เอเอฟพี – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ปรับจุดยืนเรื่องการช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯให้เข้มงวดยิ่งขึ้นเมื่อวันจันทร์(30) ด้วยการบอกให้ เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป (จีเอ็ม) และ ไครสเลอร์ ต้องเร่งรัดเพิ่มความพยายามเพื่อให้ตนเองอยู่รอด ซึ่งรวมถึงการยอมรับความเป็นไปได้ที่อาจจะต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย
ก่อนหน้าที่โอบามาจะออกมาพูดเรื่องนี้ คณะทำงานเฉพาะกิจด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของทำเนียบขาว ภายใต้การนำของ สตีฟ แร็ทเนอร์ อดีตผู้บริหารวาณิชธนกิจ ก็ได้ออกมาแถลงว่า แผนการปรับโครงสร้างเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ ที่บริษัทรถยนต์ใหญ่ทั้งสองเสนอมาให้พิจารณานั้น ยังไม่เห็นว่าจะปฏิบัติได้จริง โดยที่จีเอ็มนั้นจำเป็นที่จะต้องจัดทำแผนปรับโครงสร้างซึ่ง “รุนแรงยิ่งขึ้น” ส่วนไครสเลอร์ก็จะเป็นจะต้องควบรวมเป็นพันธมิตรระดับโลกกับบริษัทเฟียตแห่งอิตาลี
ประธานาธิบดีอเมริกันกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การที่อุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกันจะสามารถฟื้นตัวได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้ความพยายาม “อย่างชนิดไม่เคยทำกันมาก่อน” และทางเลือกหนึ่งที่จีเอ็มกับไครสเลอร์อาจเลือกได้ก็คือ การปรับโครงสร้างที่มีรัฐบาลสนับสนุนภายใต้การกำกับตรวจสอบของศาลล้มละลาย
“เราไม่สามารถ,เราจะต้องไม่,และเราจะไม่ยินยอมให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของเราหายสูญไปอย่างง่ายๆ" โอบามาบอก
“อุตสาหกรรมนี้เป็นเสาหลักเสาหนึ่งในเศรษฐกิจของเรา ซึ่งได้คอยประคับประคองความฝันของประชาชนจำนวนเป็นล้านๆ ของเรา แต่เราก็ไม่สามารถที่จะยกโทษให้แก่การตัดสินที่แย่ๆ ได้อีกต่อไป และเราไม่สามารถที่จะให้การอยู่รอดของอุตสาหกรรมรถยนต์ของเรา ต้องขึ้นอยู่กับการไหลเข้ามาอย่างไม่รู้สิ้นสุดของเงินภาษีอากร”
ถ้าหากจีเอ็มและไครสเลอร์ไม่สามารถที่จะเสนอแผนการที่ใช้ปฏิบัติได้ ทั้งสองรายก็น่าจะจำเป็นต้องใช้กระบวนการล้มละลาย “มาเป็นกลไกที่จะช่วยพวกเขาปรับโครงสร้างกันอย่างรวดเร็วและผงาดขึ้นมาใหม่ด้วยความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น” โอบามากล่าว
การปรับองค์กรที่กระทำผ่านการเข้าสู่ความคุ้มครองของศาลล้มละลายประเภทนี้ จะมีความหมายเท่ากับว่าบริษัททั้งสอง “ด้วยการหนุนหลังของรัฐบาลสหรัฐฯ” สามารถที่จะ “สะสางหนี้สินเก่าๆ ออกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยที่หนี้สินเหล่านี้เองที่กำลังเป็นตุ้มถ่วงให้พวกเขาล้มลงมา”
แผนการที่จีเอ็มและไครสเลอร์ยื่นเสนอต่อรัฐบาลนั้น คณะทำงานเฉพาะกิจของทำเนียบขาวระบุไว้ในรายงานของตนว่า “ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งความเป็นไปได้ที่น่าเชื่อถือ” พร้อมกับเตือนว่าทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ทำตามเงื่อนไขอันเข้มงวดต่างๆ ที่ตกลงกันไว้เมื่อตอนที่จีเอ็มกับไครสเลอร์รับเงินช่วยชีวิตจากรัฐบาลจำนวน 17,400 ล้านดอลลาร์ตอนปลายปีที่แล้ว
รายงานนี้ระบุว่า ให้เวลาจีเอ็มเป็นเวลา 60 วัน “ในการจัดทำแผนการปรับโครงสร้างที่รุนแรงยิ่งขึ้น และยุทธศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือ”
