ASTVผู้จัดการรายวัน - ตลาดหลักทรัพย์ ค้านแนวคิดตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ขั้นต่ำที่ 1,000 ล้านบาท เหตุมองว่าไม่สามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดได้ และเป็นการปิดโอกาสระดมทุนธุรกิจขนาดเล็กและกลาง"วรรณ" ระบุการมีกองทุนขนาดเล็ก ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุนได้ ด้าน "บัวหลวง" ระบุกองทุนขนาดตั้งแต่พันล้านขึ้นไป ไม่ได้มีการซื้อขายมากนัก ชี้เงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินเย็น การซื้อขายย่อมน้อยอยู่แล้ว ขณะที่ บล.เอเซียพลัสเสนอกองทุน ควรมีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
นายสันติ กีระนันท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงกรณีการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดที่จะเพิ่มขนาดขั้นต่ำของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) จาก 500 ล้านบาทเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและปริมาณการซื้อขายหน่วยลงทุนว่า ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาด้านสภาพคล่องของการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และช่วยในเรื่องของการเพิ่มสภาพคล่องมากนัก เนื่องจากหากจะทำให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น อาจจำเป็นต้องกำหนดให้กองทุนมีขนาดของโครงการตั้งแต่ 10,000 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับแนวคิดที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ต้องการให้ตลาดมีกองทุนขนาดใหญ่ ส่วนตัวมองว่า แนวคิดดังกล่างอาจจะเป็นการปิดช่องทางการระดมทุนของธุรกิจขนาดเล็กและกลางซึ่งในปัจจุบันไม่ได้มีมากนัก และอาจจะเป็นการปิดช่องทางการระดมทุนให้มีน้อยลงไปอีกด้วย หลังจากในปัจจุบันไม่ได้มีช่องทางการระดมทุนน้อยอยู่แล้ว
ทั้งนี้ การเพิ่มขนาดขั้นต่ำของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็น1,000 ล้านบาท นอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว ยังไปสร้างปัญหาอื่นขึ้นมาแทนด้วย โดยการที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีขนาดของกองทุนเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่ได้ชี้วัดถึงความมั่นคงแต่อย่างใด และในโลกของการระดมทุนในตลาดทุนจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสให้กับนักลงทุน ส่วนกองทุนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เป็นทางเลือกของนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้
ด้านนายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องของความเสี่ยงทางธุรกิจ และความเสี่ยงของการซื้อขาย แม้ว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หลายกองทุนในปัจจุบันจะมีขนาดเล็ก แต่ก็นับว่าเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนได้ ส่วนการเพิ่มขนาดขั้นต่ำของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็น1,000 ล้านบาท ก็ไม่เชิงว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการเพิ่มสภาพคล่องได้ และในตลาดหุ้นก็มีหุ้นขนาดกลาง และไม่ได้มีการซื้อขายมากนักเช่นกัน
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น สามารถตอบโจทย์ให้แก่นักลงทุนได้ และมีนักลงทุนให้ความสนใจ ซึ่งการแตกต่างทางความคิดก็จะก่อให้เกิดการซื้อขายได้ ที่สำคัญคือการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจแก่นักลงทุนมากขึ้นว่า หากลงทุนในกองทุนขนาดเล็กอาจจะมีความเสี่ยง แต่ก็อาจจะได้ส่วนชดเชยความเสี่ยง (พรีเมียม) เข้ามาทดแทน
ส่วนความเสี่ยงทางธุรกิจในปัจจุบันนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์มีความหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน สนามบิน และศูนย์การค้า แต่ละกลุ่มมักจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของกองทุนในแต่ละประเภทด้วย อาทิ โรงแรม นักท่องเที่ยวอาจจะมาน้อยลง โดยจะต้องดูว่าในเชิงธุรกิจแล้ว มีผลกระทบอย่างไร แต่ปัจจัยสำคัญคือความสามารถในการทำกำไร ซึ่งสะท้อนมาในรูปของเงินปันผลนั่นเอง
ด้านนายสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายจัดการลงทุน (กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า ในปัจจุบันกองทุนที่มีขนาดตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปก็ไม่ได้มีการซื้อขายมากนัก และส่วนใหญ่นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ต้องการให้มีการซื้อขายทุกวัน เนื่องจากเงินที่ใช้ลงทุนมักจะเป็นเงินเย็น ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควรจะเป็นการลงทุนในระยะปานกลางถึงยาวคือตั้งแต่ระยะเวลา 3 – 5 ปีขึ้นไป
ขณะเดียวกัน ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุนเองว่า มองกองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นแบบใด หากมองว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นแบบตราสารหนี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีการซื้อขายทุกวัน แต่หากมองว่าเป็นแบบหุ้นทุนก็จะต้องทำการซื้อขายทุกวันนั่นเอง
