ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”แนะผู้ส่งออกฉวยวิกฤตเป็นโอกาส ใช้ช่องเอฟทีเอลดภาษีนำเข้า ดันสินค้าไทยบุกเจาะตลาด และนำเข้าสินค้าราคาถูกมาผลิตเพื่อส่งออกต่อ หลังพบยอดการใช้สิทธิปีที่แล้วยังมีช่องว่างอีกเพียบ แม้ยอดใช้สิทธิจะพุ่งขึ้นก็ตาม ทั้งกรอบเอฟทีเออาเซียน-จีน ไทย-อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ตั้งเป้ากระตุ้นผู้ส่งออกใช้ประโยชน์ให้เต็ม 100%
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการใช้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ในปี 2551 ที่ผ่านมา ว่า ภาพรวมการใช้สิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นทุกความตกลงฯ ไม่ว่าจะเป็นความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน ไทย-อินเดีย ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) แต่ก็พบว่าการใช้สิทธิยังไม่เต็มที่ เมื่อเทียบกับสิทธิประโยชน์ที่ไทยได้รับจากประเทศคู่เจรจาต่างๆ ผู้ส่งออกสามารถเร่งรัดการใช้สิทธิได้ ซึ่งกรมฯ จะผลักดันให้มีการใช้สิทธิครบทั้ง 100% ให้ได้
“ปัจจุบันนี้ หลายๆ ประเทศมีปัญหาได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีผลกระทบกับการค้า ทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้าที่ชะลอตัวลง แต่ไทยสามารถเพิ่มยอดการส่งออกได้ด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ที่ไทยได้รับจากกรอบเอฟทีเอต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยสามารถใช้ข้อได้เปรียบจากการลดภาษี ทำให้สินค้าไทยมีต้นทุนต่ำกว่าประเทศคู่แข่งขัน และสามารถใช้สิทธินำเข้าสินค้าราคาถูกมาผลิตเพื่อส่งออกได้ด้วย ซึ่งสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.dft.go.th หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385”นางอภิรดีกล่าว
นางอภิรดีกล่าวว่า สำหรับผลการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเออาเซียน-จีน ในปี 2551 ซึ่งเป็นการใช้สิทธิในสินค้าเกษตร พิกัด 01-08 ที่มีภาษีเป็น 0% ทั้งหมด มีจำนวน 562 รายการนั้น มีการส่งออกทั้งสิ้น 495.57 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขอใช้สิทธิมูลค่า 528.62 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 18.71% และคิดเป็น 106.67% ของสัดส่วนการใช้สิทธิทั้งหมด ซึ่งตัวเลขการใช้สิทธิที่มากกว่าการส่งออก เนื่องจากมีผู้ขอใช้สิทธิแต่ยังไม่ได้ส่งออก และในส่วนสินค้ากลุ่มเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรม พิกัด 09-99 มีจำนวน 6,583 รายการ อยู่ในบัญชีลดภาษี 2,681 รายการ มีการส่งออก 15,720.21 ล้รานเหรียญสหรัฐ มีการขอใช้สิทธิลดภาษีมูลค่า 1,161.93 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.83% และคิดเป็น 7.39% ของการใช้สิทธิทั้งหมด
ทั้งนี้ พบว่าในส่วนของสินค้าผักและผลไม้ มีการใช้สิทธิค่อนข้างเกินกว่าที่ส่งออก แต่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมมีการใช้สิทธิค่อนข้างน้อย เพียง 7.39% ซึ่งผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิตรงนี้เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าไทยไปจีนได้ โดยสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น โพลิอะไมด์ ด้ายทำด้วยยางวัลแคไนซ์ ถุงมือทำด้วยยาง ส่วนประกอบวีดีโอ หลอดภาพแคโทเดรย์ เป็นต้น
เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ในปี 2551 ไทยมีการออกหนังสือรับรองเพื่อใช้สิทธิภายใต้ JTEPA จำนวน 92,814 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 4,507.30 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 64.12% เมื่อเทียบกับมูลค่าสินค้าที่ได้สิทธิส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งมีมูลค่า 7,029.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 1,499.58 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 71.29% ของมูลค่าการนำเข้าที่ได้สิทธิซึ่งมีมูลค่า 2,103.38 ล้านเหรียญสหรัฐ
เอฟทีเอไทย-อินเดีย ปี 2551 มีการส่งออกสินค้า 82 รายการ มีมูลค่า 498.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.22% สินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น อะลูมิเนียมเจือ เครื่องรับโทรทัศน์สี และเครื่องเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า โดยสินค้าที่มีโอกาสแต่ยังมีการใช้สิทธิน้อยและบางรายการก็ไม่มีการใช้สิทธิ เช่น โพลิคาร์บอเนต ของที่ทำด้วยลวดเหล็ก/เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และรัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ ส่วนการนำเข้าภายใต้เอฟทีเอ มูลค่า 168.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 100.80% สินค้าที่ขยายตัวมาก เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เครื่องอุปกรณ์สำหรับให้แสงสว่าง เครื่องสูบ และก๊อกน้ำ/วาล์วปิดเปิดน้ำ
เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย ปี 2551 มีการออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า จำนวนทั้งสิ้น 49,939 ฉบับ คิดเป็นมูลค่าส่งออก 4,943.61 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.56% หรือมีสัดส่วน 82.52% ของการใช้สิทธิทั้งหมด ขณะที่การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 446.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.04% หรือคิดเป็น 8.549% ของสัดส่วนการใช้สิทธิทั้งหมด