นอกจากนั้น ริค แวกกอนเนอร์ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งซีอีโอของจีเอ็มมาตั้งแต่ปี 2000 และเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทในช่วงที่กิจการทรุดดิ่งลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยเขาออกคำแถลงกล่าวว่า เขาเข้าร่วมประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์(27) "พวกเขาขอให้ผมลาออกจากตำแหน่งซีอีโอของจีเอ็ม ซึ่งผมก็ตอบตกลงตามนั้น"
อย่างไรก็ดี แวกกอนเนอร์จะไม่ใช่ลาจากจีเอ็มไปแบบมือเปล่า โฆษกบริษัทรายหนึ่งแถลงว่า เขาจะได้รับเงินราว 20 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าสิทธิประโยชน์จากการเกษียณอายุตลอดจนค่าตอบแทนอื่นๆ
ทางด้านไครสเลอร์ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทุนไพรเวตอิควิตี้ฟันด์ ชื่อ เซอร์เบรัส แคปปิตอล แมนเนจเมนท์ ก็ถูกคณะรัฐบาลโอบามายื่นคำขาด ให้เร่งสรุปข้อตกลงควบรวมกิจการกับ เฟียต เอสพีเอ ของอิตาลีภายใน 30 วัน มิฉะนั้นรัฐบาลสหรัฐฯก็จะยุติการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอาจทำให้บริษัทตกอยู่ในสภาพล้มละลายทันที
คณะทำงานฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ของทำเนียบขาว ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ เซอร์เบรัส ที่ว่า ไครสเลอร์ มีโอกาสกลับมายืนอยู่บนลำแข้งตัวเองได้ โดยชี้ว่าไครสเลอร์มีขนาดเล็กกว่าจีเอ็ม มีศักยภาพการแข่งขันต่ำกว่าและส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯก็ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
คณะทำงานนี้กล่าวว่า ถ้าไครสเลอร์เจรจาควบรวมกิจการกับเฟียตได้สำเร็จ และสามารถเจรจาทำความตกลงกับเจ้าหนี้และสหภาพแรงงานเพื่อลดต้นทุนลงได้ กระทรวงการคลังก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 6,000 ล้านดอลลาร์
อนึ่งโอบามายังประกาศให้ความสนับสนุนเต็มที่ ต่อแผนการที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ตลอดจนช่วยสิ่งแวดล้อมด้วย ด้วยการเสนอให้แรงจูงใจทางภาษีแก่ผู้บริโภคที่นำเอารถเก่ามาแลกซื้อรถใหม่รุ่นประหยัดน้ำมัน
ก่อนหน้าที่โอบามาจะออกมาพูดเรื่องนี้ คณะทำงานเฉพาะกิจด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของทำเนียบขาว ภายใต้การนำของ สตีฟ แร็ทเนอร์ อดีตผู้บริหารวาณิชธนกิจ ก็ได้ออกมาแถลงว่า แผนการปรับโครงสร้างเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ ที่บริษัทรถยนต์ใหญ่ทั้งสองเสนอมาให้พิจารณานั้น ยังไม่เห็นว่าจะปฏิบัติได้จริง โดยที่จีเอ็มนั้นจำเป็นที่จะต้องจัดทำแผนปรับโครงสร้างซึ่ง “รุนแรงยิ่งขึ้น” ส่วนไครสเลอร์ก็จะเป็นจะต้องควบรวมเป็นพันธมิตรระดับโลกกับบริษัทเฟียตแห่งอิตาลี
ประธานาธิบดีอเมริกันกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การที่อุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกันจะสามารถฟื้นตัวได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้ความพยายาม “อย่างชนิดไม่เคยทำกันมาก่อน” และทางเลือกหนึ่งที่จีเอ็มกับไครสเลอร์อาจเลือกได้ก็คือ การปรับโครงสร้างที่มีรัฐบาลสนับสนุนภายใต้การกำกับตรวจสอบของศาลล้มละลาย
“เราไม่สามารถ,เราจะต้องไม่,และเราจะไม่ยินยอมให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของเราหายสูญไปอย่างง่ายๆ" โอบามาบอก
“อุตสาหกรรมนี้เป็นเสาหลักเสาหนึ่งในเศรษฐกิจของเรา ซึ่งได้คอยประคับประคองความฝันของประชาชนจำนวนเป็นล้านๆ ของเรา แต่เราก็ไม่สามารถที่จะยกโทษให้แก่การตัดสินที่แย่ๆ ได้อีกต่อไป และเราไม่สามารถที่จะให้การอยู่รอดของอุตสาหกรรมรถยนต์ของเรา ต้องขึ้นอยู่กับการไหลเข้ามาอย่างไม่รู้สิ้นสุดของเงินภาษีอากร”
