“พาณิชย์” หาทางอุดช่องโหว่ลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรจากโครงการคอนแทรกฟาร์มมิง สวมสิทธิ์เกษตรกรไทยในโครงการรับจำนำ เตรียมกำหนดมาตรการคุมเข้มทั้งกำหนดให้มีใบอนุญาต รายละเอียดการนำเข้า และรายชื่อผู้ซื้อ ก่อนเสนอ ครม.ไฟเขียว
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันนี้ (25 มี.ค.) คณะกรรมการจัดการคอนแทรกฟาร์มิง ที่มีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน จะประชุมพิจารณาแนวทางการป้องกันสินค้าที่นำเข้าภายใต้โครงการคอนแทรกฟาร์มิง โดยจะเสนอให้มีการเพิ่มกฎระเบียบการนำเข้าให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะเสนอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ทั้งนี้ เดิมการนำเข้าภายใต้โครงการคอนแทรกฟาร์มมิง ผู้มีสิทธิ์นำเข้าไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศที่ไทยไปส่งเสริม แต่จะมีมาตรการป้องกันโดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิ์นำเข้าต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ปริมาณการผลิต และปริมาณการนำเข้าที่ชัดเจน รวมถึงรายชื่อลูกค้าในไทยที่จะนำสินค้าเหล่านั้นมาขายให้ เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบนำเข้ามาสวมสิทธิเกษตรกรไทยเข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาล
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในการเดือนทางไปเยือนกัมพูชา เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการหารือกับ นายจอม ประสิทธิ์ รมว.พาณิชย์กัมพูชา ซึ่งกัมพูชาแจ้งว่ามีความวิตกกังวลกรณีที่ไทยใช้มาตรการดูแลและป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรตามชายแดน เพราะเกรงจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของกัมพูชา โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพด ซึ่งได้ชี้แจงว่า ไทยไม่ได้ห้ามนำเข้า และยังให้การส่งเสริมการเพาะปลูกแบบคอนแทรกฟาร์มมิง แต่ต้องดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้า จนกระทบต่อเกษตรกรไทย
นอกจากนี้ ยังได้ขอให้กัมพูชาสนับสนุนการจัดทำสต๊อกข้าวอาเซียน ซึ่งในการประชุมอาเซียน ซัมมิต +3 ที่ อ.พัทยา จ.ชลบุรี ในเดือน เม.ย.นี้ จะผลักดันให้เป็นรูปธรรม
พร้อมกันนั้น ได้รับข้อเสนอกัมพูชาในเรื่องการแก้ปัญหาต้นทุนขนส่งและโลจิสติกส์ และลดค่าเสียหายของสินค้า โดยขอให้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศดูแลระบบขนส่ง เบื้องต้นเห็นพ้องเร่งรัดให้การจัดส่งสินค้าข้ามแดนเพียงเปลี่ยนหัวรถแทนการขนถ่ายสินค้าทั้งหมดออกจากรถ เพราะรถในกัมพูชาขับด้วยพวงมาลัยซ้าย ส่วนรถในไทยใช้พวงมาลัยขวา ส่วนการค้าไทย-กัมพูชานั้น ในปี 2551 ขยายตัวสูง 51% หรือมูลค่ากว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันนี้ (25 มี.ค.) คณะกรรมการจัดการคอนแทรกฟาร์มิง ที่มีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน จะประชุมพิจารณาแนวทางการป้องกันสินค้าที่นำเข้าภายใต้โครงการคอนแทรกฟาร์มิง โดยจะเสนอให้มีการเพิ่มกฎระเบียบการนำเข้าให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะเสนอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ทั้งนี้ เดิมการนำเข้าภายใต้โครงการคอนแทรกฟาร์มมิง ผู้มีสิทธิ์นำเข้าไม่ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศที่ไทยไปส่งเสริม แต่จะมีมาตรการป้องกันโดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิ์นำเข้าต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ปริมาณการผลิต และปริมาณการนำเข้าที่ชัดเจน รวมถึงรายชื่อลูกค้าในไทยที่จะนำสินค้าเหล่านั้นมาขายให้ เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบนำเข้ามาสวมสิทธิเกษตรกรไทยเข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาล
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ในการเดือนทางไปเยือนกัมพูชา เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการหารือกับ นายจอม ประสิทธิ์ รมว.พาณิชย์กัมพูชา ซึ่งกัมพูชาแจ้งว่ามีความวิตกกังวลกรณีที่ไทยใช้มาตรการดูแลและป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรตามชายแดน เพราะเกรงจะกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของกัมพูชา โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพด ซึ่งได้ชี้แจงว่า ไทยไม่ได้ห้ามนำเข้า และยังให้การส่งเสริมการเพาะปลูกแบบคอนแทรกฟาร์มมิง แต่ต้องดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้า จนกระทบต่อเกษตรกรไทย
นอกจากนี้ ยังได้ขอให้กัมพูชาสนับสนุนการจัดทำสต๊อกข้าวอาเซียน ซึ่งในการประชุมอาเซียน ซัมมิต +3 ที่ อ.พัทยา จ.ชลบุรี ในเดือน เม.ย.นี้ จะผลักดันให้เป็นรูปธรรม
พร้อมกันนั้น ได้รับข้อเสนอกัมพูชาในเรื่องการแก้ปัญหาต้นทุนขนส่งและโลจิสติกส์ และลดค่าเสียหายของสินค้า โดยขอให้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศดูแลระบบขนส่ง เบื้องต้นเห็นพ้องเร่งรัดให้การจัดส่งสินค้าข้ามแดนเพียงเปลี่ยนหัวรถแทนการขนถ่ายสินค้าทั้งหมดออกจากรถ เพราะรถในกัมพูชาขับด้วยพวงมาลัยซ้าย ส่วนรถในไทยใช้พวงมาลัยขวา ส่วนการค้าไทย-กัมพูชานั้น ในปี 2551 ขยายตัวสูง 51% หรือมูลค่ากว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