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การกำหนดขนาดของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องได้ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมองว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หลายกองทุนมีข้อจำกัดในด้านการเปิดเผยข้อมูล บางครั้งไม่ทราบว่าจะเข้าไปสอบถามข้อมูลกับใครระหว่างผู้จัดการกองทุน และเจ้าของสินทรัพย์ ส่งผลให้ไม่มีความชัดเจน เมื่อไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของกองทุนได้ จึงทำให้นักลงทุนเข้าใจน้อยไปด้วย
นายสันติ กีระนันท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงกรณีการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดที่จะเพิ่มขนาดขั้นต่ำของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) จาก 500 ล้านบาทเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและปริมาณการซื้อขายหน่วยลงทุนว่า ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาด้านสภาพคล่องของการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และช่วยในเรื่องของการเพิ่มสภาพคล่องมากนัก เนื่องจากหากจะทำให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น อาจจำเป็นต้องกำหนดให้กองทุนมีขนาดของโครงการตั้งแต่ 10,000 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับแนวคิดที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ต้องการให้ตลาดมีกองทุนขนาดใหญ่ ส่วนตัวมองว่า แนวคิดดังกล่างอาจจะเป็นการปิดช่องทางการระดมทุนของธุรกิจขนาดเล็กและกลางซึ่งในปัจจุบันไม่ได้มีมากนัก และอาจจะเป็นการปิดช่องทางการระดมทุนให้มีน้อยลงไปอีกด้วย หลังจากในปัจจุบันไม่ได้มีช่องทางการระดมทุนน้อยอยู่แล้ว
ทั้งนี้ การเพิ่มขนาดขั้นต่ำของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็น1,000 ล้านบาท นอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว ยังไปสร้างปัญหาอื่นขึ้นมาแทนด้วย โดยการที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีขนาดของกองทุนเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่ได้ชี้วัดถึงความมั่นคงแต่อย่างใด และในโลกของการระดมทุนในตลาดทุนจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสให้กับนักลงทุน ส่วนกองทุนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เป็นทางเลือกของนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้
ด้านนายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องของความเสี่ยงทางธุรกิจ และความเสี่ยงของการซื้อขาย แม้ว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หลายกองทุนในปัจจุบันจะมีขนาดเล็ก แต่ก็นับว่าเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนได้ ส่วนการเพิ่มขนาดขั้นต่ำของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็น1,000 ล้านบาท ก็ไม่เชิงว่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการเพิ่มสภาพคล่องได้ และในตลาดหุ้นก็มีหุ้นขนาดกลาง และไม่ได้มีการซื้อขายมากนักเช่นกัน
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น สามารถตอบโจทย์ให้แก่นักลงทุนได้ และมีนักลงทุนให้ความสนใจ ซึ่งการแตกต่างทางความคิดก็จะก่อให้เกิดการซื้อขายได้ ที่สำคัญคือการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจแก่นักลงทุนมากขึ้นว่า หากลงทุนในกองทุนขนาดเล็กอาจจะมีความเสี่ยง แต่ก็อาจจะได้ส่วนชดเชยความเสี่ยง (พรีเมียม) เข้ามาทดแทน
ส่วนความเสี่ยงทางธุรกิจในปัจจุบันนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์มีความหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน สนามบิน และศูนย์การค้า แต่ละกลุ่มมักจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเฉพาะของกองทุนในแต่ละประเภทด้วย อาทิ โรงแรม นักท่องเที่ยวอาจจะมาน้อยลง โดยจะต้องดูว่าในเชิงธุรกิจแล้ว มีผลกระทบอย่างไร แต่ปัจจัยสำคัญคือความสามารถในการทำกำไร ซึ่งสะท้อนมาในรูปของเงินปันผลนั่นเอง
ด้านนายสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายจัดการลงทุน (กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า ในปัจจุบันกองทุนที่มีขนาดตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปก็ไม่ได้มีการซื้อขายมากนัก และส่วนใหญ่นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ต้องการให้มีการซื้อขายทุกวัน เนื่องจากเงินที่ใช้ลงทุนมักจะเป็นเงินเย็น ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควรจะเป็นการลงทุนในระยะปานกลางถึงยาวคือตั้งแต่ระยะเวลา 3 – 5 ปีขึ้นไป
ขณะเดียวกัน ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุนเองว่า มองกองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นแบบใด หากมองว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นแบบตราสารหนี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีการซื้อขายทุกวัน แต่หากมองว่าเป็นแบบหุ้นทุนก็จะต้องทำการซื้อขายทุกวันนั่นเอง
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การกำหนดขนาดของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องได้ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมองว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หลายกองทุนมีข้อจำกัดในด้านการเปิดเผยข้อมูล บางครั้งไม่ทราบว่าจะเข้าไปสอบถามข้อมูลกับใครระหว่างผู้จัดการกองทุน และเจ้าของสินทรัพย์ ส่งผลให้ไม่มีความชัดเจน เมื่อไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของกองทุนได้ จึงทำให้นักลงทุนเข้าใจน้อยไปด้วย