัยคดี ตามหลักกฎหมายมหาชนตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ขณะที่อีกตอนหนึ่งของคำวินิจฉัยของศาลยังระบุด้วยว่า “ศาลเห็นว่า บทความของจำเลยที่ 1 เป็นการเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน…”
4 ธันวาคม 2544 ในปีที่มีการพิพากษาคดีซุกหุ้นภาคแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ยังศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต เพื่อพระราชทาน พระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 74 พรรษา ที่ยังคงประทับติดตราอยู่ในหัวใจคนไทยทุกคน เรื่อง “double standard” โดยทรงเตือนให้ระวังว่า สองมาตรฐานจะทำให้ชาติเสื่อม
“…อีกอย่างที่จะพูด แต่ละคนต้องโกรธตัวเอง ไม่ใช่โกรธคนอื่น อย่างคนมีความคิดอย่างหนึ่ง เจอคนคิดอีกอย่าง ก็โกรธ รู้สึกเคืองว่าไม่มีความคิดเหมือนกัน ที่น่าโกรธที่สุดตอนนี้ เราคิดอย่างนี้ พรุ่งนี้คิดอีกอย่าง ขัดกันเอง ขัดกับตัวเรา ทำไมถึงขัดกัน นี่ไม่รู้ว่าคิดมา 3 วันจะแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร หมู่นี้ฟังแต่ภาษาอังกฤษ นี่ภาษาอังกฤษก็จำไม่ได้จริงๆ สมองชักจะเลือน อายุมาก เลยมีเรื่องของความคิดที่ขัดกัน มีคนละมาตรฐาน เขาเรียกภาษาอังกฤษ Double Standard
Double ก็สอง Standard ก็เกณฑ์มีสองมาตรฐาน เราคิดสำหรับตัวเรา อะไรดีก็บอก ไปพูดกับอีกคน พูดอีกอย่าง ว่าอันนั้นดีสำหรับเขา สำหรับเราคนไทยถือว่าทำอะไรอย่างดี แต่ไปบอก ของต่างประเทศเขาพูดอย่างนั้นไม่ดี เราก็ Double Standard คำนี้ทำให้ความเจริญไม่เกิดขึ้น แต่ว่า อาจนึกว่าความเจริญเกิดขึ้น เพราะไปต้มไปหลอกเขาได้ แต่ความจริง Double Standard มีทั่วโลกทั่วไป ไม่เฉพาะประเทศไทย ต่างประเทศมีมากกว่า
การที่แก้ไขความเดือดร้อนแก้หายนะ ต้องดูว่า Double Standard เราจะปราบได้อย่างไร ขอให้ท่านไปคิดเป็นการบ้าน Double ภาษาไทยว่าอะไร คิด 3 วัน 3 คืน หลับก็คิด ตื่นก็คิด ไม่เข้าใจอะไรเป็นอะไร มาปรารภว่า ถ้าเราไม่ใช้ Double ใช้ความตรงไปตรงมา จะแก้ไขสถานการณ์ได้ แต่ถ้ายังใช้รู้สึกว่า จะไม่เจริญ…”