รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ พร้อมด้วยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังและประธานธนาคารกลาง ระบุในวันอังคาร (24) ว่าสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของจีนและรัสเซียที่ว่า ทั่วโลกควรหยุดใช้เงินสกุลดอลลาร์เป็นเงินสำรองสกุลหลัก และเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลเดียว
"ผมไม่คิดว่ามีความจำเป็นต้องมีสกุลเงินตราโลก" โอบามากล่าวระหว่างการประชุมแถลงข่าวที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ในช่วงไพรม์ไทม์ และเสริมว่าขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์ "แข็งแกร่งเป็นพิเศษ"
ทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ได้ออกมาพูดในวันเดียวกันก่อนหน้าโอบามาว่า ที่มีการเสนอเรื่องให้ใช้เงินสกุลเดียวทั่วโลกนั้น แสดงให้เห็นถึงความกังวลอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพของระบบการเงินโลก ปฏิกิริยาของไอเอ็มเอฟตลอดจนของผู้นำอเมริกา บังเกิดขึ้นหลังจากที่จีนและรัสเซียออกมาเสนอให้ยกเครื่องระบบเงินตราโลกเสียใหม่
ในสหรัฐฯนั้น นอกจากโอบามาแล้ว ในระหว่างที่ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ เข้าชี้แจงต่อสภาคองเกรสวันอังคาร มิเชล แบคมานน์ ส.ส.พรรครีพับลิกันจากมลรัฐมินนิโซตา ได้ซักถามว่า "ท่านรัฐมนตรีจะปฏิเสธอย่างเด็ดขาดเรื่องที่จะให้สหรัฐฯ เลิกใช้เงินสกุลดอลลาร์และเปลี่ยนไปเป็นสกุลเงินทั่วโลกตามคำแนะนำของจีนและรัสเซียเมื่อเช้านี้หรือไม่"
ไกธ์เนอร์ได้ตอบว่า "ผมจะปฏิเสธ" และก็เป็นคำตอบเดียวกับเบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ซึ่งได้ถูกซักด้วยคำถามเดียวกันนี้จากแบคมานเช่นกัน
ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ (23) โจวเสี่ยวฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีนได้เรียกร้องให้ทั่วโลกหันไปใช้ เอสดีอาร์ (Special Drawing Rights) กันให้มากขึ้น โดยเอสดีอาร์นี้เป็นสกุลเงินตราทางบัญชี ที่ไอเอ็มเอฟสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสินทรัพย์สำรองระดับโลกมาตั้งแต่เมื่อปี 1965
ความเห็นของโจวมีขึ้น ภายหลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัสเซียได้ออกมากล่าวว่าจะเสนอให้มีการสร้างสกุลเงินสำรองระดับโลกขึ้นใหม่ ต่อที่ประชุมกลุ่มจี 20 ซึ่งจะจัดขึ้นในกรุงลอนดอนวันที่ 2 เมษายนนี้ โดยที่รัสเซียระบุด้วยว่าข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบราซิล จีน เกาหลีใต้ หรือแอฟริกาใต้
ส่วนโอบามาก็ถูกซักถามในระหว่างการแถลงข่าว เกี่ยวกับเรื่องความวิตกของจีนต่อเงินสกุลดอลลาร์ รวมทั้งประเด็นการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ และความปลอดภัยของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งจีนถือไว้เป็นมูลค่าสูงถึง 740,000 ล้านดอลลาร์
โอบามาตอบว่าการที่ค่าเงินดอลลาร์มีความแข็งแกร่งสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจในแนวโน้มที่ดีขึ้นของอเมริกา รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยและระบบการเงิน
"เหตุผลที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาในขณะนี้เป็นเพราะว่าพวกนักลงทุนเห็นว่าสหรัฐฯ มีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก และมีระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพที่สุดในโลกด้วย" เขาระบุ
"คุณไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับผม แต่ผมคิดว่ามีความเชื่อมั่นกันอย่างมากมายว่า แม้ว่าเราจะยังต้องก้าวผ่านฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม แต่ในท้ายที่สุดแนวโน้มลู่ทางของเศรษฐกิจโลก ก็จะดีวันดีคืนอย่างแน่นอน"
ด้านเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย ก็แสดงความคิดเห็นคัดค้านแนวคิดเรื่องสกุลเงินโลก โดยกล่าวในระหว่างการเยือนสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์(23)ว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงสถานะการเป็นเงินตราสำรองระหว่างประเทศโดยไม่มีใครทักท้วง
**ไอเอ็มเอฟต้องมองการณ์ไกล**
จอห์น ลิปสกี รองกรรมการผู้จัดการอันดับหนึ่งของไอเอ็มเอฟ กล่าวในวันอังคาร (24) ว่า การพูดถึงเรื่องเงินตราสำรองสกุลใหม่ไม่ใช่ประเด็นใหม่แต่อย่างใด ทว่าเรื่องนี้ก็ตอกย้ำถึงความวิตกโดยทั่วไป เกี่ยวกับความเข้มแข็งของระบบการเงินโลกและเศรษฐกิจโลกมากกว่า
"การพูดถึงประเด็นสกุลเงินตรงสำรองที่จะนำมาใช้เป็นทางเลือกนั้น เคยมีมานานแล้ว มีผู้ที่เอาจริงเอาจังมากบางคนเสนอเรื่องนี้ขึ้นมา แต่ผมไม่คิดว่าบุคคลเหล่านี้จะมีใครเห็นว่ามันเป็นทางเลือกในระยะสั้น"
"ข้อเสนอนี้เป็นเรื่องซับซ้อนยุ่งยากมาก และเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการพูดคุยกันถึงวิธีการที่จะเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบัน" ลิปสกีระบุ
ก่อนหน้านี้เขาได้แถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนเครื่องมือการกู้ยืมเงินของไอเอ็มเอฟและแนวคิดเรื่องสกุลเงินตราสำรองว่าเป็นประเด็นที่ไม่ควรปฏิเสธในทันที
"ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเรื่องใหญ่ ผมไม่คิดว่าแม้แต่ผู้ที่เสนอเรื่องนี้จะเห็นว่าเป็นประเด็นในระยะสั้น พวกเขาคงมองในระยะยาวมากกว่าว่าควรมีการศึกษาและพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างจริงจังต่อไป"
"ผมไม่คิดว่ามีความจำเป็นต้องมีสกุลเงินตราโลก" โอบามากล่าวระหว่างการประชุมแถลงข่าวที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ในช่วงไพรม์ไทม์ และเสริมว่าขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์ "แข็งแกร่งเป็นพิเศษ"
ทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ได้ออกมาพูดในวันเดียวกันก่อนหน้าโอบามาว่า ที่มีการเสนอเรื่องให้ใช้เงินสกุลเดียวทั่วโลกนั้น แสดงให้เห็นถึงความกังวลอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพของระบบการเงินโลก ปฏิกิริยาของไอเอ็มเอฟตลอดจนของผู้นำอเมริกา บังเกิดขึ้นหลังจากที่จีนและรัสเซียออกมาเสนอให้ยกเครื่องระบบเงินตราโลกเสียใหม่
ในสหรัฐฯนั้น นอกจากโอบามาแล้ว ในระหว่างที่ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ เข้าชี้แจงต่อสภาคองเกรสวันอังคาร มิเชล แบคมานน์ ส.ส.พรรครีพับลิกันจากมลรัฐมินนิโซตา ได้ซักถามว่า "ท่านรัฐมนตรีจะปฏิเสธอย่างเด็ดขาดเรื่องที่จะให้สหรัฐฯ เลิกใช้เงินสกุลดอลลาร์และเปลี่ยนไปเป็นสกุลเงินทั่วโลกตามคำแนะนำของจีนและรัสเซียเมื่อเช้านี้หรือไม่"
ไกธ์เนอร์ได้ตอบว่า "ผมจะปฏิเสธ" และก็เป็นคำตอบเดียวกับเบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ซึ่งได้ถูกซักด้วยคำถามเดียวกันนี้จากแบคมานเช่นกัน
ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ (23) โจวเสี่ยวฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีนได้เรียกร้องให้ทั่วโลกหันไปใช้ เอสดีอาร์ (Special Drawing Rights) กันให้มากขึ้น โดยเอสดีอาร์นี้เป็นสกุลเงินตราทางบัญชี ที่ไอเอ็มเอฟสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสินทรัพย์สำรองระดับโลกมาตั้งแต่เมื่อปี 1965
ความเห็นของโจวมีขึ้น ภายหลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัสเซียได้ออกมากล่าวว่าจะเสนอให้มีการสร้างสกุลเงินสำรองระดับโลกขึ้นใหม่ ต่อที่ประชุมกลุ่มจี 20 ซึ่งจะจัดขึ้นในกรุงลอนดอนวันที่ 2 เมษายนนี้ โดยที่รัสเซียระบุด้วยว่าข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบราซิล จีน เกาหลีใต้ หรือแอฟริกาใต้
ส่วนโอบามาก็ถูกซักถามในระหว่างการแถลงข่าว เกี่ยวกับเรื่องความวิตกของจีนต่อเงินสกุลดอลลาร์ รวมทั้งประเด็นการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ และความปลอดภัยของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งจีนถือไว้เป็นมูลค่าสูงถึง 740,000 ล้านดอลลาร์
โอบามาตอบว่าการที่ค่าเงินดอลลาร์มีความแข็งแกร่งสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจในแนวโน้มที่ดีขึ้นของอเมริกา รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยและระบบการเงิน
"เหตุผลที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาในขณะนี้เป็นเพราะว่าพวกนักลงทุนเห็นว่าสหรัฐฯ มีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก และมีระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพที่สุดในโลกด้วย" เขาระบุ
"คุณไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับผม แต่ผมคิดว่ามีความเชื่อมั่นกันอย่างมากมายว่า แม้ว่าเราจะยังต้องก้าวผ่านฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม แต่ในท้ายที่สุดแนวโน้มลู่ทางของเศรษฐกิจโลก ก็จะดีวันดีคืนอย่างแน่นอน"
ด้านเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย ก็แสดงความคิดเห็นคัดค้านแนวคิดเรื่องสกุลเงินโลก โดยกล่าวในระหว่างการเยือนสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์(23)ว่า เงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงสถานะการเป็นเงินตราสำรองระหว่างประเทศโดยไม่มีใครทักท้วง
**ไอเอ็มเอฟต้องมองการณ์ไกล**
จอห์น ลิปสกี รองกรรมการผู้จัดการอันดับหนึ่งของไอเอ็มเอฟ กล่าวในวันอังคาร (24) ว่า การพูดถึงเรื่องเงินตราสำรองสกุลใหม่ไม่ใช่ประเด็นใหม่แต่อย่างใด ทว่าเรื่องนี้ก็ตอกย้ำถึงความวิตกโดยทั่วไป เกี่ยวกับความเข้มแข็งของระบบการเงินโลกและเศรษฐกิจโลกมากกว่า
"การพูดถึงประเด็นสกุลเงินตรงสำรองที่จะนำมาใช้เป็นทางเลือกนั้น เคยมีมานานแล้ว มีผู้ที่เอาจริงเอาจังมากบางคนเสนอเรื่องนี้ขึ้นมา แต่ผมไม่คิดว่าบุคคลเหล่านี้จะมีใครเห็นว่ามันเป็นทางเลือกในระยะสั้น"
"ข้อเสนอนี้เป็นเรื่องซับซ้อนยุ่งยากมาก และเป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการพูดคุยกันถึงวิธีการที่จะเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบัน" ลิปสกีระบุ
ก่อนหน้านี้เขาได้แถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนเครื่องมือการกู้ยืมเงินของไอเอ็มเอฟและแนวคิดเรื่องสกุลเงินตราสำรองว่าเป็นประเด็นที่ไม่ควรปฏิเสธในทันที
"ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเรื่องใหญ่ ผมไม่คิดว่าแม้แต่ผู้ที่เสนอเรื่องนี้จะเห็นว่าเป็นประเด็นในระยะสั้น พวกเขาคงมองในระยะยาวมากกว่าว่าควรมีการศึกษาและพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างจริงจังต่อไป"