ถ้าหากจีเอ็มและไครสเลอร์ไม่สามารถที่จะเสนอแผนการที่ใช้ปฏิบัติได้ ทั้งสองรายก็น่าจะจำเป็นต้องใช้กระบวนการล้มละลาย “มาเป็นกลไกที่จะช่วยพวกเขาปรับโครงสร้างกันอย่างรวดเร็วและผงาดขึ้นมาใหม่ด้วยความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น” โอบามากล่าว
การปรับองค์กรที่กระทำผ่านการเข้าสู่ความคุ้มครองของศาลล้มละลายประเภทนี้ จะมีความหมายเท่ากับว่าบริษัททั้งสอง “ด้วยการหนุนหลังของรัฐบาลสหรัฐฯ” สามารถที่จะ “สะสางหนี้สินเก่าๆ ออกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยที่หนี้สินเหล่านี้เองที่กำลังเป็นตุ้มถ่วงให้พวกเขาล้มลงมา”
แผนการที่จีเอ็มและไครสเลอร์ยื่นเสนอต่อรัฐบาลนั้น คณะทำงานเฉพาะกิจของทำเนียบขาวระบุไว้ในรายงานของตนว่า “ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางแห่งความเป็นไปได้ที่น่าเชื่อถือ” พร้อมกับเตือนว่าทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ทำตามเงื่อนไขอันเข้มงวดต่างๆ ที่ตกลงกันไว้เมื่อตอนที่จีเอ็มกับไครสเลอร์รับเงินช่วยชีวิตจากรัฐบาลจำนวน 17,400 ล้านดอลลาร์ตอนปลายปีที่แล้ว
รายงานนี้ระบุว่า ให้เวลาจีเอ็มเป็นเวลา 60 วัน “ในการจัดทำแผนการปรับโครงสร้างที่รุนแรงยิ่งขึ้น และยุทธศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือ”
นอกจากนั้น ริค แวกกอนเนอร์ ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งซีอีโอของจีเอ็มมาตั้งแต่ปี 2000 และเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทในช่วงที่กิจการทรุดดิ่งลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง โดยเขาออกคำแถลงกล่าวว่า เขาเข้าร่วมประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์(27) "พวกเขาขอให้ผมลาออกจากตำแหน่งซีอีโอของจีเอ็ม ซึ่งผมก็ตอบตกลงตามนั้น"
อย่างไรก็ดี แวกกอนเนอร์จะไม่ใช่ลาจากจีเอ็มไปแบบมือเปล่า โฆษกบริษัทรายหนึ่งแถลงว่า เขาจะได้รับเงินราว 20 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าสิทธิประโยชน์จากการเกษียณอายุตลอดจนค่าตอบแทนอื่นๆ
ทางด้านไครสเลอร์ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทุนไพรเวตอิควิตี้ฟันด์ ชื่อ เซอร์เบรัส แคปปิตอล แมนเนจเมนท์ ก็ถูกคณะรัฐบาลโอบามายื่นคำขาด ให้เร่งสรุปข้อตกลงควบรวมกิจการกับ เฟียต เอสพีเอ ของอิตาลีภายใน 30 วัน มิฉะนั้นรัฐบาลสหรัฐฯก็จะยุติการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอาจทำให้บริษัทตกอยู่ในสภาพล้มละลายทันที
คณะทำงานฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ของทำเนียบขาว ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ เซอร์เบรัส ที่ว่า ไครสเลอร์ มีโอกาสกลับมายืนอยู่บนลำแข้งตัวเองได้ โดยชี้ว่าไครสเลอร์มีขนาดเล็กกว่าจีเอ็ม มีศักยภาพการแข่งขันต่ำกว่าและส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯก็ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง
คณะทำงานนี้กล่าวว่า ถ้าไครสเลอร์เจรจาควบรวมกิจการกับเฟียตได้สำเร็จ และสามารถเจรจาทำความตกลงกับเจ้าหนี้และสหภาพแรงงานเพื่อลดต้นทุนลงได้ กระทรวงการคลังก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 6,000 ล้านดอลลาร์
อนึ่งโอบามายังประกาศให้ความสนับสนุนเต็มที่ ต่อแผนการที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ตลอดจนช่วยสิ่งแวดล้อมด้วย ด้วยการเสนอให้แรงจูงใจทางภาษีแก่ผู้บริโภคที่นำเอารถเก่ามาแลกซื้อรถใหม่รุ่นประหยัดน้ำมัน