ส่วนการส่งออกภายใต้ CEPT ในปี 2551 มีมูลค่า 10,734.61 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36.49% คิดเป็น 26.76% ของมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน หากพิจารณาสินค้าที่ไทยส่งออกในรายการที่ได้รับสิทธิ CEPT คิดเป็นสัดส่วน 92%
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการใช้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ในปี 2551 ที่ผ่านมา ว่า ภาพรวมการใช้สิทธิพิเศษเพิ่มขึ้นทุกความตกลงฯ ไม่ว่าจะเป็นความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน ไทย-อินเดีย ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) แต่ก็พบว่าการใช้สิทธิยังไม่เต็มที่ เมื่อเทียบกับสิทธิประโยชน์ที่ไทยได้รับจากประเทศคู่เจรจาต่างๆ ผู้ส่งออกสามารถเร่งรัดการใช้สิทธิได้ ซึ่งกรมฯ จะผลักดันให้มีการใช้สิทธิครบทั้ง 100% ให้ได้
“ปัจจุบันนี้ หลายๆ ประเทศมีปัญหาได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีผลกระทบกับการค้า ทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้าที่ชะลอตัวลง แต่ไทยสามารถเพิ่มยอดการส่งออกได้ด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ที่ไทยได้รับจากกรอบเอฟทีเอต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยสามารถใช้ข้อได้เปรียบจากการลดภาษี ทำให้สินค้าไทยมีต้นทุนต่ำกว่าประเทศคู่แข่งขัน และสามารถใช้สิทธินำเข้าสินค้าราคาถูกมาผลิตเพื่อส่งออกได้ด้วย ซึ่งสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.dft.go.th หรือสายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385”นางอภิรดีกล่าว
นางอภิรดีกล่าวว่า สำหรับผลการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเออาเซียน-จีน ในปี 2551 ซึ่งเป็นการใช้สิทธิในสินค้าเกษตร พิกัด 01-08 ที่มีภาษีเป็น 0% ทั้งหมด มีจำนวน 562 รายการนั้น มีการส่งออกทั้งสิ้น 495.57 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขอใช้สิทธิมูลค่า 528.62 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 18.71% และคิดเป็น 106.67% ของสัดส่วนการใช้สิทธิทั้งหมด ซึ่งตัวเลขการใช้สิทธิที่มากกว่าการส่งออก เนื่องจากมีผู้ขอใช้สิทธิแต่ยังไม่ได้ส่งออก และในส่วนสินค้ากลุ่มเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรม พิกัด 09-99 มีจำนวน 6,583 รายการ อยู่ในบัญชีลดภาษี 2,681 รายการ มีการส่งออก 15,720.21 ล้รานเหรียญสหรัฐ มีการขอใช้สิทธิลดภาษีมูลค่า 1,161.93 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.83% และคิดเป็น 7.39% ของการใช้สิทธิทั้งหมด
ทั้งนี้ พบว่าในส่วนของสินค้าผักและผลไม้ มีการใช้สิทธิค่อนข้างเกินกว่าที่ส่งออก แต่ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมมีการใช้สิทธิค่อนข้างน้อย เพียง 7.39% ซึ่งผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิตรงนี้เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าไทยไปจีนได้ โดยสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น โพลิอะไมด์ ด้ายทำด้วยยางวัลแคไนซ์ ถุงมือทำด้วยยาง ส่วนประกอบวีดีโอ หลอดภาพแคโทเดรย์ เป็นต้น
เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ในปี 2551 ไทยมีการออกหนังสือรับรองเพื่อใช้สิทธิภายใต้ JTEPA จำนวน 92,814 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 4,507.30 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 64.12% เมื่อเทียบกับมูลค่าสินค้าที่ได้สิทธิส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งมีมูลค่า 7,029.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 1,499.58 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 71.29% ของมูลค่าการนำเข้าที่ได้สิทธิซึ่งมีมูลค่า 2,103.38 ล้านเหรียญสหรัฐ
เอฟทีเอไทย-อินเดีย ปี 2551 มีการส่งออกสินค้า 82 รายการ มีมูลค่า 498.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.22% สินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น อะลูมิเนียมเจือ เครื่องรับโทรทัศน์สี และเครื่องเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า โดยสินค้าที่มีโอกาสแต่ยังมีการใช้สิทธิน้อยและบางรายการก็ไม่มีการใช้สิทธิ เช่น โพลิคาร์บอเนต ของที่ทำด้วยลวดเหล็ก/เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และรัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ ส่วนการนำเข้าภายใต้เอฟทีเอ มูลค่า 168.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 100.80% สินค้าที่ขยายตัวมาก เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เครื่องอุปกรณ์สำหรับให้แสงสว่าง เครื่องสูบ และก๊อกน้ำ/วาล์วปิดเปิดน้ำ
เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย ปี 2551 มีการออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า จำนวนทั้งสิ้น 49,939 ฉบับ คิดเป็นมูลค่าส่งออก 4,943.61 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.56% หรือมีสัดส่วน 82.52% ของการใช้สิทธิทั้งหมด ขณะที่การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 446.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.04% หรือคิดเป็น 8.549% ของสัดส่วนการใช้สิทธิทั้งหมด
ส่วนการส่งออกภายใต้ CEPT ในปี 2551 มีมูลค่า 10,734.61 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36.49% คิดเป็น 26.76% ของมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน หากพิจารณาสินค้าที่ไทยส่งออกในรายการที่ได้รับสิทธิ CEPT คิดเป็นสัดส่วน 92%